พิษณุโลก - อบต.วังยางเมืองสองแคว ใช้วิธีลงคะแนนลับไฟเขียวโรงโม่ทำเหมืองหิน ท่ามกลางกระแสต่อต้าน ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์ไม่ยอมแพ้ เตรียมยื่นเรื่องร้องกรรมการสิทธิฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง(อบต.) อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกันในวาระสำคัญ เรื่องการพิจารณาการขอสัมปทานบัตรของ หจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ชนิดแร่ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม บริเวณเขาซับพัง หมู่ที่ 1 บ้านคลองตะเคียน ต.วังยาง อ.เนินมะปราง หลังคนในพื้นที่มีทั้งเห็นด้วย และคัดค้านการตั้งของโรงโม่หิน โดยชาวบ้านที่ส่วนใหญ่คัดค้านร่วมรับฟังพร้อมสมาชิกอบต.วังยางจำนวน 14 คนรวมแล้วนับ 100 คน ท่ามกลางตำรวจสภ.ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง และพ.ท.ชาคริต อุจะรัตน์ ผบ.พันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 4 ค่ายสฤษดิ์เสนาอุปถัมภ์ อ.วังทอง เฝ้าสังเกตการณ์
นายปัญญา คำหล่อ นายกอบต.วังยาง กล่าวว่า หจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองหินในพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.วังยางจำนวน 272 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา(ตร.ว.)ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2550 เมื่อ อบต.วังยาง ได้รับหนังสือจากอุตสาหกรรมจังหวัด และ อ.เนินมะปราง จึงดำเนินการทำประชาคม ใน 3 หมู่บ้าน ที่เหลือไม่ทำประชาคมทั้งนี้หมู่ที่ 1 บ้านคลองตะเคียน เป็นสถานที่ตั้งโรงโม่หิน มีมติเห็นด้วย 40 เสียง ไม่เห็นด้วย 13 เสียง และงดออกเสียง 26 เสียง หมู่ 2 บ้านไทรดงยั้ง มีมติเห็นด้วย 170 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และหมู่ที่ 5 บ้านทุ่งนาดี มีมติไม่เห็นด้วย 57 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง
ข้อดีกรณีเกิดโรงโม่หินประชาชนจะมีงานทำ มีรายได้ดีขึ้น ถนนจะได้รับการพัฒนา ประชาชนในพื้นที่จะได้ซื้อหินในราคาถูก รัฐบาลมีค่าภาคหลวงกลับมาให้ท้องถิ่น อบต.มีรายได้โดยตรงจากโรงโม่หิน 20 % มีแหล่งหินอุตสาหกรรมในการพัฒนาจังหวัด
ส่วนข้อเสียนั้น จะมีมลพิษด้านเสียง การสั่นสะเทือนรบกวนสุขภาพจิต มลพิษจากฝุ่นละออง ฝุ่นจากรถบรรทุก หินร่วงตามท้องถนน ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และทำลายระบบนิเวศน์ แต่ที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษ์ลงรายชื่อจำนวน 496 คน ยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งโรงโม่หิน ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านหลายคนสนับสนุน
ในการประชุมครั้งนี้ ประธานสภาอบต.วังยาง เสนอให้ลงคะแนนลับแทนการยกมือแบบโปร่งใสตามมติลงคะแนนลับ ด้วยคะแนน 10 ต่อ 2 เสียง ทำให้กลุ่มชาวบ้านที่มาร่วมรับฟังการประชุมไม่พอใจ ต่างเดินออกจากที่ประชุม เพราะก่อนหน้านี้รู้ดีว่า สมาชิกอบต.วังยางบางรายทำงานไม่โปร่งใส ซึ่งผลการลงคะแนนลับก็เป็นไปตามคาด คือ มีมติเห็นด้วยตั้งโรงโม่หิน 8 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง บัตรเสีย 1 เสียง
นายสงคราม อุ่นแก้ว ประธานกลุ่มอนุรักษ์และคัดค้านสัมปทานโรงโม่หิน เปิดเผยว่า เสียใจ ที่ อบต.หลายคนไม่ทำหน้าที่ตามความต้องการของชาวบ้าน จากนี้จะระดมความคิดเห็นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ พื้นที่ขอสัมปทาน บริเวณเขาซับพัง ของหจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ขอเปิดโรงโม่หิน เป็นแนวเขาหินปูน มีความสูงจากพื้นประมาณ 100-200 เมตร บริเวณด้านหลังเป็นเทือกเขาหินปูน ติดเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทิศใต้มีที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ สล.7 อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง โดยด้านหน้าเทือกเขาเป็นที่ราบชาวบ้านเคยใช้ทำเป็นพื้นที่ทำเกษตร การอนุมัติสัมปทานดังกล่าว กลุ่มฯไม่เห็นด้วย เพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ำที่ชาวบ้านใช้อุปโภค-บริโภค และเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าอีกจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มอนุรักษ์ เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่เบื้องต้นจะเดินทางมาเปิดประชุมที่อ.เมืองพิษณุโลก คาดว่าในวันที่ 2 มีนาคม 2550 เพื่อค้านการก่อตั้งโรงโม่หิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง(อบต.) อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกันในวาระสำคัญ เรื่องการพิจารณาการขอสัมปทานบัตรของ หจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ชนิดแร่ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม บริเวณเขาซับพัง หมู่ที่ 1 บ้านคลองตะเคียน ต.วังยาง อ.เนินมะปราง หลังคนในพื้นที่มีทั้งเห็นด้วย และคัดค้านการตั้งของโรงโม่หิน โดยชาวบ้านที่ส่วนใหญ่คัดค้านร่วมรับฟังพร้อมสมาชิกอบต.วังยางจำนวน 14 คนรวมแล้วนับ 100 คน ท่ามกลางตำรวจสภ.ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง และพ.ท.ชาคริต อุจะรัตน์ ผบ.พันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 4 ค่ายสฤษดิ์เสนาอุปถัมภ์ อ.วังทอง เฝ้าสังเกตการณ์
นายปัญญา คำหล่อ นายกอบต.วังยาง กล่าวว่า หจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองหินในพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.วังยางจำนวน 272 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา(ตร.ว.)ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2550 เมื่อ อบต.วังยาง ได้รับหนังสือจากอุตสาหกรรมจังหวัด และ อ.เนินมะปราง จึงดำเนินการทำประชาคม ใน 3 หมู่บ้าน ที่เหลือไม่ทำประชาคมทั้งนี้หมู่ที่ 1 บ้านคลองตะเคียน เป็นสถานที่ตั้งโรงโม่หิน มีมติเห็นด้วย 40 เสียง ไม่เห็นด้วย 13 เสียง และงดออกเสียง 26 เสียง หมู่ 2 บ้านไทรดงยั้ง มีมติเห็นด้วย 170 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และหมู่ที่ 5 บ้านทุ่งนาดี มีมติไม่เห็นด้วย 57 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง
ข้อดีกรณีเกิดโรงโม่หินประชาชนจะมีงานทำ มีรายได้ดีขึ้น ถนนจะได้รับการพัฒนา ประชาชนในพื้นที่จะได้ซื้อหินในราคาถูก รัฐบาลมีค่าภาคหลวงกลับมาให้ท้องถิ่น อบต.มีรายได้โดยตรงจากโรงโม่หิน 20 % มีแหล่งหินอุตสาหกรรมในการพัฒนาจังหวัด
ส่วนข้อเสียนั้น จะมีมลพิษด้านเสียง การสั่นสะเทือนรบกวนสุขภาพจิต มลพิษจากฝุ่นละออง ฝุ่นจากรถบรรทุก หินร่วงตามท้องถนน ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และทำลายระบบนิเวศน์ แต่ที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษ์ลงรายชื่อจำนวน 496 คน ยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งโรงโม่หิน ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านหลายคนสนับสนุน
ในการประชุมครั้งนี้ ประธานสภาอบต.วังยาง เสนอให้ลงคะแนนลับแทนการยกมือแบบโปร่งใสตามมติลงคะแนนลับ ด้วยคะแนน 10 ต่อ 2 เสียง ทำให้กลุ่มชาวบ้านที่มาร่วมรับฟังการประชุมไม่พอใจ ต่างเดินออกจากที่ประชุม เพราะก่อนหน้านี้รู้ดีว่า สมาชิกอบต.วังยางบางรายทำงานไม่โปร่งใส ซึ่งผลการลงคะแนนลับก็เป็นไปตามคาด คือ มีมติเห็นด้วยตั้งโรงโม่หิน 8 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง บัตรเสีย 1 เสียง
นายสงคราม อุ่นแก้ว ประธานกลุ่มอนุรักษ์และคัดค้านสัมปทานโรงโม่หิน เปิดเผยว่า เสียใจ ที่ อบต.หลายคนไม่ทำหน้าที่ตามความต้องการของชาวบ้าน จากนี้จะระดมความคิดเห็นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ พื้นที่ขอสัมปทาน บริเวณเขาซับพัง ของหจก.ช่างพินิจปิโตรเลียม ขอเปิดโรงโม่หิน เป็นแนวเขาหินปูน มีความสูงจากพื้นประมาณ 100-200 เมตร บริเวณด้านหลังเป็นเทือกเขาหินปูน ติดเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทิศใต้มีที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ สล.7 อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง โดยด้านหน้าเทือกเขาเป็นที่ราบชาวบ้านเคยใช้ทำเป็นพื้นที่ทำเกษตร การอนุมัติสัมปทานดังกล่าว กลุ่มฯไม่เห็นด้วย เพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ำที่ชาวบ้านใช้อุปโภค-บริโภค และเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าอีกจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มอนุรักษ์ เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่เบื้องต้นจะเดินทางมาเปิดประชุมที่อ.เมืองพิษณุโลก คาดว่าในวันที่ 2 มีนาคม 2550 เพื่อค้านการก่อตั้งโรงโม่หิน