การร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้เป็นความหวังอันสำคัญของคนไทยที่อยากเห็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกลับสู่สภาวะปกติ กล่าวคือ มีการเลือกตั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การบริหารประเทศ การออกกฎหมาย โดยประชาชนสามารถประกอบภารกิจส่วนตัวและการทำมาหากินตามปกติวิสัยต่อไป
รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดเพื่อการวางกติกากระบวนการทางการเมือง การบริหารประเทศ การควบคุมการใช้อำนาจ และการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันไปตามประวัติความเป็นมา ประเพณีวัฒนธรรม ของการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและการบริหาร แต่รัฐธรรมนูญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะเกี่ยวข้องอยู่ 3 ส่วนเหมือนกันทุกประเทศ คือ
ส่วนที่หนึ่ง ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีการอ้างถึงประชาชนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบสังคมนิยมในจีนสมัยเหมา เจ๋อตุง ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอังกฤษหรือระบบประธานาธิบดีอเมริกา ส่วนใหญ่ต้องอ้างถึงประชาชนและประเทศชาติ แต่ในกรณีของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีจุดสำคัญคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ผู้ใช้อำนาจรัฐอันได้แก่รัฐบาลนั้นมาจากความยินยอมของปวงชน โดยมีสัญญาประชาคมที่สำคัญคือ การใช้อำนาจรัฐนั้นต้องทำในนามของประชาชนในลักษณะของตัวแทน ดังนั้น ผู้ใช้อำนาจจึงต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ตามอมตะพจน์ของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประชาชนต้องมีสิทธิในการมีส่วนร่วม และสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานต้องได้รับความคุ้มครองโดยลายลักษณ์อักษร โดยประเพณี และโดยการบังคับกฎหมาย
ส่วนที่สอง โครงสร้าง อำนาจ การเมืองการบริหาร อันได้แก่ โครงสร้างและกระบวนการทางการเมืองการบริหาร คำว่ารัฐธรรมนูญซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า constitution หมายถึงโครงสร้างหรือการสร้างโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งโดยหลักทั่วไปก็คือการมี 3 อำนาจ ได้แก่ นิติบัญญัติในรูปแบบของรัฐสภา ฝ่ายบริหารในรูปแบบของรัฐบาล และฝ่ายตุลาการอันได้แก่ศาล เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ รวมตลอดทั้งศาลยุติธรรมทั่วไป หลักการใหญ่ก็คือทั้งสามอำนาจนี้จะต้องมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริงก็จะมีการคาบเกี่ยวกันในลักษณะร่วมกันใช้อำนาจ แต่ที่สำคัญที่สุดโครงสร้างและกระบวนการนี้ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวกำหนดขึ้นนั้นจะต้องสามารถคัดสรรคนดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและมีจริยธรรม เข้ามาสู่กลไกของอำนาจรัฐ เพราะผู้ใช้อำนาจรัฐที่มีอำนาจเกินเลยโดยขาดการตรวจสอบ อาจจะลุแก่อำนาจ ละเมิดหลักนิติธรรม ข่มเหงบีฑาประชาราษฎร์ ระบบการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ดีจึงต้องมีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการได้คนดีมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม เข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจเข้ามาบริหารประเทศ
ขณะเดียวกันคนซึ่งขาดคุณสมบัติดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั่ว คนขาดอุดมการณ์ คนไม่มีคุณธรรมจริยธรรม คนที่มีแนวโน้มที่จะฉ้อราษฎร์บังหลวง ลุแก่อำนาจ แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ จะต้องถูกกันให้ออกนอกกลไกอำนาจรัฐ ระบบใดก็ตามที่ไม่สามารถจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ ระบบนั้นย่อมเสี่ยงต่อการล่มสลายหรือสร้างความปั่นป่วนในสังคมได้
ส่วนที่สาม คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ ถึงแม้ในส่วนที่สองคือโครงสร้างและกระบวนการซึ่งเรียกโดยรวมว่าเป็นระบบจะดีอย่างไรก็ตาม ก็ย่อมขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่อยู่ในระบบนั้น และนี่เป็นปัญหาไก่กับไข่มาตลอดว่าระหว่างระบบกับคนอันไหนสำคัญกว่า คำตอบก็คือ สำคัญเท่ากัน ถ้าระบบไม่ดีถึงแม้คนดีมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ก็อาจจะถูกจูงให้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง หรือด้วยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือถ้าระบบดีแต่คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบก็พยายามหาช่องโหว่ของกฎหมาย หรือจุดอ่อนแอของระบบเพื่อหาทางทำสิ่งที่มิชอบได้ และบางครั้งก็อาจเปลี่ยนแปลงระบบด้วยกฎหมายถ้าสามารถกุมกลไกทางฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อส่วนของสังคมคือส่วนที่หนึ่งอ่อนแอเกินกว่าที่จะตรวจสอบได้อย่างสัมฤทธิผล ดังนั้น ถึงแม้ระบบจะดีอันเป็นผลมาจากส่วนที่สอง ส่วนที่สามอันเป็นส่วนของคนที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้
รัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้นั้น จึงต้องประกอบด้วย 3 ส่วนดังกล่าว คือส่วนของอำนาจอธิปไตยของปวงชน สิทธิของปวงชน ในส่วนที่สองคือ โครงสร้างและกระบวนการที่สามารถทำให้คนดี มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเข้าสู่อำนาจรัฐ และส่วนที่สามอันได้แก่การมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ ซึ่งถ้าส่วนที่สองดีถึงระดับที่สามารถคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบ ปัญหาในส่วนที่สามก็จะเบาบางลงแต่ก็ไม่หมดไปเสียทีเดียว
เมื่อมองในแนวนี้ก็อาจจะกล่าวได้ว่า หลักการที่กล่าวมาในสามส่วนเบื้องต้นนี้มีอยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ในสังคมไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนนั้นมีอยู่แล้วตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาอำนาจอธิปไตยของปวงชนถูกละเมิดโดยบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ เนื่องจากปัญหาที่มาจากส่วนที่สองว่าด้วยโครงสร้างและกระบวนการ และส่วนที่สามว่าด้วยผู้ใช้อำนาจรัฐที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม รวมตลอดทั้งอุดมการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
แต่ที่สำคัญก็คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นอำนาจที่ได้รับพระราชทานมาด้วยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาของพระองค์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ความว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยฉะเพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการซึ่งรัฐธรรมนูญจะต้องทำให้เกิดขึ้น เพื่อให้ได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศ และเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าวเข้ามาก่อความวุ่นวาย เป็นหลักการที่ดียิ่งของการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็ได้ปรากฏอยู่แล้วในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
ในส่วนที่สามซึ่งเกี่ยวกับการมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐนั้น มีตัวอย่างของบุคคลดังกล่าวที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยมีฐานแห่งคุณธรรมจริยธรรมหรือทศพิธราชธรรม อันเห็นได้จากปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่ง 60 ปีของการครองราชย์สมบัติองค์พระประมุข มีพระราชกรณียกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อพสกนิกรตามปฐมบรมราชโองการ จะเห็นได้จาก “ประชามติ” ของพสกนิกรเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่คนแต่งสีเหลืองมองเห็นสุดลูกหูลูกตา และเมื่อทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชน ประชาชนเป็นสิบๆ ล้านคนที่เข้าเฝ้าและที่อยู่หน้าจอโทรทัศน์น้ำตาคลอด้วยความปลื้มปีติ
9 มิถุนายน 2549
สีเหลืองเรืองอร่ามทั่วพื้นปฐพี
พระบารมีมหาธิคุณดุจพิรุณสวรรค์
ตะวันทองทรงกลดทศพิธราชธรรม์
ธ เสวยสวรรค์ขัตติยราชเพื่อประชาชาติไทย
15 กุมภาพันธ์ 2550
รัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ 3 ประการในสามส่วนที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น
รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดเพื่อการวางกติกากระบวนการทางการเมือง การบริหารประเทศ การควบคุมการใช้อำนาจ และการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันไปตามประวัติความเป็นมา ประเพณีวัฒนธรรม ของการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและการบริหาร แต่รัฐธรรมนูญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะเกี่ยวข้องอยู่ 3 ส่วนเหมือนกันทุกประเทศ คือ
ส่วนที่หนึ่ง ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีการอ้างถึงประชาชนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบสังคมนิยมในจีนสมัยเหมา เจ๋อตุง ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอังกฤษหรือระบบประธานาธิบดีอเมริกา ส่วนใหญ่ต้องอ้างถึงประชาชนและประเทศชาติ แต่ในกรณีของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีจุดสำคัญคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ผู้ใช้อำนาจรัฐอันได้แก่รัฐบาลนั้นมาจากความยินยอมของปวงชน โดยมีสัญญาประชาคมที่สำคัญคือ การใช้อำนาจรัฐนั้นต้องทำในนามของประชาชนในลักษณะของตัวแทน ดังนั้น ผู้ใช้อำนาจจึงต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ตามอมตะพจน์ของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประชาชนต้องมีสิทธิในการมีส่วนร่วม และสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานต้องได้รับความคุ้มครองโดยลายลักษณ์อักษร โดยประเพณี และโดยการบังคับกฎหมาย
ส่วนที่สอง โครงสร้าง อำนาจ การเมืองการบริหาร อันได้แก่ โครงสร้างและกระบวนการทางการเมืองการบริหาร คำว่ารัฐธรรมนูญซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า constitution หมายถึงโครงสร้างหรือการสร้างโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งโดยหลักทั่วไปก็คือการมี 3 อำนาจ ได้แก่ นิติบัญญัติในรูปแบบของรัฐสภา ฝ่ายบริหารในรูปแบบของรัฐบาล และฝ่ายตุลาการอันได้แก่ศาล เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ รวมตลอดทั้งศาลยุติธรรมทั่วไป หลักการใหญ่ก็คือทั้งสามอำนาจนี้จะต้องมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริงก็จะมีการคาบเกี่ยวกันในลักษณะร่วมกันใช้อำนาจ แต่ที่สำคัญที่สุดโครงสร้างและกระบวนการนี้ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวกำหนดขึ้นนั้นจะต้องสามารถคัดสรรคนดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและมีจริยธรรม เข้ามาสู่กลไกของอำนาจรัฐ เพราะผู้ใช้อำนาจรัฐที่มีอำนาจเกินเลยโดยขาดการตรวจสอบ อาจจะลุแก่อำนาจ ละเมิดหลักนิติธรรม ข่มเหงบีฑาประชาราษฎร์ ระบบการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ดีจึงต้องมีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการได้คนดีมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม เข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจเข้ามาบริหารประเทศ
ขณะเดียวกันคนซึ่งขาดคุณสมบัติดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั่ว คนขาดอุดมการณ์ คนไม่มีคุณธรรมจริยธรรม คนที่มีแนวโน้มที่จะฉ้อราษฎร์บังหลวง ลุแก่อำนาจ แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ จะต้องถูกกันให้ออกนอกกลไกอำนาจรัฐ ระบบใดก็ตามที่ไม่สามารถจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ ระบบนั้นย่อมเสี่ยงต่อการล่มสลายหรือสร้างความปั่นป่วนในสังคมได้
ส่วนที่สาม คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ ถึงแม้ในส่วนที่สองคือโครงสร้างและกระบวนการซึ่งเรียกโดยรวมว่าเป็นระบบจะดีอย่างไรก็ตาม ก็ย่อมขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่อยู่ในระบบนั้น และนี่เป็นปัญหาไก่กับไข่มาตลอดว่าระหว่างระบบกับคนอันไหนสำคัญกว่า คำตอบก็คือ สำคัญเท่ากัน ถ้าระบบไม่ดีถึงแม้คนดีมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ก็อาจจะถูกจูงให้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง หรือด้วยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือถ้าระบบดีแต่คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบก็พยายามหาช่องโหว่ของกฎหมาย หรือจุดอ่อนแอของระบบเพื่อหาทางทำสิ่งที่มิชอบได้ และบางครั้งก็อาจเปลี่ยนแปลงระบบด้วยกฎหมายถ้าสามารถกุมกลไกทางฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อส่วนของสังคมคือส่วนที่หนึ่งอ่อนแอเกินกว่าที่จะตรวจสอบได้อย่างสัมฤทธิผล ดังนั้น ถึงแม้ระบบจะดีอันเป็นผลมาจากส่วนที่สอง ส่วนที่สามอันเป็นส่วนของคนที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้
รัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้นั้น จึงต้องประกอบด้วย 3 ส่วนดังกล่าว คือส่วนของอำนาจอธิปไตยของปวงชน สิทธิของปวงชน ในส่วนที่สองคือ โครงสร้างและกระบวนการที่สามารถทำให้คนดี มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเข้าสู่อำนาจรัฐ และส่วนที่สามอันได้แก่การมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ ซึ่งถ้าส่วนที่สองดีถึงระดับที่สามารถคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบ ปัญหาในส่วนที่สามก็จะเบาบางลงแต่ก็ไม่หมดไปเสียทีเดียว
เมื่อมองในแนวนี้ก็อาจจะกล่าวได้ว่า หลักการที่กล่าวมาในสามส่วนเบื้องต้นนี้มีอยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ในสังคมไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนนั้นมีอยู่แล้วตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาอำนาจอธิปไตยของปวงชนถูกละเมิดโดยบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ เนื่องจากปัญหาที่มาจากส่วนที่สองว่าด้วยโครงสร้างและกระบวนการ และส่วนที่สามว่าด้วยผู้ใช้อำนาจรัฐที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม รวมตลอดทั้งอุดมการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
แต่ที่สำคัญก็คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นอำนาจที่ได้รับพระราชทานมาด้วยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาของพระองค์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ความว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยฉะเพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการซึ่งรัฐธรรมนูญจะต้องทำให้เกิดขึ้น เพื่อให้ได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศ และเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าวเข้ามาก่อความวุ่นวาย เป็นหลักการที่ดียิ่งของการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็ได้ปรากฏอยู่แล้วในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
ในส่วนที่สามซึ่งเกี่ยวกับการมีคุณธรรมจริยธรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐนั้น มีตัวอย่างของบุคคลดังกล่าวที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยมีฐานแห่งคุณธรรมจริยธรรมหรือทศพิธราชธรรม อันเห็นได้จากปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่ง 60 ปีของการครองราชย์สมบัติองค์พระประมุข มีพระราชกรณียกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อพสกนิกรตามปฐมบรมราชโองการ จะเห็นได้จาก “ประชามติ” ของพสกนิกรเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่คนแต่งสีเหลืองมองเห็นสุดลูกหูลูกตา และเมื่อทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชน ประชาชนเป็นสิบๆ ล้านคนที่เข้าเฝ้าและที่อยู่หน้าจอโทรทัศน์น้ำตาคลอด้วยความปลื้มปีติ
9 มิถุนายน 2549
สีเหลืองเรืองอร่ามทั่วพื้นปฐพี
พระบารมีมหาธิคุณดุจพิรุณสวรรค์
ตะวันทองทรงกลดทศพิธราชธรรม์
ธ เสวยสวรรค์ขัตติยราชเพื่อประชาชาติไทย
15 กุมภาพันธ์ 2550
รัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการ 3 ประการในสามส่วนที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น