ได้ดู ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามคำเชิญชวนของ พล.อ.สนธิ บุญยะรัตกลิน มาแล้วครับ แต่ต้องขอโทษอย่างรุนแรงที่ไม่ได้รู้สึก รักชาติรักแผ่นดิน เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่
รักน่ะรัก-เคยรักแค่ไหนก็ยังคงรักตามนั้น แต่ไม่ลดหรือเพิ่ม
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างได้ยิ่งใหญ่ และไม่ได้น่าผิดหวังแบบที่คุณคำนูณ สิทธิสมานรู้สึก
ในฐานะแฟนเข้ากระดูกของ ผู้ชนะสิบทิศ ฉบับยาขอบ - สิ่งแรกที่ต้องการไปดูก็คือ ท่านมุ้ย จะนำ ผู้ชนะสิบทิศ มาใช้ในตำนานพระนเรศวรฯ แบบไหน
ปรากฏว่า ท่านมุ้ย แค่หยิบมาหยอก- ไม่ได้เชื่อมตำนานจะเด็ด กับตำนานพระองค์ดำ ที่ผูกขึ้นใหม่เข้าด้วยกันตามเข้าใจมาก่อนเข้าโรง
ชื่อของ สีอ่อง นายกองอัศวานึก ที่ควรจะเป็นหนึ่งในขุนพลรายล้อมกษัตริย์บุเรงนอง ถูกยืมมาเป็น ลุงเลี้ยงไก่ คู่หู บุญทิ้ง-มณีจันทร์
จันทรา ตะละแม่พระพี่นางแห่งองค์ตะแบงชะเวตี้ ถูกลดฐานะจากอัครมเหสีแห่งบุเรงนอง กลายเป็นเมียรองที่ถูกลงทัณฑ์ตายเพราะบิดากบฏ...แต่ก็ทิ้งลูกสาวมณีจันทร์ไว้ให้
สมิงสอตุด ชื่อนี้เป็นผู้ร้ายมาตั้งแต่สมัยผู้ชนะสิบทิศ นายคนนี้เป็นมอญ และเป็นญาติข้างพระเจ้าหงสาวดีองค์เดิม ต่อมาเมื่อ ตะเบงชะเวตี้และบุเรงนอง ตีหงสาวดีแตก ก็ยังคงรับเลี้ยง สมิงสอตุด เอาไว้ในฐานะปลัดวัง แต่เลี้ยงไม่เชื่องลอบเป็นชู้กับพระสนม และเป็นส่วนหนึ่งทำให้ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ถูกปลงพระชนม์ จนกระทั่งบุเรงนองได้เสวยราชสมบัติแทน
มารอบนี้ชื่อของ สมิงสอตุด ได้รับการเลื่อนชั้นในระดับเป็นเจ้าครองนคร แถมยังได้กลายเป็น พระญาติของมหาราชถึง 2 พระองค์ – สรุปงานนี้ก็แค่ยืมชื่อคน หยิบจากเรื่องแต่งฉบับโน้นมาหยอกต่อในฉบับนี้ ก็ขอให้รู้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องที่ผูกขึ้น เยาวชนทั้งหลายควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่าเอะอะเหมาไปว่าเรื่องจริงก็แล้วกัน
โดยส่วนตัวรู้สึกผิดหวังรูปลักษณ์ท่วงทำนองของบุเรงนอง ผมไม่ชอบรูปปั้นบายินนองที่เป็นอนุสาวรีย์ที่ท่าขี้เหล็ก ปรากฏว่ารูปปั้นดังกล่าวคือตัวแบบที่ท่านมุ้ยเลือก แต่ก็สร้างคาแรกเตอร์ใหม่บรรจุลงไป ... กลายเป็นบุเรงนองที่ยังไม่สามารถเปล่งประกายความเป็นมหาราชชาตินักรบแห่งอุษาคเนย์ออกมา นี่เป็นความตั้งใจของผู้กำกับมาตั้งแต่แรก
บุเรงนองฉบับนี้ คือผู้ยิ่งใหญ่ที่บังเอิญเกิดมาในยุคที่มีผู้ยิ่งใหญ่กว่ากำเนิดขึ้นในแผ่นดิน
กฤษฎาภินิหารของพระองค์ดำที่ท่านมุ้ยสร้าง จึงทำให้ผู้ชนะสิบทิศกลายเป็นกษัตริย์ที่ทรงอลวนมาก มีทั้งความเฉลียวฉลาด มองการณ์ไกล และหน่อมแน้มไปในตัว ... ขาดความทรนงถึงขนาดถอดใจล่วงหน้าไม่เชื่อว่าสายเลือดตัวเองจะดีพอที่สืบทอดบัลลังก์ได้
และด้วยความที่เป็นแฟนเก่ายาขอบ ทำให้ผมจับผิดท่านมุ้ยได้เรื่องหนึ่ง บุเรงนองยามออกศึกจะมีธงประจำทัพเรียกว่า “มยุรธุช” นั่นก็คือตรานกยูง ซึ่งท่านมุ้ยก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง ออกแบบตรามยุระ อย่างประณีตสวยงามมาก เป็นภาพจากด้านหน้าตัวนก ประดับทั้งที่ธงและเกราะ สวยขนาดสามารถปรับเป็นตราอาร์มสมัยใหม่ได้เลย แต่ปรากฏว่าตราดังกล่าวใช้แค่ฉากเดียวตอนตีพิษณุโลกและอยุธยาครั้งแรก
ต่อจากนั้นไม่รู้ว่าเป็นความผิดพลาดหรือจงใจ ที่ฉากการรบครั้งต่อๆ มาดวงตราประจำและธงประจำของมหาราชหงสาฯ กลายเป็นตราสิงห์ หรือตราอย่างอื่นแทน... มยุรธุชโผล่มาอีกทีตอนมีใบบอกจากหงสาวดีมาที่อยุธยาแจ้งเรื่องพระมหินทร์เสด็จทิวงคต แต่เป็น มยุรธุชอีกลักษณะหนึ่ง
กษัตริย์อะไรตราประจำองค์ผลุบโผล่ๆ !
ภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากจะแสดงกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรมหาราชให้ประจักษ์แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกเรื่องหนึ่งควบคู่กันนั่นก็คือ :-
การนำเสนอบทบาทของวีรสตรี ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบุรุษ
ตอกย้ำความห้าวหาญ รักชาติ เสียสละต่อบ้านเมืองของลูกหลานสายเลือดพระสุริโยทัย
พระเทพกษัตรีย์ และ พระวิสุทธิ์กษัตรีย์ (ลูก) รวมถึง พระสุพรรณกัลยา(หลานยาย) มีบทบาทอย่างสูงยิ่ง ถ้าจะว่าไป บทบาทเด่นรองลงมาจากเจ้าขรัวมหาเถรคันฉ่อง พระรามัญองค์นั้นเลยทีเดียว
ดูๆไปเป็นฉากที่ต่างไปจากการผูกเรื่องเพื่อเอาสนุกเหมือนฉากอื่นๆ แต่เหมือนๆจะย้ำว่านี่คือส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์จริงด้วยซ้ำไป....
ไม่แปลกครับเพราะ ดร. สุเนตร ชุตินทรานนท์ ยืนยันความมีอยู่จริงของเรื่องที่ว่า ในงานเรื่อง “พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (มติชน2550)” เป็นบันทึกเรื่องของพระสุพรรณกัลยา รวมถึงบรรดาขัตติยนารีที่เกี่ยวข้อง อาทิพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระเทพกษัตรีย์ เอาไว้
และที่สำคัญ งานชิ้นนี้ยังมีเรื่องความมีอยู่จริงของ ขรัวมณีจันทร์ หรือ พระสุวัฒน์มณีรัตนาหนึ่งในพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรเอาไว้ด้วย
การเชิดชูขัติยนารีในประวัติศาสตร์อยุธยา เป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านมุ้ยรับมาตั้งแต่เรื่อง สุริโยไท ต่อเนื่องมาถึงตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ – จึงไม่แปลกอันใดที่บทภาพยนตร์พยายามแจกจ่ายน้ำหนักให้กับบรรดาเหล่าขัติยนารีทั้งหลายโดยเท่าเทียม
3 ชั่วโมงดูแบบเพลินๆ เพราะมีฐานประวัติศาสตร์อยู่ในหัวพอสมควร ต่างจากลูกสาววัย 8 ขวบที่ออกจากโรงแบบมึนๆ เอ่ยปากถามที่มาที่ไป ชื่อคน ความเกี่ยวพันของตัวละครแบบที่ต้องอธิบายกันเหนื่อย
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังปลุกใจ- เป็นหนังชาตินิยมครับ !
แต่เป็นสื่อชาตินิยมที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 21 ต่างจากสื่อละครและหนังในยุคหลวงวิจิตรวาทการ หรือยุคจอมพล ป. อย่างแน่นอน
ขนาดที่ พระมหาธรรมราชาตอนเสียเมืองแล้ว เผชิญหน้ากับบุเรงนอง ยังไม่ยกมือไหว้ ... เช่นเดียวกับพระองค์ดำ ที่เสด็จเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองครั้งแรก ก็ไม่ไหว้ ...เพิ่งจะยอบตัวลงถวายบังคมตอนที่อยู่หงสาวดีหลังจากที่บุเรงนองตัดสินความไม่เอนเอียง ให้มังสามเกียด มาไหว้ขอขมาพระองค์ดำก่อน
และเป็นงานสร้างขึ้นเพื่อแสดงกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรฯ ให้ทรงเหนือมหาราชใดๆ ในยุคคาบเกี่ยวกัน แม้กระทั่งบุเรงนอง ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพิ่มพูนอภินิหารดังกล่าวนั้นในอีกทางหนึ่ง
ท่านพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปชมหนังเรื่องนี้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าได้ข้อคิดให้คนไทยต้องรักสามัคคีกันไม่ทรยศซึ่งกันและกัน
ท่านนายกฯคงพูดถึง ตอนออกญาจักรี หวังลาภยศสมบัติอาสาเป็นไส้ศึก ยอมทรยศต่อเชื้อสายนายเก่าสุดท้ายก็ถูกบุเรงนองสั่งฆ่า
พล็อตเรื่องแบบนี้แหละ ที่เข้าตามขนบเลือดสุพรรณ และบรรดาละครชาตินิยมยุคหลวงวิจิตรฯ- นั่นคือ ชาติของเรา เมืองของเรา มีข้าศึกมา ก็ต้องสู้สุดใจ ต้องจงรักภักดี ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และ ฯลฯ
ยุคนั้นเป็นยุคของประวัติศาสตร์ชาตินิยม และ การสร้างสื่อชาติชาตินิยมมาจำนวนมาก
แต่ทว่า ตำนานพระนเรศวรฯ ไม่เหมือนกับละครหรือหนังในยุคหลวงวิจิตรฯ
เริ่มจากฐานข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เอามาใช้ ก็ซับซ้อนและน่าเชื่อกว่าประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่เริ่มเขียนกันมาตั้งแต่ยุคกรมพระยาดำรงฯต่อเนื่องถึงยุคจอมพล ป.
ดูสนุก แต่ถ้าไม่เข้าใจก็อธิบายยาก !!
อย่างน้อยในฐานะผู้ใหญ่ต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจถึง บทบาทของพระมหาธรรมราชา ซึ่งดูๆไปก็ไม่ต่างจาก ออกญาจักรี แต่ทำไมได้ผลต่างกัน .... มันต้องมีเหตุผลที่มาที่ไป ต้องอธิบายเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติและเหตุการณ์แวดล้อมจำนวนมาก
กว่าจะอธิบายก็เหนื่อยๆ แถมไม่แน่ว่าเจ้าตาแป๋วๆ ที่มองเรา มันจะเข้าใจจริงหรือเปล่า !!
จะต้องแปรข้อมูลจากในภาพยนตร์ และไปค้นที่ศึกษาเก็บสะสมมาอีกไม่รู้เท่าไหร่มาช่วยอธิบาย แถมที่สำคัญต้องมีวิธีการอธิบายให้เข้าใจที่ดีด้วย !!
หากตำนานพระนเรศวรฯของท่านมุ้ย สร้างตามพงศาวดารที่เชื่อกันมาตั้งแต่สมัย ร.5ก็คงไม่น่าดู และด้วยหลักฐานประวัติศาสตร์ใหม่ๆที่ใช้เป็นกรอบการเขียนบท การแบ่งฝ่ายชี้ถูกผิดเหมือนกับยุคหลวงวิจิตรฯ ก็ยิ่งทำได้ยาก และไม่น่าดู
เป็นธรรมดาครับ- พล็อตเรื่องแต่งรวมถึงประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่เขียนมาเมื่อ 40-50 ปีก่อนที่สุดแล้วก็ถูกท้าทายจากหลักฐานประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ....ที่น่าเชื่อว่าจริงมากกว่า - แต่ต้องอธิบายเหนื่อยกว่า
การที่ต้องค้นและเหนื่อยกับการอธิบายลูกทำให้ผมนึกถึง คุณทักษิณ กับ คุณสนธิ ได้ยังไงไม่รู้
ในยุคที่คุณสนธิ สวมเสื้อเหลืองโพกผ้าสู้อยู่นั้น ได้สู้ในสงครามข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลกำสื่อต่างๆ อยู่ในมือทั้งหมด แต่คุณสนธิกลับเอาชนะในสงครามดังกล่าวได้ แมเนเจอร์ออนไลน์ หรือ ASTV. –เป็นแค่องค์ประกอบครับ
แต่เพราะด้วย อำนาจและพลังของการสืบค้นข้อมูลที่เหนือกว่าต่างหาก-ที่ทำให้คุณสนธิชนะในแนวรบสงครามข้อมูลข่าวสาร
ระบอบทักษิณเชื่อว่าการโฆษณาข้อมูลงี่เง่าพูดอะไรก็เป็นข่าวผ่านช่องทางสื่อที่เหนือกว่า แถมใช้วิธีสกัดสื่อจะสามารถชนะได้ ก็คล้ายๆ กับที่ผู้ใหญ่ในคมช.หรือรัฐบาลหลายคนคิดว่า แค่เซนเซอร์ก็คงโอเค.แล้ว
การเอาชนะในสงครามข้อมูลข่าวสารในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ด้วยช่องทางสื่อที่เหนือกว่า หากแต่ ต้องด้วยพลังของข้อมูล-ข้อเท็จจริง-และวิธีการอธิบายที่เหนือกว่าต่างหาก
นี่แหละครับที่ผมต้องการเรียนถึงท่าน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าผมได้ไปดูภาพยนตร์มาแล้ว แต่สิ่งที่ได้มาไม่ใช่ความคุคลั่งรักชาติแบบเลือดสูบฉีด
หากแต่ไปได้รู้มาว่า หนังปลุกใจ-ชาตินิยม ของยุคนี้ต่างจากยุคก่อน ปรากฏการณ์บางอย่างคาบเกี่ยวและยากชี้ถูก-ผิด ต้องมีบริบทในการอธิบายความเพิ่มขึ้น
และยังได้ของแถมพกติดมาว่า การทำสงครามข่าวสารของยุคนี้ ก็ต่างจากยุคก่อนด้วย !
รักน่ะรัก-เคยรักแค่ไหนก็ยังคงรักตามนั้น แต่ไม่ลดหรือเพิ่ม
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างได้ยิ่งใหญ่ และไม่ได้น่าผิดหวังแบบที่คุณคำนูณ สิทธิสมานรู้สึก
ในฐานะแฟนเข้ากระดูกของ ผู้ชนะสิบทิศ ฉบับยาขอบ - สิ่งแรกที่ต้องการไปดูก็คือ ท่านมุ้ย จะนำ ผู้ชนะสิบทิศ มาใช้ในตำนานพระนเรศวรฯ แบบไหน
ปรากฏว่า ท่านมุ้ย แค่หยิบมาหยอก- ไม่ได้เชื่อมตำนานจะเด็ด กับตำนานพระองค์ดำ ที่ผูกขึ้นใหม่เข้าด้วยกันตามเข้าใจมาก่อนเข้าโรง
ชื่อของ สีอ่อง นายกองอัศวานึก ที่ควรจะเป็นหนึ่งในขุนพลรายล้อมกษัตริย์บุเรงนอง ถูกยืมมาเป็น ลุงเลี้ยงไก่ คู่หู บุญทิ้ง-มณีจันทร์
จันทรา ตะละแม่พระพี่นางแห่งองค์ตะแบงชะเวตี้ ถูกลดฐานะจากอัครมเหสีแห่งบุเรงนอง กลายเป็นเมียรองที่ถูกลงทัณฑ์ตายเพราะบิดากบฏ...แต่ก็ทิ้งลูกสาวมณีจันทร์ไว้ให้
สมิงสอตุด ชื่อนี้เป็นผู้ร้ายมาตั้งแต่สมัยผู้ชนะสิบทิศ นายคนนี้เป็นมอญ และเป็นญาติข้างพระเจ้าหงสาวดีองค์เดิม ต่อมาเมื่อ ตะเบงชะเวตี้และบุเรงนอง ตีหงสาวดีแตก ก็ยังคงรับเลี้ยง สมิงสอตุด เอาไว้ในฐานะปลัดวัง แต่เลี้ยงไม่เชื่องลอบเป็นชู้กับพระสนม และเป็นส่วนหนึ่งทำให้ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ถูกปลงพระชนม์ จนกระทั่งบุเรงนองได้เสวยราชสมบัติแทน
มารอบนี้ชื่อของ สมิงสอตุด ได้รับการเลื่อนชั้นในระดับเป็นเจ้าครองนคร แถมยังได้กลายเป็น พระญาติของมหาราชถึง 2 พระองค์ – สรุปงานนี้ก็แค่ยืมชื่อคน หยิบจากเรื่องแต่งฉบับโน้นมาหยอกต่อในฉบับนี้ ก็ขอให้รู้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องที่ผูกขึ้น เยาวชนทั้งหลายควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่าเอะอะเหมาไปว่าเรื่องจริงก็แล้วกัน
โดยส่วนตัวรู้สึกผิดหวังรูปลักษณ์ท่วงทำนองของบุเรงนอง ผมไม่ชอบรูปปั้นบายินนองที่เป็นอนุสาวรีย์ที่ท่าขี้เหล็ก ปรากฏว่ารูปปั้นดังกล่าวคือตัวแบบที่ท่านมุ้ยเลือก แต่ก็สร้างคาแรกเตอร์ใหม่บรรจุลงไป ... กลายเป็นบุเรงนองที่ยังไม่สามารถเปล่งประกายความเป็นมหาราชชาตินักรบแห่งอุษาคเนย์ออกมา นี่เป็นความตั้งใจของผู้กำกับมาตั้งแต่แรก
บุเรงนองฉบับนี้ คือผู้ยิ่งใหญ่ที่บังเอิญเกิดมาในยุคที่มีผู้ยิ่งใหญ่กว่ากำเนิดขึ้นในแผ่นดิน
กฤษฎาภินิหารของพระองค์ดำที่ท่านมุ้ยสร้าง จึงทำให้ผู้ชนะสิบทิศกลายเป็นกษัตริย์ที่ทรงอลวนมาก มีทั้งความเฉลียวฉลาด มองการณ์ไกล และหน่อมแน้มไปในตัว ... ขาดความทรนงถึงขนาดถอดใจล่วงหน้าไม่เชื่อว่าสายเลือดตัวเองจะดีพอที่สืบทอดบัลลังก์ได้
และด้วยความที่เป็นแฟนเก่ายาขอบ ทำให้ผมจับผิดท่านมุ้ยได้เรื่องหนึ่ง บุเรงนองยามออกศึกจะมีธงประจำทัพเรียกว่า “มยุรธุช” นั่นก็คือตรานกยูง ซึ่งท่านมุ้ยก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง ออกแบบตรามยุระ อย่างประณีตสวยงามมาก เป็นภาพจากด้านหน้าตัวนก ประดับทั้งที่ธงและเกราะ สวยขนาดสามารถปรับเป็นตราอาร์มสมัยใหม่ได้เลย แต่ปรากฏว่าตราดังกล่าวใช้แค่ฉากเดียวตอนตีพิษณุโลกและอยุธยาครั้งแรก
ต่อจากนั้นไม่รู้ว่าเป็นความผิดพลาดหรือจงใจ ที่ฉากการรบครั้งต่อๆ มาดวงตราประจำและธงประจำของมหาราชหงสาฯ กลายเป็นตราสิงห์ หรือตราอย่างอื่นแทน... มยุรธุชโผล่มาอีกทีตอนมีใบบอกจากหงสาวดีมาที่อยุธยาแจ้งเรื่องพระมหินทร์เสด็จทิวงคต แต่เป็น มยุรธุชอีกลักษณะหนึ่ง
กษัตริย์อะไรตราประจำองค์ผลุบโผล่ๆ !
ภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากจะแสดงกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรมหาราชให้ประจักษ์แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์สำคัญอีกเรื่องหนึ่งควบคู่กันนั่นก็คือ :-
การนำเสนอบทบาทของวีรสตรี ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบุรุษ
ตอกย้ำความห้าวหาญ รักชาติ เสียสละต่อบ้านเมืองของลูกหลานสายเลือดพระสุริโยทัย
พระเทพกษัตรีย์ และ พระวิสุทธิ์กษัตรีย์ (ลูก) รวมถึง พระสุพรรณกัลยา(หลานยาย) มีบทบาทอย่างสูงยิ่ง ถ้าจะว่าไป บทบาทเด่นรองลงมาจากเจ้าขรัวมหาเถรคันฉ่อง พระรามัญองค์นั้นเลยทีเดียว
ดูๆไปเป็นฉากที่ต่างไปจากการผูกเรื่องเพื่อเอาสนุกเหมือนฉากอื่นๆ แต่เหมือนๆจะย้ำว่านี่คือส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์จริงด้วยซ้ำไป....
ไม่แปลกครับเพราะ ดร. สุเนตร ชุตินทรานนท์ ยืนยันความมีอยู่จริงของเรื่องที่ว่า ในงานเรื่อง “พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (มติชน2550)” เป็นบันทึกเรื่องของพระสุพรรณกัลยา รวมถึงบรรดาขัตติยนารีที่เกี่ยวข้อง อาทิพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระเทพกษัตรีย์ เอาไว้
และที่สำคัญ งานชิ้นนี้ยังมีเรื่องความมีอยู่จริงของ ขรัวมณีจันทร์ หรือ พระสุวัฒน์มณีรัตนาหนึ่งในพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรเอาไว้ด้วย
การเชิดชูขัติยนารีในประวัติศาสตร์อยุธยา เป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านมุ้ยรับมาตั้งแต่เรื่อง สุริโยไท ต่อเนื่องมาถึงตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ – จึงไม่แปลกอันใดที่บทภาพยนตร์พยายามแจกจ่ายน้ำหนักให้กับบรรดาเหล่าขัติยนารีทั้งหลายโดยเท่าเทียม
3 ชั่วโมงดูแบบเพลินๆ เพราะมีฐานประวัติศาสตร์อยู่ในหัวพอสมควร ต่างจากลูกสาววัย 8 ขวบที่ออกจากโรงแบบมึนๆ เอ่ยปากถามที่มาที่ไป ชื่อคน ความเกี่ยวพันของตัวละครแบบที่ต้องอธิบายกันเหนื่อย
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังปลุกใจ- เป็นหนังชาตินิยมครับ !
แต่เป็นสื่อชาตินิยมที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 21 ต่างจากสื่อละครและหนังในยุคหลวงวิจิตรวาทการ หรือยุคจอมพล ป. อย่างแน่นอน
ขนาดที่ พระมหาธรรมราชาตอนเสียเมืองแล้ว เผชิญหน้ากับบุเรงนอง ยังไม่ยกมือไหว้ ... เช่นเดียวกับพระองค์ดำ ที่เสด็จเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองครั้งแรก ก็ไม่ไหว้ ...เพิ่งจะยอบตัวลงถวายบังคมตอนที่อยู่หงสาวดีหลังจากที่บุเรงนองตัดสินความไม่เอนเอียง ให้มังสามเกียด มาไหว้ขอขมาพระองค์ดำก่อน
และเป็นงานสร้างขึ้นเพื่อแสดงกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรฯ ให้ทรงเหนือมหาราชใดๆ ในยุคคาบเกี่ยวกัน แม้กระทั่งบุเรงนอง ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพิ่มพูนอภินิหารดังกล่าวนั้นในอีกทางหนึ่ง
ท่านพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปชมหนังเรื่องนี้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าได้ข้อคิดให้คนไทยต้องรักสามัคคีกันไม่ทรยศซึ่งกันและกัน
ท่านนายกฯคงพูดถึง ตอนออกญาจักรี หวังลาภยศสมบัติอาสาเป็นไส้ศึก ยอมทรยศต่อเชื้อสายนายเก่าสุดท้ายก็ถูกบุเรงนองสั่งฆ่า
พล็อตเรื่องแบบนี้แหละ ที่เข้าตามขนบเลือดสุพรรณ และบรรดาละครชาตินิยมยุคหลวงวิจิตรฯ- นั่นคือ ชาติของเรา เมืองของเรา มีข้าศึกมา ก็ต้องสู้สุดใจ ต้องจงรักภักดี ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และ ฯลฯ
ยุคนั้นเป็นยุคของประวัติศาสตร์ชาตินิยม และ การสร้างสื่อชาติชาตินิยมมาจำนวนมาก
แต่ทว่า ตำนานพระนเรศวรฯ ไม่เหมือนกับละครหรือหนังในยุคหลวงวิจิตรฯ
เริ่มจากฐานข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เอามาใช้ ก็ซับซ้อนและน่าเชื่อกว่าประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่เริ่มเขียนกันมาตั้งแต่ยุคกรมพระยาดำรงฯต่อเนื่องถึงยุคจอมพล ป.
ดูสนุก แต่ถ้าไม่เข้าใจก็อธิบายยาก !!
อย่างน้อยในฐานะผู้ใหญ่ต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจถึง บทบาทของพระมหาธรรมราชา ซึ่งดูๆไปก็ไม่ต่างจาก ออกญาจักรี แต่ทำไมได้ผลต่างกัน .... มันต้องมีเหตุผลที่มาที่ไป ต้องอธิบายเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติและเหตุการณ์แวดล้อมจำนวนมาก
กว่าจะอธิบายก็เหนื่อยๆ แถมไม่แน่ว่าเจ้าตาแป๋วๆ ที่มองเรา มันจะเข้าใจจริงหรือเปล่า !!
จะต้องแปรข้อมูลจากในภาพยนตร์ และไปค้นที่ศึกษาเก็บสะสมมาอีกไม่รู้เท่าไหร่มาช่วยอธิบาย แถมที่สำคัญต้องมีวิธีการอธิบายให้เข้าใจที่ดีด้วย !!
หากตำนานพระนเรศวรฯของท่านมุ้ย สร้างตามพงศาวดารที่เชื่อกันมาตั้งแต่สมัย ร.5ก็คงไม่น่าดู และด้วยหลักฐานประวัติศาสตร์ใหม่ๆที่ใช้เป็นกรอบการเขียนบท การแบ่งฝ่ายชี้ถูกผิดเหมือนกับยุคหลวงวิจิตรฯ ก็ยิ่งทำได้ยาก และไม่น่าดู
เป็นธรรมดาครับ- พล็อตเรื่องแต่งรวมถึงประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่เขียนมาเมื่อ 40-50 ปีก่อนที่สุดแล้วก็ถูกท้าทายจากหลักฐานประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ....ที่น่าเชื่อว่าจริงมากกว่า - แต่ต้องอธิบายเหนื่อยกว่า
การที่ต้องค้นและเหนื่อยกับการอธิบายลูกทำให้ผมนึกถึง คุณทักษิณ กับ คุณสนธิ ได้ยังไงไม่รู้
ในยุคที่คุณสนธิ สวมเสื้อเหลืองโพกผ้าสู้อยู่นั้น ได้สู้ในสงครามข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลกำสื่อต่างๆ อยู่ในมือทั้งหมด แต่คุณสนธิกลับเอาชนะในสงครามดังกล่าวได้ แมเนเจอร์ออนไลน์ หรือ ASTV. –เป็นแค่องค์ประกอบครับ
แต่เพราะด้วย อำนาจและพลังของการสืบค้นข้อมูลที่เหนือกว่าต่างหาก-ที่ทำให้คุณสนธิชนะในแนวรบสงครามข้อมูลข่าวสาร
ระบอบทักษิณเชื่อว่าการโฆษณาข้อมูลงี่เง่าพูดอะไรก็เป็นข่าวผ่านช่องทางสื่อที่เหนือกว่า แถมใช้วิธีสกัดสื่อจะสามารถชนะได้ ก็คล้ายๆ กับที่ผู้ใหญ่ในคมช.หรือรัฐบาลหลายคนคิดว่า แค่เซนเซอร์ก็คงโอเค.แล้ว
การเอาชนะในสงครามข้อมูลข่าวสารในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ด้วยช่องทางสื่อที่เหนือกว่า หากแต่ ต้องด้วยพลังของข้อมูล-ข้อเท็จจริง-และวิธีการอธิบายที่เหนือกว่าต่างหาก
นี่แหละครับที่ผมต้องการเรียนถึงท่าน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าผมได้ไปดูภาพยนตร์มาแล้ว แต่สิ่งที่ได้มาไม่ใช่ความคุคลั่งรักชาติแบบเลือดสูบฉีด
หากแต่ไปได้รู้มาว่า หนังปลุกใจ-ชาตินิยม ของยุคนี้ต่างจากยุคก่อน ปรากฏการณ์บางอย่างคาบเกี่ยวและยากชี้ถูก-ผิด ต้องมีบริบทในการอธิบายความเพิ่มขึ้น
และยังได้ของแถมพกติดมาว่า การทำสงครามข่าวสารของยุคนี้ ก็ต่างจากยุคก่อนด้วย !