รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯเผย นายกฯหารือวิปสนช.เรื่องการประสานความร่วมมือรัฐบาล-สนช.เกี่ยวกับการออกกฎหมาย ระบุไม่พูดถึงเรื่องฤาษีเลี้ยงเต่า ชี้ เป็นความเห็นของธีรยุทธฝ่ายเดียว "สพรั่ง"ไม่ติดใจการวิพากษ์วิจารณ์ ถือว่าเป็นเสียงเตือนด้วยความหวังดีจากญาติ ด้าน"สุรยุทธ์"ปลอบใจคนกรุง ชี้ขู่วางบึ้มภัยรูปแบบใหม่มาพร้อมโลกาวิวัตน์ วอนประชาชนอดทนภาวะอึมครึม อ้างทั่วโลกประสบวิกฤตเดียวกัน รัฐบาลเตรียมเพิ่มมาตรการปลอดภัยเข้ม พร้อมขอความร่วมมือคนกรุงร่วมสอดส่อง
นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าเมื่อวานนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะประสานงานสภานิติบัญญัติแห่ชาติ(วิปสนช.)ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ที่บ้านพิษณุโลก และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องทั่วไป ว่าจะทำอย่างไรให้การประสานงานระหว่างสนช.และรัฐบาลเป็นด้วยความราบรื่น แต่ไม่ได้หารือข้อกฎหมายอะไรเป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่อง พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่เกี่ยวกับหวยบนดินก็ไม่ได้มีการพูดถึง อย่างไรก็ตาม มีการพูดถึงความร่วมมือในการให้รัฐบาลนำข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายบางส่วนที่จะที่ประชุมสนช.ว่าจะมีทางหรือไม่ที่จะให้วิปสนช.ทราบข้อมูลก่อนประชุม
"มีการคุยกันอีกว่า รัฐบาลมีกฎหมายอะไรที่มีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะมีการหารือกับทางวิปสนช.หรือไม่ เพราะว่าเวลาของรัฐบาลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมีไม่มาก เพราะฉะนั้นถ้าจะมีอะไรก็ต้องช่วยกัน ส่วนเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญของหมวดหมู่ของกฎหมาย กฎหมายที่เขาร่างเสร็จแล้วจากกระทรวงที่จะนำเข้าครม.และกฎหมายที่ร่างไม่เสร็จ กฎหมายที่กำลังตรวจแก้ ผมก็กำลังทำอยู่ และก็ได้รายงานให้โต๊ะหารือฟังด้วย ส่วนกฎหมายที่อยู่ในสภาฯนั้นไม่ได้พูดถึง เพราะได้เข้าสู่กระบวนการสภานิติบัญญัติแล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิปสนช.ได้เสนอแนะการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ เพราะนายธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่งออกมาระบุว่ารัฐบาลทำงานเชื่องช้าเหมือนฤาษีขี่เต่า นายประสิทธิ์ กล่าวว่า วิปสนช.ไม่ได้พูดถึงเรื่องของนายธีรยุทธเลย ส่วนความเห็นของนายธีรยุทธ ก็คงเป็นความคิดเห็นของนายธีรยุทธ์ ที่เราก็คงรับฟังเอาไว้ แต่เรื่องนี้ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์เขาจะให้ข้อมูลนายธีรยุทธ บ้างก็คงจะดี เพราะตนเข้าใจว่าหลายเรื่องที่รัฐบาลและหลายๆกระทรวงได้ทำไปแล้ว ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรบางอย่างที่นายธีรยุทธอาจจะไม่รู้ ซึ่งมีกฎหมายส่วนหนึ่งที่ตนไม่ได้ชี้แจง แต่ทำไปเรื่อยๆ คือกฎหมายเกี่ยวกับจริยธรรม ศีลธรรม ธรรมาภิบาล และกฎหมายที่ป้องปรามเกี่ยวกับทุจริต ซึ่งตนก็ไม่ได้คุยกับสื่อมวลชนเลย แต่อนาคตข้างหน้าอาจจะรอทำให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะแถลง
พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)กล่าวว่า ยินดีรับฟังความคิดเห็นของนายธีรยุทธ บุญมี ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน เพราะเห็นว่าเหมือนเป็นญาติที่ออกมาเตือนด้วยความหวังดี แม้จะใช้ถ้อยคำที่รุนแรงก็เป็นไปตามลักษณะเฉพาะของตัวบุคคล ซึ่งหลังจากนี้ คมช.จะได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ทันที เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา แต่หากมีส่วนใดที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อน หรือจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาต่างกัน ก็จะต้องชี้แจงให้เข้าใจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าการออกมาติติงของนายธีรยุทธ ไม่ใช่เกิดจากการกล่าวหาลอยๆ แต่เป็นการเฝ้าติดตามปัญหามาโดยตลอด โดยขอยืนยันว่า คมช.มีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน แต่วิธีการทำงานเพื่อไปถึงเป้าหมายอาจจะถูกมองว่าเชื่องช้า ไม่รวดเร็วทันใจ หรือไม่มีความเด็ดขาด เพราะกลุ่มนายทหารที่ทำรัฐประหารครั้งนี้มีความแตกต่างจากในอดีต นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้ามาจากเรื่องของการใช้กฎหมายและการใช้อำนาจในการควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่แรกต้องมีความเข้มแข็งกว่านี้
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่อง นายธีรยุทธ บุญมี ให้ฉายา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่าเป็นฤาษีเลี้ยงเต่า ว่า เป็นความเห็นของนักวิชาการ ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟัง คำวิพากษ์วิจารณ์ ติติงต่างๆอยู่แล้ว เพราะนายธีรยุทธถือเป็นนักวิชาการอาวุโส
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าการทำงานของ พล.อ.สุรยุทธ์ มีความรวดเร็ว และรอบคอบ นโยบายหลักของรัฐบาล คือ การยึดความเป็นธรรมใน 4 ป. ซึ่งความเป็นธรรมก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ฉะนั้นจะไปการดำเนินการอย่างเฉียบขาด ไม่รอบคอบ ตนคิดว่าคงจะไม่เป็นไปตามแนวทาง หลักการที่ยึดถือ เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และมีความโปร่งใส ฉะนั้นอาจจะทำให้การดำเนินการสอบสวนโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะล่าช้าในสายตาของประชาชน แต่ก็เป็นไปตามกรอบกฎหมายที่ควรจะเป็น
ในด้านการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีนั้น รวดเร็ว ไม่ช้า รัฐบาลแก้ปัญหาหลายอย่างรวดเร็ว เช่น การแก้ปัญหางบประมาณประจำปี 2550 รถไฟฟ้า 5 สาย และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หลายเรื่องก็ดำเนินการอย่างรวดเร็ว ส่วนการลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็ได้ลงมือทำตั้งแต่แรกที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน นโยบายโดยการแก้ปัญหาอย่างสันติ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในภาคใต้ก็ให้การสนับสนุน องค์กรระหว่างประเทศก็ให้การสนับสนุนแนวคิดนี้ ขณะเดียวกันทหารพราน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ก็พึ่งจะลงไป ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ก็พึ่งจะเริ่มทำงาน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องใช้เวลา
เมื่อถามว่า จะมีเรื่องไหนบ้างที่คิดว่าจะปรับปรุงจากการข้อเสนอของนักวิชาการ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนใหญ่ก็ทำไปแล้ว เพียงแต่การเน้นย้ำบางเรื่องเช่น การสานสัมพันธ์กับมวลชนนั้น ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะบางพื้นที่อาจจะล่อแหลม แต่ก็มีทีมงานถึง 88 ทีม สิ่งต่างๆที่แนะนำมาก็ดำเนินการอยู่ รัฐบาลก็ยินดีรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด รวมถึงข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการบรรยายสรุปของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่า ไม่ได้มีการพูดถึงการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเหตุระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพยายามที่จะช่วยกันดูแล ก็จะเกิดความปลอดภัย และสิ่งใดที่เราจะต้องยอมอดทนและช่วยกันในช่วงนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการ เพราะในทุกๆ ประเทศก็จะมีปัญหาตรงนี้เช่นเดียวกันเรา เพราะเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ประเทศอื่นๆที่มีการใช้วัตถุระเบิดก็เกิดขึ้นเสมอ
ส่วนที่ต่างประเทศมีการออกข่าวว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย และมีการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวของเขาที่มาเที่ยวประเทศไทยนั้น นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งเมื่อเป็นปัญหาทุกๆประเทศก็เข้าใจ ไม่ว่าคนไทยจะไปประเทศอังกฤษ อินโดนีเซีย ก็มีการเตือนอย่างนี้เสมอ แม้กระทั่งไปออสเตรเลีย ก็มีการเตือน ฉะนั้นมันเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่อย่างที่บอกแล้ว ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย ทุกๆประเทศก็ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ เขาได้ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันว่าจะต้องระมัดระวังในการเข้าไปสถานที่บางแห่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาเป็นเรื่องที่เขามีความห่วงใยคนของเขา ในส่วนของเราเองจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาบ้านเราว่าเราจะดูแลเขาได้
นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าเมื่อวานนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะประสานงานสภานิติบัญญัติแห่ชาติ(วิปสนช.)ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ที่บ้านพิษณุโลก และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องทั่วไป ว่าจะทำอย่างไรให้การประสานงานระหว่างสนช.และรัฐบาลเป็นด้วยความราบรื่น แต่ไม่ได้หารือข้อกฎหมายอะไรเป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่อง พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่เกี่ยวกับหวยบนดินก็ไม่ได้มีการพูดถึง อย่างไรก็ตาม มีการพูดถึงความร่วมมือในการให้รัฐบาลนำข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายบางส่วนที่จะที่ประชุมสนช.ว่าจะมีทางหรือไม่ที่จะให้วิปสนช.ทราบข้อมูลก่อนประชุม
"มีการคุยกันอีกว่า รัฐบาลมีกฎหมายอะไรที่มีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะมีการหารือกับทางวิปสนช.หรือไม่ เพราะว่าเวลาของรัฐบาลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมีไม่มาก เพราะฉะนั้นถ้าจะมีอะไรก็ต้องช่วยกัน ส่วนเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญของหมวดหมู่ของกฎหมาย กฎหมายที่เขาร่างเสร็จแล้วจากกระทรวงที่จะนำเข้าครม.และกฎหมายที่ร่างไม่เสร็จ กฎหมายที่กำลังตรวจแก้ ผมก็กำลังทำอยู่ และก็ได้รายงานให้โต๊ะหารือฟังด้วย ส่วนกฎหมายที่อยู่ในสภาฯนั้นไม่ได้พูดถึง เพราะได้เข้าสู่กระบวนการสภานิติบัญญัติแล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิปสนช.ได้เสนอแนะการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ เพราะนายธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่งออกมาระบุว่ารัฐบาลทำงานเชื่องช้าเหมือนฤาษีขี่เต่า นายประสิทธิ์ กล่าวว่า วิปสนช.ไม่ได้พูดถึงเรื่องของนายธีรยุทธเลย ส่วนความเห็นของนายธีรยุทธ ก็คงเป็นความคิดเห็นของนายธีรยุทธ์ ที่เราก็คงรับฟังเอาไว้ แต่เรื่องนี้ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์เขาจะให้ข้อมูลนายธีรยุทธ บ้างก็คงจะดี เพราะตนเข้าใจว่าหลายเรื่องที่รัฐบาลและหลายๆกระทรวงได้ทำไปแล้ว ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรบางอย่างที่นายธีรยุทธอาจจะไม่รู้ ซึ่งมีกฎหมายส่วนหนึ่งที่ตนไม่ได้ชี้แจง แต่ทำไปเรื่อยๆ คือกฎหมายเกี่ยวกับจริยธรรม ศีลธรรม ธรรมาภิบาล และกฎหมายที่ป้องปรามเกี่ยวกับทุจริต ซึ่งตนก็ไม่ได้คุยกับสื่อมวลชนเลย แต่อนาคตข้างหน้าอาจจะรอทำให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะแถลง
พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)กล่าวว่า ยินดีรับฟังความคิดเห็นของนายธีรยุทธ บุญมี ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน เพราะเห็นว่าเหมือนเป็นญาติที่ออกมาเตือนด้วยความหวังดี แม้จะใช้ถ้อยคำที่รุนแรงก็เป็นไปตามลักษณะเฉพาะของตัวบุคคล ซึ่งหลังจากนี้ คมช.จะได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ทันที เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา แต่หากมีส่วนใดที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อน หรือจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาต่างกัน ก็จะต้องชี้แจงให้เข้าใจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าการออกมาติติงของนายธีรยุทธ ไม่ใช่เกิดจากการกล่าวหาลอยๆ แต่เป็นการเฝ้าติดตามปัญหามาโดยตลอด โดยขอยืนยันว่า คมช.มีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน แต่วิธีการทำงานเพื่อไปถึงเป้าหมายอาจจะถูกมองว่าเชื่องช้า ไม่รวดเร็วทันใจ หรือไม่มีความเด็ดขาด เพราะกลุ่มนายทหารที่ทำรัฐประหารครั้งนี้มีความแตกต่างจากในอดีต นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้ามาจากเรื่องของการใช้กฎหมายและการใช้อำนาจในการควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่แรกต้องมีความเข้มแข็งกว่านี้
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่อง นายธีรยุทธ บุญมี ให้ฉายา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่าเป็นฤาษีเลี้ยงเต่า ว่า เป็นความเห็นของนักวิชาการ ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟัง คำวิพากษ์วิจารณ์ ติติงต่างๆอยู่แล้ว เพราะนายธีรยุทธถือเป็นนักวิชาการอาวุโส
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าการทำงานของ พล.อ.สุรยุทธ์ มีความรวดเร็ว และรอบคอบ นโยบายหลักของรัฐบาล คือ การยึดความเป็นธรรมใน 4 ป. ซึ่งความเป็นธรรมก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ฉะนั้นจะไปการดำเนินการอย่างเฉียบขาด ไม่รอบคอบ ตนคิดว่าคงจะไม่เป็นไปตามแนวทาง หลักการที่ยึดถือ เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และมีความโปร่งใส ฉะนั้นอาจจะทำให้การดำเนินการสอบสวนโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะล่าช้าในสายตาของประชาชน แต่ก็เป็นไปตามกรอบกฎหมายที่ควรจะเป็น
ในด้านการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีนั้น รวดเร็ว ไม่ช้า รัฐบาลแก้ปัญหาหลายอย่างรวดเร็ว เช่น การแก้ปัญหางบประมาณประจำปี 2550 รถไฟฟ้า 5 สาย และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หลายเรื่องก็ดำเนินการอย่างรวดเร็ว ส่วนการลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็ได้ลงมือทำตั้งแต่แรกที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน นโยบายโดยการแก้ปัญหาอย่างสันติ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในภาคใต้ก็ให้การสนับสนุน องค์กรระหว่างประเทศก็ให้การสนับสนุนแนวคิดนี้ ขณะเดียวกันทหารพราน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ก็พึ่งจะลงไป ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ก็พึ่งจะเริ่มทำงาน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องใช้เวลา
เมื่อถามว่า จะมีเรื่องไหนบ้างที่คิดว่าจะปรับปรุงจากการข้อเสนอของนักวิชาการ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนใหญ่ก็ทำไปแล้ว เพียงแต่การเน้นย้ำบางเรื่องเช่น การสานสัมพันธ์กับมวลชนนั้น ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะบางพื้นที่อาจจะล่อแหลม แต่ก็มีทีมงานถึง 88 ทีม สิ่งต่างๆที่แนะนำมาก็ดำเนินการอยู่ รัฐบาลก็ยินดีรับฟังความคิดเห็นมาโดยตลอด รวมถึงข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการบรรยายสรุปของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ว่า ไม่ได้มีการพูดถึงการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเหตุระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพยายามที่จะช่วยกันดูแล ก็จะเกิดความปลอดภัย และสิ่งใดที่เราจะต้องยอมอดทนและช่วยกันในช่วงนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการ เพราะในทุกๆ ประเทศก็จะมีปัญหาตรงนี้เช่นเดียวกันเรา เพราะเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ประเทศอื่นๆที่มีการใช้วัตถุระเบิดก็เกิดขึ้นเสมอ
ส่วนที่ต่างประเทศมีการออกข่าวว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย และมีการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวของเขาที่มาเที่ยวประเทศไทยนั้น นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งเมื่อเป็นปัญหาทุกๆประเทศก็เข้าใจ ไม่ว่าคนไทยจะไปประเทศอังกฤษ อินโดนีเซีย ก็มีการเตือนอย่างนี้เสมอ แม้กระทั่งไปออสเตรเลีย ก็มีการเตือน ฉะนั้นมันเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่อย่างที่บอกแล้ว ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย ทุกๆประเทศก็ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ เขาได้ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันว่าจะต้องระมัดระวังในการเข้าไปสถานที่บางแห่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาเป็นเรื่องที่เขามีความห่วงใยคนของเขา ในส่วนของเราเองจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาบ้านเราว่าเราจะดูแลเขาได้