ไปดูหนังเรื่อง“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” มาแล้วครับ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ที่จริงก็ยังไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์มาก เพราะที่ดูเป็นเพียงภาคแรกใน 3 ภาค ตัวละครเอกยังไม่ออกเลย ฉากใหญ่ยังมีให้เห็นไม่มากนัก แต่เพราะความที่เอาใจช่วยไว้มาก ตั้งความหวังไว้มาก เมื่อดูแล้วรู้สึกว่ายังไม่เต็มและตะขิดตะขวงใจในบางประเด็น ก็เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อย
ภาคแรกยาว 3 ชั่วโมง ถ้ารวมทั้ง 3 ภาคแล้วคงจะยาวไม่ต่ำกว่า 9 ชั่วโมง
จะหวัง “ความเป็นภาพยนตร์” ในความหมายที่แท้จริงก็คงยากสักหน่อย ควรทำใจว่าเข้าไปนั่งดูละครโทรทัศน์ที่ฉายบนจอภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์
ศิลปะการเล่าเรื่องเป็นประเด็นที่ต้องวิจารณ์เป็นปฐม
ทำไมไม่นำฉากสุดท้าย คือฉากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชามาขึ้นต้น เหมือนที่กระทำมาแล้วในเรื่อง “สุริโยไท” แล้วค่อยย้อนไปเล่าเรื่องตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หรือจะนำฉากที่ทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อหงสาวดีมาขึ้นต้นแทน ก็น่าจะเป็นศิลปะการเล่าเรื่องที่ดีกว่าเล่านับ 1, 2, 3, 4, ... ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับเวลา เพราะเท่ากับว่าคนที่ดูภาคแรกจะไม่ได้เห็นตัวละครสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนที่เจริญพระชนมพรรษาแล้วเลย เห็นแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ตลอด 3 ชั่วโมง
ซึ่งผมว่ามากไป และออกจะเสี่ยงต่อการถูกมองว่า “เอาเปรียบคนดู” มากไปสักหน่อย
แต่ถ้าคิดว่าฉากกระทำยุทธหัตถียังไม่ได้ถ่าย หรือถ่ายไม่เสร็จ เพราะตามข่าวว่าขณะนี้ภาค 3 ถ่ายไปได้ไม่ถึงร้อยละ 50 ก็ไม่รู้จะวิจารณ์ต่อว่าอย่างไร
(ที่จริงรู้นะครับ แต่เกรงใจ)
แต่ “ความเป็นภาพยนตร์” กลับมาปรากฏอยู่ในการสร้างจินตนาการเพิ่มเข้าไปให้นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์เป็นประเด็นต่อไป
ผมเข้าใจครับว่า “ภาพยนตร์” ไม่ใช่ “สารคดีประวัติศาสตร์!”
แต่ปัญหาคือเราควรจะเพิ่มเติมจินตนาการ และสร้างสรรค์ตัวละครเพิ่มเติมเข้าไปมากขนาดไหน!!
โดยปกติแล้วผมสนับสนุนแนวทางการตีความประวัติศาสตร์ไทยของท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์มาโดยตลอด โดยเฉพาะการตีความ “การเมืองภายในกรุงศรีอยุธยา” ว่าเป็นความขัดแย้งและการสร้างดุลอำนาจระหว่าง 4 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ, ราชวงศ์พระร่วง, ราชวงศ์อู่ทอง และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ตามที่ปรากฏใน “สุริโยไท” ซึ่งยังคงสืบทอดมาอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้
แต่การตีความและจินตนาการที่นอกเหนือไปจากนี้ต้องว่ากันเป็นประเด็น ๆ ไป
บางประเด็นผมต้องการคำอธิบาย
ประเด็นสำคัญที่สุดในภาพยนตร์เรื่องนี้คือการจินตนาการและสร้างสรรค์ตัวละครที่ในภาคต่อไปจะเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในประวัติศาสตร์ทุกฉบับ ผมเข้าใจว่าไม่มี ตัวละครที่ว่านี้มีชื่อว่า...
“มณีจันทร์”
ผมเห็นตัวละครชื่อนี้มาตั้งแต่ครั้งละครโทรทัศน์เรื่อง “กษัตริยา” ของกันตนาโปรดักชันส์ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์น่าจะมีส่วนเป็น “ที่ปรึกษา” อยู่ด้วย
ในละครโทรทัศน์ชุดนั้น มณีจันทร์มีที่มาเป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ที่เข้ามาอยู่ในราชสำนักหงสาวดี แล้วชะตากรรมชักนำให้ปลอมตัวมาอยู่กับสมเด็จพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เข้าใจว่าที่สร้างสรรค์ให้เป็นไทยใหญ่ ก็เพราะจะให้มีสายเลือดเป็น “ไทย” เหมือนกันกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เหมาะสมที่จะเป็นพระมเหษี
แต่มณีจันทร์ในภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ไปไกลกว่านั้น
กำหนดให้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง!
มณีจันทร์เวอร์ชั่นท่านมุ้ยที่กำลังฉายอยู่นี้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง ที่ประสูติแต่พระนางจันทรา (ชื่อเหมือนตะละแม่จันทราในเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ”) พระนางจันทราเวอร์ชั่นท่านมุ้ยเป็นธิดาของสมิงสอตรุตที่ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ตามกฎมณเฑียรบาล (พม่า?) ก็เลยต้องรับโทษประหารชีวิตตามบิดาที่เป็นกบฏราชบังลังก์ แถมต้องโทษลงทัณฑ์ด้วยการเผาให้ตายทั้งเป็น ก่อนถูกประหาร พระนางจันทราจึงลอบเอาพระราชธิดามาทิ้งไว้ให้พระมหาเถรคันฉ่องดูแล
พระเจ้าบุเรงนองทรงเอ็นดูสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นเข้าใจได้
แต่การจินตนาการว่าพระเจ้าบุเรงนองทรงหยั่งรู้ว่าราชวงศ์ของพระองค์จะไปไม่รอด เพราะว่าพระราชโอรสคือว่าที่พระเจ้านันทบุเรงก็ดีแต่รบเก่งทว่าบริหารไม่เป็น ขณะที่พระราชนัดดาคือมังกะยอชวาก็ไม่มีวี่แววที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ได้ แถมโหราจารย์ยังพยากรณ์ไว้ตั้งแต่วันที่สมเด็จพระนเรศวรเข้าเฝ้าว่าจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าบุเรงนองก็เลยดูเหมือนจะหาทางรอดไว้ให้ราชวงศ์ของพระองค์ และหงสาวดี โดยหวังให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผูกสมัครรักใคร่กับมณีจันทร์ผู้เป็นพระราชธิดาของพระองค์ ผมยังไม่อาจทำใจให้เข้าใจได้
อยากสัมภาษณ์ท่านมุ้ยกับท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์เหมือนกันว่าคิดอย่างไรถึงกำหนดออกมาอย่างนี้
ถ้าจะมีคำตอบในภาค 2 - 3 ก็ขออภัยนะครับที่วิจารณ์ไปก่อน
ประเด็นรองๆ ลงมายังมีอีกหลายประการ
สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคตเพราะเหตุใด? ที่ไหน?
บทบาทของสมเด็จพระราเมศวรหายไปดื้อๆ ไม่รู้ว่าไปอยู่ในหงสาวดีอย่างไร? หรือสิ้นพระชนม์ไปแล้วด้วยสาเหตุใด?
เหตุผลการขายชาติของเจ้าพระยาจักรี ที่มีการตีความแตกต่างออกไปจากที่ปรากฏใน “กษัตริยา” คือกลับไปเป็นเหตุผลของความโลภที่หวังอามิสสินจ้างธรรมดาๆ ไม่ใช่เหตุผลที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงรับรู้ด้วย เพื่อรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ให้คงสภาพสมบูรณ์ทางกายภาพ ไม่ต้องถูกเผา ถูกฆ่าทั้งเมือง แม้จะสูญเสียอิสรภาพแต่ก็ยังมีโอกาสกอบกู้คืน ซึ่งออกจะเป็นเหตุผลที่ดู “คลาสสิก” กว่ามาก
รวมทั้งรูปแบบวิธีการประหารชีวิตเจ้าพระยาจักรี
บทบาทของพระมหาเถรคันฉ่อง
ในแต่ละประเด็นนั้นอภิปรายกันได้ยืดยาว ผมคงไม่ใช้เนื้อที่ตรงนี้ในวันนี้มาพูดทั้งหมดหรอก
ที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นประเด็นสุดท้าย
พระมหาเถรคันฉ่องในภาพยนตร์เรื่องนี้มีบทบาทเด่นมาก ผมเข้าใจดีว่าเป็นตัวละครที่ท่านมุ้ยจงใจมอบบทให้ศิษย์รักของท่านแสดงโดยตรง
“สรพงษ์ ชาตรี”
ไม่น่าเกลียดหรอกครับ แต่น่าอภิปรายกันพอสมควร
ยังมีเรื่องให้พูดถึงอีกบางเรื่องที่ผมขอยกยอดไปพูดสัปดาห์หน้าอีกสักครั้ง
โดยเฉพาะประเด็นที่ท่านมุ้ยให้คุณเกรซ มหาดำรงกุลที่อายุเกือบ 40 แล้วมารับบทพระสุพรรณกัลยาในวัย 17 - 18 ชนิดขัดตาอย่างยิ่ง
ที่จริงก็ยังไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์มาก เพราะที่ดูเป็นเพียงภาคแรกใน 3 ภาค ตัวละครเอกยังไม่ออกเลย ฉากใหญ่ยังมีให้เห็นไม่มากนัก แต่เพราะความที่เอาใจช่วยไว้มาก ตั้งความหวังไว้มาก เมื่อดูแล้วรู้สึกว่ายังไม่เต็มและตะขิดตะขวงใจในบางประเด็น ก็เลยขอนำมาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อย
ภาคแรกยาว 3 ชั่วโมง ถ้ารวมทั้ง 3 ภาคแล้วคงจะยาวไม่ต่ำกว่า 9 ชั่วโมง
จะหวัง “ความเป็นภาพยนตร์” ในความหมายที่แท้จริงก็คงยากสักหน่อย ควรทำใจว่าเข้าไปนั่งดูละครโทรทัศน์ที่ฉายบนจอภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์
ศิลปะการเล่าเรื่องเป็นประเด็นที่ต้องวิจารณ์เป็นปฐม
ทำไมไม่นำฉากสุดท้าย คือฉากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชามาขึ้นต้น เหมือนที่กระทำมาแล้วในเรื่อง “สุริโยไท” แล้วค่อยย้อนไปเล่าเรื่องตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หรือจะนำฉากที่ทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อหงสาวดีมาขึ้นต้นแทน ก็น่าจะเป็นศิลปะการเล่าเรื่องที่ดีกว่าเล่านับ 1, 2, 3, 4, ... ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับเวลา เพราะเท่ากับว่าคนที่ดูภาคแรกจะไม่ได้เห็นตัวละครสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนที่เจริญพระชนมพรรษาแล้วเลย เห็นแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ตลอด 3 ชั่วโมง
ซึ่งผมว่ามากไป และออกจะเสี่ยงต่อการถูกมองว่า “เอาเปรียบคนดู” มากไปสักหน่อย
แต่ถ้าคิดว่าฉากกระทำยุทธหัตถียังไม่ได้ถ่าย หรือถ่ายไม่เสร็จ เพราะตามข่าวว่าขณะนี้ภาค 3 ถ่ายไปได้ไม่ถึงร้อยละ 50 ก็ไม่รู้จะวิจารณ์ต่อว่าอย่างไร
(ที่จริงรู้นะครับ แต่เกรงใจ)
แต่ “ความเป็นภาพยนตร์” กลับมาปรากฏอยู่ในการสร้างจินตนาการเพิ่มเข้าไปให้นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์เป็นประเด็นต่อไป
ผมเข้าใจครับว่า “ภาพยนตร์” ไม่ใช่ “สารคดีประวัติศาสตร์!”
แต่ปัญหาคือเราควรจะเพิ่มเติมจินตนาการ และสร้างสรรค์ตัวละครเพิ่มเติมเข้าไปมากขนาดไหน!!
โดยปกติแล้วผมสนับสนุนแนวทางการตีความประวัติศาสตร์ไทยของท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์มาโดยตลอด โดยเฉพาะการตีความ “การเมืองภายในกรุงศรีอยุธยา” ว่าเป็นความขัดแย้งและการสร้างดุลอำนาจระหว่าง 4 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ, ราชวงศ์พระร่วง, ราชวงศ์อู่ทอง และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ตามที่ปรากฏใน “สุริโยไท” ซึ่งยังคงสืบทอดมาอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้
แต่การตีความและจินตนาการที่นอกเหนือไปจากนี้ต้องว่ากันเป็นประเด็น ๆ ไป
บางประเด็นผมต้องการคำอธิบาย
ประเด็นสำคัญที่สุดในภาพยนตร์เรื่องนี้คือการจินตนาการและสร้างสรรค์ตัวละครที่ในภาคต่อไปจะเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในประวัติศาสตร์ทุกฉบับ ผมเข้าใจว่าไม่มี ตัวละครที่ว่านี้มีชื่อว่า...
“มณีจันทร์”
ผมเห็นตัวละครชื่อนี้มาตั้งแต่ครั้งละครโทรทัศน์เรื่อง “กษัตริยา” ของกันตนาโปรดักชันส์ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์น่าจะมีส่วนเป็น “ที่ปรึกษา” อยู่ด้วย
ในละครโทรทัศน์ชุดนั้น มณีจันทร์มีที่มาเป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ที่เข้ามาอยู่ในราชสำนักหงสาวดี แล้วชะตากรรมชักนำให้ปลอมตัวมาอยู่กับสมเด็จพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เข้าใจว่าที่สร้างสรรค์ให้เป็นไทยใหญ่ ก็เพราะจะให้มีสายเลือดเป็น “ไทย” เหมือนกันกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เหมาะสมที่จะเป็นพระมเหษี
แต่มณีจันทร์ในภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ไปไกลกว่านั้น
กำหนดให้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง!
มณีจันทร์เวอร์ชั่นท่านมุ้ยที่กำลังฉายอยู่นี้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง ที่ประสูติแต่พระนางจันทรา (ชื่อเหมือนตะละแม่จันทราในเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ”) พระนางจันทราเวอร์ชั่นท่านมุ้ยเป็นธิดาของสมิงสอตรุตที่ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ตามกฎมณเฑียรบาล (พม่า?) ก็เลยต้องรับโทษประหารชีวิตตามบิดาที่เป็นกบฏราชบังลังก์ แถมต้องโทษลงทัณฑ์ด้วยการเผาให้ตายทั้งเป็น ก่อนถูกประหาร พระนางจันทราจึงลอบเอาพระราชธิดามาทิ้งไว้ให้พระมหาเถรคันฉ่องดูแล
พระเจ้าบุเรงนองทรงเอ็นดูสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นเข้าใจได้
แต่การจินตนาการว่าพระเจ้าบุเรงนองทรงหยั่งรู้ว่าราชวงศ์ของพระองค์จะไปไม่รอด เพราะว่าพระราชโอรสคือว่าที่พระเจ้านันทบุเรงก็ดีแต่รบเก่งทว่าบริหารไม่เป็น ขณะที่พระราชนัดดาคือมังกะยอชวาก็ไม่มีวี่แววที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ได้ แถมโหราจารย์ยังพยากรณ์ไว้ตั้งแต่วันที่สมเด็จพระนเรศวรเข้าเฝ้าว่าจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าบุเรงนองก็เลยดูเหมือนจะหาทางรอดไว้ให้ราชวงศ์ของพระองค์ และหงสาวดี โดยหวังให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผูกสมัครรักใคร่กับมณีจันทร์ผู้เป็นพระราชธิดาของพระองค์ ผมยังไม่อาจทำใจให้เข้าใจได้
อยากสัมภาษณ์ท่านมุ้ยกับท่านอาจารย์สุเนตร ชุติณทรานนท์เหมือนกันว่าคิดอย่างไรถึงกำหนดออกมาอย่างนี้
ถ้าจะมีคำตอบในภาค 2 - 3 ก็ขออภัยนะครับที่วิจารณ์ไปก่อน
ประเด็นรองๆ ลงมายังมีอีกหลายประการ
สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคตเพราะเหตุใด? ที่ไหน?
บทบาทของสมเด็จพระราเมศวรหายไปดื้อๆ ไม่รู้ว่าไปอยู่ในหงสาวดีอย่างไร? หรือสิ้นพระชนม์ไปแล้วด้วยสาเหตุใด?
เหตุผลการขายชาติของเจ้าพระยาจักรี ที่มีการตีความแตกต่างออกไปจากที่ปรากฏใน “กษัตริยา” คือกลับไปเป็นเหตุผลของความโลภที่หวังอามิสสินจ้างธรรมดาๆ ไม่ใช่เหตุผลที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงรับรู้ด้วย เพื่อรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ให้คงสภาพสมบูรณ์ทางกายภาพ ไม่ต้องถูกเผา ถูกฆ่าทั้งเมือง แม้จะสูญเสียอิสรภาพแต่ก็ยังมีโอกาสกอบกู้คืน ซึ่งออกจะเป็นเหตุผลที่ดู “คลาสสิก” กว่ามาก
รวมทั้งรูปแบบวิธีการประหารชีวิตเจ้าพระยาจักรี
บทบาทของพระมหาเถรคันฉ่อง
ในแต่ละประเด็นนั้นอภิปรายกันได้ยืดยาว ผมคงไม่ใช้เนื้อที่ตรงนี้ในวันนี้มาพูดทั้งหมดหรอก
ที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นประเด็นสุดท้าย
พระมหาเถรคันฉ่องในภาพยนตร์เรื่องนี้มีบทบาทเด่นมาก ผมเข้าใจดีว่าเป็นตัวละครที่ท่านมุ้ยจงใจมอบบทให้ศิษย์รักของท่านแสดงโดยตรง
“สรพงษ์ ชาตรี”
ไม่น่าเกลียดหรอกครับ แต่น่าอภิปรายกันพอสมควร
ยังมีเรื่องให้พูดถึงอีกบางเรื่องที่ผมขอยกยอดไปพูดสัปดาห์หน้าอีกสักครั้ง
โดยเฉพาะประเด็นที่ท่านมุ้ยให้คุณเกรซ มหาดำรงกุลที่อายุเกือบ 40 แล้วมารับบทพระสุพรรณกัลยาในวัย 17 - 18 ชนิดขัดตาอย่างยิ่ง