ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีแล้วว่า ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นใครกันบ้าง เป็นไปตามกระแสข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้หรือไม่
ตอนนี้ เรามีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญโดยมีกรอบระยะเวลากำหนดไว้ 180 วัน ดังนั้น เมื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว คงมีการขับเคลื่อนงานการปฏิรูปการเมืองอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่มัวมาเสียเวลากันอีกแล้ว เพราะพี่น้องประชาชนอยากจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นรถคันหรูแต่กลับเอาไปไถนา
จำได้ไหมครับว่าเป็นคำพูดใคร ก็ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ ไงครับ แล้วเราจะได้มาดูกันว่าหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เปรียบเหมือนกับรถคันหรูนี่ พี่น้องประชาชนจะมีโอกาสเข้ามาลูบๆ คลำๆ นั่นคือการเข้ามามีส่วนร่วมสักนิดหรือไม่
ขั้นตอนต่อไปก็คือ การที่ ส.ส.ร. 100 คน ทำการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา มาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน บวกกับของ คมช. อีก 10 คน หรือที่ขนานนามกันว่า 35 อรหันต์ก็ว่ากันไป
ซึ่งท่านผู้อ่านก็คงเห็นโผออกมาแล้วว่า น่าจะประกอบไปด้วยใครบ้าง ดูเหมือนตอนนี้บ้านเราทำอะไรต้องมีโผมีใบสั่งไปทุกเรื่องเสียแล้วกระมัง ก็ไม่เป็นไร พอรายชื่อออกเราก็มาดูว่า รายชื่อจริงๆ ตรงกับโผหรือไม่
แล้วดูเหมือนว่ารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จะกลับลำทัน เพราะวันอังคารที่ 9 มกราคม 2549 จะมีการประชุม ครม. พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยขยายคุณสมบัติให้กว้างขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีการลดเงื่อนไขจากการเป็นศาสตราจารย์ลง ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ สังคมได้ถกเถียงกันมากว่าเป็นลักษณะของอำมาตยาธิปไตย
ถ้าท่านผู้อ่านสนใจ ย้อนกลับไปอ่านบทความของผมเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา เรื่อง เจ้าข้าเอ๊ย ขุนศึกขุนนางอำมาตยาธิปไตยมาแล้วจ้า ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นครับ
มีหลายต่อหลายท่านออกมาไล่เรียงปัญหาของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมามากมาย แล้วยังไง เรื่องอย่างนี้ใครก็พูดได้ ไม่ใช่เพียงแต่รู้ช่องโหว่หรือปัญหาหรือ Gap ของกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเพียงพอ ท่านต้องคิดต่อไปว่าเมื่อรู้แล้วจะทำอย่างไร มาไล่แก้ที่ละประเด็นคงไม่ใช่
ท่านต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า หัวใจสำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญ คือการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือถ้าพูดให้ชัดก็คือ โอกาสในการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่แต่ร่างเอาไว้เสียสวยหรูเหมือนกับการสร้างวิมานในอากาศ สุดท้ายจับต้องไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ เรื่องก็จะลงเอยแบบเดิมและรัฐธรรมนูญก็จะเป็นแพะรับบาปไปเหมือนเดิม
วันนี้เราอาจจะยังไม่ต้องไปไกลถึงเรื่องหน้าตาหรือตุ๊กตารัฐธรรมนูญ 2550 นี้ ผมกลับคิดว่าก่อนอื่น และต้องเป็นเรื่องแรกที่ต้องทำนั่นคือ การวางแผนให้การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่จะทำอย่างไร
ผมขอลองเสนออย่างนี้ดู ดีไหมครับ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจการยกร่างรัฐธรรมนูญให้สัมฤทธิผล อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาตรา 19 และข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ข้อ 35 และ ข้อ 73 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือตามที่สภามอบหมาย ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีตัวแทนกรรมาธิการยกร่างฯ, กรรมาธิการการมีส่วนร่วมฯ ทุกคณะ, กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม คณะละ 2 คน รวม 16 คน
มีอำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการประสานงานระหว่างสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการคณะต่างๆ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของคณะกรรมาธิการ การสนับสนุนภารกิจและกิจการต่างๆ ของสภา รวมทั้งการให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะต่างๆ แก่ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน 6 คณะ
คณะที่ 1 กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คณะที่ 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก
คณะที่ 3 ภาคเหนือ
คณะที่ 4 ภาคใต้
คณะที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานเหนือ)
คณะที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานใต้)
โดยคณะกรรมาธิการคณะหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 13 คน เนื่องจากระยะเวลาจำกัดน้อยมาก พื้นที่กว้างใหญ่จึงควรแบ่งและกระจายความรับผิดชอบเพื่อให้งานไม่หนัก และมีความละเอียดถี่ถ้วน
กรรมาธิการการมีส่วนร่วมทั้ง 6 คณะนี้ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ศึกษารูปแบบและกลไกที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็วเท่าเทียมกัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจการยกร่างรัฐธรรมนูญให้สัมฤทธิผล
3. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 13 คน
มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาตรวจรายงานการประชุม เปิดเผยรายงานการประชุมลับ ติดตามผลการปฏิบัติตามมติ พิจารณาเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากคณะกรรมาธิการสามัญดังกล่าวมาแล้ว ผมเห็นว่าควรตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ขึ้นทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดใหญ่อาจมี 2 คณะหรือ 3 คณะกรรมาธิการก็ได้ตามที่เห็นสมควร โดยสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญได้
การที่จะช่วยให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เราควรใช้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่เหลือ 1,882 คน มาช่วยน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสมาชิกสมัชชาได้มีการกระจายไปตามสัดส่วนอาชีพ สาขา ตามจังหวัดต่างๆ และภูมิภาคอยู่แล้ว
ในที่นี้ที่ผมไม่ได้เอ่ยถึงคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน เป็นเพราะว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้เป็นคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
นี่เป็นแค่เพียงข้อเสนอของผมเท่านั้นครับ และรัฐธรรมนูญคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผมและบรรดาเพื่อนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอีก 99 คน ต้องช่วยกันตอบให้ถูกใจประชาชนมากที่สุด เพราะท่านอย่าลืมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นมาได้จากการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่ปัจจุบันแปรมาเป็น คณะมนตรีความมั่นคง
การที่ คมช. ลุกขึ้นปฏิวัติยึดอำนาจจากเผด็จการทักษิณในขณะนั้น ถ้าไม่มีสถานการณ์การชุมนุมของพี่น้องพันธมิตรฯ ไม่มีข้อเรียกร้องจากฝ่ายคนรู้ทันทักษิณ หรือ กลุ่มคนเรือนแสนเรือนล้านที่พร้อมใจกันตะโกนว่า “ทักษิณ ออกไป” คงไม่มีวันนี้
สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้สถานการณ์สุกงอมมากขึ้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจได้สำเร็จ และ คมช. เองก็ได้สัญญากับประชาชนอาจเรียกได้ว่าเป็นพันธกิจ คือการเร่งให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ฉบับที่ 18 เพื่อนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม และไม่คิดที่จะสืบทอดอำนาจแต่อย่างใด
ผมก็เพียงแต่หวังว่าจะเป็นอย่างที่ท่านประกาศไว้ สุดท้ายคงต้องอันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2540 ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2540 ที่ว่า “...ในยามที่สถานการณ์ของบ้านเมืองเรา และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคส่วนนี้ของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ท่านทั้งหลายต้องควบคุมสติให้มั่น ไม่หวั่นไหวไปกับวิกฤต ทำความคิดจิตใจให้หนักแน่น และเที่ยงตรงเสมอเหมือนกันแล้วมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรู้ความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาดรอบคอบและความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ก็จะร่วมกันปฏิบัติบริหารงานทุกด้านได้อย่างเข้มแข็งเหนียวแน่น และประสบความสำเร็จอันงดงามตามเป้าหมาย...”
เพื่อเป็นกำลังใจ และข้อคิดแก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองกันสักครั้งเถอะครับ เพราะจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ดี การมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ รักหวงแหน และร่วมกันปกป้อง มิให้รัฐธรรมนูญถูกทำลายได้โดยง่าย ที่สำคัญจะเกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในการลงประชามติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ตอนนี้ เรามีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญโดยมีกรอบระยะเวลากำหนดไว้ 180 วัน ดังนั้น เมื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานสภารองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว คงมีการขับเคลื่อนงานการปฏิรูปการเมืองอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่มัวมาเสียเวลากันอีกแล้ว เพราะพี่น้องประชาชนอยากจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นรถคันหรูแต่กลับเอาไปไถนา
จำได้ไหมครับว่าเป็นคำพูดใคร ก็ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ ไงครับ แล้วเราจะได้มาดูกันว่าหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เปรียบเหมือนกับรถคันหรูนี่ พี่น้องประชาชนจะมีโอกาสเข้ามาลูบๆ คลำๆ นั่นคือการเข้ามามีส่วนร่วมสักนิดหรือไม่
ขั้นตอนต่อไปก็คือ การที่ ส.ส.ร. 100 คน ทำการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา มาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน บวกกับของ คมช. อีก 10 คน หรือที่ขนานนามกันว่า 35 อรหันต์ก็ว่ากันไป
ซึ่งท่านผู้อ่านก็คงเห็นโผออกมาแล้วว่า น่าจะประกอบไปด้วยใครบ้าง ดูเหมือนตอนนี้บ้านเราทำอะไรต้องมีโผมีใบสั่งไปทุกเรื่องเสียแล้วกระมัง ก็ไม่เป็นไร พอรายชื่อออกเราก็มาดูว่า รายชื่อจริงๆ ตรงกับโผหรือไม่
แล้วดูเหมือนว่ารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จะกลับลำทัน เพราะวันอังคารที่ 9 มกราคม 2549 จะมีการประชุม ครม. พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยขยายคุณสมบัติให้กว้างขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีการลดเงื่อนไขจากการเป็นศาสตราจารย์ลง ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ สังคมได้ถกเถียงกันมากว่าเป็นลักษณะของอำมาตยาธิปไตย
ถ้าท่านผู้อ่านสนใจ ย้อนกลับไปอ่านบทความของผมเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา เรื่อง เจ้าข้าเอ๊ย ขุนศึกขุนนางอำมาตยาธิปไตยมาแล้วจ้า ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นครับ
มีหลายต่อหลายท่านออกมาไล่เรียงปัญหาของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมามากมาย แล้วยังไง เรื่องอย่างนี้ใครก็พูดได้ ไม่ใช่เพียงแต่รู้ช่องโหว่หรือปัญหาหรือ Gap ของกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเพียงพอ ท่านต้องคิดต่อไปว่าเมื่อรู้แล้วจะทำอย่างไร มาไล่แก้ที่ละประเด็นคงไม่ใช่
ท่านต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า หัวใจสำคัญของการร่างรัฐธรรมนูญ คือการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือถ้าพูดให้ชัดก็คือ โอกาสในการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่แต่ร่างเอาไว้เสียสวยหรูเหมือนกับการสร้างวิมานในอากาศ สุดท้ายจับต้องไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ เรื่องก็จะลงเอยแบบเดิมและรัฐธรรมนูญก็จะเป็นแพะรับบาปไปเหมือนเดิม
วันนี้เราอาจจะยังไม่ต้องไปไกลถึงเรื่องหน้าตาหรือตุ๊กตารัฐธรรมนูญ 2550 นี้ ผมกลับคิดว่าก่อนอื่น และต้องเป็นเรื่องแรกที่ต้องทำนั่นคือ การวางแผนให้การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่จะทำอย่างไร
ผมขอลองเสนออย่างนี้ดู ดีไหมครับ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจการยกร่างรัฐธรรมนูญให้สัมฤทธิผล อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาตรา 19 และข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ข้อ 35 และ ข้อ 73 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือตามที่สภามอบหมาย ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมาธิการกิจการสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีตัวแทนกรรมาธิการยกร่างฯ, กรรมาธิการการมีส่วนร่วมฯ ทุกคณะ, กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม คณะละ 2 คน รวม 16 คน
มีอำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการประสานงานระหว่างสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการคณะต่างๆ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของคณะกรรมาธิการ การสนับสนุนภารกิจและกิจการต่างๆ ของสภา รวมทั้งการให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะต่างๆ แก่ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน 6 คณะ
คณะที่ 1 กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คณะที่ 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก
คณะที่ 3 ภาคเหนือ
คณะที่ 4 ภาคใต้
คณะที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานเหนือ)
คณะที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานใต้)
โดยคณะกรรมาธิการคณะหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 13 คน เนื่องจากระยะเวลาจำกัดน้อยมาก พื้นที่กว้างใหญ่จึงควรแบ่งและกระจายความรับผิดชอบเพื่อให้งานไม่หนัก และมีความละเอียดถี่ถ้วน
กรรมาธิการการมีส่วนร่วมทั้ง 6 คณะนี้ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ศึกษารูปแบบและกลไกที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็วเท่าเทียมกัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจการยกร่างรัฐธรรมนูญให้สัมฤทธิผล
3. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 13 คน
มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาตรวจรายงานการประชุม เปิดเผยรายงานการประชุมลับ ติดตามผลการปฏิบัติตามมติ พิจารณาเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (เจตนารมณ์) ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากคณะกรรมาธิการสามัญดังกล่าวมาแล้ว ผมเห็นว่าควรตั้งกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ขึ้นทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดใหญ่อาจมี 2 คณะหรือ 3 คณะกรรมาธิการก็ได้ตามที่เห็นสมควร โดยสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญได้
การที่จะช่วยให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เราควรใช้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่เหลือ 1,882 คน มาช่วยน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสมาชิกสมัชชาได้มีการกระจายไปตามสัดส่วนอาชีพ สาขา ตามจังหวัดต่างๆ และภูมิภาคอยู่แล้ว
ในที่นี้ที่ผมไม่ได้เอ่ยถึงคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน เป็นเพราะว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้เป็นคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
นี่เป็นแค่เพียงข้อเสนอของผมเท่านั้นครับ และรัฐธรรมนูญคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผมและบรรดาเพื่อนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอีก 99 คน ต้องช่วยกันตอบให้ถูกใจประชาชนมากที่สุด เพราะท่านอย่าลืมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นมาได้จากการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่ปัจจุบันแปรมาเป็น คณะมนตรีความมั่นคง
การที่ คมช. ลุกขึ้นปฏิวัติยึดอำนาจจากเผด็จการทักษิณในขณะนั้น ถ้าไม่มีสถานการณ์การชุมนุมของพี่น้องพันธมิตรฯ ไม่มีข้อเรียกร้องจากฝ่ายคนรู้ทันทักษิณ หรือ กลุ่มคนเรือนแสนเรือนล้านที่พร้อมใจกันตะโกนว่า “ทักษิณ ออกไป” คงไม่มีวันนี้
สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้สถานการณ์สุกงอมมากขึ้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจได้สำเร็จ และ คมช. เองก็ได้สัญญากับประชาชนอาจเรียกได้ว่าเป็นพันธกิจ คือการเร่งให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร ฉบับที่ 18 เพื่อนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม และไม่คิดที่จะสืบทอดอำนาจแต่อย่างใด
ผมก็เพียงแต่หวังว่าจะเป็นอย่างที่ท่านประกาศไว้ สุดท้ายคงต้องอันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2540 ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2540 ที่ว่า “...ในยามที่สถานการณ์ของบ้านเมืองเรา และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคส่วนนี้ของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ท่านทั้งหลายต้องควบคุมสติให้มั่น ไม่หวั่นไหวไปกับวิกฤต ทำความคิดจิตใจให้หนักแน่น และเที่ยงตรงเสมอเหมือนกันแล้วมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรู้ความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาดรอบคอบและความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ก็จะร่วมกันปฏิบัติบริหารงานทุกด้านได้อย่างเข้มแข็งเหนียวแน่น และประสบความสำเร็จอันงดงามตามเป้าหมาย...”
เพื่อเป็นกำลังใจ และข้อคิดแก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองกันสักครั้งเถอะครับ เพราะจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ดี การมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ รักหวงแหน และร่วมกันปกป้อง มิให้รัฐธรรมนูญถูกทำลายได้โดยง่าย ที่สำคัญจะเกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในการลงประชามติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้