แม่ฮ่องสอน - ความหวังฟื้นโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชียงใหม่ - ปาย - แม่ฮ่องสอนสายใหม่เริ่มฟื้นขึ้นมาอีกรอบ ผู้ว่าฯประกาศผ่าน สวท. มีกลุ่มทุนต่างประเทศสนใจลงทุนทำกระเช้าไฟฟ้าจากเชียงใหม่-ปาย ระยะทาง 120 กม.เตรียมส่งทีมลงพื้นที่เร็ววันนี้ ขณะที่โครงการตัดถนนสายใหม่สะเมิง - เมืองสามหมอก มูลค่า 1.56 หมื่นล้าน ที่ริเริ่มมาตั้งนานยังเป็นวุ้นอยู่จนถึงขณะนี้
วานนี้(6 ก.พ.)นายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พูดผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) จ.แม่ฮ่องสอน ในรายการผู้ว่าฯพบประชาชน ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดท่องเที่ยว แต่การเดินทางเข้ามายังจังหวัดค่อนข้างลำบาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด
แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะนี้มีภาคเอกชนจากต่างประเทศให้ความสนใจการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจากจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอ.ปาย มายังตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 40 ตัน อัตราค่าโดยสารคนละ 500 - 700 บาท ใช้เวลาดำเนินงาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป และภายในสัปดาห์นี้ กลุ่มดังกล่าวจะส่งทีมวิศวกรเข้ามาสำรวจในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
"จังหวัดให้ความสำคัญต่อเรื่องระบบคมนาคมมาก เพราะแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองกำลังเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน"
นายพูลศักดิ์ สุนทรพาณิชกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทาง อย่างไรก็ตามก็จะต้องดูแลการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน ว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หากไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง ก็น่าจะก่อสร้างโดยจะต้องศึกษาดูก่อน
"อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเกิดขึ้น มีผลดีมากกว่าผลเสีย หอการค้าพร้อมให้การสนับสนุน"
ด้านนายวิสูตร บัวชุม หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างแน่นอน เพราะเพิ่มทางเลือกการเดินทางเข้ามาเที่ยวแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ปัจจุบันการเดินทางเข้าแม่ฮ่องสอน นักท่องเที่ยวยังประสบปัญหาการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งมีที่นั่งจำนวนจำกัดในแต่ละเที่ยวบิน
"การสร้างกระเช้าไฟฟ้าสามารถเสริมการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้จังหวัดแม่ฮ่องสอนพยายามผลักดัน โครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงสะเมิง จ.เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยกรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทเอพซิลอน จำกัด บริษัท แพลนโปร จำกัด ช บริษัทธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ ทำการศึกษา เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-ผ่านอ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 175 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2545 - 2549
เบื้องต้นทั้ง 4 บริษัทได้สรุปผลการศึกษาความเหมาะสมให้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน - กรมทางหลวง เพื่อพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปแล้ว โดยตามผลการศึกษาพบว่า โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 15,600 ล้านบาท
วานนี้(6 ก.พ.)นายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พูดผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) จ.แม่ฮ่องสอน ในรายการผู้ว่าฯพบประชาชน ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดท่องเที่ยว แต่การเดินทางเข้ามายังจังหวัดค่อนข้างลำบาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด
แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะนี้มีภาคเอกชนจากต่างประเทศให้ความสนใจการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจากจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอ.ปาย มายังตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 40 ตัน อัตราค่าโดยสารคนละ 500 - 700 บาท ใช้เวลาดำเนินงาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป และภายในสัปดาห์นี้ กลุ่มดังกล่าวจะส่งทีมวิศวกรเข้ามาสำรวจในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
"จังหวัดให้ความสำคัญต่อเรื่องระบบคมนาคมมาก เพราะแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองกำลังเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน"
นายพูลศักดิ์ สุนทรพาณิชกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทาง อย่างไรก็ตามก็จะต้องดูแลการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน ว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หากไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง ก็น่าจะก่อสร้างโดยจะต้องศึกษาดูก่อน
"อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเกิดขึ้น มีผลดีมากกว่าผลเสีย หอการค้าพร้อมให้การสนับสนุน"
ด้านนายวิสูตร บัวชุม หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างแน่นอน เพราะเพิ่มทางเลือกการเดินทางเข้ามาเที่ยวแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ปัจจุบันการเดินทางเข้าแม่ฮ่องสอน นักท่องเที่ยวยังประสบปัญหาการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งมีที่นั่งจำนวนจำกัดในแต่ละเที่ยวบิน
"การสร้างกระเช้าไฟฟ้าสามารถเสริมการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้จังหวัดแม่ฮ่องสอนพยายามผลักดัน โครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงสะเมิง จ.เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยกรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทเอพซิลอน จำกัด บริษัท แพลนโปร จำกัด ช บริษัทธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ ทำการศึกษา เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-ผ่านอ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 175 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2545 - 2549
เบื้องต้นทั้ง 4 บริษัทได้สรุปผลการศึกษาความเหมาะสมให้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน - กรมทางหลวง เพื่อพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไปแล้ว โดยตามผลการศึกษาพบว่า โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 15,600 ล้านบาท