สัมมนา ป.ป.ช.ระดมสมองต้านโกง ชี้ต้องสร้างธรรมาภิบาล เสนอให้การทุจริจเป็นอาชญากรรมพิเศษ กม.ต้องให้อำนาจจัดการขั้นเด็ดขาด ตั้งวงถกร่าง รธน.พบมีหลายข้อที่ต้องตีความ "กล้านรงค์"ย้ำปัญหาคอร์รัปชั่นซับซ้อนเชื่อมโยงภาคการเมือง-ธุรกิจ พร้อมเร่งกำหนดยุทธศาสตร์ต้านโกงตามพระราชดำรัสในหลวง
วานนี้ (25ก.พ.)ที่โรงแรมเซอร์ เจมส์ลอดจ์ จ.สระบุรี นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้กล่าวสรุปผลการสัมมนา การทบทวนและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ว่า สังคมไทยมีกระบวนการป้องกัน และขจัดระบอบธุรกิจการเมือง และการใช้กระแสทุนนิยมในทางทุจริต มีการแสวงหาและการใช้อำนาจผูกขาดอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนต้องมีการปลูกฝังวัฒนธรรมไทย และค่านิยมให้มีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อผลประโยชน์ส่วนรวม
นอกจากนี้ ระบบการบริหารจัดการประเทศ ต้องเน้นการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในทุกภาคส่วน ให้ดำเนินการมีธรรมาภิบาลทุกขั้นตอน สาธารณะชนสามารถรับรู้ข้อเท็จจริงด้านการเงิน และการดำเนินงานตัดสินใจของรัฐ และต้องมีการพัฒนาภาคีด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้สามารถทำงานร่วมกับประชาชนได้อย่างแท้จริง
"ที่ประชุมยังมีแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์ระดับชาติ คือในส่วนของการป้องกันและปราบปราม ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ เน้นการป้องกันแก้ไขที่ต้นเหตุ ควบคู่กับการปราบปราม ตลอดจนเสริมสร้างระบบตรวจสอบที่มีมาตรฐานสากล ส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และจิตสำนึกประชาชนให้รู้เท่าทัน กำหนดแนวทางให้ผู้มีอำนาจทั้งทางการเมือง และกลไกของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบ มิให้มีผลประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยแอบแฝง ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังต้องกำหนดบทลงโทษและเงื่อนไขในการป้องกันการทุจริตของนักการเมืองทุกระดับ โดยการเพิ่มอุปสรรค และความเสี่ยงไม่ให้การทำทุจริตคุ้มค่า"
ที่ประชุมยังได้เสนอว่า ควรส่งเสริมให้สาธารณะมีกลไกต่อต้านระบบทุนนิยมในทางทุจริต และธุรกิจการเมือง เร่งเสริมสร้างเครือข่ายของภาคีการจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว และการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่จะแทรกแซงมิได้ และควรให้กฎหมายทุกระดับ บัญญัติอย่างสอดคล้องว่า การทุจริต เป็นอาชญากรรมพิเศษที่ภาคีป้องกันปราบปรามฯ สามารถใช้อำนาจจัดการอย่างเด็ดขาด ภาคประชาชนที่ให้ความร่วมมือได้รับผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมและมีมาตรการคุ้มครองป้องกัน
นายศราวุธ กล่าวว่า ในการกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตระดับ ป.ป.ช.นั้น ในวงสัมมนาเห็นว่า ป.ป.ช. ต้องเป็นแกนประสานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นมืออาชีพ มีเครือข่ายในทุกภาคส่วน และทุกพื้นที่ ตลอดจนเครือข่ายระดับสากล และการดำเนินงานของป.ป.ช.ต้องมีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องเป็นองค์กรอิสระแห่งความเป็นเลิศด้านการไต่สวน โดยที่การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ และประชาชนมีความศรัทธา และให้การสนับสนุนร่วมมือการดำเนินการ
สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนนั้น ต้องปรับโครงสร้าง และระบบการบริหารงานองค์กรให้สามารถเสริมสร้าง และใช้สมรรถนะของบุคลากรได้เต็มตามศักยภาพ พัฒนากระบวนการและกลไกการทำงานให้เป็นอิสระ การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ ตลอดจนมีมาตรฐานสากล ทั้งรูปแบบ วิธีการ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสร้างแนวร่วมการดำเนินงาน นอกจากนี้ต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการทำงาน ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และงานบริการประชาชนในทุกระดับของการปกครอง
นอกจากนี้ยังมีการหารือ เรื่องการพัฒนาปรับปรุงกลไกด้านการบริหารจัดการ หลายอย่างอาทิ สำนักงาน ป.ป.ช.ควรกำหนดงานโฆษก เพื่อเป็นผู้แทนรับผิดชอบ ควรมีงานวิเคราะห์ตรวจสอบสำนวนคดี กลั่นกรองก่อนเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.และสร้างมาตรฐานงานคดี โดยเฉพาะด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน ควรมีความชัดเจนในขอบเขตภารกิจและขั้นตอนกระบวนการปฏิบัตติงานของงาน พิจารณาบัญชีทรัพย์สินในเรื่องการรับบัญชี และการตรวจสอบบัญชี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการพัฒนาการตรวจสอบทรัพย์สินว่าควรเน้นการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน ในช่วงที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในหน้าที่ว่าได้ใช้อำนาจหน้าที่ในขณะดำรงตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่
นายศราวุธ ยังกล่าวถึง เรื่องการการเพิ่มอำนาจให้พนักงานไต่สวน สามารถขอหมายศาลเพื่อทำการค้น ยึดอายัดหลักฐาน ในกรณีที่ผู้ครอบครองพยานหลักฐานไม่ยอมให้หลักฐาน และมอบหมายให้พนักงานไต่สวนออกหนักสือขอเอกสารเพื่อทราบข้อเท็จจริง หรือขอพยานวัตถุได้เองเพื่อเพิ่มความคล่องตัว
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่ามีการหารือหลายเรื่อง อาทิ กระบวนการสรรหา ป.ป.ช. กรณีวุฒิสภาไม่เห็นด้วยในการสรรหาบางคน ก็ต้องส่งกลับไปยังคณะกรรมการสรรหา เพื่อพิจารณาคัดเลือกใหม่ทั้งหมดนั้น ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีปัญหาในเรื่องการคัดเลือกกรรมการ ป.ป.ช.ที่วุฒิสภามาแล้ว นอกจากนี้ในวงสัมมนาเห็นว่าควรลดจำนวนกรรมการสรรหา และควรมีผู้แทนภาคเอกชน เข้าร่วมในการสรรหาด้วย สำหรับเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการป.ป.ช. ในวงสัมมนามีความเห็นว่า ต้องทำความชัดเจนในการเทียบตำแหน่ง ควรกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน และยังให้คงวาระการดำรงตำแหนงของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นเวลา 9 ปีต่อไป และที่ประชุมเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจในการไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงองค์กรเดียว อาจกำหนดให้มีองค์กรอื่นมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้าราชการระดับซี 8 ลงไป
"ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงคำว่าคู่สมรส ซึ่งในร่างฯ ใหม่จะไม่ใช้คำว่า คู่สมรส แต่จะใช้คำว่าสามีภรรยา เพราะคำว่าคู่สมรสไปตีความกันว่า คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าใช้คำว่าสามี ภรรยา ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นสามีภรรยา ตรงจุดนี้ต้องระบุให้ชัดเจน ซึ่งอาจกำหนดในกฎหมายเพื่อป้องกันการตีความคำว่า สามีภรรยา "
นอกจากนี้ มีการหารือเรื่องคำว่า"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งให้ครอบคลุมคนที่ใช้อำนาจในการปกครอง และการบริหารประเทศด้วย เพื่อให้ครอบคลุมถึง คมช.และบุคคลที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุลให้สามารถถูกตรวจสอบได้
**คอร์รัปชั่นซับซ้อนโยงธุรกิจ-การเมือง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันของการคอร์รัปชั่น มีกระบวนการที่ซับซ้อน เชื่อมโยงกันระหว่างการเมืองภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน รัฐบาลเองก็ได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ฉะนั้นป.ป.ช.ซึ่งเป็น หน่วยงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จึงต้องเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดทิศทาง และขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ไปสู่ จุดที่สามารถบรรลุผลได้
"ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ได้เน้นหนักและทุ่มเททุกอย่างในการแก้ปัญหาที่ค้างใน ป.ป.ช.โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสอบสวน ซึ่งค้างดำเนินการอยู่ นับหมื่นเรื่อง งานตรวจตรวจสอบทรัพย์สินซึ่งค้างอยู่ อีกกว่า 3.8 หมื่นบัญชี และยังมีงานสำคัญที่ใกล้จะขาดอายุความ ได้เร่งรัดเต็มที่"
การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการกำหนดทิศทาง นโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งของป.ป.ช.และของชาติ และยุทธศาสตร์นี้จะเป็นยุทธศาสตร์ที่ต่อเนื่องกับการดำเนินการวันที่ 6 เม.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่ทุกหมู่เหล่าร่วมกันกล่าวคำปฏิญาณว่า จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย ถวายไท้องค์ราชัน โดยจัดในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งประสานงานโดยป.ป.ช.และทางนายกรัฐมนตรี และจะมีการแถลงข่าวร่วมกันระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.
"ป.ป.ช.จะเอายุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งได้จากการสัมนาครั้งนี้มาเป็นประเด็นที่จะจัดการสัมมนาร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อที่จะต้องการให้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเรื่องการปราบปรามทุจริตหรือการกระทำโดยสุจริตเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดยุทธศาสตร์ดังกล่าว" นายกล้านรงค์ กล่าว
วานนี้ (25ก.พ.)ที่โรงแรมเซอร์ เจมส์ลอดจ์ จ.สระบุรี นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้กล่าวสรุปผลการสัมมนา การทบทวนและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ว่า สังคมไทยมีกระบวนการป้องกัน และขจัดระบอบธุรกิจการเมือง และการใช้กระแสทุนนิยมในทางทุจริต มีการแสวงหาและการใช้อำนาจผูกขาดอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนต้องมีการปลูกฝังวัฒนธรรมไทย และค่านิยมให้มีจิตสำนึกสาธารณะรับผิดชอบต่อผลประโยชน์ส่วนรวม
นอกจากนี้ ระบบการบริหารจัดการประเทศ ต้องเน้นการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในทุกภาคส่วน ให้ดำเนินการมีธรรมาภิบาลทุกขั้นตอน สาธารณะชนสามารถรับรู้ข้อเท็จจริงด้านการเงิน และการดำเนินงานตัดสินใจของรัฐ และต้องมีการพัฒนาภาคีด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้สามารถทำงานร่วมกับประชาชนได้อย่างแท้จริง
"ที่ประชุมยังมีแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์ระดับชาติ คือในส่วนของการป้องกันและปราบปราม ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ เน้นการป้องกันแก้ไขที่ต้นเหตุ ควบคู่กับการปราบปราม ตลอดจนเสริมสร้างระบบตรวจสอบที่มีมาตรฐานสากล ส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และจิตสำนึกประชาชนให้รู้เท่าทัน กำหนดแนวทางให้ผู้มีอำนาจทั้งทางการเมือง และกลไกของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบ มิให้มีผลประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยแอบแฝง ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังต้องกำหนดบทลงโทษและเงื่อนไขในการป้องกันการทุจริตของนักการเมืองทุกระดับ โดยการเพิ่มอุปสรรค และความเสี่ยงไม่ให้การทำทุจริตคุ้มค่า"
ที่ประชุมยังได้เสนอว่า ควรส่งเสริมให้สาธารณะมีกลไกต่อต้านระบบทุนนิยมในทางทุจริต และธุรกิจการเมือง เร่งเสริมสร้างเครือข่ายของภาคีการจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว และการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่จะแทรกแซงมิได้ และควรให้กฎหมายทุกระดับ บัญญัติอย่างสอดคล้องว่า การทุจริต เป็นอาชญากรรมพิเศษที่ภาคีป้องกันปราบปรามฯ สามารถใช้อำนาจจัดการอย่างเด็ดขาด ภาคประชาชนที่ให้ความร่วมมือได้รับผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมและมีมาตรการคุ้มครองป้องกัน
นายศราวุธ กล่าวว่า ในการกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตระดับ ป.ป.ช.นั้น ในวงสัมมนาเห็นว่า ป.ป.ช. ต้องเป็นแกนประสานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นมืออาชีพ มีเครือข่ายในทุกภาคส่วน และทุกพื้นที่ ตลอดจนเครือข่ายระดับสากล และการดำเนินงานของป.ป.ช.ต้องมีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องเป็นองค์กรอิสระแห่งความเป็นเลิศด้านการไต่สวน โดยที่การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ และประชาชนมีความศรัทธา และให้การสนับสนุนร่วมมือการดำเนินการ
สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนนั้น ต้องปรับโครงสร้าง และระบบการบริหารงานองค์กรให้สามารถเสริมสร้าง และใช้สมรรถนะของบุคลากรได้เต็มตามศักยภาพ พัฒนากระบวนการและกลไกการทำงานให้เป็นอิสระ การเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ ตลอดจนมีมาตรฐานสากล ทั้งรูปแบบ วิธีการ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสร้างแนวร่วมการดำเนินงาน นอกจากนี้ต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการทำงาน ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และงานบริการประชาชนในทุกระดับของการปกครอง
นอกจากนี้ยังมีการหารือ เรื่องการพัฒนาปรับปรุงกลไกด้านการบริหารจัดการ หลายอย่างอาทิ สำนักงาน ป.ป.ช.ควรกำหนดงานโฆษก เพื่อเป็นผู้แทนรับผิดชอบ ควรมีงานวิเคราะห์ตรวจสอบสำนวนคดี กลั่นกรองก่อนเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.และสร้างมาตรฐานงานคดี โดยเฉพาะด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน ควรมีความชัดเจนในขอบเขตภารกิจและขั้นตอนกระบวนการปฏิบัตติงานของงาน พิจารณาบัญชีทรัพย์สินในเรื่องการรับบัญชี และการตรวจสอบบัญชี นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการพัฒนาการตรวจสอบทรัพย์สินว่าควรเน้นการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน ในช่วงที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในหน้าที่ว่าได้ใช้อำนาจหน้าที่ในขณะดำรงตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่
นายศราวุธ ยังกล่าวถึง เรื่องการการเพิ่มอำนาจให้พนักงานไต่สวน สามารถขอหมายศาลเพื่อทำการค้น ยึดอายัดหลักฐาน ในกรณีที่ผู้ครอบครองพยานหลักฐานไม่ยอมให้หลักฐาน และมอบหมายให้พนักงานไต่สวนออกหนักสือขอเอกสารเพื่อทราบข้อเท็จจริง หรือขอพยานวัตถุได้เองเพื่อเพิ่มความคล่องตัว
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่ามีการหารือหลายเรื่อง อาทิ กระบวนการสรรหา ป.ป.ช. กรณีวุฒิสภาไม่เห็นด้วยในการสรรหาบางคน ก็ต้องส่งกลับไปยังคณะกรรมการสรรหา เพื่อพิจารณาคัดเลือกใหม่ทั้งหมดนั้น ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีปัญหาในเรื่องการคัดเลือกกรรมการ ป.ป.ช.ที่วุฒิสภามาแล้ว นอกจากนี้ในวงสัมมนาเห็นว่าควรลดจำนวนกรรมการสรรหา และควรมีผู้แทนภาคเอกชน เข้าร่วมในการสรรหาด้วย สำหรับเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการป.ป.ช. ในวงสัมมนามีความเห็นว่า ต้องทำความชัดเจนในการเทียบตำแหน่ง ควรกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน และยังให้คงวาระการดำรงตำแหนงของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นเวลา 9 ปีต่อไป และที่ประชุมเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจในการไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงองค์กรเดียว อาจกำหนดให้มีองค์กรอื่นมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้าราชการระดับซี 8 ลงไป
"ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงคำว่าคู่สมรส ซึ่งในร่างฯ ใหม่จะไม่ใช้คำว่า คู่สมรส แต่จะใช้คำว่าสามีภรรยา เพราะคำว่าคู่สมรสไปตีความกันว่า คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าใช้คำว่าสามี ภรรยา ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นสามีภรรยา ตรงจุดนี้ต้องระบุให้ชัดเจน ซึ่งอาจกำหนดในกฎหมายเพื่อป้องกันการตีความคำว่า สามีภรรยา "
นอกจากนี้ มีการหารือเรื่องคำว่า"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งให้ครอบคลุมคนที่ใช้อำนาจในการปกครอง และการบริหารประเทศด้วย เพื่อให้ครอบคลุมถึง คมช.และบุคคลที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุลให้สามารถถูกตรวจสอบได้
**คอร์รัปชั่นซับซ้อนโยงธุรกิจ-การเมือง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันของการคอร์รัปชั่น มีกระบวนการที่ซับซ้อน เชื่อมโยงกันระหว่างการเมืองภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน รัฐบาลเองก็ได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ฉะนั้นป.ป.ช.ซึ่งเป็น หน่วยงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จึงต้องเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดทิศทาง และขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ไปสู่ จุดที่สามารถบรรลุผลได้
"ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ได้เน้นหนักและทุ่มเททุกอย่างในการแก้ปัญหาที่ค้างใน ป.ป.ช.โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสอบสวน ซึ่งค้างดำเนินการอยู่ นับหมื่นเรื่อง งานตรวจตรวจสอบทรัพย์สินซึ่งค้างอยู่ อีกกว่า 3.8 หมื่นบัญชี และยังมีงานสำคัญที่ใกล้จะขาดอายุความ ได้เร่งรัดเต็มที่"
การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการกำหนดทิศทาง นโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งของป.ป.ช.และของชาติ และยุทธศาสตร์นี้จะเป็นยุทธศาสตร์ที่ต่อเนื่องกับการดำเนินการวันที่ 6 เม.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่ทุกหมู่เหล่าร่วมกันกล่าวคำปฏิญาณว่า จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย ถวายไท้องค์ราชัน โดยจัดในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งประสานงานโดยป.ป.ช.และทางนายกรัฐมนตรี และจะมีการแถลงข่าวร่วมกันระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.
"ป.ป.ช.จะเอายุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งได้จากการสัมนาครั้งนี้มาเป็นประเด็นที่จะจัดการสัมมนาร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อที่จะต้องการให้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเรื่องการปราบปรามทุจริตหรือการกระทำโดยสุจริตเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดยุทธศาสตร์ดังกล่าว" นายกล้านรงค์ กล่าว