การชี้มูลความผิดแก่อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบทักษิณ 2 คน คือ นายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเดียวกัน ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการจัดหาจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร อยู่ในมูลความผิดเดียวกัน โดย “ข่าว” ที่มาจาก คตส.มีรายละเอียดออกไปมากแล้ว แต่ข้อมูลอันเป็นประเด็นทางลึก และความลับบางอย่างของเรื่องนี้ ยังไม่ได้มีการเปิดเผยอย่างเป็นขั้นตอน ตามกระบวนความเป็นมา
กรอบหน้า “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” จึงขอทำหน้าที่นี้ คือให้เรื่องราวเข้าถึงกระดูก ด้วยความในเอกสารหลักฐาน, โดยที่เห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องแรกที่อดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลหน้าเหลี่ยม รวมทั้งนายสมัคร ซึ่งเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลครั้งก่อนๆ ถือว่าเป็นนักการเมืองคนสำคัญ และเป็นลูกคู่ในยุค “ทักษิณ” อย่างเปิดเผย ก็โดนข้อหาด้วย
เท็จจริงต้องอยู่ที่อัยการ ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาส่งคดีไปศาล เมื่อทางกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว แต่ข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางราชการที่ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” รายงานนี้ เป็นการให้ความจริงในส่วนที่มีหลักฐานปรากฏอยู่จริง ไม่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนของ คตส.และการพิจารณาของอัยการ
ประเด็นที่จะต้องรายงานและทำความเข้าใจก่อน ที่ต้องแยกกัน คือ คตส.มุ่งเป้าไปที่การกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ จะเสียหายอย่างไรก็ว่ากันไป และอีกประเด็นคือ การซื้อขาย ซึ่งแม้ว่าจะมีการ “เอาผิด” กับคนที่จัดการซื้อ แต่ก็ไม่มีผลกระทบไปถึงคนขาย เพราะเป็นการขายภายใต้ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อยินยอมตามข้อตกลงทำสัญญาซื้อขายกันแล้วอย่างถูกต้อง มีการปฏิบัติกันตามสัญญาครบถ้วนมาจากฝ่ายผู้ขาย ทางผู้ซื้อก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น, ครั้นจะมีการเอาผิดกับทางผู้ดำเนินการซื้อว่า เป็นการทำข้อตกลงที่เสียเปรียบ หรือราคาแพงไป ก็เป็นการเอาความผิด หรือมีข้อกล่าวหากับทางผู้ดำเนินการซื้อฝ่ายเดียว ไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงการปฏิบัติตามสัญญาที่ผู้ขายไม่ได้ผิดสัญญา และไม่มีเหตุจะระงับหรือเลิกสัญญาได้ เมื่อสินค้าคือรถและเรือดับเพลิง ได้มีการตรวจรับแล้วว่า มีคุณลักษณะ (SPECS) ครบตามที่ระบุในสัญญา มีการส่งมอบได้ตรงตามเวลาในสัญญา เรื่องของการปฏิบัติตามสัญญาที่น่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่ต้องดำเนินต่อไป
จะเอาผิดว่า-เกิดความเสียหายต่อรัฐ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็เป็นเรื่องคนที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อดังที่ คตส.ได้สรุปมาแล้ว และ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ก็เข้ามาแยกธาตุให้เห็นกันตามหน้าที่ ให้มีความชัดเจนดังนี้:
1. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรีย ประจำประเทศไทย คือ ดร.เฮอร์แบร์ท ทรักเซิล ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เสนอโครงการจัดหารถดับเพลิงและอุปกรณ์ให้พิจารณา โดยมีการเสนอจัดหาทุน พร้อมพันธะการค้าต่างตอบแทน (COUNTER TRADE) เต็ม 100% โดยเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G TO G) และวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรีย ได้เข้าพบ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เสนอให้โครงการดังกล่าวดำเนินการเพื่อกรุงเทพมหานคร คือเป็นการขายให้กับกรุงเทพมหานครผ่านทางกระทรวงมหาดไทย และมีการ “ตั้งเรื่อง” กันขึ้นตรงจุดนี้ แล้วโยนลูกต่อไปให้ทางกรุงเทพมหานคร และเชื่อมต่อโครงการกันได้
2. วันที่ 3 มีนาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีสาระว่า ยินดีรับข้อเสนอและเห็นด้วย จึงขออนุมัติ “โครงการพัฒนาระบบบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร” โดยใช้เงินงบประมาณตามโครงการเป็นเงิน 156,953,203 ยูโร คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นคือ 50 บาทต่อ 1 ยูโร เป็นเงิน 7,847,660,150 บาท โดยในหนังสือนั้นกล่าวว่า เป็นไปตามโครงการความช่วยเหลือแบบรัฐต่อรัฐ จากรัฐบาลออสเตรีย มีเงื่อนไขในการทำสัญญาและการชำระเงิน โดยมีระยะเวลาปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี และมีกำหนดเริ่มชำระในเดือนที่ 25 นับแต่วันทำสัญญา และชำระครั้งต่อไปทุกๆ 6 เดือน จนถึงเดือนที่ 73 โดยกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้เงินงบประมาณของ กทม.ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 60 เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำเรื่องเสนอคณะในรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ
3. วันที่ 22 มิถุนายน 2547 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ 2 ข้อของโครงการฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้มีการดำเนินการต่อไปได้ โดยได้รับความเห็นชอบดำเนินการตามโครงการจากคณะรัฐมนตรี
4. กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร มีการประชุมหารือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ผลของการประชุมสรุปได้คือ
• เดิมตั้งวงเงินงบประมาณไว้ 156,953,203 ยูโร เป็นเงินไทยประมาณ 7,847,660,150 บาท ได้ลดวงเงินลงมาเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 133,749,780 ยูโร คิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,687,489,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นการจัดหาเท่าที่จำเป็น สรุปได้ว่า งบประมาณที่ลดลงมานี้ เพื่อจัดหารถดับเพลิง 315 คัน เรือดับเพลิง 30 ลำ และครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
• ที่ประชุมพิจารณาสัดส่วนของงบประมาณตามโครงการนี้ ให้เป็นไปตามเดิมคือ จ่ายจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลร้อยละ 60 และเป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครร้อยละ 40
• ดำเนินการค้าต่างตอบแทนกับออสเตรียเต็มตามมูลค่า 100% ของการซื้อ โดยรัฐบาลออสเตรียต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยเป็นการตอบแทน โดยให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการค้าต่างตอบแทน
5. วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำผลการดำเนินการแจ้งกับคณะรัฐมนตรีรับทราบ พร้อมกับแนบรายการสินค้าที่จะซื้อจำนวน 15 รายการให้ ครม.ทราบด้วย
6. วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเอกอัครราชทูตออสเตรีย ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (A.O.U.) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย ระบุว่า เป็นความเห็นชอบของรัฐบาลไทย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กับบริษัท สไตเออร์ฯ ประเทศออสเตรีย (STEYR DAIMLER-PUCH SPEZIAL ALFAHRZEUG & CO RG)
7. วันที่ 18 สิงหาคม 2547 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีหนังสือที่ กท 1900/407 ถึงประธานสภากรุงเทพมหานคร เพื่อขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร ในโครงการดังกล่าว และการประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 สภาฯ มีมติให้ความเห็นชอบ
8. วันที่ 30 สิงหาคม 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือ กท 1800/1057 เรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอความเห็นชอบและดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ ยานพาหนะดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยจำนวน 15 รายการ “โดยวิธีพิเศษ” ซึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการ กทม. ได้เห็นชอบและอนุมัติ ทันที
9. บริษัท สไตเออร์ฯ ได้เสนอราคาและเอกสารทางวิชาการต่อคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ โดยกรรมการได้ต่อรองราคา โดยให้ลดราคาลงมาอีก แต่ทางบริษัทมีหนังสือลงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 “ยืนยันราคาเดิม” แต่ยินดีเสนออุปกรณ์อะไหล่ และเครื่องมือที่จำเป็นให้ฟรีๆ คือ 1. อุปกรณ์อะไหล่มีมูลค่า 3 แสนยูโร และ 2. เสนอโครงการฝึกอบรม คือ การฝึกอบรม ณ โรงงานของผู้ผลิตในออสเตรีย สำหรับพนักงาน 30 คน เป็นเวลา 10 วัน และการฝึกอบรมในประเทศไทย จำนวน 2 ชุดๆ ละ 50 คน เป็นเวลา 10 วัน 3. การตรวจรับให้ครบ ผู้ตรวจรับจำนวน 5 คน รวม 3 ชุด ไปตรวจรับต้นแบบที่ออสเตรียเป็นเวลา 10 วัน
10. วันที่ 25 สิงหาคม 2547 คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ มีหนังสือ กท 1800/1087 ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “เพื่อรายงานผลและขอให้นำเรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ” และต่อมาเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 คืออีก 2 วันถัดมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติให้เป็นโครงการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษได้
11. หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุมัติให้เป็นการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษดังกล่าวแล้ว ในวันเดียวกัน คือ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และบริษัท สไตเออร์ฯ ได้ลงนามใน “ข้อตกลงซื้อขาย ประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างไทยและออสเตรเลีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัท สไตเออร์ฯ” ที่มีการเขียนเป็นภาษาอังกฤษในข้อตกลงซื้อขายนี้ว่า “PURCHASE/SALE AGREEMENT CONNECTION WITH THE AGREEMENT OF UNDERSTANDING...” และในวันเดียวกัน ปลัดกรุงเทพมหานคร มีหนังสือ กท 1800/4238 เรียนอัยการสูงสุด ขอถอนร่างข้อตกลงจัดซื้อตามโครงการที่ส่งให้ตรวจสอบ
12. มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 มิถุนายน 2547 โดยผลการเลือกตั้ง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้ง, แต่ยังไม่ได้เข้ารับหน้าที่ต่อจากนายสมัคร สุนทรเวช
13. วันที่ 30 สิงหาคม 2547 นายสมัคร ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้อนุมัติ ตามหนังสือของ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หนังสือที่ กท1800/1108 ลงวันเดียวกัน คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2547 ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ในการเปิด L/C หรือหนังสือเลตเตอร์ ออฟ เครดิต กับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นเงิน 20 ล้านบาท และค่ารถยนต์ดับเพลิง ครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัย ชุดดับเพลิงชนิดต่างๆ อีก 1 ล้านบาท รวมเป็น 21 ล้านบาท
14. วันที่ 31 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช มีหนังสือที่ กท 1800/4322 เรียนกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขอเปิด L/C ให้กับผู้ขายคือ บริษัท สไตเออร์ฯ โดยมอบอำนาจให้ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ เป็นผู้ดำเนินการเปิดและลงนามใน L/C แทนกรุงเทพมหานคร
การร้อยเรียงจัดลำดับความเป็นมาของเรื่องราวจัดลำดับความเป็นมาของเรื่องรถ-เรือดับเพลิงนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2546 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 เป็นการปูพื้นให้เห็นลักษณะของการจัดหา/จัดซื้อ โดยที่มีรายละเอียดของตัวเลข และเลขหนังสือที่เกี่ยวข้องว่าได้มีการเคลื่อนไหวและทำอะไรกันอย่างไร?
มีข้อสังเกตอยู่หลายประการ โดยเฉพาะ
ความเร่งรีบของการดำเนินงานในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2547
เนื่องจากการร้อยเรียงอย่างกระชับแล้ว ก็ยังมีความยาวอยู่ดี จนยากที่จะจบลงได้ในฉบับวันนี้, จึงได้แบ่งสาระและเหตุการณ์ไว้เป็นช่วงตอน คือในตอนแรกนี้, เป็นช่วงที่ นายสมัคร สุนทรเวช ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และช่วงที่ 2 ในการรายงานครั้งต่อไป คือช่วงที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ามารับหน้าที่ ในวันที่ 6 กันยายน 2547 ได้พยายามที่จะ “ล้ม” โครงการนี้แต่ล้มไม่ลง, เพราะมีการวางรากฐานไว้แข็งแรง และอยู่ในอำนาจรัฐของรัฐบาล “ทักษิณ” ทำให้โครงการเดินต่อมาได้เรื่อยๆ แบบไม่มีอะไรต้องร้อนใจเลย
กรอบหน้า “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” จึงขอทำหน้าที่นี้ คือให้เรื่องราวเข้าถึงกระดูก ด้วยความในเอกสารหลักฐาน, โดยที่เห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องแรกที่อดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลหน้าเหลี่ยม รวมทั้งนายสมัคร ซึ่งเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลครั้งก่อนๆ ถือว่าเป็นนักการเมืองคนสำคัญ และเป็นลูกคู่ในยุค “ทักษิณ” อย่างเปิดเผย ก็โดนข้อหาด้วย
เท็จจริงต้องอยู่ที่อัยการ ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาส่งคดีไปศาล เมื่อทางกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว แต่ข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางราชการที่ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” รายงานนี้ เป็นการให้ความจริงในส่วนที่มีหลักฐานปรากฏอยู่จริง ไม่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนของ คตส.และการพิจารณาของอัยการ
ประเด็นที่จะต้องรายงานและทำความเข้าใจก่อน ที่ต้องแยกกัน คือ คตส.มุ่งเป้าไปที่การกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ จะเสียหายอย่างไรก็ว่ากันไป และอีกประเด็นคือ การซื้อขาย ซึ่งแม้ว่าจะมีการ “เอาผิด” กับคนที่จัดการซื้อ แต่ก็ไม่มีผลกระทบไปถึงคนขาย เพราะเป็นการขายภายใต้ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อยินยอมตามข้อตกลงทำสัญญาซื้อขายกันแล้วอย่างถูกต้อง มีการปฏิบัติกันตามสัญญาครบถ้วนมาจากฝ่ายผู้ขาย ทางผู้ซื้อก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น, ครั้นจะมีการเอาผิดกับทางผู้ดำเนินการซื้อว่า เป็นการทำข้อตกลงที่เสียเปรียบ หรือราคาแพงไป ก็เป็นการเอาความผิด หรือมีข้อกล่าวหากับทางผู้ดำเนินการซื้อฝ่ายเดียว ไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงการปฏิบัติตามสัญญาที่ผู้ขายไม่ได้ผิดสัญญา และไม่มีเหตุจะระงับหรือเลิกสัญญาได้ เมื่อสินค้าคือรถและเรือดับเพลิง ได้มีการตรวจรับแล้วว่า มีคุณลักษณะ (SPECS) ครบตามที่ระบุในสัญญา มีการส่งมอบได้ตรงตามเวลาในสัญญา เรื่องของการปฏิบัติตามสัญญาที่น่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่ต้องดำเนินต่อไป
จะเอาผิดว่า-เกิดความเสียหายต่อรัฐ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็เป็นเรื่องคนที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อดังที่ คตส.ได้สรุปมาแล้ว และ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ก็เข้ามาแยกธาตุให้เห็นกันตามหน้าที่ ให้มีความชัดเจนดังนี้:
1. เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรีย ประจำประเทศไทย คือ ดร.เฮอร์แบร์ท ทรักเซิล ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เสนอโครงการจัดหารถดับเพลิงและอุปกรณ์ให้พิจารณา โดยมีการเสนอจัดหาทุน พร้อมพันธะการค้าต่างตอบแทน (COUNTER TRADE) เต็ม 100% โดยเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G TO G) และวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรีย ได้เข้าพบ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เสนอให้โครงการดังกล่าวดำเนินการเพื่อกรุงเทพมหานคร คือเป็นการขายให้กับกรุงเทพมหานครผ่านทางกระทรวงมหาดไทย และมีการ “ตั้งเรื่อง” กันขึ้นตรงจุดนี้ แล้วโยนลูกต่อไปให้ทางกรุงเทพมหานคร และเชื่อมต่อโครงการกันได้
2. วันที่ 3 มีนาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีสาระว่า ยินดีรับข้อเสนอและเห็นด้วย จึงขออนุมัติ “โครงการพัฒนาระบบบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร” โดยใช้เงินงบประมาณตามโครงการเป็นเงิน 156,953,203 ยูโร คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นคือ 50 บาทต่อ 1 ยูโร เป็นเงิน 7,847,660,150 บาท โดยในหนังสือนั้นกล่าวว่า เป็นไปตามโครงการความช่วยเหลือแบบรัฐต่อรัฐ จากรัฐบาลออสเตรีย มีเงื่อนไขในการทำสัญญาและการชำระเงิน โดยมีระยะเวลาปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี และมีกำหนดเริ่มชำระในเดือนที่ 25 นับแต่วันทำสัญญา และชำระครั้งต่อไปทุกๆ 6 เดือน จนถึงเดือนที่ 73 โดยกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้เงินงบประมาณของ กทม.ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 60 เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำเรื่องเสนอคณะในรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ
3. วันที่ 22 มิถุนายน 2547 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ 2 ข้อของโครงการฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้มีการดำเนินการต่อไปได้ โดยได้รับความเห็นชอบดำเนินการตามโครงการจากคณะรัฐมนตรี
4. กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร มีการประชุมหารือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ผลของการประชุมสรุปได้คือ
• เดิมตั้งวงเงินงบประมาณไว้ 156,953,203 ยูโร เป็นเงินไทยประมาณ 7,847,660,150 บาท ได้ลดวงเงินลงมาเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 133,749,780 ยูโร คิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,687,489,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นการจัดหาเท่าที่จำเป็น สรุปได้ว่า งบประมาณที่ลดลงมานี้ เพื่อจัดหารถดับเพลิง 315 คัน เรือดับเพลิง 30 ลำ และครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
• ที่ประชุมพิจารณาสัดส่วนของงบประมาณตามโครงการนี้ ให้เป็นไปตามเดิมคือ จ่ายจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลร้อยละ 60 และเป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครร้อยละ 40
• ดำเนินการค้าต่างตอบแทนกับออสเตรียเต็มตามมูลค่า 100% ของการซื้อ โดยรัฐบาลออสเตรียต้องซื้อสินค้าการเกษตรจากไทยเป็นการตอบแทน โดยให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการค้าต่างตอบแทน
5. วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำผลการดำเนินการแจ้งกับคณะรัฐมนตรีรับทราบ พร้อมกับแนบรายการสินค้าที่จะซื้อจำนวน 15 รายการให้ ครม.ทราบด้วย
6. วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเอกอัครราชทูตออสเตรีย ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (A.O.U.) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย ระบุว่า เป็นความเห็นชอบของรัฐบาลไทย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กับบริษัท สไตเออร์ฯ ประเทศออสเตรีย (STEYR DAIMLER-PUCH SPEZIAL ALFAHRZEUG & CO RG)
7. วันที่ 18 สิงหาคม 2547 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีหนังสือที่ กท 1900/407 ถึงประธานสภากรุงเทพมหานคร เพื่อขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร ในโครงการดังกล่าว และการประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 สิงหาคม 2547 สภาฯ มีมติให้ความเห็นชอบ
8. วันที่ 30 สิงหาคม 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหนังสือ กท 1800/1057 เรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอความเห็นชอบและดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ ยานพาหนะดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยจำนวน 15 รายการ “โดยวิธีพิเศษ” ซึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการ กทม. ได้เห็นชอบและอนุมัติ ทันที
9. บริษัท สไตเออร์ฯ ได้เสนอราคาและเอกสารทางวิชาการต่อคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ โดยกรรมการได้ต่อรองราคา โดยให้ลดราคาลงมาอีก แต่ทางบริษัทมีหนังสือลงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 “ยืนยันราคาเดิม” แต่ยินดีเสนออุปกรณ์อะไหล่ และเครื่องมือที่จำเป็นให้ฟรีๆ คือ 1. อุปกรณ์อะไหล่มีมูลค่า 3 แสนยูโร และ 2. เสนอโครงการฝึกอบรม คือ การฝึกอบรม ณ โรงงานของผู้ผลิตในออสเตรีย สำหรับพนักงาน 30 คน เป็นเวลา 10 วัน และการฝึกอบรมในประเทศไทย จำนวน 2 ชุดๆ ละ 50 คน เป็นเวลา 10 วัน 3. การตรวจรับให้ครบ ผู้ตรวจรับจำนวน 5 คน รวม 3 ชุด ไปตรวจรับต้นแบบที่ออสเตรียเป็นเวลา 10 วัน
10. วันที่ 25 สิงหาคม 2547 คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ มีหนังสือ กท 1800/1087 ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “เพื่อรายงานผลและขอให้นำเรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติให้จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ” และต่อมาเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 คืออีก 2 วันถัดมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติให้เป็นโครงการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษได้
11. หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุมัติให้เป็นการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษดังกล่าวแล้ว ในวันเดียวกัน คือ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และบริษัท สไตเออร์ฯ ได้ลงนามใน “ข้อตกลงซื้อขาย ประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างไทยและออสเตรเลีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัท สไตเออร์ฯ” ที่มีการเขียนเป็นภาษาอังกฤษในข้อตกลงซื้อขายนี้ว่า “PURCHASE/SALE AGREEMENT CONNECTION WITH THE AGREEMENT OF UNDERSTANDING...” และในวันเดียวกัน ปลัดกรุงเทพมหานคร มีหนังสือ กท 1800/4238 เรียนอัยการสูงสุด ขอถอนร่างข้อตกลงจัดซื้อตามโครงการที่ส่งให้ตรวจสอบ
12. มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 มิถุนายน 2547 โดยผลการเลือกตั้ง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้ง, แต่ยังไม่ได้เข้ารับหน้าที่ต่อจากนายสมัคร สุนทรเวช
13. วันที่ 30 สิงหาคม 2547 นายสมัคร ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้อนุมัติ ตามหนังสือของ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หนังสือที่ กท1800/1108 ลงวันเดียวกัน คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2547 ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ในการเปิด L/C หรือหนังสือเลตเตอร์ ออฟ เครดิต กับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นเงิน 20 ล้านบาท และค่ารถยนต์ดับเพลิง ครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัย ชุดดับเพลิงชนิดต่างๆ อีก 1 ล้านบาท รวมเป็น 21 ล้านบาท
14. วันที่ 31 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช มีหนังสือที่ กท 1800/4322 เรียนกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขอเปิด L/C ให้กับผู้ขายคือ บริษัท สไตเออร์ฯ โดยมอบอำนาจให้ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ เป็นผู้ดำเนินการเปิดและลงนามใน L/C แทนกรุงเทพมหานคร
การร้อยเรียงจัดลำดับความเป็นมาของเรื่องราวจัดลำดับความเป็นมาของเรื่องรถ-เรือดับเพลิงนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2546 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 เป็นการปูพื้นให้เห็นลักษณะของการจัดหา/จัดซื้อ โดยที่มีรายละเอียดของตัวเลข และเลขหนังสือที่เกี่ยวข้องว่าได้มีการเคลื่อนไหวและทำอะไรกันอย่างไร?
มีข้อสังเกตอยู่หลายประการ โดยเฉพาะ
ความเร่งรีบของการดำเนินงานในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2547
เนื่องจากการร้อยเรียงอย่างกระชับแล้ว ก็ยังมีความยาวอยู่ดี จนยากที่จะจบลงได้ในฉบับวันนี้, จึงได้แบ่งสาระและเหตุการณ์ไว้เป็นช่วงตอน คือในตอนแรกนี้, เป็นช่วงที่ นายสมัคร สุนทรเวช ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และช่วงที่ 2 ในการรายงานครั้งต่อไป คือช่วงที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ามารับหน้าที่ ในวันที่ 6 กันยายน 2547 ได้พยายามที่จะ “ล้ม” โครงการนี้แต่ล้มไม่ลง, เพราะมีการวางรากฐานไว้แข็งแรง และอยู่ในอำนาจรัฐของรัฐบาล “ทักษิณ” ทำให้โครงการเดินต่อมาได้เรื่อยๆ แบบไม่มีอะไรต้องร้อนใจเลย