กมธ.วิสามัญฯ ให้ ม.บูรพากลับไปประชาพิจารณ์ออกนอกระบบอีกรอบ “วิจิตร” เชื่อแนวทางของ 5 มหาวิทยาลัยที่ร่าง พ.ร.บ.อยู่ในสภานิติบัญญัติเหมือนกัน คือให้กลับไปฟังความเห็นใหม่ ระบุหากยังไม่พร้อมออกนอกระบบ กมธ. ก็ไม่พิจารณาต่อเมื่อหมดวาระกฎหมายก็ตกไป ทำหนังสือเวียนให้ผู้บริหารชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาคมให้เรียบร้อย โดยไม่จะยังไม่ผลักดัน ม.ใดเพิ่มเติม
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพาว่า ที่ประชุม ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยบูรพาไปประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่มของ มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะนักศึกษา คณาจารย์ ที่ยังมีความข้องใจและวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และให้นำประชาพิจารณ์เดิมในปี 2545 มาประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากนักศึกษาจำนวนหนึ่งเพิ่งจะเข้ามาเรียน ขณะที่นักศึกษาที่ทำประชาพิจารณ์ไว้จบการศึกษาไปแล้ว ดังนั้น การทำประชาพิจารณ์ ต้องคำนึงถึงนักศึกษาที่เรียนอยู่ในปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ ให้ทางมหาวิทยาลัยทำประชาพิจารณ์ให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ตลอดจนข้อวิตกในเรื่องต่างๆ ของนักศึกษา อาจารย์ เช่น การขึ้นค่าเล่าเรียน เงินเดือนของผู้บริหาร และหลังจากการประชาพิจารณ์แล้วหาก กมธ.วิสามัญฯเห็นว่าอยากจะเชิญแต่ละฝ่ายมาให้ข้อมูลอีกก็สามารถทำได้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการประชาพิจารณ์ประมาณ 1 เดือนกว่า ทั้งนี้ มีข้อเข้าใจผิดกันว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพาจะต้องพิจารณาให้เสร็จใน 7 วันนั้นไม่ใช่ ไม่มีการรวบรัดผลักดันร่างนี้
“การทำประชาพิจารณ์จะทำให้มีความชัดเจนของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะออกนอกระบบ ใครจะมาทำหน้าที่แทนใครไม่ได้จะมาพูดภาพรวมไม่ได้ แต่ทุกวันที่มีปัญหาอยู่ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่งอาจจะออกมาพูดทำหน้าที่แทนนักศึกษาอีกหลายมหาวิทยาลัยซึ่งไม่ใช่ ดังนั้นจะต้องฟังเสียงแต่ละมหาวิทยาลัย ผมเชื่อว่า กมธ.วิสามัญฯจะให้แต่ละมหาวิทยาลัยไปรับฟังความคิดเห็นมาใหม่เพื่อประกอบพิจารณา ซึ่งหากภายหลังการทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความคิดเห็นแล้ว เห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะออกนอกระบบ กมธ.วิสามัญฯ ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอกฎหมาย หรือพิจารณาต่อไป กระบวนการก็จะหยุดอยู่เพียงนี้ รอจนสภานิติบัญญัติหมดวาระ กฎหมายดังกล่าวก็จะตกไป จึงอยากวิงวอนให้ทุกฝ่ายรอการพิจารณาของ กมธ.วิสามัญฯ ที่จะทำงานให้เกิดความราบรื่น มีความถูกต้องและเป็นกลาง”
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า สำหรับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลันอกระบบที่เหลือขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยที่รอเสนอมาที่ ศธ. 5 แห่ง เพื่อรอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) และมีร่างที่เสนอ ครม.ไปแล้วอีก 3 แห่ง ซึ่งตนจะทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสภามหาวิทยาลัยดังกล่าว ให้ดำเนินการชี้แจงรับฟังความคิดเห็น ทำความเข้าใจแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย แทนที่จะรอให้กฎหมายเข้าสู่ ครม.หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว และจะยังไม่มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยใดเข้าไปเพิ่มเติม
อนึ่ง ในเวลา 17.00 น.วันที่ 5 ม.ค.นี้ เครือข่ายนิสิต นักศึกษา ประชาชน คัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ จักเสวนาทางวิชาการเรื่อง การปฏิรูประบบมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยไร้เข็มทิศ : วิกฤติของชาติ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบใครได้..? ใครเสีย..? ณ สวนปาล์ม ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วุฒิพงษ์ เพียบจริยวัฒน์ ผอ.สถาบันสหสวรรษ สมาชิกสภานิติบัญญัติ ร่วมด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ อาทิ อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งประเทศไทย รศ.ดร.สุทธิพงษ์ หกสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการแผนงาน สภาคณาจารย์แห่งประเทศไทย (ปอมท.) ผศ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพาว่า ที่ประชุม ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยบูรพาไปประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่มของ มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะนักศึกษา คณาจารย์ ที่ยังมีความข้องใจและวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และให้นำประชาพิจารณ์เดิมในปี 2545 มาประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากนักศึกษาจำนวนหนึ่งเพิ่งจะเข้ามาเรียน ขณะที่นักศึกษาที่ทำประชาพิจารณ์ไว้จบการศึกษาไปแล้ว ดังนั้น การทำประชาพิจารณ์ ต้องคำนึงถึงนักศึกษาที่เรียนอยู่ในปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ ให้ทางมหาวิทยาลัยทำประชาพิจารณ์ให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ตลอดจนข้อวิตกในเรื่องต่างๆ ของนักศึกษา อาจารย์ เช่น การขึ้นค่าเล่าเรียน เงินเดือนของผู้บริหาร และหลังจากการประชาพิจารณ์แล้วหาก กมธ.วิสามัญฯเห็นว่าอยากจะเชิญแต่ละฝ่ายมาให้ข้อมูลอีกก็สามารถทำได้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการประชาพิจารณ์ประมาณ 1 เดือนกว่า ทั้งนี้ มีข้อเข้าใจผิดกันว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพาจะต้องพิจารณาให้เสร็จใน 7 วันนั้นไม่ใช่ ไม่มีการรวบรัดผลักดันร่างนี้
“การทำประชาพิจารณ์จะทำให้มีความชัดเจนของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะออกนอกระบบ ใครจะมาทำหน้าที่แทนใครไม่ได้จะมาพูดภาพรวมไม่ได้ แต่ทุกวันที่มีปัญหาอยู่ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่งอาจจะออกมาพูดทำหน้าที่แทนนักศึกษาอีกหลายมหาวิทยาลัยซึ่งไม่ใช่ ดังนั้นจะต้องฟังเสียงแต่ละมหาวิทยาลัย ผมเชื่อว่า กมธ.วิสามัญฯจะให้แต่ละมหาวิทยาลัยไปรับฟังความคิดเห็นมาใหม่เพื่อประกอบพิจารณา ซึ่งหากภายหลังการทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความคิดเห็นแล้ว เห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะออกนอกระบบ กมธ.วิสามัญฯ ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอกฎหมาย หรือพิจารณาต่อไป กระบวนการก็จะหยุดอยู่เพียงนี้ รอจนสภานิติบัญญัติหมดวาระ กฎหมายดังกล่าวก็จะตกไป จึงอยากวิงวอนให้ทุกฝ่ายรอการพิจารณาของ กมธ.วิสามัญฯ ที่จะทำงานให้เกิดความราบรื่น มีความถูกต้องและเป็นกลาง”
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า สำหรับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลันอกระบบที่เหลือขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยที่รอเสนอมาที่ ศธ. 5 แห่ง เพื่อรอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) และมีร่างที่เสนอ ครม.ไปแล้วอีก 3 แห่ง ซึ่งตนจะทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสภามหาวิทยาลัยดังกล่าว ให้ดำเนินการชี้แจงรับฟังความคิดเห็น ทำความเข้าใจแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย แทนที่จะรอให้กฎหมายเข้าสู่ ครม.หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว และจะยังไม่มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยใดเข้าไปเพิ่มเติม
อนึ่ง ในเวลา 17.00 น.วันที่ 5 ม.ค.นี้ เครือข่ายนิสิต นักศึกษา ประชาชน คัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ จักเสวนาทางวิชาการเรื่อง การปฏิรูประบบมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยไร้เข็มทิศ : วิกฤติของชาติ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบใครได้..? ใครเสีย..? ณ สวนปาล์ม ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วุฒิพงษ์ เพียบจริยวัฒน์ ผอ.สถาบันสหสวรรษ สมาชิกสภานิติบัญญัติ ร่วมด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ อาทิ อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งประเทศไทย รศ.ดร.สุทธิพงษ์ หกสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการแผนงาน สภาคณาจารย์แห่งประเทศไทย (ปอมท.) ผศ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย