จริง ๆ แล้วการบ้านการเมืองบ้านเราถกเถียงกันอยู่ในมายาภาพของ “คำ” หรือ “ภาพ” ไม่ใช่ “เนื้อหา” เลยนะครับ!
เราเพิ่งผ่านการมี “รัฐบาลประชาธิปไตย” ที่เป็นเผด็จการ
ตอนนี้เรากำลังมี “รัฐบาลเผด็จการ” ที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย!
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยอมรับกันว่าบ้านเมืองเราไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเลย อย่างน้อยก็ในความหมายที่เรารับรูปแบบมาจากตะวันตก เรามีแต่การเลือกตั้ง เรามีแต่โครงสร้างองค์กรรัฐชื่อเหมือนๆ กับประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรารับเข้ามา
รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมาล้วนสร้าง “ระบอบเผด็จการรัฐสภา” ขึ้นมา มากบ้างน้อยบ้าง
รัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยความเห็นชอบขององค์กรประชาธิปไตยทั้งหลายด้วยนั่นแหละ ที่กระชับระบอบเผด็จการรัฐสภา และมอบอาวุธให้ผู้มาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้โครงสร้างการเมืองใหม่ ในนามของ Strong Prime Minister ผมเคยเขียนมาหลายครั้งแล้ว ระบอบการเมืองในยุครัฐบาลที่แล้วถ้าจะเรียกว่าประชาธิปไตย ก็เป็นได้อย่างมากแค่...
“ประชาธิปไตยอุปถัมภ์”
โดยพื้นฐานแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยนับจากปี 2475 เรายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองอะไรมากมายนัก
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดของโครงสร้างการเมืองไทย น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2435 หรือประมาณกว่า 100 ปีมาแล้ว
นั่นคือ การปฏิรูประบบราชการ
โดยก่อตั้งกลไกการปกครองสมัยใหม่ และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือก่อตั้งรัฐชาติขึ้นมา
ในสมัยนั้น มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม อีกทั้งยังได้สลายอำนาจของขุนนาง และสร้างรูปแบบของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย พร้อมๆ ไปกับการปฏิรูปสังคมในทุกๆ ด้าน ถือว่าเป็นการปฏิวัติหรือปฏิรูปอย่างแท้จริงของการเมืองไทย
นักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยได้สรุปถึงสาเหตุแห่งการปฏิรูปการปกครองครั้งนั้นว่า มีมูลเหตุสำคัญจากการป้องกันภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม โดยมหาอำนาจตะวันตก
การปรับตัวของโครงสร้างการเมืองดังกล่าว ก็เป็นการลอกเลียนแบบจากการปกครองอาณานิคมของประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ตอบสนองอย่างดีกับระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นการปกครองแบบบังคับบัญชา ควบคุมจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงสู่ระดับล่าง และเป็นการปกครองแบบใช้กลไกและเครื่องมือรัฐมาควบคุมประชาชนให้ทำตาม
การปกครองเช่นนี้ในช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นปัญหาอะไรมากมายนัก กลับสร้างความเจริญด้วยซ้ำ เพราะผู้ปกครองยังยึดถือการปกครองโดยมีทศพิศราชธรรม
แต่เมื่อสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลง “รูปแบบ” ทางการเมืองการปกครอง
โดยนำโครงสร้าง “รูปแบบทางการเมืองใหม่” มาสวมครอบทับลงไปบน “โครงสร้างพื้นฐานระบอบเดิม” อันได้แก่โครงสร้างอำนาจนิยม และระบบอุปถัมภ์
กลายเป็นรัฐราชการรวมศูนย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์มาสู่กลุ่มขุนนาง และต่อมาก็เป็นการเปลี่ยนถ่ายจากขุนนางพลเรือนไปสู่ขุนนางทหารในการปฏิวัติครั้งต่าง ๆ
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักการเมืองพลเรือนจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น แต่ใจความหลักก็ยังเป็นการเปลี่ยนหน้า เปลี่ยนชุด ของชนชั้นปกครอง ที่ขึ้นมาสวมทับบนโครงสร้างเดิมของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งออก ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการดึงทรัพยากรจากชนบทเข้ามาสู่เมือง เป็นการขยายระบบอุถัมภ์ในเชิงวัฒนธรรมเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ
คนในเมืองคือผู้ที่ได้อรรถประโยชน์ในทรัพยากร ซึ่งต่อจากนั้น ทรัพยากรก็ถูกดูดไปต่างประเทศ ส่วนคนในภาคชนบทกลับเป็นเหยื่อที่ถูกทำร้าย ถูกเอาเปรียบตลอด ทั้งยังถูกมองว่ามีความล้าหลังทางแนวคิดประชาธิปไตย เพราะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก
ในระยะหลังๆ เวลาเราพูดถึงการแก้ไขปัญหาการเมือง การขจัดการซื้อเสียง ขจัดการขายเสียง หรือพยายามทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น เราก็รับรู้กันว่า จะต้องเลือกคนดีมีความสามารถ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด
ในมุมมองหนึ่ง การขายเสียงไม่ใช่เพราะว่าคนชนบทโง่ หรือคิดสั้น
แต่มันเป็นโอกาสอันเดียวที่คนชนบทจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากกลไกการเมืองการปกครอง
เพราะที่ผ่านมาพวกเขาถูกซ้ำเติมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ถูกดึงทรัพยากรทุกอย่างจากภาคเกษตรเข้ามาสู่เมือง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
หนทางรอดเดียวคือการสมยอมอยู่ภายใต้ระบบเครือข่ายอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมานานในสังคมไทย
ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เรานำเข้ามาจากตะวันตกไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปแล้วก็ตาม
เพราะวัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับวัฒนธรรมในระบอบประชาธิปไตย
การก่อกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกนั้น มาจากรากฐานของการของการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากอำนาจการปกครองของกษัตริย์ พระ และขุนนาง แล้วสร้างกฎเกณฑ์ใหม่เป็น “ตัวหนังสือ” ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว
การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญของคนตะวันตกจึงเป็นไปด้วยจิตสำนึกเป็นหลัก ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวถูกลงโทษ
แต่ของบ้านเราเป็นการนำเอากรอบความคิด กรอบโครงสร้าง ที่เขาพัฒนามาแล้ว มาครอบทับกับสังคมที่มันมีพื้นฐานแตกต่าง การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญโดยจิตสำนึกนอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังมีแต่การพยายามหลีกเลี่ยงหาช่องว่างช่องโหว่ในทุกทาง
ทักษิณ ชินวัตรเป็นคนที่เห็น “จุดอ่อน” ของสังคมไทยในด้านนี้แล้วนำมาเป็น “จุดแข็ง” ของตน
เพื่อที่จะกวาดล้างระบบราชการออกไปแล้วให้กลุ่มทุนของตนเองเข้าไปแทนที่
เมื่อทักษิณ ชินวัตรล้มลงไป บ้านเมืองก็กลับสู่จุดเดิมที่ยังมี “จุดอ่อน” อยู่มหาศาล
น่าเสียดายที่คนไทยต้องตกอยู่ระหว่างเขาควาย ไร้ทางเลือก เช่นนี้!
เราเพิ่งผ่านการมี “รัฐบาลประชาธิปไตย” ที่เป็นเผด็จการ
ตอนนี้เรากำลังมี “รัฐบาลเผด็จการ” ที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย!
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยอมรับกันว่าบ้านเมืองเราไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเลย อย่างน้อยก็ในความหมายที่เรารับรูปแบบมาจากตะวันตก เรามีแต่การเลือกตั้ง เรามีแต่โครงสร้างองค์กรรัฐชื่อเหมือนๆ กับประเทศประชาธิปไตยตะวันตกที่เรารับเข้ามา
รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมาล้วนสร้าง “ระบอบเผด็จการรัฐสภา” ขึ้นมา มากบ้างน้อยบ้าง
รัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยความเห็นชอบขององค์กรประชาธิปไตยทั้งหลายด้วยนั่นแหละ ที่กระชับระบอบเผด็จการรัฐสภา และมอบอาวุธให้ผู้มาเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้โครงสร้างการเมืองใหม่ ในนามของ Strong Prime Minister ผมเคยเขียนมาหลายครั้งแล้ว ระบอบการเมืองในยุครัฐบาลที่แล้วถ้าจะเรียกว่าประชาธิปไตย ก็เป็นได้อย่างมากแค่...
“ประชาธิปไตยอุปถัมภ์”
โดยพื้นฐานแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยนับจากปี 2475 เรายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองอะไรมากมายนัก
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดของโครงสร้างการเมืองไทย น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2435 หรือประมาณกว่า 100 ปีมาแล้ว
นั่นคือ การปฏิรูประบบราชการ
โดยก่อตั้งกลไกการปกครองสมัยใหม่ และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือก่อตั้งรัฐชาติขึ้นมา
ในสมัยนั้น มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม อีกทั้งยังได้สลายอำนาจของขุนนาง และสร้างรูปแบบของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย พร้อมๆ ไปกับการปฏิรูปสังคมในทุกๆ ด้าน ถือว่าเป็นการปฏิวัติหรือปฏิรูปอย่างแท้จริงของการเมืองไทย
นักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยได้สรุปถึงสาเหตุแห่งการปฏิรูปการปกครองครั้งนั้นว่า มีมูลเหตุสำคัญจากการป้องกันภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม โดยมหาอำนาจตะวันตก
การปรับตัวของโครงสร้างการเมืองดังกล่าว ก็เป็นการลอกเลียนแบบจากการปกครองอาณานิคมของประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ตอบสนองอย่างดีกับระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นการปกครองแบบบังคับบัญชา ควบคุมจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงสู่ระดับล่าง และเป็นการปกครองแบบใช้กลไกและเครื่องมือรัฐมาควบคุมประชาชนให้ทำตาม
การปกครองเช่นนี้ในช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นปัญหาอะไรมากมายนัก กลับสร้างความเจริญด้วยซ้ำ เพราะผู้ปกครองยังยึดถือการปกครองโดยมีทศพิศราชธรรม
แต่เมื่อสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลง “รูปแบบ” ทางการเมืองการปกครอง
โดยนำโครงสร้าง “รูปแบบทางการเมืองใหม่” มาสวมครอบทับลงไปบน “โครงสร้างพื้นฐานระบอบเดิม” อันได้แก่โครงสร้างอำนาจนิยม และระบบอุปถัมภ์
กลายเป็นรัฐราชการรวมศูนย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์มาสู่กลุ่มขุนนาง และต่อมาก็เป็นการเปลี่ยนถ่ายจากขุนนางพลเรือนไปสู่ขุนนางทหารในการปฏิวัติครั้งต่าง ๆ
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักการเมืองพลเรือนจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น แต่ใจความหลักก็ยังเป็นการเปลี่ยนหน้า เปลี่ยนชุด ของชนชั้นปกครอง ที่ขึ้นมาสวมทับบนโครงสร้างเดิมของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งออก ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการดึงทรัพยากรจากชนบทเข้ามาสู่เมือง เป็นการขยายระบบอุถัมภ์ในเชิงวัฒนธรรมเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ
คนในเมืองคือผู้ที่ได้อรรถประโยชน์ในทรัพยากร ซึ่งต่อจากนั้น ทรัพยากรก็ถูกดูดไปต่างประเทศ ส่วนคนในภาคชนบทกลับเป็นเหยื่อที่ถูกทำร้าย ถูกเอาเปรียบตลอด ทั้งยังถูกมองว่ามีความล้าหลังทางแนวคิดประชาธิปไตย เพราะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก
ในระยะหลังๆ เวลาเราพูดถึงการแก้ไขปัญหาการเมือง การขจัดการซื้อเสียง ขจัดการขายเสียง หรือพยายามทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น เราก็รับรู้กันว่า จะต้องเลือกคนดีมีความสามารถ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด
ในมุมมองหนึ่ง การขายเสียงไม่ใช่เพราะว่าคนชนบทโง่ หรือคิดสั้น
แต่มันเป็นโอกาสอันเดียวที่คนชนบทจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากกลไกการเมืองการปกครอง
เพราะที่ผ่านมาพวกเขาถูกซ้ำเติมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ถูกดึงทรัพยากรทุกอย่างจากภาคเกษตรเข้ามาสู่เมือง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
หนทางรอดเดียวคือการสมยอมอยู่ภายใต้ระบบเครือข่ายอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมานานในสังคมไทย
ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เรานำเข้ามาจากตะวันตกไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปแล้วก็ตาม
เพราะวัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับวัฒนธรรมในระบอบประชาธิปไตย
การก่อกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกนั้น มาจากรากฐานของการของการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากอำนาจการปกครองของกษัตริย์ พระ และขุนนาง แล้วสร้างกฎเกณฑ์ใหม่เป็น “ตัวหนังสือ” ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว
การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญของคนตะวันตกจึงเป็นไปด้วยจิตสำนึกเป็นหลัก ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวถูกลงโทษ
แต่ของบ้านเราเป็นการนำเอากรอบความคิด กรอบโครงสร้าง ที่เขาพัฒนามาแล้ว มาครอบทับกับสังคมที่มันมีพื้นฐานแตกต่าง การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญโดยจิตสำนึกนอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังมีแต่การพยายามหลีกเลี่ยงหาช่องว่างช่องโหว่ในทุกทาง
ทักษิณ ชินวัตรเป็นคนที่เห็น “จุดอ่อน” ของสังคมไทยในด้านนี้แล้วนำมาเป็น “จุดแข็ง” ของตน
เพื่อที่จะกวาดล้างระบบราชการออกไปแล้วให้กลุ่มทุนของตนเองเข้าไปแทนที่
เมื่อทักษิณ ชินวัตรล้มลงไป บ้านเมืองก็กลับสู่จุดเดิมที่ยังมี “จุดอ่อน” อยู่มหาศาล
น่าเสียดายที่คนไทยต้องตกอยู่ระหว่างเขาควาย ไร้ทางเลือก เช่นนี้!