ข้องใจไหมที่นิตยสารไทม์ ใช้คำพาดหัวสำหรับปกที่ตีพิมพ์ภาพอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ว่า STAYING POWER เป็นการให้ราคาว่า “ยังมีอิทธิพลทางการเมือง”
แถมยังมีบทวิเคราะห์ประกอบการสัมภาษณ์ที่สรุปด้วยว่า หากมีการเลือกตั้งขึ้นในวันนี้ ทักษิณก็จะชนะการเลือกตั้งจากพลังเงียบที่อยู่ตามหมู่บ้าน และคนระดับรากหญ้าอันเป็นผลจากอิทธิพลนโยบายประชานิยม
ในบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ซึ่งคุณทักษิณ ใช้กรุงโตเกียวเป็นที่ให้สัมภาษณ์ ก็ยังมีเนื้อหาทำนองเดียวกับการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศหลายรายก่อนหน้านี้ และเช่นเคยเป็นการรบโดยใช้สื่อต่างประเทศ “ปั่น” เอาทั้งคณะผู้นำรัฐประหารหรือคมช.และรัฐบาลอยู่ไม่สุข
เพราะครั้งนี้มีการกล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูงอีกแล้ว เมื่อถูกถามถึงการถูกยึดอำนาจ รวมทั้งการบ่ายเบี่ยงข้อหาคอร์รัปชั่นว่าไม่มีหลักฐานซ้ำยังเหน็บว่าจากอดีตครั้งถึงปัจจุบันที่มีการรัฐประหารมักอ้างเรื่องมาแก้คอร์รัปชั่น แต่บางครั้งทหารกลับทำเองมากกว่า
ครั้งนี้นับว่าเหิมเกริมหนักขึ้น
ถึงขนาดตอบคำถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่อการรัฐประหารว่า ตอนแรกประชาชนก็ตื่นตระหนกและจากนั้นก็เริ่มยอมรับ หลังจากได้การรับรองจากสถาบันเบื้องสูง
นี่เป็นประเด็นที่ คมช.และรัฐบาลจะอยู่เฉยได้อย่างไร
แต่ที่แน่ๆ การที่รัฐบาลถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็เกิดภายหลังภาวะสุกงอมของกระแสประชาชนที่รู้ทันระบอบทักษิณ เคลื่อนไหวการต่อต้านขับไล่ โดยการนำของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
สังคมรู้สึกโล่งอกและประชาชนพากันนำดอกไม้ น้ำดื่มและอาหารไปมอบให้ทหารที่เข้ารักษาการณ์จึงเป็นภาพซึ่งแตกต่างจากการรัฐประหารโดยทั่วไป
น่าเสียดายที่เหตุผล 4 ข้อ ในคำแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะปฏิรูปฯ ที่เข้ายึดอำนาจในวันนั้น และแปรสภาพเป็น คมช.ในวันนี้ มิได้ดำเนินการเชิงรุกอย่างเต็มที่ให้สมกับภารกิจตามเหตุผลที่ระบุว่า
•มีการสร้างความแตกแยกในสังคม จนเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง
•มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง
•มีการแทรกแซงองค์กรอิสระ และกลไกการตรวจสอบนักการเมืองที่ฉ้อฉล จนทำงานไม่ได้
•มีพฤติกรรมหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
ประเด็นเหล่านั้น ทั้งที่รับรู้และมีผลการตรวจสอบชี้มูลความผิดชนิดแตะไปโครงการใดก็เจอการฉ้อฉล หาผลประโยชน์เพื่อครอบครัวพวกพ้องผู้นำนักธุรกิจการเมืองอย่างมหาศาล
อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี จึงขนานนามว่าเป็นพัฒนาการโกงระดับ “โคตรานุวัตน์”
แต่ราวกับไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อ “การปฏิรูปอย่างแท้จริง” ให้สมกับชื่อคณะก่อการที่เรียกว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ” เพื่อสนองการเรียกร้องของสังคมที่ต้องการระบบการบริหารที่มีคุณธรรม
ให้มี “ธรรมาภิบาล” คือ สุจริต รับผิดชอบ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งตรงข้ามกับหลักปฏิบัติของ “ระบอบทักษิณ”
ความจริงผลความเลวร้ายต่างๆ ในช่วง 5 ปีเศษ ที่ผ่านมาของระบอบทักษิณ ได้ใช้อำนาจการเมืองและอำนาจเงินครอบงำคนในสถาบันต่างๆ อย่างขาดคุณธรรมและละเลยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล
แต่รัฐบาลซึ่งรับไม้ต่อจากคณะรัฐประหารก็ยังมิได้แสดงรูปธรรมในเชิงปฏิบัติที่ชัดเจนนักในการปฏิรูป
คมช.เคยถูกประเมินท่าทีว่า “หน่อมแน้ม” และคณะมนตรีถูกมองว่ามีแต่ “คนแก่ ” จนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ โต้ว่าเป็น “ขิงแก่” ต่างหาก เพราะมีประสบการณ์ที่จะแสดงความเผ็ดร้อนให้ดูได้
แต่ก็มาเจอฉายาล่าสุดจากอาจารย์ธีรยุทธ ที่ย้ำท่าทีคณะผู้กุมอำนาจปัจจุบันหนักเข้าไปอีกว่าเป็น “แป้งโกกิ” และ “ขมิ้นอ่อน”
ถ้ามองในแง่เป็นประโยชน์ นี่คือเสียงเชียร์ข้างเวทีที่อยากเห็น “ฝ่ายธรรม” บรรลุภารกิจในการจัดการเอาชนะ “ฝ่ายอธรรม”
อาการใช้ “เกียร์ว่าง” ของผู้เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูล หรือเดินหน้ารักษาผลประโยชน์ของรัฐเกิดได้อย่างไร
ผลที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเกิดจากช่วงแรกนั้นผู้กุมอำนาจใหม่ถูกมองว่า ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะจัดการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มอำนาจเก่าจนบางคนไม่แน่จะมีผลร้ายย้อนหลังในอนาคตหรือไม่ จึงขอดูทางลมหรือยัดมั่นการรับใช้ระบอบทักษิณ
ผู้กุมอำนาจปัจจุบันจึงต้องกลับมาทบทวนแก้ที่เหตุ และวิธีการทั้งการสื่อสาร และปฏิบัติการของรัฐบาลเองในการกำจัดสิ่งชั่วร้ายและดึงเศรษฐกิจสังคมกลับสู่แนวทางประสิทธิภาพและคุณธรรม
ส่วนปัญหาภายนอก การป่วนผ่านสื่อต่างประเทศไม่หยุด อาจเป็นผลงานการประสานงานของ 2 บริษัทในสหรัฐที่คุณทักษิณจ้างให้ดำเนินการเพื่อให้ตัวเองยังเป็นที่สนใจ และหวังสื่อสารถึงบรรดาลิ่วล้อและสาวกว่ายัง “มีความหมาย”
ประเด็นอยู่ที่ว่า ผลความผิดพลาดเสียหาย การทุจริตที่มีมากมายและพาดพิงถึงตัวอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ จนเป็นเหตุให้จำเป็นต้องจัดการให้ลงจากอำนาจนั้น กลไกรัฐมีหน้าท่าทีอย่างไร
ทำไมจึงยังปล่อยให้ “มีความหมาย” มีโอกาสตีฝีปากว่า เป็นคนดีมีหลักการ แล้วกล่าวบิดเบือนพาดพิงสถาบันสำคัญของชาติได้
แถมยังมีบทวิเคราะห์ประกอบการสัมภาษณ์ที่สรุปด้วยว่า หากมีการเลือกตั้งขึ้นในวันนี้ ทักษิณก็จะชนะการเลือกตั้งจากพลังเงียบที่อยู่ตามหมู่บ้าน และคนระดับรากหญ้าอันเป็นผลจากอิทธิพลนโยบายประชานิยม
ในบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ซึ่งคุณทักษิณ ใช้กรุงโตเกียวเป็นที่ให้สัมภาษณ์ ก็ยังมีเนื้อหาทำนองเดียวกับการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศหลายรายก่อนหน้านี้ และเช่นเคยเป็นการรบโดยใช้สื่อต่างประเทศ “ปั่น” เอาทั้งคณะผู้นำรัฐประหารหรือคมช.และรัฐบาลอยู่ไม่สุข
เพราะครั้งนี้มีการกล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูงอีกแล้ว เมื่อถูกถามถึงการถูกยึดอำนาจ รวมทั้งการบ่ายเบี่ยงข้อหาคอร์รัปชั่นว่าไม่มีหลักฐานซ้ำยังเหน็บว่าจากอดีตครั้งถึงปัจจุบันที่มีการรัฐประหารมักอ้างเรื่องมาแก้คอร์รัปชั่น แต่บางครั้งทหารกลับทำเองมากกว่า
ครั้งนี้นับว่าเหิมเกริมหนักขึ้น
ถึงขนาดตอบคำถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่อการรัฐประหารว่า ตอนแรกประชาชนก็ตื่นตระหนกและจากนั้นก็เริ่มยอมรับ หลังจากได้การรับรองจากสถาบันเบื้องสูง
นี่เป็นประเด็นที่ คมช.และรัฐบาลจะอยู่เฉยได้อย่างไร
แต่ที่แน่ๆ การที่รัฐบาลถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็เกิดภายหลังภาวะสุกงอมของกระแสประชาชนที่รู้ทันระบอบทักษิณ เคลื่อนไหวการต่อต้านขับไล่ โดยการนำของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
สังคมรู้สึกโล่งอกและประชาชนพากันนำดอกไม้ น้ำดื่มและอาหารไปมอบให้ทหารที่เข้ารักษาการณ์จึงเป็นภาพซึ่งแตกต่างจากการรัฐประหารโดยทั่วไป
น่าเสียดายที่เหตุผล 4 ข้อ ในคำแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะปฏิรูปฯ ที่เข้ายึดอำนาจในวันนั้น และแปรสภาพเป็น คมช.ในวันนี้ มิได้ดำเนินการเชิงรุกอย่างเต็มที่ให้สมกับภารกิจตามเหตุผลที่ระบุว่า
•มีการสร้างความแตกแยกในสังคม จนเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง
•มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง
•มีการแทรกแซงองค์กรอิสระ และกลไกการตรวจสอบนักการเมืองที่ฉ้อฉล จนทำงานไม่ได้
•มีพฤติกรรมหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
ประเด็นเหล่านั้น ทั้งที่รับรู้และมีผลการตรวจสอบชี้มูลความผิดชนิดแตะไปโครงการใดก็เจอการฉ้อฉล หาผลประโยชน์เพื่อครอบครัวพวกพ้องผู้นำนักธุรกิจการเมืองอย่างมหาศาล
อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี จึงขนานนามว่าเป็นพัฒนาการโกงระดับ “โคตรานุวัตน์”
แต่ราวกับไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อ “การปฏิรูปอย่างแท้จริง” ให้สมกับชื่อคณะก่อการที่เรียกว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ” เพื่อสนองการเรียกร้องของสังคมที่ต้องการระบบการบริหารที่มีคุณธรรม
ให้มี “ธรรมาภิบาล” คือ สุจริต รับผิดชอบ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งตรงข้ามกับหลักปฏิบัติของ “ระบอบทักษิณ”
ความจริงผลความเลวร้ายต่างๆ ในช่วง 5 ปีเศษ ที่ผ่านมาของระบอบทักษิณ ได้ใช้อำนาจการเมืองและอำนาจเงินครอบงำคนในสถาบันต่างๆ อย่างขาดคุณธรรมและละเลยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล
แต่รัฐบาลซึ่งรับไม้ต่อจากคณะรัฐประหารก็ยังมิได้แสดงรูปธรรมในเชิงปฏิบัติที่ชัดเจนนักในการปฏิรูป
คมช.เคยถูกประเมินท่าทีว่า “หน่อมแน้ม” และคณะมนตรีถูกมองว่ามีแต่ “คนแก่ ” จนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ โต้ว่าเป็น “ขิงแก่” ต่างหาก เพราะมีประสบการณ์ที่จะแสดงความเผ็ดร้อนให้ดูได้
แต่ก็มาเจอฉายาล่าสุดจากอาจารย์ธีรยุทธ ที่ย้ำท่าทีคณะผู้กุมอำนาจปัจจุบันหนักเข้าไปอีกว่าเป็น “แป้งโกกิ” และ “ขมิ้นอ่อน”
ถ้ามองในแง่เป็นประโยชน์ นี่คือเสียงเชียร์ข้างเวทีที่อยากเห็น “ฝ่ายธรรม” บรรลุภารกิจในการจัดการเอาชนะ “ฝ่ายอธรรม”
อาการใช้ “เกียร์ว่าง” ของผู้เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูล หรือเดินหน้ารักษาผลประโยชน์ของรัฐเกิดได้อย่างไร
ผลที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเกิดจากช่วงแรกนั้นผู้กุมอำนาจใหม่ถูกมองว่า ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะจัดการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มอำนาจเก่าจนบางคนไม่แน่จะมีผลร้ายย้อนหลังในอนาคตหรือไม่ จึงขอดูทางลมหรือยัดมั่นการรับใช้ระบอบทักษิณ
ผู้กุมอำนาจปัจจุบันจึงต้องกลับมาทบทวนแก้ที่เหตุ และวิธีการทั้งการสื่อสาร และปฏิบัติการของรัฐบาลเองในการกำจัดสิ่งชั่วร้ายและดึงเศรษฐกิจสังคมกลับสู่แนวทางประสิทธิภาพและคุณธรรม
ส่วนปัญหาภายนอก การป่วนผ่านสื่อต่างประเทศไม่หยุด อาจเป็นผลงานการประสานงานของ 2 บริษัทในสหรัฐที่คุณทักษิณจ้างให้ดำเนินการเพื่อให้ตัวเองยังเป็นที่สนใจ และหวังสื่อสารถึงบรรดาลิ่วล้อและสาวกว่ายัง “มีความหมาย”
ประเด็นอยู่ที่ว่า ผลความผิดพลาดเสียหาย การทุจริตที่มีมากมายและพาดพิงถึงตัวอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ จนเป็นเหตุให้จำเป็นต้องจัดการให้ลงจากอำนาจนั้น กลไกรัฐมีหน้าท่าทีอย่างไร
ทำไมจึงยังปล่อยให้ “มีความหมาย” มีโอกาสตีฝีปากว่า เป็นคนดีมีหลักการ แล้วกล่าวบิดเบือนพาดพิงสถาบันสำคัญของชาติได้