ด้วยคลุกคลีกับวงการลูกเด้งหรือศัพท์ที่เป็นทางการระดับสากลว่า “เทเบิลเทนนิส” หรือศัพท์ในระดับชาวบ้านร้านตลาดว่า “ปิงปอง” มาตั้งแต่อายุ 13 ปี จนบัดนี้เลข 5 ขึ้นนำหน้าอายุแล้ว และด้วยศักดิ์ศรีของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสตั้งแต่วัย 13 ปีในสังกัดทีมดับเพลิง ทีมราชประชานุเคราะห์ ทีมเยาวชนชาติไทย ทีมโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ที่คว้าแชมป์นักเรียนระดับมัธยมปลายของกรมพลศึกษาทั้งประเภททีมและประเภทบุคคลในปี 2517 แชมป์ชายเดี่ยวและชายคู่ของ กทม.ในปี 2517 และทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะมือ 1 ของรั้วจามจุรี ฯลฯ และภายหลังเปลี่ยนมาเป็นโค้ชและผู้ควบคุมทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันที่เคยควบคุม ดูแล วางแผนให้กับนักกีฬาระดับแชมป์ซีเกมส์ ตั้งแต่ วิชัย งามเบญจวงศ์ (แชมป์ชายเดี่ยวซีเกมส์คนแรกและคนเดียวของประเทศไทยในปี 2528) วิชาญ อรุโณทัยพิพัฒน์ (แชมป์ชายคู่ซีเกมส์ ปี 2535) สนั่น อริยะโชติมา (แชมป์ทีมชายซีเกมส์ประวัติศาสตร์ในปี 2543)
ยังไม่เคยมีปรากฎการจัดการแข่งขันกีฬาระดับปัญญาชนของประเทศไทยที่อัปยศ และไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสระดับชาติถึงเพียงนี้ ทั้งที่นับตั้งแต่มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ในปี 2513 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนถึงครั้งที่ 33 เป็นระยะเวลาถึง 36 ปีไม่ติดต่อกันมาโดยที่มีการเว้นระยะบ้างเนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมือง ยังไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนเลย
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ก็คือ นับตั้งแต่กีฬามหาวิทยาลัยครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนถึงเมื่อต้นปี 2549 นั้น สำหรับกีฬาเทเบิลเทนนิสนั้น มีการแข่งขันครบทุกประเภททั้งประเภทบุคคล 5 ประเภท คือ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ และคู่ผสม ตลอดจนประเภททีมคือ ทีมชาย และทีมหญิง ซึ่งถือว่า สำคัญที่สุดสำหรับวงการเทเบิลเทนนิสมาโดยตลอดทั้งในระดับชาติและในระดับสากล
แต่ด้วยเหตุผลกลใดมิทราบ เจ้าภาพกีฬาราชพฤกษ์เกมส์ในปี 2550 นี้ถึงได้หาญกล้ายกเลิกการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิงออกไปอย่างไม่แยแส ทั้งที่มีการต่อต้านทักท้วงโดยชอบธรรมทั้งจากตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐและเอกชน
แม้กระทั่งเลขาธิการสมาคมเทเบิลเทนนิส คือ คุณณัฐวุฒิ เรืองเวส ในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกีฬาเทเบิลเทนนิสในระดับชาติ และในระดับนานาชาติก็ยังอดรนทนไม่ได้ที่จะออกมาเรียกร้องให้เจ้าภาพดำเนินการทบทวนการจัดแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิงเสียใหม่ นอกเหนือจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มานั่งประชุมพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับปัญญาชนของชาติในประเภททีม
แต่เหตุการณ์ที่น่าเศร้าเสียใจย่างที่สุดก็คือ ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (กกมท.)ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงที่จะควบคุมดูแลกฎ กติกา การจัดการแข่งขันกีฬาทุกประเภทให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรมของกีฬาก็ยังมิได้สดับตรับฟังเสียงท้วงติงอันชอบธรรมจากคณาจารย์ผู้เป็นตัวแทนของชุมนุมเทเบิลเทนนิสระดับชาติ และแม้เสียงท้วงติงจากสมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย ด้วยการไม่บรรจุจดหมายทักท้วงอย่างเป็นทางการทั้ง 2 ฉบับทั้งของสมาคมเทเบิลเทนนิสและของกลุ่มคณาจารย์เข้าในวาระการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 จะเริ่มขึ้น (ในราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549)
คล้ายกับอดีตผู้นำของประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่เคยรับฟังเสียงคัดค้าน ทักท้วงของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและจากอดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีบารมีในระดับสูงในแวดวงทหาร คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตลอดจนสาธารณะบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถืออีกหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น หมอประเวศ วะสี อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ฯลฯ จนในที่สุด ก็ถูกถีบกระเด็นออกจากตำแหน่งด้วยการกระทำอันชอบธรรมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่นำโดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ทั้งที่นับแต่เหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬในปี 2535 แล้ว ยังไม่เคยมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นมาอีกเลยจนทุกคนพากันคิดว่า จะไม่มีการกระทำเช่นนี้อีกแล้วจากฝ่ายทหารผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
ผู้เขียนก็ไม่เข้าใจว่า ในเมื่อทางคณาจารย์ก็ได้เสนอทางออกที่ดีงาม ถูกต้องให้แล้ว ทำไมเจ้าภาพจึงไขสือ ไม่รับฟัง ซ้ำร้าย กกมท.ซึ่งเป็นองค์กรที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่ถึง 20 ปี ก็มิได้คัดค้าน ทักท้วงเจ้าภาพทั้งที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ และมีประสบการณ์จัดการแข่งขันมาแล้วไม่น้อย ทำตัวเสมือนหนึ่ง กกมท. ก็อาจจะไม่ต่างจาก ลิ่วล้อไร้น้ำยาของเจ้าภาพปานนั้น
แล้วทำไมผู้เขียนจึงกล้าฟันธงว่า เจ้าภาพราชพฤกษ์เกมส์ไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสครั้งนี้ ทั้งที่ในอดีตกาล เจ้าภาพก็มีสถานะเป็นถึงวิทยาลัยพลศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่น่าจะเข้าใจกีฬาเทเบิลเทนนิส และการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ดีกว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ก็เพราะว่า แม้เทเบิลเทนนิสจะเป็นกีฬาประเภทบุคคล แต่ความสำคัญของกีฬาประเภทนี้กลับอยู่ที่การแข่งขันประเภททีม พิจารณาได้จากการแข่งขันลีกอาชีพในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส สวีเดน ซึ่งเป็นประเทศระดับมหาอำนาจในวงการเทเบิลเทนนิสระดับโลกล้วนมีแต่การแข่งขันอาชีพในระดับทีมชายและทีมหญิงเป็นหลักทั้งนั้น
จริงอยู่ เจ้าภาพอาจเถียงว่า ในมหกรรมกีฬาระดับสุดยอดของมนุษยชาติ คือ โอลิมปิกเกมส์ ก็มีแต่การแข่งขันประเภทบุคคลแค่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยว แต่นั่นก็เป็นข้อมูลในอดีต การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในครั้งต่อไปที่ประเทศจีนในปี ค.ศ.2008 ก็จะมีการแข่งขันเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิง เช่นกัน
ทีนี้ เราลองมาพิจารณาอีกครั้งว่า ถ้ายึดถือบทบัญญัติของ กกมท.ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลักของการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยนั้น จะเป็นการพิสูจน์ถึงการไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงของเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างไร
จริงอยู่จากข้อบังคับคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 เทเบิลเทนนิสมิใช่กีฬาบังคับ 5 ชนิดกีฬา เป็นเพียงกีฬาเลือกสากลซึ่งเจ้าภาพจะจัดให้มีการแข่งขันหรือไม่จัดก็ได้
แต่ผู้เขียนมีคำถามอยู่ว่า ทำไมเมื่อเลือกที่จะจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสแล้ว
1. ทำไมไม่จัดให้ครบทุกประเภท ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม ถ้าไม่พร้อมด้านใดด้านหนึ่ง ทำไมไม่ทำประชาพิจารณ์เพื่อร่วมหาทางออกด้วยกันสำหรับทุกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดบุคลากร และอื่นๆ ฯลฯ
2. ทำไมไม่คิดที่จะจัดเฉพาะประเภททีมชายและทีมหญิงเท่านั้น โดยตัดประเภทบุคคลออกไป ก็ยังดูดีกว่ามากในสายตาของผู้ที่มีองค์ความรู้ที่แท้จริงต่อกีฬาประเภทนี้ ผู้เขียนได้ลองหยั่งประชามติอย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลในวงการปิงปองหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นอดีตโค้ชทีมชาติไทย อดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ล้วนได้คำตอบเดียวกันที่ตรงกันว่า จัดแค่ประเภททีมเท่านั้นยังดูดี มีศักดิ์ มีศรีมากกว่าการจัดประเภทบุคคลมากมาย อย่าลืมเชียวว่า อภิมหาอำนาจสูงสุดของวงการเทเบิลเทนนิสคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ตอนที่ วอลด์เนอร์ ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกในปี คศ.2001 ณ ประเทศฝรั่งเศสนั้น คนจีนทั้งประเทศไม่เสียใจมากมายเพราะกีฬาย่อมมีแพ้มีชนะ แต่พอประเทศจีนเสียแชมป์ประเภททีมชายให้กับทีมสวีเดนในปี ค.ศ. 2000 ณ สนามบูกิต จาลิล ประเทศมาเลเซียซึ่งผู้เขียนเดินทางไปดูถึงริมสนามในค่ำคืนอันยิ่งใหญ่วันนั้น ไม่เพียงแต่คนทั้งสนามจะร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ (ยกเว้นผู้เขียนและโค้ชกรกิจและนพดล บัวสุวรรณ อดีตทีมชาติไทย เพราะเชียร์ทีมสวีเดนด้วยกัน) แต่คนจีนทั้งประเทศต่างร่วมกันร่ำไห้จนแทบจะเอ่อล้นแม่น้ำฮวงโห เปรียบเทียบเหมือนกับฟุตบอลโลกฟรังซ์ 98 บราซิลที่เข้าชิงกับเจ้าภาพฝรั่งเศสแพ้ คนบราซิลก็เสียใจกันทั้งประเทศ ปานนั้น
3. เดิมที เจ้าภาพบอกว่า จะตัดประเภททีมชายและทีมหญิงออกไป แล้วจะให้ทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 ส่งประเภทบุคคลได้ถึงชนิดละ 5 คน เพื่อเป็นการชดเชยการตัดการแข่งขันประเภททีมออกไป แต่สุดท้ายแล้ว หลังจากโปรแกรมการแข่งขันคลอดออกมาแล้ว การณ์กลับกลายเป็นว่า แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียงมหาวิทยาลัยละ 2 คนเท่าเดิมในประเภทบุคคลทุกประเภท นี่คือหลักฐานรูปธรรมที่พิสูจน์แล้วว่า เจ้าภาพมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ขาดความพร้อมในการจัดการแข่งขันในระดับหนึ่ง ทั้งยังขาดองค์ความรู้ที่แท้จริงของการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิส
จริงอยู่ มิใช่เทเบิลเทนนิสประเภทเดียวที่เจ้าภาพยกเลิกการจัดการแข่งขันประเภททีม แต่ยังมีเทนนิส และแบดมินตันอีกซึ่งเป็นกีฬาใช้อุปกรณ์ หรือกีฬาที่ใช้แรกเก็ตทั้ง 3 ประเภทที่ถูกยกเลิกไป
แต่ผู้เขียนขอถามว่า ทัวร์นาเมนต์สำคัญระดับโลกทั้ง 4 ทัวร์นาเมนต์ คือ ออสเตรเลีย โอเพ่น เฟรนช์ โอเพ่น วิมเบิลดั้น และยู เอสโอเพ่นนั้น เป็นการแข่งขันในประเภทบุคคล หรือ ทีม กันแน่
ส่วนทัวร์นาเมนต์สำคัญของกีฬาแบดมินตันนั้น ผู้เขียนขอผ่านเพราะไม่มีความรู้
ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้เขียนในฐานะผู้ควบคุมดูแลทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบันได้แสดงทัศนะ วิสัยทัศน์ของตนโดยยึดหลักสุจริตธรรมเป็นที่ตั้ง มิได้มีส่วนได้เสียแต่อย่างใดกับการจัดการแข่งขันประเภททีมทั้งทีมชายและทีมหญิง ทั้งนี้เพราะว่า ทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งชายและหญิงไม่มีโอกาสที่จะคว้าเหรียญทองจากประเภททีมอยู่มานับ 10 ปีแล้ว
สุดท้ายนี้ ขอให้พวกเราชาวลูกเด้งในระดับปัญญาชนได้มาสานฝันร่วมกันเถิดว่า ขอให้ “บาปบริสุทธิ์” ต่อวงการเทเบิลเทนนิสระดับปัญญาชนไทยครั้งนี้เป็นแค่ฝันร้ายครั้งแรกที่จะผ่านมา และผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยที่จะไม่มีเจ้าภาพมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งต่อไปคิดที่จะถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างหรือเป็นบรรทัดฐานสำหรับวงการเทเบิลเทนนิสระดับปัญญาชนอีกต่อไป ถือเป็น “ครูในทางกลับ” ที่มิควรเอาเยี่ยงเอาอย่างตลอดไป
ยังไม่เคยมีปรากฎการจัดการแข่งขันกีฬาระดับปัญญาชนของประเทศไทยที่อัปยศ และไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสระดับชาติถึงเพียงนี้ ทั้งที่นับตั้งแต่มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ในปี 2513 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนถึงครั้งที่ 33 เป็นระยะเวลาถึง 36 ปีไม่ติดต่อกันมาโดยที่มีการเว้นระยะบ้างเนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมือง ยังไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนเลย
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ก็คือ นับตั้งแต่กีฬามหาวิทยาลัยครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนถึงเมื่อต้นปี 2549 นั้น สำหรับกีฬาเทเบิลเทนนิสนั้น มีการแข่งขันครบทุกประเภททั้งประเภทบุคคล 5 ประเภท คือ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ และคู่ผสม ตลอดจนประเภททีมคือ ทีมชาย และทีมหญิง ซึ่งถือว่า สำคัญที่สุดสำหรับวงการเทเบิลเทนนิสมาโดยตลอดทั้งในระดับชาติและในระดับสากล
แต่ด้วยเหตุผลกลใดมิทราบ เจ้าภาพกีฬาราชพฤกษ์เกมส์ในปี 2550 นี้ถึงได้หาญกล้ายกเลิกการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิงออกไปอย่างไม่แยแส ทั้งที่มีการต่อต้านทักท้วงโดยชอบธรรมทั้งจากตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐและเอกชน
แม้กระทั่งเลขาธิการสมาคมเทเบิลเทนนิส คือ คุณณัฐวุฒิ เรืองเวส ในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกีฬาเทเบิลเทนนิสในระดับชาติ และในระดับนานาชาติก็ยังอดรนทนไม่ได้ที่จะออกมาเรียกร้องให้เจ้าภาพดำเนินการทบทวนการจัดแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิงเสียใหม่ นอกเหนือจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มานั่งประชุมพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับปัญญาชนของชาติในประเภททีม
แต่เหตุการณ์ที่น่าเศร้าเสียใจย่างที่สุดก็คือ ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (กกมท.)ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงที่จะควบคุมดูแลกฎ กติกา การจัดการแข่งขันกีฬาทุกประเภทให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรมของกีฬาก็ยังมิได้สดับตรับฟังเสียงท้วงติงอันชอบธรรมจากคณาจารย์ผู้เป็นตัวแทนของชุมนุมเทเบิลเทนนิสระดับชาติ และแม้เสียงท้วงติงจากสมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย ด้วยการไม่บรรจุจดหมายทักท้วงอย่างเป็นทางการทั้ง 2 ฉบับทั้งของสมาคมเทเบิลเทนนิสและของกลุ่มคณาจารย์เข้าในวาระการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 จะเริ่มขึ้น (ในราวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549)
คล้ายกับอดีตผู้นำของประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่เคยรับฟังเสียงคัดค้าน ทักท้วงของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและจากอดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีบารมีในระดับสูงในแวดวงทหาร คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตลอดจนสาธารณะบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถืออีกหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น หมอประเวศ วะสี อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ฯลฯ จนในที่สุด ก็ถูกถีบกระเด็นออกจากตำแหน่งด้วยการกระทำอันชอบธรรมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่นำโดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ทั้งที่นับแต่เหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬในปี 2535 แล้ว ยังไม่เคยมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นมาอีกเลยจนทุกคนพากันคิดว่า จะไม่มีการกระทำเช่นนี้อีกแล้วจากฝ่ายทหารผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
ผู้เขียนก็ไม่เข้าใจว่า ในเมื่อทางคณาจารย์ก็ได้เสนอทางออกที่ดีงาม ถูกต้องให้แล้ว ทำไมเจ้าภาพจึงไขสือ ไม่รับฟัง ซ้ำร้าย กกมท.ซึ่งเป็นองค์กรที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่ถึง 20 ปี ก็มิได้คัดค้าน ทักท้วงเจ้าภาพทั้งที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ และมีประสบการณ์จัดการแข่งขันมาแล้วไม่น้อย ทำตัวเสมือนหนึ่ง กกมท. ก็อาจจะไม่ต่างจาก ลิ่วล้อไร้น้ำยาของเจ้าภาพปานนั้น
แล้วทำไมผู้เขียนจึงกล้าฟันธงว่า เจ้าภาพราชพฤกษ์เกมส์ไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสครั้งนี้ ทั้งที่ในอดีตกาล เจ้าภาพก็มีสถานะเป็นถึงวิทยาลัยพลศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่น่าจะเข้าใจกีฬาเทเบิลเทนนิส และการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ดีกว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ก็เพราะว่า แม้เทเบิลเทนนิสจะเป็นกีฬาประเภทบุคคล แต่ความสำคัญของกีฬาประเภทนี้กลับอยู่ที่การแข่งขันประเภททีม พิจารณาได้จากการแข่งขันลีกอาชีพในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส สวีเดน ซึ่งเป็นประเทศระดับมหาอำนาจในวงการเทเบิลเทนนิสระดับโลกล้วนมีแต่การแข่งขันอาชีพในระดับทีมชายและทีมหญิงเป็นหลักทั้งนั้น
จริงอยู่ เจ้าภาพอาจเถียงว่า ในมหกรรมกีฬาระดับสุดยอดของมนุษยชาติ คือ โอลิมปิกเกมส์ ก็มีแต่การแข่งขันประเภทบุคคลแค่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยว แต่นั่นก็เป็นข้อมูลในอดีต การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในครั้งต่อไปที่ประเทศจีนในปี ค.ศ.2008 ก็จะมีการแข่งขันเทเบิลเทนนิสประเภททีมชายและทีมหญิง เช่นกัน
ทีนี้ เราลองมาพิจารณาอีกครั้งว่า ถ้ายึดถือบทบัญญัติของ กกมท.ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลักของการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยนั้น จะเป็นการพิสูจน์ถึงการไร้องค์ความรู้ที่แท้จริงของเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างไร
จริงอยู่จากข้อบังคับคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 เทเบิลเทนนิสมิใช่กีฬาบังคับ 5 ชนิดกีฬา เป็นเพียงกีฬาเลือกสากลซึ่งเจ้าภาพจะจัดให้มีการแข่งขันหรือไม่จัดก็ได้
แต่ผู้เขียนมีคำถามอยู่ว่า ทำไมเมื่อเลือกที่จะจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสแล้ว
1. ทำไมไม่จัดให้ครบทุกประเภท ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม ถ้าไม่พร้อมด้านใดด้านหนึ่ง ทำไมไม่ทำประชาพิจารณ์เพื่อร่วมหาทางออกด้วยกันสำหรับทุกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดบุคลากร และอื่นๆ ฯลฯ
2. ทำไมไม่คิดที่จะจัดเฉพาะประเภททีมชายและทีมหญิงเท่านั้น โดยตัดประเภทบุคคลออกไป ก็ยังดูดีกว่ามากในสายตาของผู้ที่มีองค์ความรู้ที่แท้จริงต่อกีฬาประเภทนี้ ผู้เขียนได้ลองหยั่งประชามติอย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลในวงการปิงปองหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นอดีตโค้ชทีมชาติไทย อดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ล้วนได้คำตอบเดียวกันที่ตรงกันว่า จัดแค่ประเภททีมเท่านั้นยังดูดี มีศักดิ์ มีศรีมากกว่าการจัดประเภทบุคคลมากมาย อย่าลืมเชียวว่า อภิมหาอำนาจสูงสุดของวงการเทเบิลเทนนิสคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ตอนที่ วอลด์เนอร์ ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกในปี คศ.2001 ณ ประเทศฝรั่งเศสนั้น คนจีนทั้งประเทศไม่เสียใจมากมายเพราะกีฬาย่อมมีแพ้มีชนะ แต่พอประเทศจีนเสียแชมป์ประเภททีมชายให้กับทีมสวีเดนในปี ค.ศ. 2000 ณ สนามบูกิต จาลิล ประเทศมาเลเซียซึ่งผู้เขียนเดินทางไปดูถึงริมสนามในค่ำคืนอันยิ่งใหญ่วันนั้น ไม่เพียงแต่คนทั้งสนามจะร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ (ยกเว้นผู้เขียนและโค้ชกรกิจและนพดล บัวสุวรรณ อดีตทีมชาติไทย เพราะเชียร์ทีมสวีเดนด้วยกัน) แต่คนจีนทั้งประเทศต่างร่วมกันร่ำไห้จนแทบจะเอ่อล้นแม่น้ำฮวงโห เปรียบเทียบเหมือนกับฟุตบอลโลกฟรังซ์ 98 บราซิลที่เข้าชิงกับเจ้าภาพฝรั่งเศสแพ้ คนบราซิลก็เสียใจกันทั้งประเทศ ปานนั้น
3. เดิมที เจ้าภาพบอกว่า จะตัดประเภททีมชายและทีมหญิงออกไป แล้วจะให้ทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 ส่งประเภทบุคคลได้ถึงชนิดละ 5 คน เพื่อเป็นการชดเชยการตัดการแข่งขันประเภททีมออกไป แต่สุดท้ายแล้ว หลังจากโปรแกรมการแข่งขันคลอดออกมาแล้ว การณ์กลับกลายเป็นว่า แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียงมหาวิทยาลัยละ 2 คนเท่าเดิมในประเภทบุคคลทุกประเภท นี่คือหลักฐานรูปธรรมที่พิสูจน์แล้วว่า เจ้าภาพมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ขาดความพร้อมในการจัดการแข่งขันในระดับหนึ่ง ทั้งยังขาดองค์ความรู้ที่แท้จริงของการจัดการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิส
จริงอยู่ มิใช่เทเบิลเทนนิสประเภทเดียวที่เจ้าภาพยกเลิกการจัดการแข่งขันประเภททีม แต่ยังมีเทนนิส และแบดมินตันอีกซึ่งเป็นกีฬาใช้อุปกรณ์ หรือกีฬาที่ใช้แรกเก็ตทั้ง 3 ประเภทที่ถูกยกเลิกไป
แต่ผู้เขียนขอถามว่า ทัวร์นาเมนต์สำคัญระดับโลกทั้ง 4 ทัวร์นาเมนต์ คือ ออสเตรเลีย โอเพ่น เฟรนช์ โอเพ่น วิมเบิลดั้น และยู เอสโอเพ่นนั้น เป็นการแข่งขันในประเภทบุคคล หรือ ทีม กันแน่
ส่วนทัวร์นาเมนต์สำคัญของกีฬาแบดมินตันนั้น ผู้เขียนขอผ่านเพราะไม่มีความรู้
ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้เขียนในฐานะผู้ควบคุมดูแลทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบันได้แสดงทัศนะ วิสัยทัศน์ของตนโดยยึดหลักสุจริตธรรมเป็นที่ตั้ง มิได้มีส่วนได้เสียแต่อย่างใดกับการจัดการแข่งขันประเภททีมทั้งทีมชายและทีมหญิง ทั้งนี้เพราะว่า ทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งชายและหญิงไม่มีโอกาสที่จะคว้าเหรียญทองจากประเภททีมอยู่มานับ 10 ปีแล้ว
สุดท้ายนี้ ขอให้พวกเราชาวลูกเด้งในระดับปัญญาชนได้มาสานฝันร่วมกันเถิดว่า ขอให้ “บาปบริสุทธิ์” ต่อวงการเทเบิลเทนนิสระดับปัญญาชนไทยครั้งนี้เป็นแค่ฝันร้ายครั้งแรกที่จะผ่านมา และผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยที่จะไม่มีเจ้าภาพมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งต่อไปคิดที่จะถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างหรือเป็นบรรทัดฐานสำหรับวงการเทเบิลเทนนิสระดับปัญญาชนอีกต่อไป ถือเป็น “ครูในทางกลับ” ที่มิควรเอาเยี่ยงเอาอย่างตลอดไป