ผู้จัดการรายวัน - “ดีทแฮล์ม” ลุยตลาดเครื่องจักรกลหนัก ระบุพร้อมช่วงชิงโอกาสทางการตลาดในวงการก่อสร้างเมืองไทย ส่งสัญญาณรุกตลาดรอบใหม่ด้วยการปรับตราสัญลักษณ์สินค้าเครื่องจักรกลหนักแดนเกาหลีจากแบรนด์ “Doosan-Daewoo” มาเป็น “Doosan” เล็งปักฐานในภูมิภาคด้วยการให้ไทยเป็นฐานการจำหน่ายในประเทศและภูมิภาคอินโตจีน ตั้งเป้าปี 2550 มียอดขาย 300 ล้านบาท และขยายอัตราการเติบโต 30%
นายสัญชัย ศิริเศรษฐ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด เปิดเผยว่าจากการที่ดีทแฮล์มได้เป็นตัวแทนจำหน่ายและบริการเครื่องจักรกลหนักจากเกาหลีนั้น ในปี 2550 ชื่อเครื่องหมายการค้าของ Doosan-Daewoo ได้เปลี่ยนเป็น Doosan
จากการปรับชื่อตราสินค้าในครั้งนี้ Doosan มีความมุ่งมั่นจะก้าวสู่การเป็น 1 ใน 5 บริษัทชั้นนำของโลก ด้วยการสนับสนุนจาก “กลุ่มดูซาน” ผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เครื่องจักรกลหนักแบบครบวงจรระดับโลก ซึ่งมีประวัติทางด้านการค้ายาวนานกว่า 110 ปี ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศเกาหลี ทำให้มั่นใจได้ว่ากลุ่มดูซานจะสามารถพัฒนาทั้งทางด้านการผลิตและการบริการได้ดียิ่งขึ้น
“วิสัยทัศน์ (Vision) ของ Doosan ในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลหนักและกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ในปี 2010 คาดว่าดูซานจะมีรายได้ประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกำไรจากการดำเนินงาน 6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ และก้าวขึ้นสู่ระดับ 1 ใน 5 ของบริษัทชั้นนำของโลก (Global Top 5)จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1 ใน 15 บริษัทชั้นนำของโลก (Global Top 15) โดยกลยุทธ์ทางการตลาดของ Doosan ในปี 2550 จะยึดหลัก “กลยุทธ์ 2G” นั่นคือ การเติบโตของธุรกิจ (Growth of Business) และการเติบโตของบุคลากร (Growth of People)”
โดยกลยุทธ์ระยะยาว (ปี 2010) ดูซานจะเร่งพัฒนาสายการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ, เพิ่มอัตราการขยายตัวในกลุ่มประเทศแถบยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และประเทศเกิดใหม่ พร้อมขยายกลุ่มลูกค้าในภูมิภาค, เพิ่มกำลังการผลิตจาก 28,000 เป็น 56,000 และหันมาจับตลาดที่มีความต้องการในสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนของดูซานในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ดูซานมีรายได้ดังนี้คือ ปี 1998 มีรายได้รวม 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2001 มีรายได้รวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2005 มีรายได้รวม 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2006 มีรายได้รวม 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลหนัก ภายใต้แบรนด์ “Doosan” ในปี 2550 จะเน้นความเข้าใจทางด้านการตลาด ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ และความเชี่ยวชาญในการนำไปใช้อย่างครบวงจรแก่ลูกค้า ทั้ง รถขุดไฮดรอลิก, รถตักล้อยาง โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ ผู้รับเหมาทั่วไป โรงโม่หิน เหมืองแร่ และหน่วยงานราชการ
นายสัญชัย ศิริเศรษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดรถยกในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 1,700 ยูนิต โดยแบรนด์ Doosan มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 4% คิดเป็นยอดขายประมาณ 200 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้ที่ 300 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หลักคือ Komatsu ส่วนแบ่งตลาด 28% ยอดขาย 460 ยูนิต, แบรนด์ Kobelco ส่วนแบ่งตลาด 27% ยอดขาย 450 ยูนิต, แบรนด์ Caterpillar ส่วนแบ่งตลาด 25% ยอดขาย 425 ยูนิต, แบรนด์ Hitachi ส่วนแบ่งตลาด 12% ยอดขาย 200 ยูนิต
ปัจจุบันเครื่องจักรกลหนัก Doosan ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลก ทั้งทางด้านคุณภาพสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วเช่นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งดูซานมียอดขายสูงเป็นลำดับที่ 1 โดยใน 2549 Doosan มียอดขายรวมเฉพาะในประเทศจีน 26,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6,500 ยูนิต
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด กล่าวถึงกลยุทธ์ทางการตลาดของดีทแฮล์มในสินค้ากลุ่ม เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลหนักในปี 2550 ว่า ทางดีทแฮล์มจะเน้นนำเสนอรถขุด Doosan รุ่นใหม่ขนาด 20 ตัน ราคาประหยัดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมเงื่อนไขการชำระเงินในรูปแบบดาวน์น้อยผ่อนสบายภายในวง และวิเคราะห์สินเชื่อด่วนทันใจภายใน 1-2 วัน
นายสัญชัยคาดการณ์ตลาดการก่อสร้างและเครื่องจักรกลหนักในประเทศไทยช่วงระยะสั้นข้างหน้าว่า จะเป็นไปในลักษณะชะลอตัว รอความชัดเจนทางการเมือง การแข่งขันจะสูงมากเพื่อแย่งตลาดที่มีอยู่จำกัด
สำหรับกลุ่มบริษัท DOOSAN ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย อาทิ การสื่อสาร ยุทธโธปกรณ์ การจัดส่งน้ำ อุตสาหกรรมพลังงาน กลุ่มก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสถาบันการเงิน
บริษัท ดีทแฮลม์ จำกัด เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายและบริการสินค้าในสายธุรกิจ 4 กลุ่ม กล่าวคือ อุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี, เวชภัณฑ์, วัตถุดิบในการผลิตอาหาร โดยมียอดขายรวมในปี 2549 เท่ากับ 60,000 ล้านบาท คาดว่าในปี 2550 ดีทแฮล์มฯ จะมียอดขายรวม 65,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีนั้น ในปี 2549 มียอดขายรวม 1,800 ล้านบาท และในปี 2550 คาดว่าจะมียอดขายรวม 2,000 ล้านบาท
“ตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด และในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ซื้อประสงค์จะลงทุนในงบประมาณที่จำกัด อาจจะในรูปแบบเช่าสำหรับโครงการระยะสั้น และลงทุนซื้อลักษณะดาวน์น้อย ผ่อนนาน จะเป็นทางเลือกของผู้รับเหมาปัจจุบัน บริษัทฯ เรามีสินค้าและบริการที่จะสนองตอบลูกค้าในลักษณะนี้ จึงคาดว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้นจากเดิมในอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 30-40%” นายสัญชัยกล่าว
นายสัญชัย ศิริเศรษฐ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด เปิดเผยว่าจากการที่ดีทแฮล์มได้เป็นตัวแทนจำหน่ายและบริการเครื่องจักรกลหนักจากเกาหลีนั้น ในปี 2550 ชื่อเครื่องหมายการค้าของ Doosan-Daewoo ได้เปลี่ยนเป็น Doosan
จากการปรับชื่อตราสินค้าในครั้งนี้ Doosan มีความมุ่งมั่นจะก้าวสู่การเป็น 1 ใน 5 บริษัทชั้นนำของโลก ด้วยการสนับสนุนจาก “กลุ่มดูซาน” ผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เครื่องจักรกลหนักแบบครบวงจรระดับโลก ซึ่งมีประวัติทางด้านการค้ายาวนานกว่า 110 ปี ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศเกาหลี ทำให้มั่นใจได้ว่ากลุ่มดูซานจะสามารถพัฒนาทั้งทางด้านการผลิตและการบริการได้ดียิ่งขึ้น
“วิสัยทัศน์ (Vision) ของ Doosan ในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลหนักและกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ในปี 2010 คาดว่าดูซานจะมีรายได้ประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกำไรจากการดำเนินงาน 6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ และก้าวขึ้นสู่ระดับ 1 ใน 5 ของบริษัทชั้นนำของโลก (Global Top 5)จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1 ใน 15 บริษัทชั้นนำของโลก (Global Top 15) โดยกลยุทธ์ทางการตลาดของ Doosan ในปี 2550 จะยึดหลัก “กลยุทธ์ 2G” นั่นคือ การเติบโตของธุรกิจ (Growth of Business) และการเติบโตของบุคลากร (Growth of People)”
โดยกลยุทธ์ระยะยาว (ปี 2010) ดูซานจะเร่งพัฒนาสายการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ, เพิ่มอัตราการขยายตัวในกลุ่มประเทศแถบยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และประเทศเกิดใหม่ พร้อมขยายกลุ่มลูกค้าในภูมิภาค, เพิ่มกำลังการผลิตจาก 28,000 เป็น 56,000 และหันมาจับตลาดที่มีความต้องการในสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนของดูซานในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ดูซานมีรายได้ดังนี้คือ ปี 1998 มีรายได้รวม 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2001 มีรายได้รวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2005 มีรายได้รวม 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2006 มีรายได้รวม 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลหนัก ภายใต้แบรนด์ “Doosan” ในปี 2550 จะเน้นความเข้าใจทางด้านการตลาด ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ และความเชี่ยวชาญในการนำไปใช้อย่างครบวงจรแก่ลูกค้า ทั้ง รถขุดไฮดรอลิก, รถตักล้อยาง โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ ผู้รับเหมาทั่วไป โรงโม่หิน เหมืองแร่ และหน่วยงานราชการ
นายสัญชัย ศิริเศรษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดรถยกในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 1,700 ยูนิต โดยแบรนด์ Doosan มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 4% คิดเป็นยอดขายประมาณ 200 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้ที่ 300 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หลักคือ Komatsu ส่วนแบ่งตลาด 28% ยอดขาย 460 ยูนิต, แบรนด์ Kobelco ส่วนแบ่งตลาด 27% ยอดขาย 450 ยูนิต, แบรนด์ Caterpillar ส่วนแบ่งตลาด 25% ยอดขาย 425 ยูนิต, แบรนด์ Hitachi ส่วนแบ่งตลาด 12% ยอดขาย 200 ยูนิต
ปัจจุบันเครื่องจักรกลหนัก Doosan ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลก ทั้งทางด้านคุณภาพสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วเช่นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งดูซานมียอดขายสูงเป็นลำดับที่ 1 โดยใน 2549 Doosan มียอดขายรวมเฉพาะในประเทศจีน 26,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6,500 ยูนิต
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด กล่าวถึงกลยุทธ์ทางการตลาดของดีทแฮล์มในสินค้ากลุ่ม เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลหนักในปี 2550 ว่า ทางดีทแฮล์มจะเน้นนำเสนอรถขุด Doosan รุ่นใหม่ขนาด 20 ตัน ราคาประหยัดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมเงื่อนไขการชำระเงินในรูปแบบดาวน์น้อยผ่อนสบายภายในวง และวิเคราะห์สินเชื่อด่วนทันใจภายใน 1-2 วัน
นายสัญชัยคาดการณ์ตลาดการก่อสร้างและเครื่องจักรกลหนักในประเทศไทยช่วงระยะสั้นข้างหน้าว่า จะเป็นไปในลักษณะชะลอตัว รอความชัดเจนทางการเมือง การแข่งขันจะสูงมากเพื่อแย่งตลาดที่มีอยู่จำกัด
สำหรับกลุ่มบริษัท DOOSAN ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย อาทิ การสื่อสาร ยุทธโธปกรณ์ การจัดส่งน้ำ อุตสาหกรรมพลังงาน กลุ่มก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสถาบันการเงิน
บริษัท ดีทแฮลม์ จำกัด เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายและบริการสินค้าในสายธุรกิจ 4 กลุ่ม กล่าวคือ อุปโภคบริโภค, เทคโนโลยี, เวชภัณฑ์, วัตถุดิบในการผลิตอาหาร โดยมียอดขายรวมในปี 2549 เท่ากับ 60,000 ล้านบาท คาดว่าในปี 2550 ดีทแฮล์มฯ จะมียอดขายรวม 65,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีนั้น ในปี 2549 มียอดขายรวม 1,800 ล้านบาท และในปี 2550 คาดว่าจะมียอดขายรวม 2,000 ล้านบาท
“ตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด และในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ซื้อประสงค์จะลงทุนในงบประมาณที่จำกัด อาจจะในรูปแบบเช่าสำหรับโครงการระยะสั้น และลงทุนซื้อลักษณะดาวน์น้อย ผ่อนนาน จะเป็นทางเลือกของผู้รับเหมาปัจจุบัน บริษัทฯ เรามีสินค้าและบริการที่จะสนองตอบลูกค้าในลักษณะนี้ จึงคาดว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้นจากเดิมในอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 30-40%” นายสัญชัยกล่าว