ตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ จำนวน 88 คณะประกอบด้วย
1. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
2. คณะกรรมการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ
3. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง
4. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ
5. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคใต้
7. คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด 76 จังหวัด 76 คณะ
8. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
9. คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
10. คณะกรรมาธิการวิชาการ ตรวจร่างรัฐธรรมนูญและร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
11. คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม
12. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ
13. คณะกรรมาธิการยกร่างหลักเกณฑ์ วิธีการออกเสียงประชามติและการออกเสียงประชามติ
การตั้งคณะกรรมาธิการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 88 คณะนั้นมากเกินความจำเป็น งานบางคณะมีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกัน ทำให้การบริหารไม่คล่องตัว มีความเกรงใจกัน จำนวนกรรมาธิการแต่ละคณะก็มากจนเกินความจำเป็น บางคณะ 40 คน ประหนึ่งจะตั้งสภาร่างฯ ขึ้นมาใหม่
การทำงานต้องสอดประสานกันนั่นคือ แผนงาน แผนเงินและแผนคน
แต่ ส.ส.ร. มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง บางคนเข้าไปเป็นกรรมาธิการ 4-5 คณะ ไม่ได้คำนึงถึงว่าตนเองจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
มีเสียงที่สะท้อนเข้าหูผม เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเหลือเกิน ส.ส.ร.บางท่านบอกว่า การที่ต้องการเข้าไปเป็นกรรมาธิการหลายๆ คณะเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
ผมอยากจะย้อนถามท่านเหล่านี้กลับเหมือนกันว่าแล้วท่านไม่คิดจะทำงานเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศชาติบ้างหรือไร
ผมเคยเขียนเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการมาแล้วหนึ่งครั้งในบทความวันที่ 10 มกราคม 2550 ผมเสนอกรรมาธิการไว้ 8 คณะ ประกอบด้วย
1. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่าง
2. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน 6 คณะ
คณะที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คณะที่ 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก
คณะที่ 3 ภาคเหนือ
คณะที่ 4 ภาคใต้
คณะที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานเหนือ)
คณะที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานใต้)
3. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากคณะกรรมาธิการสามัญดังกล่าวมาแล้ว ผมเห็นว่าควรตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ขึ้นทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดใหญ่อาจมี 2 คณะหรือ 3 คณะกรรมาธิการก็ได้ตามที่เห็นสมควร โดยสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญได้
สาเหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะการทำงานครั้งนี้ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และการที่มีคณะกรรมาธิการเพียง 8 คณะ จะสัมพันธ์กับเรื่องงบประมาณ นั่นหมายความว่างบประมาณ 8 คณะจะใช้งบประมาณเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น
มีข่าวว่า คณะกรรมาธิการ ของบประมาณรวมกันทั้งหมด 332 ล้าน กมธ.แต่ละคณะต่างของบประมาณเกินจำนวนที่กองคลังตั้งไว้ เฉพาะการเบิกจ่ายงบบุคลากรในแต่ละคณะสูงถึง 101 ล้านบาท ทำเอา คุณเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญปวดหัว ถึงกับบ่นออกมาดังๆ ว่า เรื่องเงินประชุมกันเมื่อไหร่ทะเลาะกันทุกที
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขอ 12 ล้านบาท
คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติขอ 10 ล้านบาท
คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ขอ 10 ล้านบาท
การตั้งงบประมาณครั้งนี้ยึดแบบอย่างเมื่อปี 2530-2540 ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อน คือตั้งงบประมาณคณะละ 2.9 ล้านบาท และกรรมาธิการวิสามัญเพื่อรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมประจำจังหวัด 76 จังหวัด จะได้รับงบพิเศษอีกจังหวัดละ 1 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ดำเนินการ
เฉพาะในส่วน กมธ. ที่ใช้ในการทำงานถ้ายึดตามกรอบงบประมาณที่ สำนักงานเลขาวุฒิสภาตั้งไว้ ใช้งบประมาณในส่วนนี้หลายร้อยล้านบาท
เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา กมธ.ยกร่าง ก็ของบประมาณเพื่อใช้ในการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ 3 รอบๆ ละ 115 ล้านบาท แต่คุณเสรีก็ไม่อนุมัติบอกว่างบประมาณสูงเกินไป
ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 กำหนดว่าเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ต้องจัดให้มีการลงประชามติ การดำเนินการนี้ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
เมื่อผ่านการลงประชามติเรียบร้อย ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน เราก็ต้องได้รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือฉบับปัดฝุ่น ก็จะต้องมีการจัดการเลือกตั้ง
การที่ต้องรีบให้มีการเลือกตั้งในปีนี้ให้ได้ โดยไม่สนใจความพร้อมไม่พร้อม เป็นเพราะ กรอบเวลาที่ คมช. เคยกำหนดไว้ตั้งแต่เข้ามาทำการปลดล็อกปัญหาการเมืองไทย ว่าจะให้มีการเลือกตั้งภายใน 1 ปี เพราะ คมช.เองก็ติดหล่มกับประเด็นการสืบทอดอำนาจที่มีคนบางคนกล่าวอ้าง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ถ้ามีต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จใช้งบทั้งหมดเป็นหมื่นล้าน เพื่อเป็นการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยพูดไม่เคยบอกกล่าวกับเพื่อนๆ สมาชิกสภาร่างและบุคคลทั่วไป ผมบอกหมด ผมทำมาหมดแล้ว
ในฐานะ ส.ส.ร.คนหนึ่ง ผมเองก็อยากได้รัฐธรรมนูญที่ดี ที่ตอบสนองหรือตรงกับความต้องการของประชาชน ไม่ได้อยากจะเอาเรื่องภายในมาประจาน แต่บางครั้งการสะกิดเตือนของผมในสภาอาจจะเบาไป ผมจึงต้องอาศัยพื้นที่แห่งนี้ทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน
การติครั้งนี้ เป็นการติเพื่อก่อ มิใช่การติเพื่อทำลาย เมื่อเหตุการณ์มาถึงวันนี้แล้ว เราคงต้องประคับประคองกันไป
ผมอยากให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เจาะจงไปที่ ส.ส.ร. อย่างเดียวนะครับ ให้ช่วยกันเอางานเป็นตัวตั้ง ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ ทำเพื่อประเทศชาติสักครั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องดีด้วยครับ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะว่าได้ว่า ของแพงไม่เห็นดีเลย หรือของแพงไม่ได้ใช้ หรือเสียของ
1. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
2. คณะกรรมการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ
3. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง
4. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ
5. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคใต้
7. คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด 76 จังหวัด 76 คณะ
8. คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
9. คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
10. คณะกรรมาธิการวิชาการ ตรวจร่างรัฐธรรมนูญและร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
11. คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม
12. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ
13. คณะกรรมาธิการยกร่างหลักเกณฑ์ วิธีการออกเสียงประชามติและการออกเสียงประชามติ
การตั้งคณะกรรมาธิการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 88 คณะนั้นมากเกินความจำเป็น งานบางคณะมีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกัน ทำให้การบริหารไม่คล่องตัว มีความเกรงใจกัน จำนวนกรรมาธิการแต่ละคณะก็มากจนเกินความจำเป็น บางคณะ 40 คน ประหนึ่งจะตั้งสภาร่างฯ ขึ้นมาใหม่
การทำงานต้องสอดประสานกันนั่นคือ แผนงาน แผนเงินและแผนคน
แต่ ส.ส.ร. มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง บางคนเข้าไปเป็นกรรมาธิการ 4-5 คณะ ไม่ได้คำนึงถึงว่าตนเองจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
มีเสียงที่สะท้อนเข้าหูผม เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเหลือเกิน ส.ส.ร.บางท่านบอกว่า การที่ต้องการเข้าไปเป็นกรรมาธิการหลายๆ คณะเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
ผมอยากจะย้อนถามท่านเหล่านี้กลับเหมือนกันว่าแล้วท่านไม่คิดจะทำงานเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศชาติบ้างหรือไร
ผมเคยเขียนเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการมาแล้วหนึ่งครั้งในบทความวันที่ 10 มกราคม 2550 ผมเสนอกรรมาธิการไว้ 8 คณะ ประกอบด้วย
1. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่าง
2. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน 6 คณะ
คณะที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คณะที่ 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก
คณะที่ 3 ภาคเหนือ
คณะที่ 4 ภาคใต้
คณะที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานเหนือ)
คณะที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานใต้)
3. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากคณะกรรมาธิการสามัญดังกล่าวมาแล้ว ผมเห็นว่าควรตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ขึ้นทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดใหญ่อาจมี 2 คณะหรือ 3 คณะกรรมาธิการก็ได้ตามที่เห็นสมควร โดยสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญได้
สาเหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะการทำงานครั้งนี้ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และการที่มีคณะกรรมาธิการเพียง 8 คณะ จะสัมพันธ์กับเรื่องงบประมาณ นั่นหมายความว่างบประมาณ 8 คณะจะใช้งบประมาณเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น
มีข่าวว่า คณะกรรมาธิการ ของบประมาณรวมกันทั้งหมด 332 ล้าน กมธ.แต่ละคณะต่างของบประมาณเกินจำนวนที่กองคลังตั้งไว้ เฉพาะการเบิกจ่ายงบบุคลากรในแต่ละคณะสูงถึง 101 ล้านบาท ทำเอา คุณเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญปวดหัว ถึงกับบ่นออกมาดังๆ ว่า เรื่องเงินประชุมกันเมื่อไหร่ทะเลาะกันทุกที
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขอ 12 ล้านบาท
คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติขอ 10 ล้านบาท
คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ขอ 10 ล้านบาท
การตั้งงบประมาณครั้งนี้ยึดแบบอย่างเมื่อปี 2530-2540 ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อน คือตั้งงบประมาณคณะละ 2.9 ล้านบาท และกรรมาธิการวิสามัญเพื่อรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมประจำจังหวัด 76 จังหวัด จะได้รับงบพิเศษอีกจังหวัดละ 1 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ดำเนินการ
เฉพาะในส่วน กมธ. ที่ใช้ในการทำงานถ้ายึดตามกรอบงบประมาณที่ สำนักงานเลขาวุฒิสภาตั้งไว้ ใช้งบประมาณในส่วนนี้หลายร้อยล้านบาท
เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา กมธ.ยกร่าง ก็ของบประมาณเพื่อใช้ในการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ 3 รอบๆ ละ 115 ล้านบาท แต่คุณเสรีก็ไม่อนุมัติบอกว่างบประมาณสูงเกินไป
ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 กำหนดว่าเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ต้องจัดให้มีการลงประชามติ การดำเนินการนี้ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
เมื่อผ่านการลงประชามติเรียบร้อย ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน เราก็ต้องได้รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือฉบับปัดฝุ่น ก็จะต้องมีการจัดการเลือกตั้ง
การที่ต้องรีบให้มีการเลือกตั้งในปีนี้ให้ได้ โดยไม่สนใจความพร้อมไม่พร้อม เป็นเพราะ กรอบเวลาที่ คมช. เคยกำหนดไว้ตั้งแต่เข้ามาทำการปลดล็อกปัญหาการเมืองไทย ว่าจะให้มีการเลือกตั้งภายใน 1 ปี เพราะ คมช.เองก็ติดหล่มกับประเด็นการสืบทอดอำนาจที่มีคนบางคนกล่าวอ้าง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ถ้ามีต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จใช้งบทั้งหมดเป็นหมื่นล้าน เพื่อเป็นการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยพูดไม่เคยบอกกล่าวกับเพื่อนๆ สมาชิกสภาร่างและบุคคลทั่วไป ผมบอกหมด ผมทำมาหมดแล้ว
ในฐานะ ส.ส.ร.คนหนึ่ง ผมเองก็อยากได้รัฐธรรมนูญที่ดี ที่ตอบสนองหรือตรงกับความต้องการของประชาชน ไม่ได้อยากจะเอาเรื่องภายในมาประจาน แต่บางครั้งการสะกิดเตือนของผมในสภาอาจจะเบาไป ผมจึงต้องอาศัยพื้นที่แห่งนี้ทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน
การติครั้งนี้ เป็นการติเพื่อก่อ มิใช่การติเพื่อทำลาย เมื่อเหตุการณ์มาถึงวันนี้แล้ว เราคงต้องประคับประคองกันไป
ผมอยากให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เจาะจงไปที่ ส.ส.ร. อย่างเดียวนะครับ ให้ช่วยกันเอางานเป็นตัวตั้ง ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ ทำเพื่อประเทศชาติสักครั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องดีด้วยครับ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะว่าได้ว่า ของแพงไม่เห็นดีเลย หรือของแพงไม่ได้ใช้ หรือเสียของ