“บรรณวิทย์” แฉผลสอบสุวรรณภูมิ นอกจากพบ “รันเวย์-แท็กซี่เวย์” ร้าวแล้วยังพบตัวอาคารก็ร้าว หวั่นลามทั้งตึก เนื่องจากมีการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้าง ด้านสมาคมวิศวกรรมสถานฯ เร่งสรุปผลวิเคราะห์รันเวย์-แท็กซี่เวย์ร้าว ชง ทอท.หาทางแก้ ด้าน “ต่อตระกูล” เข้ารายงาน ครม.ระบุปัญหาร้ายแรงกว่าที่คิด ต้องวิเคราะห์ทุกองค์ประกอยที่เกี่ยวข้อง ทั้งการออกแบบ–ก่อสร้าง–เลือกวัสดุไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่ “ธีระ-สรรเสริญ” ถกเครียด แก้ปัญหาบริหารสุวรรณภูมิเละ ต้นเหตุฝ่ายบริหารทำงานไม่ประสานเจ้าหน้าที่ โยน “สพรั่ง” ชี้ขาด พร้อมตั้ง “ต่อตระกูล” เป็นประธานหาข้อเท็จจริงรันเวย์-แท็กซี่เวย์ร้าว
เมื่อวานนี้ (23 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมี พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน (สนช.) เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบสัญญาการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้รายงานผลการลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และแท็กซี่เวย์ ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า พบรอยแตกร้าวภายในอาคารผู้โดยสารหลายจุด และยังมีการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้างด้วย ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเกิดจากปัญหาโครงสร้างของอาคาร เกรงว่า อนาคตจะเกิดรอยร้าวทั้งตึก
ส่วนปัญหารอยร้าวของรันเวย์และแท็กซี่เวย์นั้น ที่ประชุมได้นำแบบแปลนของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาแสดงต่อกรรมาธิการ พร้อมชี้จุดที่เกิดรอยแตกร้าวและแตกล่อน โดยระบุว่าพื้นที่ที่เกิดปัญหามีทั้งสิ้น 71,000 ตารางเมตร ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจากผู้รับเหมาที่ทำรายงานไว้เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.49 ถือว่าปัญหาเกิดขึ้นเร็วมาก หลังจากเปิดใช้สนามบินได้เพียงเดือนเศษ
นอกจากนี้ ยังแสดงความเป็นห่วงว่า เศษวัสดุบนพื้นผิวถนนที่แตกล่อนจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมหาศาล เพียงแค่เศษเล็กๆ ถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบิน หากไปกระแทกกับถังน้ำมัน จะทำให้เกิดการระเบิด และทำให้เครื่องบินตกทันที ซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้โดยสาร และที่ผ่านมามีนักบินของสายการบิน 2-3 สายการบิน เคยแจ้งให้ท่าอากาศยานทราบแล้ว แต่เรื่องไม่มีความคืบหน้า
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการตรวจสอบการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่ามีมูลเกือบทุกเรื่อง ทั้งหมดเกิดจากคนทำสัญญาเอื้อประโยชน์ให้เอกชน
"ฟังเรื่องนี้แล้วความดันขึ้นทุกที เพราะกินกันจนบ้านเมืองเสียหาย แต่จะทำอะไรก็ติดขัดไปหมด ไม่อยากจะรอแล้ว เจอกันที่สวนลุมพินีแล้วชกกันเลยดีกว่า ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าเปิดโปงเอาคนทุจริตมาลงโทษให้ได้"พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าว
**"สุรยุทธ์"จี้คมนาคมเร่งตรวจสอบทันที
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการฯกล่าวว่า ได้รายงานผลการลงพื้นที่ดังกล่าวให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม เร่งตรวจสอบทันที พร้อมรายงานผลกลับไปที่นายกฯ เพื่อสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประมวลข้อมูล และหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) กำลังดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ เพราะปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องได้รับการแก้ไข คณะกรรมาธิการฯ เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณร้านค้าที่บริษัท คิงเพาเวอร์ ได้รับสัมปทาน เนื่องจากพบความไม่โปร่งใสจากการแก้ไขแบบแปลนก่อสร้างที่เอื้อต่อบริษัทดังกล่าว"นายประพันธ์ กล่าว
**วสท.เร่งสรุปผลรันเวย์-แท็กซี่เวย์ร้าว
นายธิติ ปวีณชนา หนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)เปิดเผยถึงปัญหาที่ทำให้เกิดการทรุดตัวและรอยร้าวของรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าทาง วสท.เตรียมสรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการก่อสร้างท่าเทียบเครื่องบิน ทางวิ่งทางขับภาย ในสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท.จัดทำร่างทีโออาร์ในการว่าจ้างบริษัทหรือองค์กรกลางเข้ามาศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องทราบสาเหตุที่แท้ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 3-6 เดือน
จากแบบก่อสร้างของรันเวย์ แท็กซี่เวย์ และแท็กซี่เลน สรุปว่าโครงสร้างหลักจะประกอบด้วย ชั้นพื้นผิว ที่มีผิวแอสฟัลส์คอนกรีต หนา 4 ซม. ยาว 60 เมตร ผิวแอสฟัสท์คอนกรีต เพื่อเป็นชั้นยึดเกาะ(ระหว่างผิวชั้นที่ 1 และ 3 ) หนา 6 ซม. ยาว 60 เมตร และผิวแอสฟัสท์คอนกรีต ที่เป็นฐานรองรับน้ำหนัก หนา 23 เซนติเมตร ยาว 30 เมตร ส่วนชัดถัดไปจะเป็นผิวชั้นซีเมนต์เทรดเตรด์ หนา 72 ซม. ยาว 45 เมตร ยกเว้นในส่วนของแท็กซี่เวย์ ที่จะต้องมีการเพิ่มส่วนรองรับน้ำหนักของเครื่องบินมากที่สุด จึงมีการเพิ่มผิวชั้นพิเศษระหว่างชั้น 4 และ 5 เรียกว่า Aggregate Base Course หนา 2 ซม. ยาว 45 เมตร และผิวทรายซึ่งไม่ทราบจำนวนปนเป็นฐานรากชั้นใต้สุด ยาว 80-90 เมตร โดยประมาณ
ส่วนมาตรการในการแก้ไขปัญหานั้น นายธิติ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายกระทรวงคมนาคมและผู้ที่เกี่ยวข้องว่าต้องการให้มีการดำเนินการอย่างไร แต่ในทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาการจราจรทางอากาศ จะต้องแบ่งการซ่อมแซมหรือปรับปรุงออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ไขปัญหาระยะยาว
ส่วนประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ปัญหาของระดับน้ำ เนื่องจากที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิจะถูกควบคุมระดับน้ำให้สูงไม่เกิน 1.10 เมตร โยมีการขุดคลองระบายน้ำโดยรอบ ส่วนการบริหารจัดการ ของ ทอท.จะต้องรับผิดชอบในการควบคุมระดับน้ำคลองภายในพื้นที่สนามบินให้อยู่ในระดับติดลบ 1-1.15 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่เมื่อเดือน ต.ค.49 ปรากฎว่า ทอท.ควบคุมระดับน้ำให้อยู่ที่ศูนย์ หรือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง และต่อมาในเดือนพ.ย.จึงได้มีการเร่งสูบน้ำออกเพื่อควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
"ตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สาเหตุการทรุดดัวและเกิดรอยร้าวภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้นเกิดจากอะไร หากมีไม่มีการศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง"นายธิติ กล่าว
ส่วนกรอบแนวทางที่วางไว้ในเบื้องต้น จะเริ่มศึกษาตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง(ผู้ออกแบบ) การดำเนินการก่อสร้าง(ผู้รับเหมา) โดยดูจากผลการดำเนินงานก่อสร้าง ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการรายงานข้อมูลการทดสอบในการก่อสร้างอันเป็นไปตามสัญญาการก่อสร้างด้วย รวมทั้งพิจารณาการบริหารจัดการพื้นที่ภายในสนามบินฯ (ทอท.)
"การศึกษาต้องเริ่มต้นศึกษาโดยรวบรวมปัญหารายละเอียดทั้งหมด ตัวอย่าง การเกิดรอยร้าวบริเวณแท็กซี่เวย์เริ่มที่จุดไหน ซ่อมไปเมื่อใด จากนั้นเกิดรอยร้าวบริเวณใดอีก มีจุดใดเพิ่มเติม และเกิดในจุดต่อเชื่อมระหว่างหลุมจอด แท็กซี่เวย์ รันเวย์ เพราะในการก่อสร้างจุดอ่อนที่เกิดปัญหาได้มากที่สุดคือ จุดต่อเชื่อมเหล่านี้"นายธิติ กล่าว
**ผู้รับเหมาแจงสาเหตุแอสฟัลส์แตกล่อน
แหล่งข่าวจาก ทอท.กล่าวว่า ทางผู้รับเหมาไอโอทีจอนย์เวนเจอร์ ได้สรุปผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เป็นผลมาจากที่พบว่ามีน้ำในชั้นทรายและเมื่อได้รับความร้อนมีการดันตัวขึ้นมาถึงชั้นผิวแอสฟัลส์และทำลายพื้นผิวที่มีการเกาะตัวทำให้เกิดการแตกล่อน ส่วนจุดที่เครื่องบินกดทับมากๆ จะเกิดเป็นร่องล้อคล้ายลูกคลื่น ส่วนบางพื้นที่ก็มีการแตก
ทั้งนี้เนื่องจากสภาพของสนามบินเป็นพื้นที่ลุ่ม และในช่วงที่มีการปรับปรุงดิน ได้มีการถมทรายและใช้วิธีการเร่งดูดน้ำออกจากใต้พื้นดิน เพื่อเร่งการทรุดตัวของพื้นดินดังกล่าว แต่ในชั้นทรายนั้น จะมีการเจาะเป็นท่อกลมขนาด 1–2 นิ้ว เรียกว่า Weap Hole ต่อเชื่อมออกมาบริเวณเขื่อนคันดินโดยรอบ ซึ่งอยู่สูงจากใต้เขื่อนขึ้นมาประมาณ 15 ซม. เพื่อใช้ดูดซึมน้ำออกมาได้หากภายในชั้นทรายมีความชื้น และได้มีการกำหนดให้ ทอท.จะต้องมีการควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงเกิน 1.15 เมตร หรือไม่ให้สูง 1.15 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปรากฎว่ามีการปล่อยให้น้ำในเขื่อนคันดินสูงเกือบเท่าพื้นผิวรันเวย์ในช่วงเวลาหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ Weap Hole มีการดูดน้ำจากภายนอกเข้าไปในชั้นใต้ดิน
แหล่งข่าวจาก ทอท.กล่าวว่า ตามที่ผู้รับเหมาเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น พบว่ารอยแตกร้าวเกิดขึ้นโยเริ่มจากบริเวณแท็กซี่เลน ซึ่งสภาพของพื้นที่จะต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่น และจุดที่มีปัญหามากคือบริเวณเชื่อมต่อจากแท็กซี่เลนเข้าสู่หลุมจอด ซึ่งในช่วงจังหวะที่เครื่องบินทำการหมุนตัวเครื่องเพื่อเข้าหาหลุมจอด จะมีการถ่ายน้ำหนักกดทับไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของตัวเครื่อง ทำให้จุดดังกล่าวได้รับความเสียหายเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นหากความเสียหายเป็นเฉพาะบางจุดก็อาจตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากการก่อสร้าง แต่หากความเสียหายกระจายทุกพื้นที่ก็อาจตรงกับข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นจากปัญหาน้ำเข้าไปในชั้นทรายได้
"ธีระ-สรรเสริญ"ถกเครียดแก้ปัญหา
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าได้รายงานถึงปัญหาเกี่ยวกับรอยร้าวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของรันเวย์ แท็กซี่เวย์ ของสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าข้อสรุปเบื้องต้นจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยนายกรัฐมนตรี ได้กำชับในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ
สำหรับทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ระบุว่าอาจเกิดจากการก่อสร้าง การออกแบบ การใช้วัสดุ การบำรุงรักษา หรือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน อาจเกิดจากหลายสาเหตุไม่ใช่เป็นผลมาจากเหตุใดเหตุหนึ่งได้ จึงจำเป็นต้องคณะกรรมการกลางเข้ามาช่วยในการตรวจสอบและวิเคราะห์ ซึ่งจะเร่งให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ในส่วนของรอยร้าวที่เกิดขึ้นจำนวนกี่จุดนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะพบความเสียหายเพิ่มขึ้น และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาได้รับรายงานพบอีก 2 จุด บริเวณรันเวย์ (ด้านเหนือรันเวย์ฝั่งตะวันออก และด้านใต้รันเวย์ฝั่งตะวันตก บริเวณจุดรอทำการบินขึ้น ส่วนของการซ่อมแก้ไขนั้น หากจำเป็นจะต้องมีการปิดซ่อมบางส่วนก็ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ยอมทรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบาย แต่เชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิยังสามารถใช้งานได้ เนื่องจากมีรันเวย์ที่กว้างและยาวสามารถเลี่ยงได้ในบางจุด
**“ต่อตระกูล”แจง ครม.
ในการประชุมครม.วานนี้ ได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง ได้แก่นายต่อตระกูล ยมนาค นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.และนายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยนายต่อตระกูล ได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดที่พบว่า เครื่อง บินไม่สามารถเข้าสู่หลุมจอดได้ 3 จุด แต่ยังไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่ชัดเจนของรอยปริดังกล่าว แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจาก 3 สาเหตุ คือวัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมื่อเกิดน้ำท่วม และบกพร่องจากการออกแบบ
ในที่ประชุม นายต่อตระกูล ให้ความเห็นว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าสาเหตุมาจากการออกแบบ เพราะพบรอยปริแตกอย่างต่อเนื่อง แม้ในขณะที่น้ำไม่ท่วม จึงเสนอให้มีการเจาะเอาทรายและดินขึ้นมาตรวจสอบตามที่มีนักวิชาการเสนอก่อนหน้านี้ พร้อมเสนอให้กระทรวงคมนาคม ตั้งคณะกรรมการซึ่ง ประกอบด้วย นักวิชาการจากหลายสถาบัน เข้าร่วมพิสูจน์หาสาเหตุ โดยมี รมว.คมนาคม เป็นประธาน แทนการให้คณะกรรมการ ทอท.จัดตั้งเอง เพื่อป้องกันข้อครหา คาดว่าเมื่อการจัดตั้งคณะกรรมการแล้วเสร็จ จะทราบสาเหตุภายใน 2-3 สัปดาห์
**คมนาคมถกเครียดผู้เกี่ยวข้อง
รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในบ่ายวันเดียวกัน ตนได้นัดประชุมหารือร่วมกับนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม พร้อมด้วย พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมด้วยนายต่อตระกูล ยมนาค นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ และนายวรากร สามโกเศส กรรมการ ทอท.โดยใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมนัดพิเศษได้มีการหารืออย่างเคร่งเครียด ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการภายใน ทอท.เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่ได้รับการแก้ไขตามเป้าหมายที่กำหนด เพราะฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องตกเป็นภาระของบอร์ดที่ทำงานอย่างหนัก ดังนั้นหากปล่อยไว้ปัญหาต่างๆจะยิ่งเลวร้ายลง ดังนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ พล.อ.สพรั่ง เป็นผู้พิจารณาตัดสินเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารภายใน ทอท.โดยยึดหลักของการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันทีและฉับไวเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาโยกย้ายบางตำแหน่งในระดับบริหาร
นอกจากนี้ ในส่วนของการประเมินผลการทำงานของนายโชติศักดิ์นั้น ต้องรอครบกำหนดในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ซึ่งคณะกรรมการประเมินผล ที่บอร์ด ทอท.ได้แต่งตั้ง และมีพล.อ.สพรั่ง เป็นประธานจะเป็นผู้พิจารณา โดยจะต้องประเมินผลจากการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องยอมรับว่าผลการดำเนินงานนั้นยังไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการบริหารการจัดการ และอำนาจในการสั่งการต่างๆไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ด้านนายต่อตระกูล ยมนาค หนึ่งในกรรมการ ทอท.กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่คิด และยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ทุกข้อสันนิษฐานมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เช่น เรื่องของการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ เช่นยางมะตอยไม่ได้มาตรฐาน การถมทรายไม่ดี การออกแบบที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการบำรุงรักษา ปัญหาน้ำท่วมทุกอย่างเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเจาะพื้นที่เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด
**"สพรั่ง"ตั้ง"ต่อตระกูล"ปธ.สอบ
ด้านพล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้แต่งตั้ง นายต่อตระกูล ยมนาค เป็นประธานคณะกรรมการคนกลางที่จะแต่งตั้งขึ้น ส่วนการแก้ไขปัญหาจำเป็นจะต้องให้เวลาคณะกรรมการในการทำงาน อย่ารีบร้อน หรือกลัวการกดดัน แต่ทุกอย่างจะต้องมีความชัดเจน
ส่วนเรื่องการประเมินผลนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.นั้น เรื่องนี้มีหลักเกณฑ์และแบบที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว จะพิจารณาจากผลงาน หากทำให้เกิดความเสียหายหรือบกพร่องต่อหน้าที่ตามเกณฑ์ก็จะต้องประเมินไม่ผ่านและอาจต้องพิจารณาให้รับโทษด้วย ส่วนการพิจารณาผลงานของ นายสมชัย สวัสดิผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นเป็นเรื่องการบริหารภายในเช่นเดียวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งจะมีการพิจารณาสับเปลี่ยนโยกย้ายบางตำแหน่งและทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ส่วนรายละเอียดจะโยกย้ายใครนั้น ไม่สามารถเปิดเผยได้
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า การแก้ไขปัญหาไม่คืบหน้าเพราะพนักงานหวั่นเรื่องการถูกสอบสวน ซึ่งพล.อ.สพรั่งให้ความมั่นใจว่า หากผู้บริหารคนใดที่คิดว่าไม่สามารถทำงานได้ ให้แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกได้ แต่หากไม่กล้าทำงานเพราะเกิดจากการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบนั้น ขอยืนยันว่าน่าจะดีใจ เพราะคณะกรรมการเหล่านี้จะเป็นกำลังใจและเป็นเกราะป้องกัน โดยทางออกของเรื่องนี้ก็อาจให้ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์กับคณะ กรรมการสอบสวนซึ่งได้รับสิทธิในการคุ้มครอง เพราะการให้ข้อมูลที่ประโยชน์ต่อการตัดสินคดีจะถูกกันไว้เป็นพยานอยู่แล้ว
เมื่อวานนี้ (23 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมี พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน (สนช.) เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบสัญญาการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้รายงานผลการลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และแท็กซี่เวย์ ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า พบรอยแตกร้าวภายในอาคารผู้โดยสารหลายจุด และยังมีการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้างด้วย ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเกิดจากปัญหาโครงสร้างของอาคาร เกรงว่า อนาคตจะเกิดรอยร้าวทั้งตึก
ส่วนปัญหารอยร้าวของรันเวย์และแท็กซี่เวย์นั้น ที่ประชุมได้นำแบบแปลนของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาแสดงต่อกรรมาธิการ พร้อมชี้จุดที่เกิดรอยแตกร้าวและแตกล่อน โดยระบุว่าพื้นที่ที่เกิดปัญหามีทั้งสิ้น 71,000 ตารางเมตร ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจากผู้รับเหมาที่ทำรายงานไว้เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.49 ถือว่าปัญหาเกิดขึ้นเร็วมาก หลังจากเปิดใช้สนามบินได้เพียงเดือนเศษ
นอกจากนี้ ยังแสดงความเป็นห่วงว่า เศษวัสดุบนพื้นผิวถนนที่แตกล่อนจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมหาศาล เพียงแค่เศษเล็กๆ ถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบิน หากไปกระแทกกับถังน้ำมัน จะทำให้เกิดการระเบิด และทำให้เครื่องบินตกทันที ซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้โดยสาร และที่ผ่านมามีนักบินของสายการบิน 2-3 สายการบิน เคยแจ้งให้ท่าอากาศยานทราบแล้ว แต่เรื่องไม่มีความคืบหน้า
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการตรวจสอบการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่ามีมูลเกือบทุกเรื่อง ทั้งหมดเกิดจากคนทำสัญญาเอื้อประโยชน์ให้เอกชน
"ฟังเรื่องนี้แล้วความดันขึ้นทุกที เพราะกินกันจนบ้านเมืองเสียหาย แต่จะทำอะไรก็ติดขัดไปหมด ไม่อยากจะรอแล้ว เจอกันที่สวนลุมพินีแล้วชกกันเลยดีกว่า ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าเปิดโปงเอาคนทุจริตมาลงโทษให้ได้"พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าว
**"สุรยุทธ์"จี้คมนาคมเร่งตรวจสอบทันที
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการฯกล่าวว่า ได้รายงานผลการลงพื้นที่ดังกล่าวให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม เร่งตรวจสอบทันที พร้อมรายงานผลกลับไปที่นายกฯ เพื่อสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประมวลข้อมูล และหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) กำลังดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ เพราะปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องได้รับการแก้ไข คณะกรรมาธิการฯ เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณร้านค้าที่บริษัท คิงเพาเวอร์ ได้รับสัมปทาน เนื่องจากพบความไม่โปร่งใสจากการแก้ไขแบบแปลนก่อสร้างที่เอื้อต่อบริษัทดังกล่าว"นายประพันธ์ กล่าว
**วสท.เร่งสรุปผลรันเวย์-แท็กซี่เวย์ร้าว
นายธิติ ปวีณชนา หนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)เปิดเผยถึงปัญหาที่ทำให้เกิดการทรุดตัวและรอยร้าวของรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าทาง วสท.เตรียมสรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการก่อสร้างท่าเทียบเครื่องบิน ทางวิ่งทางขับภาย ในสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท.จัดทำร่างทีโออาร์ในการว่าจ้างบริษัทหรือองค์กรกลางเข้ามาศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องทราบสาเหตุที่แท้ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 3-6 เดือน
จากแบบก่อสร้างของรันเวย์ แท็กซี่เวย์ และแท็กซี่เลน สรุปว่าโครงสร้างหลักจะประกอบด้วย ชั้นพื้นผิว ที่มีผิวแอสฟัลส์คอนกรีต หนา 4 ซม. ยาว 60 เมตร ผิวแอสฟัสท์คอนกรีต เพื่อเป็นชั้นยึดเกาะ(ระหว่างผิวชั้นที่ 1 และ 3 ) หนา 6 ซม. ยาว 60 เมตร และผิวแอสฟัสท์คอนกรีต ที่เป็นฐานรองรับน้ำหนัก หนา 23 เซนติเมตร ยาว 30 เมตร ส่วนชัดถัดไปจะเป็นผิวชั้นซีเมนต์เทรดเตรด์ หนา 72 ซม. ยาว 45 เมตร ยกเว้นในส่วนของแท็กซี่เวย์ ที่จะต้องมีการเพิ่มส่วนรองรับน้ำหนักของเครื่องบินมากที่สุด จึงมีการเพิ่มผิวชั้นพิเศษระหว่างชั้น 4 และ 5 เรียกว่า Aggregate Base Course หนา 2 ซม. ยาว 45 เมตร และผิวทรายซึ่งไม่ทราบจำนวนปนเป็นฐานรากชั้นใต้สุด ยาว 80-90 เมตร โดยประมาณ
ส่วนมาตรการในการแก้ไขปัญหานั้น นายธิติ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายกระทรวงคมนาคมและผู้ที่เกี่ยวข้องว่าต้องการให้มีการดำเนินการอย่างไร แต่ในทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาการจราจรทางอากาศ จะต้องแบ่งการซ่อมแซมหรือปรับปรุงออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ไขปัญหาระยะยาว
ส่วนประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ปัญหาของระดับน้ำ เนื่องจากที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิจะถูกควบคุมระดับน้ำให้สูงไม่เกิน 1.10 เมตร โยมีการขุดคลองระบายน้ำโดยรอบ ส่วนการบริหารจัดการ ของ ทอท.จะต้องรับผิดชอบในการควบคุมระดับน้ำคลองภายในพื้นที่สนามบินให้อยู่ในระดับติดลบ 1-1.15 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่เมื่อเดือน ต.ค.49 ปรากฎว่า ทอท.ควบคุมระดับน้ำให้อยู่ที่ศูนย์ หรือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง และต่อมาในเดือนพ.ย.จึงได้มีการเร่งสูบน้ำออกเพื่อควบคุมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
"ตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สาเหตุการทรุดดัวและเกิดรอยร้าวภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้นเกิดจากอะไร หากมีไม่มีการศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง"นายธิติ กล่าว
ส่วนกรอบแนวทางที่วางไว้ในเบื้องต้น จะเริ่มศึกษาตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง(ผู้ออกแบบ) การดำเนินการก่อสร้าง(ผู้รับเหมา) โดยดูจากผลการดำเนินงานก่อสร้าง ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการรายงานข้อมูลการทดสอบในการก่อสร้างอันเป็นไปตามสัญญาการก่อสร้างด้วย รวมทั้งพิจารณาการบริหารจัดการพื้นที่ภายในสนามบินฯ (ทอท.)
"การศึกษาต้องเริ่มต้นศึกษาโดยรวบรวมปัญหารายละเอียดทั้งหมด ตัวอย่าง การเกิดรอยร้าวบริเวณแท็กซี่เวย์เริ่มที่จุดไหน ซ่อมไปเมื่อใด จากนั้นเกิดรอยร้าวบริเวณใดอีก มีจุดใดเพิ่มเติม และเกิดในจุดต่อเชื่อมระหว่างหลุมจอด แท็กซี่เวย์ รันเวย์ เพราะในการก่อสร้างจุดอ่อนที่เกิดปัญหาได้มากที่สุดคือ จุดต่อเชื่อมเหล่านี้"นายธิติ กล่าว
**ผู้รับเหมาแจงสาเหตุแอสฟัลส์แตกล่อน
แหล่งข่าวจาก ทอท.กล่าวว่า ทางผู้รับเหมาไอโอทีจอนย์เวนเจอร์ ได้สรุปผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เป็นผลมาจากที่พบว่ามีน้ำในชั้นทรายและเมื่อได้รับความร้อนมีการดันตัวขึ้นมาถึงชั้นผิวแอสฟัลส์และทำลายพื้นผิวที่มีการเกาะตัวทำให้เกิดการแตกล่อน ส่วนจุดที่เครื่องบินกดทับมากๆ จะเกิดเป็นร่องล้อคล้ายลูกคลื่น ส่วนบางพื้นที่ก็มีการแตก
ทั้งนี้เนื่องจากสภาพของสนามบินเป็นพื้นที่ลุ่ม และในช่วงที่มีการปรับปรุงดิน ได้มีการถมทรายและใช้วิธีการเร่งดูดน้ำออกจากใต้พื้นดิน เพื่อเร่งการทรุดตัวของพื้นดินดังกล่าว แต่ในชั้นทรายนั้น จะมีการเจาะเป็นท่อกลมขนาด 1–2 นิ้ว เรียกว่า Weap Hole ต่อเชื่อมออกมาบริเวณเขื่อนคันดินโดยรอบ ซึ่งอยู่สูงจากใต้เขื่อนขึ้นมาประมาณ 15 ซม. เพื่อใช้ดูดซึมน้ำออกมาได้หากภายในชั้นทรายมีความชื้น และได้มีการกำหนดให้ ทอท.จะต้องมีการควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงเกิน 1.15 เมตร หรือไม่ให้สูง 1.15 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปรากฎว่ามีการปล่อยให้น้ำในเขื่อนคันดินสูงเกือบเท่าพื้นผิวรันเวย์ในช่วงเวลาหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ Weap Hole มีการดูดน้ำจากภายนอกเข้าไปในชั้นใต้ดิน
แหล่งข่าวจาก ทอท.กล่าวว่า ตามที่ผู้รับเหมาเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น พบว่ารอยแตกร้าวเกิดขึ้นโยเริ่มจากบริเวณแท็กซี่เลน ซึ่งสภาพของพื้นที่จะต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่น และจุดที่มีปัญหามากคือบริเวณเชื่อมต่อจากแท็กซี่เลนเข้าสู่หลุมจอด ซึ่งในช่วงจังหวะที่เครื่องบินทำการหมุนตัวเครื่องเพื่อเข้าหาหลุมจอด จะมีการถ่ายน้ำหนักกดทับไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของตัวเครื่อง ทำให้จุดดังกล่าวได้รับความเสียหายเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นหากความเสียหายเป็นเฉพาะบางจุดก็อาจตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากการก่อสร้าง แต่หากความเสียหายกระจายทุกพื้นที่ก็อาจตรงกับข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นจากปัญหาน้ำเข้าไปในชั้นทรายได้
"ธีระ-สรรเสริญ"ถกเครียดแก้ปัญหา
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าได้รายงานถึงปัญหาเกี่ยวกับรอยร้าวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของรันเวย์ แท็กซี่เวย์ ของสนามบินสุวรรณภูมิ ว่าข้อสรุปเบื้องต้นจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยนายกรัฐมนตรี ได้กำชับในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ
สำหรับทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ระบุว่าอาจเกิดจากการก่อสร้าง การออกแบบ การใช้วัสดุ การบำรุงรักษา หรือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน อาจเกิดจากหลายสาเหตุไม่ใช่เป็นผลมาจากเหตุใดเหตุหนึ่งได้ จึงจำเป็นต้องคณะกรรมการกลางเข้ามาช่วยในการตรวจสอบและวิเคราะห์ ซึ่งจะเร่งให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ในส่วนของรอยร้าวที่เกิดขึ้นจำนวนกี่จุดนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะพบความเสียหายเพิ่มขึ้น และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาได้รับรายงานพบอีก 2 จุด บริเวณรันเวย์ (ด้านเหนือรันเวย์ฝั่งตะวันออก และด้านใต้รันเวย์ฝั่งตะวันตก บริเวณจุดรอทำการบินขึ้น ส่วนของการซ่อมแก้ไขนั้น หากจำเป็นจะต้องมีการปิดซ่อมบางส่วนก็ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ยอมทรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบาย แต่เชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิยังสามารถใช้งานได้ เนื่องจากมีรันเวย์ที่กว้างและยาวสามารถเลี่ยงได้ในบางจุด
**“ต่อตระกูล”แจง ครม.
ในการประชุมครม.วานนี้ ได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง ได้แก่นายต่อตระกูล ยมนาค นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.และนายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยนายต่อตระกูล ได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดที่พบว่า เครื่อง บินไม่สามารถเข้าสู่หลุมจอดได้ 3 จุด แต่ยังไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่ชัดเจนของรอยปริดังกล่าว แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจาก 3 สาเหตุ คือวัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมื่อเกิดน้ำท่วม และบกพร่องจากการออกแบบ
ในที่ประชุม นายต่อตระกูล ให้ความเห็นว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าสาเหตุมาจากการออกแบบ เพราะพบรอยปริแตกอย่างต่อเนื่อง แม้ในขณะที่น้ำไม่ท่วม จึงเสนอให้มีการเจาะเอาทรายและดินขึ้นมาตรวจสอบตามที่มีนักวิชาการเสนอก่อนหน้านี้ พร้อมเสนอให้กระทรวงคมนาคม ตั้งคณะกรรมการซึ่ง ประกอบด้วย นักวิชาการจากหลายสถาบัน เข้าร่วมพิสูจน์หาสาเหตุ โดยมี รมว.คมนาคม เป็นประธาน แทนการให้คณะกรรมการ ทอท.จัดตั้งเอง เพื่อป้องกันข้อครหา คาดว่าเมื่อการจัดตั้งคณะกรรมการแล้วเสร็จ จะทราบสาเหตุภายใน 2-3 สัปดาห์
**คมนาคมถกเครียดผู้เกี่ยวข้อง
รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในบ่ายวันเดียวกัน ตนได้นัดประชุมหารือร่วมกับนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม พร้อมด้วย พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมด้วยนายต่อตระกูล ยมนาค นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ และนายวรากร สามโกเศส กรรมการ ทอท.โดยใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมนัดพิเศษได้มีการหารืออย่างเคร่งเครียด ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการภายใน ทอท.เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่ได้รับการแก้ไขตามเป้าหมายที่กำหนด เพราะฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องตกเป็นภาระของบอร์ดที่ทำงานอย่างหนัก ดังนั้นหากปล่อยไว้ปัญหาต่างๆจะยิ่งเลวร้ายลง ดังนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ พล.อ.สพรั่ง เป็นผู้พิจารณาตัดสินเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารภายใน ทอท.โดยยึดหลักของการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันทีและฉับไวเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาโยกย้ายบางตำแหน่งในระดับบริหาร
นอกจากนี้ ในส่วนของการประเมินผลการทำงานของนายโชติศักดิ์นั้น ต้องรอครบกำหนดในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ซึ่งคณะกรรมการประเมินผล ที่บอร์ด ทอท.ได้แต่งตั้ง และมีพล.อ.สพรั่ง เป็นประธานจะเป็นผู้พิจารณา โดยจะต้องประเมินผลจากการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องยอมรับว่าผลการดำเนินงานนั้นยังไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการบริหารการจัดการ และอำนาจในการสั่งการต่างๆไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ด้านนายต่อตระกูล ยมนาค หนึ่งในกรรมการ ทอท.กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่คิด และยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ทุกข้อสันนิษฐานมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เช่น เรื่องของการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ เช่นยางมะตอยไม่ได้มาตรฐาน การถมทรายไม่ดี การออกแบบที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการบำรุงรักษา ปัญหาน้ำท่วมทุกอย่างเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งสิ้น ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเจาะพื้นที่เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด
**"สพรั่ง"ตั้ง"ต่อตระกูล"ปธ.สอบ
ด้านพล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้แต่งตั้ง นายต่อตระกูล ยมนาค เป็นประธานคณะกรรมการคนกลางที่จะแต่งตั้งขึ้น ส่วนการแก้ไขปัญหาจำเป็นจะต้องให้เวลาคณะกรรมการในการทำงาน อย่ารีบร้อน หรือกลัวการกดดัน แต่ทุกอย่างจะต้องมีความชัดเจน
ส่วนเรื่องการประเมินผลนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.นั้น เรื่องนี้มีหลักเกณฑ์และแบบที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว จะพิจารณาจากผลงาน หากทำให้เกิดความเสียหายหรือบกพร่องต่อหน้าที่ตามเกณฑ์ก็จะต้องประเมินไม่ผ่านและอาจต้องพิจารณาให้รับโทษด้วย ส่วนการพิจารณาผลงานของ นายสมชัย สวัสดิผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นเป็นเรื่องการบริหารภายในเช่นเดียวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งจะมีการพิจารณาสับเปลี่ยนโยกย้ายบางตำแหน่งและทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ส่วนรายละเอียดจะโยกย้ายใครนั้น ไม่สามารถเปิดเผยได้
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า การแก้ไขปัญหาไม่คืบหน้าเพราะพนักงานหวั่นเรื่องการถูกสอบสวน ซึ่งพล.อ.สพรั่งให้ความมั่นใจว่า หากผู้บริหารคนใดที่คิดว่าไม่สามารถทำงานได้ ให้แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกได้ แต่หากไม่กล้าทำงานเพราะเกิดจากการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบนั้น ขอยืนยันว่าน่าจะดีใจ เพราะคณะกรรมการเหล่านี้จะเป็นกำลังใจและเป็นเกราะป้องกัน โดยทางออกของเรื่องนี้ก็อาจให้ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์กับคณะ กรรมการสอบสวนซึ่งได้รับสิทธิในการคุ้มครอง เพราะการให้ข้อมูลที่ประโยชน์ต่อการตัดสินคดีจะถูกกันไว้เป็นพยานอยู่แล้ว