ไม่แปลกหรอกครับ ที่ทุกครั้งเมื่อมีรัฐมนตรีลาออกจะลุ้นถามว่า ผู้นำรัฐบาลจะแค่ตั้งคนใหม่แทนหรือถือโอกาสขยับเก้าอี้ปรับคณะรัฐมนตรีคนอื่นด้วย
ที่แปลกก็คือ ทั้งๆ ที่รัฐบาลนี้โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทั้งเกียรติความเป็นองคมนตรี และความเป็นคนดี จึงได้รับกำลังใจหนุนส่งให้หวังให้สร้างปรากฏการณ์ใหม่แก่บ้านเมืองไทย
แต่ตอนนี้กลับมีกระแสข่าว “ปรับใหญ่” คณะรัฐมนตรี และลุกลามถึงขนาดมีคนอยากเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
ประกายไฟเกิดจากการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยแสดงออกว่าไม่พอใจกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ให้มาชี้แจงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังบอกเป็นนัยว่า ผู้นำรัฐบาลยอมอยู่ใต้อิทธิพลสื่ออย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ทั้งๆ ที่เป็นการอ้างประเด็นที่เกินจริง
การที่คนระดับรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดแถลงข่าวเหมือนโยนระเบิดใส่ผู้นำรัฐบาลและสละตำแหน่ง ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่เหนือความคาดคิดมาก่อน
จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานภาพของรัฐบาลที่ถูกประเมินจากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีคะแนนความพอใจลดลงอย่างน่าเสียดาย และน่าห่วง
แม้ว่ารัฐบาลนี้มีที่มาจากการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีจิตสำนึกและไม่ยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สุจริต ไม่โปร่งใส และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติเป็นสำคัญ จึงเกิดกระแสต่อต้านและขับไล่ จนเป็นที่มาของการรัฐประหารโค่นรัฐบาลทักษิณ
ประชาชนย่อมคาดหวังให้มาแก้ปัญหาวิกฤต 4 ข้อ ตามที่อ้างเป็นเหตุผลในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะรัฐประหาร
รัฐบาลนี้จึงไม่ใช่ “รัฐบาลรักษาการ” ที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อรอวันเลือกตั้ง แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปสังคม และการเมือง เป็นกลไกต่อยอดจากคณะปฏิรูปฯ ที่ยึดอำนาจล้ม “รัฐบาลอธรรม”
ด้วยประเด็นปัญหาเลวร้ายที่เห็นผลจากนักธุรกิจการเมืองยุคทักษิณ มีประเด็นวิกฤตเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ ประกอบกับเวลาสั้นเพียงปีเดียว รัฐบาลนี้จึงน่าจะเน้นเรื่องเฉพาะสำคัญ
ก็จะได้ทั้งการแก้ปัญหาวิกฤต และยังแสดงถึงผลงานของรัฐบาลนี้ด้วย
น่าเสียดายที่ดูเหมือนรัฐบาลนี้มิได้ตระหนักว่าจำเป็นต้องกำหนด “ยุทธศาสตร์กู้ชาติ” ในการทำงานกู้วิกฤตที่ชัดเจน เพื่อทำงานเชิงรุกสนองความคาดหวังจากสังคมที่ลุ้นเอาใจช่วยรัฐบาลให้แก้ปัญหาสำเร็จ
แต่วันเวลาของรัฐบาลผ่านไปแล้วเกือบ 5 เดือน ด้วยผลงานที่สังคมประเด็นว่ายังไม่สมกับอยู่ในภาวะ “ปฏิรูป” ตามชื่อเรียกของคณะรัฐประหารเพื่อเข้ามากู้วิกฤตชาติ
การทบทวนแก้ไขหลักคิดนโยบาย และแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรมในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณ และรักษาผลประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ ควรต้องมีขึ้นอย่างคึกคัก
เมื่อโจทย์เป็นเช่นนี้ การเลือกคนมาเป็นรัฐมนตรีในยุคที่ควรจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะให้เกิดการปฏิรูปใหม่ๆ จึงต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และทำงานเป็นเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเก่า
การพิจารณาแค่คนเคยทำงานโดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติโดดเด่นที่เหมาะสมกับภารกิจเชิงกลยุทธ์ การให้ตำแหน่งรัฐมนตรีจึงได้เพียงเกียรติที่ให้กับผู้สูงอายุคนหนึ่งเท่านั้น
เช่นเอาข้าราชการเก่าของกระทรวงเกษตรฯ ถ้าไม่มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการผลิต และคุณภาพชีวิตของภาคเกษตรกรรม ก็ไม่มีทางแก้ความไม่เป็นธรรม และการปรับทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมให้ดีกว่ารัฐบาลที่แล้วๆ มาได้เสียที
นี่เองจึงเกิดกระแสความเห็นจากหลายฝ่ายแนะให้นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสนี้ “ปรับใหญ่” ทบทวนรัฐมนตรีหลายคนที่ยังทำงานเชิงรุกไม่เป็น ผลงานที่สังคมคาดหวังจึงยังไม่เกิด
เมื่อพิจารณาจากปฏิกิริยาประชาชนผ่านความเห็นท้ายข่าวของ www.manager.co.th เวลานี้เริ่มลุกลามไปถึงกับอยากเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีกันแล้ว
แม้มีบางส่วนยังให้กำลังใจ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ยังอยากให้เป็นผู้นำในการฝ่ากระแสกดดันของเสียงวิจารณ์
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ยังเชื่อว่านายกฯ ไม่ถอดใจลาออกแน่ โดยบอกว่า
“ผมว่าท่านจะแก้ไขปัญหาวิกฤตได้ เพราะท่านไม่โกง ไม่โง่ ไม่ขี้เกียจ และคนแวดล้อมท่านก็เป็นคนดี”
เอาละถึงท่านจะเป็นนักสู้ผู้ลุ่มลึกก็ตาม แต่โปรดรับรู้ว่าปฏิกิริยาสังคมในส่วนที่สนับสนุนท่านอยู่ ก็เริ่มไม่พอใจ เพราะเสียดายโอกาสของท่านในการทำสิ่งที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น หรือยอมปล่อยให้มีการเสนอเรื่องผิดเพี้ยนขัดความรู้สึกของสังคม
ปฏิกิริยาจากประชาชนน่าจะช่วยเตือนให้ต้องรีบปรับกลยุทธ์การทำงาน ปรับทีมงาน เอาคนที่รู้จริง และเห็นแก่ผลประโยชน์ของสังคมประเทศชาติที่พร้อมทำงานเชิงรุกมาช่วยงานด่วน
ที่แปลกก็คือ ทั้งๆ ที่รัฐบาลนี้โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทั้งเกียรติความเป็นองคมนตรี และความเป็นคนดี จึงได้รับกำลังใจหนุนส่งให้หวังให้สร้างปรากฏการณ์ใหม่แก่บ้านเมืองไทย
แต่ตอนนี้กลับมีกระแสข่าว “ปรับใหญ่” คณะรัฐมนตรี และลุกลามถึงขนาดมีคนอยากเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
ประกายไฟเกิดจากการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยแสดงออกว่าไม่พอใจกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ให้มาชี้แจงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังบอกเป็นนัยว่า ผู้นำรัฐบาลยอมอยู่ใต้อิทธิพลสื่ออย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ทั้งๆ ที่เป็นการอ้างประเด็นที่เกินจริง
การที่คนระดับรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดแถลงข่าวเหมือนโยนระเบิดใส่ผู้นำรัฐบาลและสละตำแหน่ง ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่เหนือความคาดคิดมาก่อน
จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานภาพของรัฐบาลที่ถูกประเมินจากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีคะแนนความพอใจลดลงอย่างน่าเสียดาย และน่าห่วง
แม้ว่ารัฐบาลนี้มีที่มาจากการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีจิตสำนึกและไม่ยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สุจริต ไม่โปร่งใส และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคม และประเทศชาติเป็นสำคัญ จึงเกิดกระแสต่อต้านและขับไล่ จนเป็นที่มาของการรัฐประหารโค่นรัฐบาลทักษิณ
ประชาชนย่อมคาดหวังให้มาแก้ปัญหาวิกฤต 4 ข้อ ตามที่อ้างเป็นเหตุผลในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะรัฐประหาร
รัฐบาลนี้จึงไม่ใช่ “รัฐบาลรักษาการ” ที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อรอวันเลือกตั้ง แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปสังคม และการเมือง เป็นกลไกต่อยอดจากคณะปฏิรูปฯ ที่ยึดอำนาจล้ม “รัฐบาลอธรรม”
ด้วยประเด็นปัญหาเลวร้ายที่เห็นผลจากนักธุรกิจการเมืองยุคทักษิณ มีประเด็นวิกฤตเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ ประกอบกับเวลาสั้นเพียงปีเดียว รัฐบาลนี้จึงน่าจะเน้นเรื่องเฉพาะสำคัญ
ก็จะได้ทั้งการแก้ปัญหาวิกฤต และยังแสดงถึงผลงานของรัฐบาลนี้ด้วย
น่าเสียดายที่ดูเหมือนรัฐบาลนี้มิได้ตระหนักว่าจำเป็นต้องกำหนด “ยุทธศาสตร์กู้ชาติ” ในการทำงานกู้วิกฤตที่ชัดเจน เพื่อทำงานเชิงรุกสนองความคาดหวังจากสังคมที่ลุ้นเอาใจช่วยรัฐบาลให้แก้ปัญหาสำเร็จ
แต่วันเวลาของรัฐบาลผ่านไปแล้วเกือบ 5 เดือน ด้วยผลงานที่สังคมประเด็นว่ายังไม่สมกับอยู่ในภาวะ “ปฏิรูป” ตามชื่อเรียกของคณะรัฐประหารเพื่อเข้ามากู้วิกฤตชาติ
การทบทวนแก้ไขหลักคิดนโยบาย และแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรมในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของงบประมาณ และรักษาผลประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ ควรต้องมีขึ้นอย่างคึกคัก
เมื่อโจทย์เป็นเช่นนี้ การเลือกคนมาเป็นรัฐมนตรีในยุคที่ควรจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะให้เกิดการปฏิรูปใหม่ๆ จึงต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และทำงานเป็นเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเก่า
การพิจารณาแค่คนเคยทำงานโดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติโดดเด่นที่เหมาะสมกับภารกิจเชิงกลยุทธ์ การให้ตำแหน่งรัฐมนตรีจึงได้เพียงเกียรติที่ให้กับผู้สูงอายุคนหนึ่งเท่านั้น
เช่นเอาข้าราชการเก่าของกระทรวงเกษตรฯ ถ้าไม่มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการผลิต และคุณภาพชีวิตของภาคเกษตรกรรม ก็ไม่มีทางแก้ความไม่เป็นธรรม และการปรับทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมให้ดีกว่ารัฐบาลที่แล้วๆ มาได้เสียที
นี่เองจึงเกิดกระแสความเห็นจากหลายฝ่ายแนะให้นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสนี้ “ปรับใหญ่” ทบทวนรัฐมนตรีหลายคนที่ยังทำงานเชิงรุกไม่เป็น ผลงานที่สังคมคาดหวังจึงยังไม่เกิด
เมื่อพิจารณาจากปฏิกิริยาประชาชนผ่านความเห็นท้ายข่าวของ www.manager.co.th เวลานี้เริ่มลุกลามไปถึงกับอยากเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีกันแล้ว
แม้มีบางส่วนยังให้กำลังใจ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ยังอยากให้เป็นผู้นำในการฝ่ากระแสกดดันของเสียงวิจารณ์
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ยังเชื่อว่านายกฯ ไม่ถอดใจลาออกแน่ โดยบอกว่า
“ผมว่าท่านจะแก้ไขปัญหาวิกฤตได้ เพราะท่านไม่โกง ไม่โง่ ไม่ขี้เกียจ และคนแวดล้อมท่านก็เป็นคนดี”
เอาละถึงท่านจะเป็นนักสู้ผู้ลุ่มลึกก็ตาม แต่โปรดรับรู้ว่าปฏิกิริยาสังคมในส่วนที่สนับสนุนท่านอยู่ ก็เริ่มไม่พอใจ เพราะเสียดายโอกาสของท่านในการทำสิ่งที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น หรือยอมปล่อยให้มีการเสนอเรื่องผิดเพี้ยนขัดความรู้สึกของสังคม
ปฏิกิริยาจากประชาชนน่าจะช่วยเตือนให้ต้องรีบปรับกลยุทธ์การทำงาน ปรับทีมงาน เอาคนที่รู้จริง และเห็นแก่ผลประโยชน์ของสังคมประเทศชาติที่พร้อมทำงานเชิงรุกมาช่วยงานด่วน