สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลัก หรือเป็นหน่วยสังคมหน่วยแรกของมนุษย์ ที่จะอยู่รวมกันเพื่อทำการสืบพันธุ์สร้างลูกหลาน และเพื่อเป็นหน่วยพื้นฐานประกอบเป็นสังคมใหญ่ต่อไป สถาบันครอบครัวจึงเป็นสถาบันที่สำคัญสถาบันหนึ่งซึ่งรัฐต้องให้การรับรอง ถ้าสังคมใดมีสถาบันครอบครัวที่ล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ เช่น คนในบ้านขาดความสุข พ่อแม่ไม่ทำหน้าที่ในกระบวนการสั่งสอนอบรมลูกหลาน จนก่อให้เกิดปัญหาต่อบุคลิกและพฤติกรรม สังคมก็จะประกอบด้วยคนที่ไม่สมประกอบทางจิตใจ ทางความคิด และการศึกษา และถ้าไม่มีการเลี้ยงดูเด็กให้มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพอนามัยดี สังคมก็จะมีคนป่วยทางกายเป็นภาระต่อผู้เสียภาษีและผู้บริหารประเทศ และยิ่งถ้ามีการติดยาเสพติดก็จะกลายเป็นปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจ สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่มีปัญหา และถ้าเพิ่มทวีคูณยิ่งสังคมนั้นก็อาจจะแตกสลายในที่สุด
ลัทธิขงจื๊อจึงให้น้ำหนักกับสถาบันครอบครัว เพราะตระหนักดีว่าสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยแรกของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม โดยจัดตั้งเป็นสถาบัน มีเอกลักษณ์ของตัวเองคือการใช้แซ่ และในตะวันตกก็มีชื่อตระกูล ต่อมาก็เป็นนามสกุล ในครอบครัวจีนโบราณจะเป็นหน่วยที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลาน อุทิศตัวเพื่อทำความเจริญให้แก่วงศ์ตระกูล อบรมสั่งสอนให้บุตรหลานมีความรู้ มีความคิด รู้จักปฏิบัติตน รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในกรอบวินัย เมื่อครอบครัวมีความสุขสังคมโดยรวมก็จะเป็นสังคมที่มีความสุข ด้วยเหตุนี้รัฐจึงให้น้ำหนักกับสิทธิประชาชนในสถาบันครอบครัว เพราะสังคมประกอบด้วยหลายครอบครัวเสมือนเป็นหยดน้ำในนทีที่ก่อให้เกิดเป็นแม่น้ำลำธาร
สังคมไทยก่อนการใช้นามสกุลในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มีการอยู่กันเป็นครอบครัว แต่สังคมไทยไม่มีระบบครอบครัวเหมือนสังคมจีนหรือในสังคมอื่นอีกหลายสังคม การอยู่กันเป็นครอบครัวคือการอยู่ร่วมกันระหว่างปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง แต่มีข้อสังเกตว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัวสังคมไทยโบราณนั้น ผู้ชายต้องสังกัดมูลนายในระบบไพร่ อันได้แก่ ไพร่หลวงและไพร่สม ปัจเจกบุคคลที่เป็นชายจึงกลายเป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึ่ง เป็นอณูสมาชิกของขุนนางหรือเจ้าที่เรียกว่ามูลนาย อีกส่วนหนึ่งก็เป็นทาสซึ่งเป็นสมบัติของนายทาส สมาชิกสตรีที่เป็นไพร่ไม่จำเป็นต้องรับราชการด้วยการถูกเกณฑ์แรงงานจึงทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลาน ทำการผลิตเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัว ส่วนสมาชิกชายที่เป็นไพร่ก็จะมีเวลาปีละ 6 เดือนที่สามารถช่วยงานครอบครัวได้ เพราะอีก 6 เดือนต้องรับใช้มูลนายที่เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน
ครอบครัวไทยโบราณจึงเป็นที่อยู่กันของปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน แต่ไม่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่มีตระกูล ไม่มีแซ่ ไม่มีนามสกุล แต่ละคนจะรู้จักกันโดยเรียกฉายานาม เช่น นายจันทร์หนวดเขี้ยว อำแดงบัวเผื่อน โดยไม่มีนามสกุล
เมื่อมีการเลิกทาสในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 รวมทั้งเลิกระบบไพร่ ปัจเจกชนชาวสยามมีความอิสระ มีสิทธิของความเป็นมนุษย์โดยเป็นตัวของตัวเอง จำเป็นจะต้องมีเอกลักษณ์โดยมีชื่อตัวและต้องมีที่มาที่ไปของครอบครัวและเครือญาติ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่มีการเลิกทาสและเลิกระบบไพร่ และของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ให้มีระบบนามสกุลเกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นการรับรองความเป็นเสรีชน ความเสมอภาคและความเป็นครอบครัวของประชาชนชาวสยามในยุคนั้นจนสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน
สิทธิเสรีภาพในสถาบันครอบครัว คือสิทธิขั้นมูลฐานของคนที่อยู่ในสังคมที่มีสิทธิที่จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เอกลักษณ์ดังกล่าวนี้ก็คือนามสกุลซึ่งผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวดองเป็นญาติย่อมไม่มีสิทธิจะใช้ได้ตามกฎหมาย เอกลักษณ์ของครอบครัวในบางสังคม เช่น พวกสก๊อตยังปรากฏอยู่บนกระโปรงที่ผู้ชายใช้สวมใส่โดยมีผ้าที่เรียกว่าผ้าลายสก๊อต ลายที่ทอนั้นจะไม่เหมือนกัน จะเป็นเอกลักษณ์พิเศษของแต่ละตระกูล ในกรณีของจีนก็จะมีแซ่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตระกูล คนไทยมีนามสกุลตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จึงเริ่มมีความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัว โดยแต่ละคนจะมีชื่อตัวและชื่อสกุลที่ได้รับการรับรองในสังคมและรับรองตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคลและชื่อสกุล ระบบครอบครัวไทยจึงมีการรับรองโดยรัฐ
สิทธิเสรีภาพในครอบครัวจึงเป็นสิทธิอันสมบูรณ์ที่รัฐไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซงและเกี่ยวข้อง ยกเว้นแต่ประเด็นที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้เยาว์ในครอบครัว เป็นต้นว่า สมาชิกในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่าเทียมกัน สามีจะใช้กำลังทำร้ายภรรยาก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคดีอาญาได้ สมาชิกรุ่นเยาว์ต้องเข้าโรงเรียนเพื่อรับการศึกษาอบรมที่เรียกว่าการศึกษาภาคบังคับ การทำร้ายตบตีลูกหลานในลักษณะทารุณกรรมจะกระทำมิได้ แต่ในแง่ของสมาชิกครอบครัวยังมีบางส่วนที่ละเอียดอ่อนซึ่งรัฐไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น สิทธิเสรีภาพของสมาชิกในครอบครัวในการที่จะเลือกแนวทางการศึกษาและอาชีพสำหรับตนเอง ทางฝ่ายรัฐก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวโดยถือเป็นสิทธิของสมาชิกในครอบครัวที่จะจัดการกันเอง แต่สิ่งที่จะทำได้ก็คือจะต้องให้การศึกษาและความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนในสังคม ให้เห็นความสำคัญของปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคลในครอบครัว เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักการตัดสินใจเลือกวิชาชีพและอนาคตของตนเอง นอกเหนือจากนั้นภารกิจอันสำคัญก็คือการอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครอบครัวมีความคิดที่ถูกต้อง มีศีลธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของสังคมและชาติต่อไป ในส่วนนี้ทางรัฐอาจจะทำได้ด้วยการเสนอแนะแต่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปบังคับกดดันใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ในสังคมที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ซึ่งรัฐอาจจะเข้าไปก้าวก่ายเรื่องภายในครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญ เป็นหน่วยหลักของสังคม สิทธิเสรีภาพในครอบครัวเป็นสิทธิที่รัฐเข้ามาละเมิดไม่ได้ แต่หัวหน้าครอบครัวก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย ความถูกต้อง เคารพในสิทธิของปัจเจกบุคคล เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์ในครอบครัวต้องมีความรัก ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การทะนุถนอมน้ำใจ เป็นพื้นฐานสำคัญ พี่น้องต้องปฏิบัติกันอย่างรักใคร่และมีความยุติธรรม โดยพี่ชายไม่เอาเปรียบน้องๆ การเอาเปรียบน้องๆ โดยพี่ชายมีปรากฏในครอบครัวนักธุรกิจคนจีนหลายครอบครัว ที่สำคัญหัวหน้าครอบครัวต้องไม่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะเผด็จการ เพราะจะเป็นการสร้างบุคลิกแบบเผด็จการขึ้นภายในครอบครัว อันอาจส่งผลเสียต่อสังคมและระบบการเมืองได้
ลัทธิขงจื๊อจึงให้น้ำหนักกับสถาบันครอบครัว เพราะตระหนักดีว่าสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยแรกของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม โดยจัดตั้งเป็นสถาบัน มีเอกลักษณ์ของตัวเองคือการใช้แซ่ และในตะวันตกก็มีชื่อตระกูล ต่อมาก็เป็นนามสกุล ในครอบครัวจีนโบราณจะเป็นหน่วยที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลาน อุทิศตัวเพื่อทำความเจริญให้แก่วงศ์ตระกูล อบรมสั่งสอนให้บุตรหลานมีความรู้ มีความคิด รู้จักปฏิบัติตน รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในกรอบวินัย เมื่อครอบครัวมีความสุขสังคมโดยรวมก็จะเป็นสังคมที่มีความสุข ด้วยเหตุนี้รัฐจึงให้น้ำหนักกับสิทธิประชาชนในสถาบันครอบครัว เพราะสังคมประกอบด้วยหลายครอบครัวเสมือนเป็นหยดน้ำในนทีที่ก่อให้เกิดเป็นแม่น้ำลำธาร
สังคมไทยก่อนการใช้นามสกุลในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มีการอยู่กันเป็นครอบครัว แต่สังคมไทยไม่มีระบบครอบครัวเหมือนสังคมจีนหรือในสังคมอื่นอีกหลายสังคม การอยู่กันเป็นครอบครัวคือการอยู่ร่วมกันระหว่างปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง แต่มีข้อสังเกตว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัวสังคมไทยโบราณนั้น ผู้ชายต้องสังกัดมูลนายในระบบไพร่ อันได้แก่ ไพร่หลวงและไพร่สม ปัจเจกบุคคลที่เป็นชายจึงกลายเป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึ่ง เป็นอณูสมาชิกของขุนนางหรือเจ้าที่เรียกว่ามูลนาย อีกส่วนหนึ่งก็เป็นทาสซึ่งเป็นสมบัติของนายทาส สมาชิกสตรีที่เป็นไพร่ไม่จำเป็นต้องรับราชการด้วยการถูกเกณฑ์แรงงานจึงทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลาน ทำการผลิตเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัว ส่วนสมาชิกชายที่เป็นไพร่ก็จะมีเวลาปีละ 6 เดือนที่สามารถช่วยงานครอบครัวได้ เพราะอีก 6 เดือนต้องรับใช้มูลนายที่เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน
ครอบครัวไทยโบราณจึงเป็นที่อยู่กันของปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน แต่ไม่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่มีตระกูล ไม่มีแซ่ ไม่มีนามสกุล แต่ละคนจะรู้จักกันโดยเรียกฉายานาม เช่น นายจันทร์หนวดเขี้ยว อำแดงบัวเผื่อน โดยไม่มีนามสกุล
เมื่อมีการเลิกทาสในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 รวมทั้งเลิกระบบไพร่ ปัจเจกชนชาวสยามมีความอิสระ มีสิทธิของความเป็นมนุษย์โดยเป็นตัวของตัวเอง จำเป็นจะต้องมีเอกลักษณ์โดยมีชื่อตัวและต้องมีที่มาที่ไปของครอบครัวและเครือญาติ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่มีการเลิกทาสและเลิกระบบไพร่ และของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ให้มีระบบนามสกุลเกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นการรับรองความเป็นเสรีชน ความเสมอภาคและความเป็นครอบครัวของประชาชนชาวสยามในยุคนั้นจนสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน
สิทธิเสรีภาพในสถาบันครอบครัว คือสิทธิขั้นมูลฐานของคนที่อยู่ในสังคมที่มีสิทธิที่จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เอกลักษณ์ดังกล่าวนี้ก็คือนามสกุลซึ่งผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวดองเป็นญาติย่อมไม่มีสิทธิจะใช้ได้ตามกฎหมาย เอกลักษณ์ของครอบครัวในบางสังคม เช่น พวกสก๊อตยังปรากฏอยู่บนกระโปรงที่ผู้ชายใช้สวมใส่โดยมีผ้าที่เรียกว่าผ้าลายสก๊อต ลายที่ทอนั้นจะไม่เหมือนกัน จะเป็นเอกลักษณ์พิเศษของแต่ละตระกูล ในกรณีของจีนก็จะมีแซ่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตระกูล คนไทยมีนามสกุลตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จึงเริ่มมีความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัว โดยแต่ละคนจะมีชื่อตัวและชื่อสกุลที่ได้รับการรับรองในสังคมและรับรองตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคลและชื่อสกุล ระบบครอบครัวไทยจึงมีการรับรองโดยรัฐ
สิทธิเสรีภาพในครอบครัวจึงเป็นสิทธิอันสมบูรณ์ที่รัฐไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซงและเกี่ยวข้อง ยกเว้นแต่ประเด็นที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้เยาว์ในครอบครัว เป็นต้นว่า สมาชิกในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่าเทียมกัน สามีจะใช้กำลังทำร้ายภรรยาก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคดีอาญาได้ สมาชิกรุ่นเยาว์ต้องเข้าโรงเรียนเพื่อรับการศึกษาอบรมที่เรียกว่าการศึกษาภาคบังคับ การทำร้ายตบตีลูกหลานในลักษณะทารุณกรรมจะกระทำมิได้ แต่ในแง่ของสมาชิกครอบครัวยังมีบางส่วนที่ละเอียดอ่อนซึ่งรัฐไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น สิทธิเสรีภาพของสมาชิกในครอบครัวในการที่จะเลือกแนวทางการศึกษาและอาชีพสำหรับตนเอง ทางฝ่ายรัฐก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวโดยถือเป็นสิทธิของสมาชิกในครอบครัวที่จะจัดการกันเอง แต่สิ่งที่จะทำได้ก็คือจะต้องให้การศึกษาและความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนในสังคม ให้เห็นความสำคัญของปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคลในครอบครัว เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักการตัดสินใจเลือกวิชาชีพและอนาคตของตนเอง นอกเหนือจากนั้นภารกิจอันสำคัญก็คือการอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครอบครัวมีความคิดที่ถูกต้อง มีศีลธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของสังคมและชาติต่อไป ในส่วนนี้ทางรัฐอาจจะทำได้ด้วยการเสนอแนะแต่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปบังคับกดดันใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ในสังคมที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ซึ่งรัฐอาจจะเข้าไปก้าวก่ายเรื่องภายในครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญ เป็นหน่วยหลักของสังคม สิทธิเสรีภาพในครอบครัวเป็นสิทธิที่รัฐเข้ามาละเมิดไม่ได้ แต่หัวหน้าครอบครัวก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย ความถูกต้อง เคารพในสิทธิของปัจเจกบุคคล เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์ในครอบครัวต้องมีความรัก ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การทะนุถนอมน้ำใจ เป็นพื้นฐานสำคัญ พี่น้องต้องปฏิบัติกันอย่างรักใคร่และมีความยุติธรรม โดยพี่ชายไม่เอาเปรียบน้องๆ การเอาเปรียบน้องๆ โดยพี่ชายมีปรากฏในครอบครัวนักธุรกิจคนจีนหลายครอบครัว ที่สำคัญหัวหน้าครอบครัวต้องไม่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะเผด็จการ เพราะจะเป็นการสร้างบุคลิกแบบเผด็จการขึ้นภายในครอบครัว อันอาจส่งผลเสียต่อสังคมและระบบการเมืองได้