หากคนถามว่า “การเมืองยุครัฐบาลชุดต่อไปจะเป็นอย่างไร” ท่านคิดว่า จะ “แย่กว่าเก่า” หรือ “ดีกว่าเก่า”
ถ้ามีคนบอกว่า มีโอกาสเลวร้ายกว่า หรือดีกว่าล่ะ คุณคิดอย่างไร?
แล้วเมื่อคำนึงถึงตัวแปรที่ไม่แน่นอน ก็มีโอกาสเกิดทั้งนั้นแหละ
หากมองว่าพฤติการณ์ความเลวร้ายในสังคมมีพัฒนาการ เพราะคนที่ฉลาดและมีความรู้มากขึ้น แต่มีคุณธรรมจริยธรรมลดลง เมื่อมีค่านิยมผิด ก็เป็นที่มาของแผนร้ายที่ฉาบไว้ด้วยรูปแบบที่ดูดีได้
ดังเช่นกระบวนการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง โดยใช้พลังเงินและแผนสื่อสารการตลาดที่ดูดี เมื่อสามารถครอบงำกลไกการจัดการเลือกตั้ง จนชนะการเลือกตั้งเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้ แล้วผันอำนาจการเมืองกลายเป็นผลประโยชน์กลับคืนทำเหมือนธุรกิจแบบ “กินรวบ” กำไรเกินควร
เมื่อความฉ้อฉลและทุจริตจากการใช้อำนาจที่ขาดจริยธรรมของผู้บริหารถูกเปิดโปง ถูกต่อต้านจากสังคมผู้ติดตามข่าวสารจนรู้ทัน จนกระทั่งรัฐบาลถูกโค่นล้มไป
แม้ผู้นำเครือข่ายจำต้องระเหิดระเหินอยู่ในต่างประเทศ แต่นักการเมืองและบุคคลในเครือข่ายเดิมทั้งที่อยู่สังกัดเดิมและที่แปรรูปโฉมใหม่ก็เตรียมกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก
ลองคิดดู ถ้าคนพวกนี้ไม่คิดกลับใจ ใฝ่ดี และยังมีแนวคิดที่จะเข้าสู่วงจรอำนาจ เพื่อใช้อำนาจสร้างผลประโยชน์กลับมาเป็นทุนเพื่อใช้จ่ายสร้างบารมีต่อไปอีก
กรรมวิธีก็ยิ่งต้องแยบยลและให้ดูแนบเนียน จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน ยิ่งกว่าเก่า
ถ้าเป็นเช่นนั้นการฉ้อฉลและทุจริตจะยิ่งพลิกแพลงจนจับยาก แต่ความเลวร้ายอาจหนักกว่าเก่า
เราจึงน่าจะต้องน้อมนำเอาพระบรมราชโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักคิดเสมอว่า
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้้บ้านเมือง มีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
แน่ละครับผมเชื่อว่าคนดีที่มีิจิตใจเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะและมีความสามารถที่น่าจะเข้ามาทำงานการเมืองนั้นมีอยู่ไม่น้อยในทุกวงการ
แต่เราไม่อาจยืนยันจากรูปลักษณ์หรือวุฒิทางการศึกษา หรือฐานะ ชาติตระกูล ไม่ว่าการพูดจาภาษาดอกไม้ ที่นักการเมืองซึ่งมักอ้างว่า “รักประชาชน” และมาทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ
กฎหมายและกติกาที่กำหนดอย่างรัดกุุม ครอบคลุุมดีพอเท่านั้นแหละ จึงจะช่วยสร้างหลักควบคุมไม่ให้คนไม่ดีแสดงความไม่ดีออกมา และไม่ปิดโอกาสคนดีเข้าสู่เวทีการเมืองได้
ถ้าทำได้สำเร็จการเมืองจะดีขึ้น
แต่ขนาดรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเรียกได้ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำเป็นครั้งแรก และนับว่าหลักการอยู่ในขั้นดี ก็ยังมีปัญหาในการบังคับใช้ เพราะถูกอำนาจอิทธิพลของการเมืองในระบอบทักษิณบ่อนทำลายจนทำงานไม่ได้
บทเรียนจากรัฐบาลยุคที่แล้ว ได้พิสูจน์เป็นที่ประจักษ์ว่า สังคมและประเทศชาติเสียหายอย่างไร ดูได้จากข่าวสารการสอบสวนดำเนินคดีการทุจริตต่อนักการเมืองที่เกี่ยวข้องก็เห็นได้ชัด
ถ้าเราตั้งเป้าหมายต้องการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่สร้างกระบวนการให้ได้รัฐบาลที่ดี และมีกลไกการตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูจากวี่แววแนวเนื้อหาที่มีการรับฟังความเห็นและเตรียมการของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างคึกคักขณะนี้ก็นับว่าน่าชมเชย
ก็หวังว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ดีและมีผลในทางปฏิบัติ
เป็นโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขอุดช่องโหว่และสร้างจุดแข็งเพื่อการควบคุมนักการเมืองมิให้บิดเบือนการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีหลักประกันเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนก็เท่ากับเป็นการพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ข่าวสารที่เป็นจริงและรอบด้าน
ความกล้าในการเปิดโปงความฉ้อฉลและเสนอความคิดเห็นวิจารณ์ความไม่ถูกต้องอย่างอิสระ เป็นบทบาทของสื่อมวลชนตัวจริงที่จะช่วยให้ประชาชนรู้ทันนักการเมือง และไม่ถูกมอมเมาจากผลประโยชน์ฉาบฉวย ก็จะช่วยให้สังคมและประเทศชาติไม่เสียหายจากนักการเมืองเลว
น่ายินดีที่ทราบว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบแนวทางการร่างในกรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจที่จะระบุถ้อยคำสอดคล้องกับที่องค์กรสื่อได้เสนอไปในทำนองที่ว่า
“การเสนอข่าวหรือความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยสุจริตเป็นธรรม ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนและความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อตรวจสอบการละเมิดหลักจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครอง”
การระบุเช่นนี้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการมีกฎหมายคุ้มครอง ย่อมเป็นผลดีต่อการทำหน้าที่ตรวจสอบกรอบจริยธรรมนักการเมือง โดยไม่ต้องถูกกลั่นแกล้งหรือฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยข้ออ้างว่า สื่อทำให้เสียชื่อเสียง
เมื่อสื่อได้รับความคุ้มครอง การทำงานที่ต้องมีเสรีภาพ ควบคู่ความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งระดับสากลถือว่าสื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมก็จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างได้ผล
ถ้ามีคนบอกว่า มีโอกาสเลวร้ายกว่า หรือดีกว่าล่ะ คุณคิดอย่างไร?
แล้วเมื่อคำนึงถึงตัวแปรที่ไม่แน่นอน ก็มีโอกาสเกิดทั้งนั้นแหละ
หากมองว่าพฤติการณ์ความเลวร้ายในสังคมมีพัฒนาการ เพราะคนที่ฉลาดและมีความรู้มากขึ้น แต่มีคุณธรรมจริยธรรมลดลง เมื่อมีค่านิยมผิด ก็เป็นที่มาของแผนร้ายที่ฉาบไว้ด้วยรูปแบบที่ดูดีได้
ดังเช่นกระบวนการสร้างฐานอำนาจทางการเมือง โดยใช้พลังเงินและแผนสื่อสารการตลาดที่ดูดี เมื่อสามารถครอบงำกลไกการจัดการเลือกตั้ง จนชนะการเลือกตั้งเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้ แล้วผันอำนาจการเมืองกลายเป็นผลประโยชน์กลับคืนทำเหมือนธุรกิจแบบ “กินรวบ” กำไรเกินควร
เมื่อความฉ้อฉลและทุจริตจากการใช้อำนาจที่ขาดจริยธรรมของผู้บริหารถูกเปิดโปง ถูกต่อต้านจากสังคมผู้ติดตามข่าวสารจนรู้ทัน จนกระทั่งรัฐบาลถูกโค่นล้มไป
แม้ผู้นำเครือข่ายจำต้องระเหิดระเหินอยู่ในต่างประเทศ แต่นักการเมืองและบุคคลในเครือข่ายเดิมทั้งที่อยู่สังกัดเดิมและที่แปรรูปโฉมใหม่ก็เตรียมกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก
ลองคิดดู ถ้าคนพวกนี้ไม่คิดกลับใจ ใฝ่ดี และยังมีแนวคิดที่จะเข้าสู่วงจรอำนาจ เพื่อใช้อำนาจสร้างผลประโยชน์กลับมาเป็นทุนเพื่อใช้จ่ายสร้างบารมีต่อไปอีก
กรรมวิธีก็ยิ่งต้องแยบยลและให้ดูแนบเนียน จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน ยิ่งกว่าเก่า
ถ้าเป็นเช่นนั้นการฉ้อฉลและทุจริตจะยิ่งพลิกแพลงจนจับยาก แต่ความเลวร้ายอาจหนักกว่าเก่า
เราจึงน่าจะต้องน้อมนำเอาพระบรมราชโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักคิดเสมอว่า
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้้บ้านเมือง มีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
แน่ละครับผมเชื่อว่าคนดีที่มีิจิตใจเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะและมีความสามารถที่น่าจะเข้ามาทำงานการเมืองนั้นมีอยู่ไม่น้อยในทุกวงการ
แต่เราไม่อาจยืนยันจากรูปลักษณ์หรือวุฒิทางการศึกษา หรือฐานะ ชาติตระกูล ไม่ว่าการพูดจาภาษาดอกไม้ ที่นักการเมืองซึ่งมักอ้างว่า “รักประชาชน” และมาทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ
กฎหมายและกติกาที่กำหนดอย่างรัดกุุม ครอบคลุุมดีพอเท่านั้นแหละ จึงจะช่วยสร้างหลักควบคุมไม่ให้คนไม่ดีแสดงความไม่ดีออกมา และไม่ปิดโอกาสคนดีเข้าสู่เวทีการเมืองได้
ถ้าทำได้สำเร็จการเมืองจะดีขึ้น
แต่ขนาดรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเรียกได้ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำเป็นครั้งแรก และนับว่าหลักการอยู่ในขั้นดี ก็ยังมีปัญหาในการบังคับใช้ เพราะถูกอำนาจอิทธิพลของการเมืองในระบอบทักษิณบ่อนทำลายจนทำงานไม่ได้
บทเรียนจากรัฐบาลยุคที่แล้ว ได้พิสูจน์เป็นที่ประจักษ์ว่า สังคมและประเทศชาติเสียหายอย่างไร ดูได้จากข่าวสารการสอบสวนดำเนินคดีการทุจริตต่อนักการเมืองที่เกี่ยวข้องก็เห็นได้ชัด
ถ้าเราตั้งเป้าหมายต้องการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่สร้างกระบวนการให้ได้รัฐบาลที่ดี และมีกลไกการตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูจากวี่แววแนวเนื้อหาที่มีการรับฟังความเห็นและเตรียมการของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างคึกคักขณะนี้ก็นับว่าน่าชมเชย
ก็หวังว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ดีและมีผลในทางปฏิบัติ
เป็นโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขอุดช่องโหว่และสร้างจุดแข็งเพื่อการควบคุมนักการเมืองมิให้บิดเบือนการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีหลักประกันเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนก็เท่ากับเป็นการพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ข่าวสารที่เป็นจริงและรอบด้าน
ความกล้าในการเปิดโปงความฉ้อฉลและเสนอความคิดเห็นวิจารณ์ความไม่ถูกต้องอย่างอิสระ เป็นบทบาทของสื่อมวลชนตัวจริงที่จะช่วยให้ประชาชนรู้ทันนักการเมือง และไม่ถูกมอมเมาจากผลประโยชน์ฉาบฉวย ก็จะช่วยให้สังคมและประเทศชาติไม่เสียหายจากนักการเมืองเลว
น่ายินดีที่ทราบว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบแนวทางการร่างในกรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจที่จะระบุถ้อยคำสอดคล้องกับที่องค์กรสื่อได้เสนอไปในทำนองที่ว่า
“การเสนอข่าวหรือความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยสุจริตเป็นธรรม ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนและความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อตรวจสอบการละเมิดหลักจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครอง”
การระบุเช่นนี้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการมีกฎหมายคุ้มครอง ย่อมเป็นผลดีต่อการทำหน้าที่ตรวจสอบกรอบจริยธรรมนักการเมือง โดยไม่ต้องถูกกลั่นแกล้งหรือฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยข้ออ้างว่า สื่อทำให้เสียชื่อเสียง
เมื่อสื่อได้รับความคุ้มครอง การทำงานที่ต้องมีเสรีภาพ ควบคู่ความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งระดับสากลถือว่าสื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมก็จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างได้ผล