โครงสร้างตำรวจใหม่ ลดอำนาจ ผบ.ตร.แค่ให้ทำหน้าที่ปฎิบัติการ แถมเหลือกำลังในมือเพียง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองปราบ และสันติบาล ส่วนกองบัญชาการตำรวจภูธร จะปฎิบัติหน้าที่เบ็ดเสร็จในภาคแบบเดียวกับระบบศาล ผบ.ตร.มีตำแหน่งในวาระได้ 4-5 ปี ขณะเดียวกันเพิ่มตำแหน่งสำคัญ “เลขาธิการคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ” โดยดึงคนนอกมาทำหน้าที่กำกับนโยบาย บริหารงานบุคคล แต่งตั้งโยกย้าย เผยงานโรงพักที่ไม่ใช้ภารกิจหลักของตำรวจ จะถูกโอนไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมปรับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็นสถาบันวิชาการตำรวจ เพิ่มเงินเดือนให้สูงกว่าข้าราชการพลเรือน 15 %
วานนี้(9 ม.ค.)ที่กระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เปิดเผย ถึงโครงสร้างตำรวจใหม่ที่จะเปิดกว้างให้บุคคลภายนอก สมัครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ว่าโครงสร้างใหม่ไม่ใช่การเข้าไปรื้อหรือทำลายระบบตำรวจเพราะการพิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ต้องพิจารณาจากคนในเป็นหลัก แต่แนวทางใหม่เป็นเพียงการเปิดทางให้กับผู้ที่จะเป็นแคนดิเดทในตำแหน่ง ผบ.ตร.ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตำรวจเท่านั้น
นอกจากนี้จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านเวปไซด์ของกระทรวงยุติธรรมพบว่า มีผู้เห็นด้วยให้ปรับปรุงงานตำรวจถึงร้อยละ 90 แต่มีข้อกังวลว่า การเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกเข้าแข่งขันเป็น ผบ.ตร.อาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญในโครงสร้างตำรวจใหม่ไม่ใช่ตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่เป็นตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะคัดสรรจากบุคคลภายนอก เข้ามาทำงานเต็มเวลา กำกับนโยบายตำรวจ บริหารงานบุคคล รวมถึงทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล อาทิ เรื่องการร้องทุกข์จากประชาชน การแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม ตลอดจนทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการนายตำรวจระดับสูง นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ
ส่วน ผบ.ตร.จะอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ 4-5 ปี มีอำนาจเฉพาะงานด้านปฏิบัติการ โดยมีกองกำลังเหลืออยู่ 3 ส่วน คือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับกองปราบปราม และกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาคต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่จะเบ็ดเสร็จในภาคคล้ายระบบของศาล
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของโรงพักจะปรับเปลี่ยนรูปแบบ อย่างเห็นได้ชัด โดยงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของตำรวจจะถูกถ่ายโอนไปสู่ชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายงานให้กับอาสาสมัครให้มากขึ้น ซึ่งจะสอดรับกับกฎหมายไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในคดีทั่วไป ที่จะให้ไกล่ เกลี่ยให้ยุติภายในชุมชน โดยโครงสร้างตำรวจใหม่จะไม่เทอะทะ
สำหรับอัตราเงินเดือนและสวัสดิการของตำรวจจะปรับเพิ่มแน่นอน โดยมีแนวโน้มว่าจะต้องแยกบัญชีเงินเดือนของข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ให้สูงกว่าข้าราชการพลเรือน ร้อยละ 15
นายกิตติพงษ์ กล่าวถึง แนวทางการปรับปรุงโรงเรียนนายร้อยตำรวจ( รร.นรต.)ว่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่มีอยู่เดิม จะไม่ถูกยุบ แต่ควรพัฒนาให้เป็นสถาบันวิชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ผู้บริหารต้องเป็นมืออาชีพด้านวิชาการตำรวจ เหมือนกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และไม่ควรเห็นตำแหน่งผู้บริหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นทางผ่านไปสู่ตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนี้ โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะไม่ได้รับการพัฒนา อาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต้องเป็นอาจารย์จริงๆ ขณะเดียวกันก็พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้ดีขึ้นกว่าการเรียน การสอนแบบกึ่งทหาร คือสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารก่อน เข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะภารกิจของตำรวจกับทหารแตกต่างกัน ตำรวจต้องทำงานใกล้ชิดประชาชน การฝึกอบรมควรต่างกับทหาร รวมทั้งการคัดเลือกบุคคลที่เข้าเป็นนายร้อยตำรวจ ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเลือกรับผู้ที่จบ ม.6 เข้าศึกษาใน รร.นรต.หรือรับผู้ที่จบปริญญาตรี แล้วอบรมเป็นนายร้อยตำรวจ
ส่วนการพัฒนาตำรวจชั้นประทวน เห็นควรปรับวุฒิการศึกษาให้สูงจาก ม.6 เพราะตำรวจเหล่านี้ต้องใช้อำนาจ ใช้อาวุธ ควรต้องผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันตำรวจชั้นประทวนที่จบปริญญาตรีก็เทียบชั้นยศสัญญาบัตรได้ นอกจากนี้ ควรแยกพนักงานสอบสวนที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ออกเป็นกองบัญชาการสอบสวน เพื่อให้การทำงานมีอิสระ และเพิ่มเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับศาล อัยการ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ข้อสรุปเป็นรูปธรรมในวันที่ 13 มี.ค. ก่อนนำแนวทางดังกล่าวมาทำประชาพิจารณ์ให้กับตำรวจและประชาชนทั่วประเทศออกความคิดเห็นต่อไป
ด้าน พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ให้สัมภาษณ์ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ว่ายังไม่ทราบถึงรายละเอียดทั้งหมด ของการปรับโครงสร้างดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นที่จะเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาสมัครคัดเลือกเป็นผบ.ตร. ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย เนื่องจากเชื่อว่า คนนอก คงไม่เข้าใจ ในการทำงานของตำรวจ แต่เป็นตำรวจเองที่เข้าใจในระบบ และการทำงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ตร. และผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับตำรวจมาตั้งแต่ครั้งดำรงยศเป็น ร.ต.ต.
วานนี้(9 ม.ค.)ที่กระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เปิดเผย ถึงโครงสร้างตำรวจใหม่ที่จะเปิดกว้างให้บุคคลภายนอก สมัครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ว่าโครงสร้างใหม่ไม่ใช่การเข้าไปรื้อหรือทำลายระบบตำรวจเพราะการพิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ต้องพิจารณาจากคนในเป็นหลัก แต่แนวทางใหม่เป็นเพียงการเปิดทางให้กับผู้ที่จะเป็นแคนดิเดทในตำแหน่ง ผบ.ตร.ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตำรวจเท่านั้น
นอกจากนี้จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านเวปไซด์ของกระทรวงยุติธรรมพบว่า มีผู้เห็นด้วยให้ปรับปรุงงานตำรวจถึงร้อยละ 90 แต่มีข้อกังวลว่า การเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกเข้าแข่งขันเป็น ผบ.ตร.อาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญในโครงสร้างตำรวจใหม่ไม่ใช่ตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่เป็นตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะคัดสรรจากบุคคลภายนอก เข้ามาทำงานเต็มเวลา กำกับนโยบายตำรวจ บริหารงานบุคคล รวมถึงทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล อาทิ เรื่องการร้องทุกข์จากประชาชน การแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม ตลอดจนทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการนายตำรวจระดับสูง นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ
ส่วน ผบ.ตร.จะอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ 4-5 ปี มีอำนาจเฉพาะงานด้านปฏิบัติการ โดยมีกองกำลังเหลืออยู่ 3 ส่วน คือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับกองปราบปราม และกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาคต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่จะเบ็ดเสร็จในภาคคล้ายระบบของศาล
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของโรงพักจะปรับเปลี่ยนรูปแบบ อย่างเห็นได้ชัด โดยงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของตำรวจจะถูกถ่ายโอนไปสู่ชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายงานให้กับอาสาสมัครให้มากขึ้น ซึ่งจะสอดรับกับกฎหมายไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทในคดีทั่วไป ที่จะให้ไกล่ เกลี่ยให้ยุติภายในชุมชน โดยโครงสร้างตำรวจใหม่จะไม่เทอะทะ
สำหรับอัตราเงินเดือนและสวัสดิการของตำรวจจะปรับเพิ่มแน่นอน โดยมีแนวโน้มว่าจะต้องแยกบัญชีเงินเดือนของข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ให้สูงกว่าข้าราชการพลเรือน ร้อยละ 15
นายกิตติพงษ์ กล่าวถึง แนวทางการปรับปรุงโรงเรียนนายร้อยตำรวจ( รร.นรต.)ว่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่มีอยู่เดิม จะไม่ถูกยุบ แต่ควรพัฒนาให้เป็นสถาบันวิชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ผู้บริหารต้องเป็นมืออาชีพด้านวิชาการตำรวจ เหมือนกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และไม่ควรเห็นตำแหน่งผู้บริหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นทางผ่านไปสู่ตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนี้ โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะไม่ได้รับการพัฒนา อาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต้องเป็นอาจารย์จริงๆ ขณะเดียวกันก็พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้ดีขึ้นกว่าการเรียน การสอนแบบกึ่งทหาร คือสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารก่อน เข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะภารกิจของตำรวจกับทหารแตกต่างกัน ตำรวจต้องทำงานใกล้ชิดประชาชน การฝึกอบรมควรต่างกับทหาร รวมทั้งการคัดเลือกบุคคลที่เข้าเป็นนายร้อยตำรวจ ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเลือกรับผู้ที่จบ ม.6 เข้าศึกษาใน รร.นรต.หรือรับผู้ที่จบปริญญาตรี แล้วอบรมเป็นนายร้อยตำรวจ
ส่วนการพัฒนาตำรวจชั้นประทวน เห็นควรปรับวุฒิการศึกษาให้สูงจาก ม.6 เพราะตำรวจเหล่านี้ต้องใช้อำนาจ ใช้อาวุธ ควรต้องผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันตำรวจชั้นประทวนที่จบปริญญาตรีก็เทียบชั้นยศสัญญาบัตรได้ นอกจากนี้ ควรแยกพนักงานสอบสวนที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ออกเป็นกองบัญชาการสอบสวน เพื่อให้การทำงานมีอิสระ และเพิ่มเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับศาล อัยการ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ข้อสรุปเป็นรูปธรรมในวันที่ 13 มี.ค. ก่อนนำแนวทางดังกล่าวมาทำประชาพิจารณ์ให้กับตำรวจและประชาชนทั่วประเทศออกความคิดเห็นต่อไป
ด้าน พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ให้สัมภาษณ์ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ว่ายังไม่ทราบถึงรายละเอียดทั้งหมด ของการปรับโครงสร้างดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นที่จะเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาสมัครคัดเลือกเป็นผบ.ตร. ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย เนื่องจากเชื่อว่า คนนอก คงไม่เข้าใจ ในการทำงานของตำรวจ แต่เป็นตำรวจเองที่เข้าใจในระบบ และการทำงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ตร. และผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับตำรวจมาตั้งแต่ครั้งดำรงยศเป็น ร.ต.ต.