การกล่าวถึงความคืบหน้าและสรุปประเด็น เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ของสนามบินสุวรรณภูมิของ “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2549 ได้เผยถึงเรื่องคนตกกุ้ง เมื่อกุ้งติดเบ็ดมาแล้ว เจ้ากุ้งก้ามกรามดันหนีบเอาปลาหรือปูติดก้ามขึ้นมาด้วย โดยเปรียบกับการสืบสวนลงลึกเรื่องทุจริตการจัดซื้อ CTX 9000 ทางด้านความเชื่อมโยงของบุคคลที่เกี่ยวข้องระหว่าง นายวรพจน์ ยศะทัตต์ “เช” ตัวแทนของบริษัท จีอี อินวิชั่น จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้สร้าง CTX 9000 กับบุคคลต่างๆ และได้พบเส้นทาง/การเชื่อมต่อมาจากการที่ “เช” ร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณีเก้าอี้นักบินสำหรับเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต ของกองทัพอากาศไทย ที่เขาเป็นวิศวกรที่ปรึกษาประจำประเทศไทย ได้เสียโอกาสในการขาย เพราะกองทัพอากาศเปรียบนโยบาย จากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อม โดยที่วงเงินของการซ่อมเท่ากับการซื้อของใหม่ เป็นเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนไปทาง ป.ป.ช.ไว้ก่อนแล้ว และเรื่องก็ถูกเก็บเงียบอยู่ทาง ป.ป.ช.ในยุคระบอบทักษิณ การสอบที่โยงใยมูลเหตุไปถึงกันนั้น ทำให้เรื่องเก้าอี้ดีดเครื่องบินขับไล่อัลฟ่า เจ็ต (บ.จ. 7) กลับฟื้นเป็นประเด็นขึ้นมา จากการสอบเรื่อง CTX 9000 โดยที่เรื่องนี้ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันกับเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทำอยู่
สำนวนการสอบสวน CTX 9000 ของคณะอนุกรรมการได้ผลสรุปความผิด ทั้งลักษณะความผิด ความเสียหายและบุคคลที่อยู่ในข่ายกระทำความผิด ที่มีทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความผิดตามมาตรา 66 และ 67 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยมีผลชี้มูลความผิดกันไปเรียบร้อยแล้ว และเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีซึ่งมีโทษจำคุก ซึ่งกระบวนการนั้นจะดำเนินการต่อไปในต้นเดือนมกราคม 2550
สำหรับกรณีเก้าอี้ดีด อัลฟ่า เจ็ต ที่ทหารอากาศใช้คำย่อว่า บ.จ. 7 (เครื่องบินโจมตีแบบ 7) ที่อยู่กับ ป.ป.ช.นั้น ยังไม่ชัดเจนว่าทาง ป.ป.ช.จะดำเนินการตรวจสอบเอง หรือจะให้เป็นหน้าที่ของ คตส.เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัย “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรี และมีความเกี่ยวพันกันกับทิศทางการเมือง คือเป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้ที่ “ทักษิณ” วางตั้งไว้ว่าจะต้องนำมาร่วมรัฐบาล จึงจำเป็นต้องรักษาภาพและคุณภาพเอาไว้ไม่ให้บอบช้ำ ไม่ให้มีปัญหาใดติดตัวมาเมื่อมาเป็นรัฐมนตรี การชี้ผิดถูกหรือการกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเด็นนี้ จึงไม่มีในยุคนั้น
ข้อ “กล่าวหา” ที่ค้างคาอยู่นั้น ใครจะเป็นผู้กล่าวหา หรือใครจะถูกกล่าวหา ไม่ใช่ประเด็นสำคัญต่อ รายงานแบบลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ และได้ความจริงมา 100% นี้ โดยจะเปิดเผยกันโดย “เอกสาร” ล้วนๆ ว่า ปมปัญหาอยู่ตรงไหน และประเทศชาติเสียประโยชน์หรือทำความเสียหายแก่รัฐอย่างไร และถือว่าเป็นภารกิจหน้าที่หนึ่ง ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า บรรดาสื่อทั้งหลาย น่าจะได้เปิดเผยเรื่องราวที่ทำให้บ้านเมืองเสียหาย เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีคุณธรรมของผู้ทำงานกับรัฐในอนาคต ซึ่งไม่ได้หมายความว่า “รับคำสั่ง” มาจากนายกรัฐมนตรี เพราะแนวทางของการทำงานของ นสพ.ผู้จัดการ ก็เป็นเช่นนั้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ในการเป็นผู้ทำความจริงให้ปรากฏ
ที่มาของเครื่องบิน อัลฟ่า เจ็ต (ALPHA JET) นี้คือ กองทัพอากาศเยอรมนี ต้องการลดกำลังรบลง เป็นไปตามแผนของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) มีการขายเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต ที่ประจำการอยู่ออกไป กองทัพอากาศไทยได้ซื้อมาเข้าประจำการจำนวน 1 ฝูง ที่กองบิน 21 จังหวัดอุดรธานี เครื่องบินจำนวน 20 เครื่องนี้ ซื้อในปี 2542 มีอายุใช้งานถึง พ.ศ. 2558 โดยที่ได้ประจำการใช้งานอยู่ในกองทัพอากาศเยอรมนีมาแล้วประมาณ 20 ปี ได้มีการตรวจในการซ่อมบำรุงระบบต่างๆ พบว่าในส่วนของเก้าอี้นักบิน ที่จะดีดนำนักบินออกจากเครื่องเมื่อเครื่องบินประสบปัญหามีปัญหามาก เครื่องบินประสบเหตุที่นักบินจะต้องดีดตัวออก แต่เกิดขัดข้องในระบบทำให้ดีดไม่ออก นักบินต้องเสียชีวิตไปพร้อมกับเครื่องที่ตกถึง L ครั้งการตรวจสอบพบว่า พัสดุที่เรียกว่า Car Tridge Activated Device And Propellant Activated Device (CAD/PAD) มีอายุใช้งานถึง พ.ศ. 2545 บางส่วนและ พ.ศ. 2546 บางส่วน แต่ทางบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินได้ทำหนังสือรับรองยืดอายุการใช้งานว่า จะใช้ได้จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 ดังนั้น จึงต้องมีการจัดทำ CAD/PAD มาทดแทนอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีบริษัท GOOD RICH เสนอให้การสนับสนุนอะไหล่ แต่ก็มีราคาสูงมาก
กองทัพอากาศได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาระบบเก้าอี้ดีดของเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต (เครื่องบินโจมตีแบบ 7-บ.จ. 7) โดยมี พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธาน มีกรรมการในคณะ 12 คน ได้พิจารณาข้อเสนอของบริษัท มาร์ติน เบเกอร์ ของอังกฤษ ที่จะขายเก้าอี้ดีดรุ่น MK 10 L ให้ในราคาเดียวกับที่กองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งซื้อเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตจากเยอรมนีมาพร้อมกับไทยรวม 12 เครื่อง และประสบปัญหาเก้าอี้ดีดหมดอายุการใช้งานเช่นกัน กองทัพอากาศอังกฤษได้มอบหมายให้บริษัท QINETIQ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนเก้าอี้ดีดใหม่ทั้งหมด โดยคณะกรรมการเห็นว่าข้อเสนอของบริษัท มาร์ติน เบเกอร์ จะมีประโยชน์ที่สุด เพราะราคาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจสอบได้ มีของแถมคือการซ่อมระบบออกซิเจนเมื่อครบกำหนดเวลาการใช้งาน การฝึกอบรมที่ไม่คิดมูลค่า
ที่สำคัญคืออายุการใช้งานของเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตนี้ถึง พ.ศ. 2558 เท่านั้นก็ต้องปลดประจำการ หากมีการเปลี่ยนเก้าที่มีอายุการใช้งาน 30 ปี ก็ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่านัก เพราะนำเก้าอี้ดีดของใหม่มาติดตั้งกับเครื่องบินเก่า, ทางผู้ขายได้เสนอว่า มีการบริการตลอดอายุการใช้งาน ประกันคุณภาพสินค้าเป็นเวลา 5 ปี และมีการประกันราคาเพื่อ “ขายคืน” เก้าอี้ดีด เมื่อเครื่องบินหมดอายุการใช้งานแล้ว ทำให้เก้าอี้ดีดยังมีราคาตามสภาพของมันอยู่ ไม่ต้องเลิกใช้ไปพร้อมกับเครื่องบิน และทางคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบกับทางกองทัพอากาศอังกฤษ/บริษัท QINETIQ ซึ่งเป็นผู้จัดการติดตั้งเก้าอี้ดีด MK 10 L ให้กับอัลฟ่า เจ็ตของกองทัพอากาศอังกฤษ ก็ได้รับคำตอบมีรายละเอียดจากนาย P.P SINHAM หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ งานทดสอบและประเมินเครื่องบินของ QINETIQ ให้ข้อมูลและคำแนะนำมา 6 ข้อ ยืนยันว่า MK 10 L สามารถติดตั้งแทนเก้าอี้แบบเดิม คือ UPCO SIIS ที่ติดมากับอัลฟ่า เจ็ตได้ คณะกรรมการที่มี พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธาน จึงมีความเห็นให้ซื้อ MK 10 L มาเปลี่ยนใหม่
พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะพล.อ.อ.ปอง เกษียณอายุราชการก่อน และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนต่อมา และมีการยกเรื่องการซื้อเก้าอี้ดีดนี้มาพิจารณาใหม่ โดยยกประเด็นที่ว่า บริษัท GOOD RICH ได้เสนอราคาการซ่อมบำรุงมามีราคาต่ำกว่าการประมาณการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นข้อพิจารณาที่น่าสนใจกว่า
กรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.) ได้สอบถามกับกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (สพ.ทอ.) ถึงเรื่องนี้ และทาง สพ.ทอ.ได้มีหนังสือถึง ยก.ทอ.ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเหตุใด GOOD RICH จึงเสนอราคาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่ำกว่าการประมาณการของ สพ.ทอ.ได้ โดยหนังสือฉบับนี้มีความว่า
บริษัท GOOD RICH ได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเก้าอี้ บ.จ.-7 (อัลฟ่า เจ็ต) อย่างไม่ถูกต้องคือ 1. การกำหนดอายุการถอดเปลี่ยนพัสดุ CAD/PAD และอุปกรณ์การประกอบเก้าอี้ต่างกัน โดยกองทัพอากาศอ้างอิงตาม T.O. 2 F-AJET-6-1 ของกองทัพอากาศเยอรมนี แต่ทางบริษัท GOOD RICH อ้างถึงข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่สามารถบอกที่มาของข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้
2. ราคาพัสดุที่ต่ำกว่าปกติเป็นราคา REFURBISH (การซ่อมคืนสภาพ) เช่น SEAT BACK ROCKET : SBR เป็นราคาที่ต้องถอดพัสดุหมดอายุจากเก้าอี้แล้ว ส่งกลับไปบริษัทฯ เพื่อทำการซ่อมคืนสภาพ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำให้ เพราะเครื่องบินจะต้องจอดทำการบินปฏิบัติภารกิจไม่ได้เป็นเวลา 10 เดือน ระหว่างซ่อม และบริษัทฯ จะต้องมี SBR ส่วนเกิน มาเพื่อทดสอบจุดดูการทำงานการขับเคลื่อนของจรวดอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าหากทางบริษัทฯ ไม่มีนำมาทดสอบ ก็จะต้องซื้อจากเยอรมนีมาเพิ่มเติม และไม่รู้ว่าจะมีขายหรือไม่ ดังนั้น ราคา SBR ที่ผลิตใหม่สำหรับเครื่องบิน 20 เครื่อง บริษัท GOOD RICH เสนอราคา 24, 100 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นไปตามราคาที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศเคยประมาณการไว้แล้ว
กรมสรรพาวุธทหารอากาศได้มีเหตุผลอีกหลายประการแจ้งให้กรมยุทธการทหารอากาศทราบในฐานะที่เป็นสายรับผิดชอบโดยตรงกับงานนี้ และสรุปว่า
“บนอ. (สพ.ทอ.) พิจารณาแล้ว การประมาณการราคา CAD/PAD ที่บริษัท GOOD RICH เสนอมานั้น อยู่บนพื้นฐานการกำหนดอายุการใช้งานที่ไม่ถูกต้องตาม T.O. 1 F-AJET-6-1 และราคาที่ต่ำลง บางชิ้นเป็นราคาที่ต้องถอดไป REFUBISH ไม่ใช่น้องใหม่ จึงไม่สามารถปฏิบัติได้ในความเป็นจริง”
หนังสือตอบของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (สพ.ทอ.) กับกรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.) ครั้งนี้ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากที่ “ดอนเมือง” เพราะตามปกติแล้วจะไม่มีการใช้ถ้อยคำกันอย่างนี้ ที่ถือว่าแรงและเด็ดขาด ในทำนองว่ากรมยุทธการทหารอากาศจะเชื่อตามบริษัท GOOD RICH ก็เชื่อไป แต่ทางกรมสรรพาวุธทหารอากาศไม่เชื่อและสรุปทิ้งท้ายว่า “จึงไม่สามารถปฏิบัติได้ในความเป็นจริง” ดังกล่าว หากพูดอย่างภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นเรื่องโกหกเชื่อถือไม่ได้
สำหรับราคาที่ว่ามีการเสนอมาให้ต่ำกว่าราคาประเมินการนั้น เป็นการเสนอราคาใหม่ เมื่อรู้ว่าคณะกรรมการชุด พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ตกลงใจว่าจะซื้อของใหม่ของมาร์ติน เบเกอร์ จึงมีการลดราคาลงมาสู้
บรรดานักบินที่ต้องบินกับเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต ต่างก็รู้ดีว่า อุปกรณ์การช่วยชีวิตให้รอดเมื่อเกิดปัญหาคับขันต้องสละเครื่องนั้น มีปัญหาอยู่ แต่เป็นหน้าที่และภารกิจต้องทำการบินมาโดยตลอด เมื่อทราบว่ากองทัพอากาศได้ตกลงใจที่จะเปลี่ยนเก้าอี้เป็นของใหม่ทั้งหมด ก็พ้นจากความรู้สึกกดดันในเรื่องนี้ เพราะการบินจะมีความปลอดภัยแก่ชีวิตตัวเองยิ่งขึ้น, แต่เมื่อมีผู้บัญชาการทหารอากาศคนใหม่คือ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายที่มีแต่สมัย พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ คือให้มีการซ่อมแทนการใช้ของใหม่ ความรู้สึกกดดันนั้นก็ดีดกลับไปสู่จุดเดิมอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับมีความสงสัยว่า ผู้บังคับบัญชาคิดอย่างไร ทั้งๆ ที่กองทัพอากาศอังกฤษที่ซื้อเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตมือสองมาจากกองทัพอากาศเยอรมนี 12 เครื่อง และมีปัญหาเรื่องเก้าอี้นักบินหมดอายุการใช้งานเหมือนกัน ไม่ยอมรับและไม่เชื่อถือ “ใบต่ออายุ” ที่ว่าจะใช้ได้อีกจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 เพราะเป็นการต่ออายุโดยกระดาษทางกองทัพอากาศอังกฤษไม่ซ่อมแต่ซื้อของใหม่ ซึ่งมีราคาโดยรวมเท่าๆ กับการซ่อม เหตุใดจึงไม่ทำอย่างกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งกรมข่าวทหารอากาศ (ขว.ทอ.) ได้สอบถามข้อมูล ข้อเท็จจริง และเทคนิคจากทางอังกฤษ ซึ่งได้รับคำตอบมาอย่างชัดเจนทั้งจากกองทัพอากาศอังกฤษ และจากบริษัท QINETIQ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนเก้าอี้ดีด
พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลทักษิณยุคล่มสลาย คิดอย่างไร-จึงไม่เหมือนกับความคิดของ พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ และพล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ในข้อเท็จจริงเรื่องการเปลี่ยนจากซื้อมาเป็นซ่อมนั้น ดูเป็นเรื่องที่ดีเพราะอะไรๆ ที่พอจะซ่อมแทนให้ใช้งานได้ ก็ควรที่จะซ่อม เพื่อเป็นการประหยัดเงินงบประมาณของชาติ
แต่การซ่อมที่ว่านี้ เป็นการประหยัดจริงหรือ? ในเมื่อการซื้อของใหม่นั้น ใช้งบประมาณพอๆ กันกับการซ่อม และการซ่อมที่มีนโยบายใหม่ ก็เป็นการซ่อมที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศไทย มีฝีมือเก่งกาจและฉลาดกว่ากองทัพอากาศอังกฤษ ที่ไม่ซ่อมแต่ซื้อของใหม่ให้หมดปัญหาไปในคราวเดียว และที่เก่งกว่านั้นคือเปลี่ยนวิธีการซ่อมคือ จัดหาซื้อพัสดุอะไหล่มาดำเนินการซ่อมเองโดย กรมช่างอากาศ (ชอ.ทอ.) เป็นผู้รับผิดชอบ มีการใช้งบประมาณจัดหาเป็นงวดๆ ไป โดยวงเงินของการจัดหาแต่ละครั้งต้องไม่เกินครั้งละ 100 ล้านบาท เพราะการใช้งบประมาณไม่เกิน 100 ล้านบาทนั้น กองทัพอากาศสามารถใช้เงินงบประมาณในส่วนของตัวเองได้ตามอำนาจ ไม่ต้องขออนุมัติจากใครอีก
ประเด็นเช่นนี้แหละที่ ป.ป.ช.ให้ความสนใจว่า ใช้เงินไปเท่าใดแล้ว และผลเป็นอย่างไรบ้าง?

สำนวนการสอบสวน CTX 9000 ของคณะอนุกรรมการได้ผลสรุปความผิด ทั้งลักษณะความผิด ความเสียหายและบุคคลที่อยู่ในข่ายกระทำความผิด ที่มีทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความผิดตามมาตรา 66 และ 67 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยมีผลชี้มูลความผิดกันไปเรียบร้อยแล้ว และเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีซึ่งมีโทษจำคุก ซึ่งกระบวนการนั้นจะดำเนินการต่อไปในต้นเดือนมกราคม 2550
สำหรับกรณีเก้าอี้ดีด อัลฟ่า เจ็ต ที่ทหารอากาศใช้คำย่อว่า บ.จ. 7 (เครื่องบินโจมตีแบบ 7) ที่อยู่กับ ป.ป.ช.นั้น ยังไม่ชัดเจนว่าทาง ป.ป.ช.จะดำเนินการตรวจสอบเอง หรือจะให้เป็นหน้าที่ของ คตส.เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัย “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรี และมีความเกี่ยวพันกันกับทิศทางการเมือง คือเป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้ที่ “ทักษิณ” วางตั้งไว้ว่าจะต้องนำมาร่วมรัฐบาล จึงจำเป็นต้องรักษาภาพและคุณภาพเอาไว้ไม่ให้บอบช้ำ ไม่ให้มีปัญหาใดติดตัวมาเมื่อมาเป็นรัฐมนตรี การชี้ผิดถูกหรือการกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเด็นนี้ จึงไม่มีในยุคนั้น
ข้อ “กล่าวหา” ที่ค้างคาอยู่นั้น ใครจะเป็นผู้กล่าวหา หรือใครจะถูกกล่าวหา ไม่ใช่ประเด็นสำคัญต่อ รายงานแบบลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ และได้ความจริงมา 100% นี้ โดยจะเปิดเผยกันโดย “เอกสาร” ล้วนๆ ว่า ปมปัญหาอยู่ตรงไหน และประเทศชาติเสียประโยชน์หรือทำความเสียหายแก่รัฐอย่างไร และถือว่าเป็นภารกิจหน้าที่หนึ่ง ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า บรรดาสื่อทั้งหลาย น่าจะได้เปิดเผยเรื่องราวที่ทำให้บ้านเมืองเสียหาย เพื่อให้ได้มาซึ่งการมีคุณธรรมของผู้ทำงานกับรัฐในอนาคต ซึ่งไม่ได้หมายความว่า “รับคำสั่ง” มาจากนายกรัฐมนตรี เพราะแนวทางของการทำงานของ นสพ.ผู้จัดการ ก็เป็นเช่นนั้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ในการเป็นผู้ทำความจริงให้ปรากฏ
ที่มาของเครื่องบิน อัลฟ่า เจ็ต (ALPHA JET) นี้คือ กองทัพอากาศเยอรมนี ต้องการลดกำลังรบลง เป็นไปตามแผนของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) มีการขายเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต ที่ประจำการอยู่ออกไป กองทัพอากาศไทยได้ซื้อมาเข้าประจำการจำนวน 1 ฝูง ที่กองบิน 21 จังหวัดอุดรธานี เครื่องบินจำนวน 20 เครื่องนี้ ซื้อในปี 2542 มีอายุใช้งานถึง พ.ศ. 2558 โดยที่ได้ประจำการใช้งานอยู่ในกองทัพอากาศเยอรมนีมาแล้วประมาณ 20 ปี ได้มีการตรวจในการซ่อมบำรุงระบบต่างๆ พบว่าในส่วนของเก้าอี้นักบิน ที่จะดีดนำนักบินออกจากเครื่องเมื่อเครื่องบินประสบปัญหามีปัญหามาก เครื่องบินประสบเหตุที่นักบินจะต้องดีดตัวออก แต่เกิดขัดข้องในระบบทำให้ดีดไม่ออก นักบินต้องเสียชีวิตไปพร้อมกับเครื่องที่ตกถึง L ครั้งการตรวจสอบพบว่า พัสดุที่เรียกว่า Car Tridge Activated Device And Propellant Activated Device (CAD/PAD) มีอายุใช้งานถึง พ.ศ. 2545 บางส่วนและ พ.ศ. 2546 บางส่วน แต่ทางบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินได้ทำหนังสือรับรองยืดอายุการใช้งานว่า จะใช้ได้จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 ดังนั้น จึงต้องมีการจัดทำ CAD/PAD มาทดแทนอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีบริษัท GOOD RICH เสนอให้การสนับสนุนอะไหล่ แต่ก็มีราคาสูงมาก
กองทัพอากาศได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาระบบเก้าอี้ดีดของเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต (เครื่องบินโจมตีแบบ 7-บ.จ. 7) โดยมี พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธาน มีกรรมการในคณะ 12 คน ได้พิจารณาข้อเสนอของบริษัท มาร์ติน เบเกอร์ ของอังกฤษ ที่จะขายเก้าอี้ดีดรุ่น MK 10 L ให้ในราคาเดียวกับที่กองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งซื้อเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตจากเยอรมนีมาพร้อมกับไทยรวม 12 เครื่อง และประสบปัญหาเก้าอี้ดีดหมดอายุการใช้งานเช่นกัน กองทัพอากาศอังกฤษได้มอบหมายให้บริษัท QINETIQ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนเก้าอี้ดีดใหม่ทั้งหมด โดยคณะกรรมการเห็นว่าข้อเสนอของบริษัท มาร์ติน เบเกอร์ จะมีประโยชน์ที่สุด เพราะราคาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตรวจสอบได้ มีของแถมคือการซ่อมระบบออกซิเจนเมื่อครบกำหนดเวลาการใช้งาน การฝึกอบรมที่ไม่คิดมูลค่า
ที่สำคัญคืออายุการใช้งานของเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตนี้ถึง พ.ศ. 2558 เท่านั้นก็ต้องปลดประจำการ หากมีการเปลี่ยนเก้าที่มีอายุการใช้งาน 30 ปี ก็ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่านัก เพราะนำเก้าอี้ดีดของใหม่มาติดตั้งกับเครื่องบินเก่า, ทางผู้ขายได้เสนอว่า มีการบริการตลอดอายุการใช้งาน ประกันคุณภาพสินค้าเป็นเวลา 5 ปี และมีการประกันราคาเพื่อ “ขายคืน” เก้าอี้ดีด เมื่อเครื่องบินหมดอายุการใช้งานแล้ว ทำให้เก้าอี้ดีดยังมีราคาตามสภาพของมันอยู่ ไม่ต้องเลิกใช้ไปพร้อมกับเครื่องบิน และทางคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบกับทางกองทัพอากาศอังกฤษ/บริษัท QINETIQ ซึ่งเป็นผู้จัดการติดตั้งเก้าอี้ดีด MK 10 L ให้กับอัลฟ่า เจ็ตของกองทัพอากาศอังกฤษ ก็ได้รับคำตอบมีรายละเอียดจากนาย P.P SINHAM หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ งานทดสอบและประเมินเครื่องบินของ QINETIQ ให้ข้อมูลและคำแนะนำมา 6 ข้อ ยืนยันว่า MK 10 L สามารถติดตั้งแทนเก้าอี้แบบเดิม คือ UPCO SIIS ที่ติดมากับอัลฟ่า เจ็ตได้ คณะกรรมการที่มี พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธาน จึงมีความเห็นให้ซื้อ MK 10 L มาเปลี่ยนใหม่
พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะพล.อ.อ.ปอง เกษียณอายุราชการก่อน และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนต่อมา และมีการยกเรื่องการซื้อเก้าอี้ดีดนี้มาพิจารณาใหม่ โดยยกประเด็นที่ว่า บริษัท GOOD RICH ได้เสนอราคาการซ่อมบำรุงมามีราคาต่ำกว่าการประมาณการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นข้อพิจารณาที่น่าสนใจกว่า
กรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.) ได้สอบถามกับกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (สพ.ทอ.) ถึงเรื่องนี้ และทาง สพ.ทอ.ได้มีหนังสือถึง ยก.ทอ.ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเหตุใด GOOD RICH จึงเสนอราคาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่ำกว่าการประมาณการของ สพ.ทอ.ได้ โดยหนังสือฉบับนี้มีความว่า
บริษัท GOOD RICH ได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเก้าอี้ บ.จ.-7 (อัลฟ่า เจ็ต) อย่างไม่ถูกต้องคือ 1. การกำหนดอายุการถอดเปลี่ยนพัสดุ CAD/PAD และอุปกรณ์การประกอบเก้าอี้ต่างกัน โดยกองทัพอากาศอ้างอิงตาม T.O. 2 F-AJET-6-1 ของกองทัพอากาศเยอรมนี แต่ทางบริษัท GOOD RICH อ้างถึงข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่สามารถบอกที่มาของข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้
2. ราคาพัสดุที่ต่ำกว่าปกติเป็นราคา REFURBISH (การซ่อมคืนสภาพ) เช่น SEAT BACK ROCKET : SBR เป็นราคาที่ต้องถอดพัสดุหมดอายุจากเก้าอี้แล้ว ส่งกลับไปบริษัทฯ เพื่อทำการซ่อมคืนสภาพ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำให้ เพราะเครื่องบินจะต้องจอดทำการบินปฏิบัติภารกิจไม่ได้เป็นเวลา 10 เดือน ระหว่างซ่อม และบริษัทฯ จะต้องมี SBR ส่วนเกิน มาเพื่อทดสอบจุดดูการทำงานการขับเคลื่อนของจรวดอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าหากทางบริษัทฯ ไม่มีนำมาทดสอบ ก็จะต้องซื้อจากเยอรมนีมาเพิ่มเติม และไม่รู้ว่าจะมีขายหรือไม่ ดังนั้น ราคา SBR ที่ผลิตใหม่สำหรับเครื่องบิน 20 เครื่อง บริษัท GOOD RICH เสนอราคา 24, 100 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นไปตามราคาที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศเคยประมาณการไว้แล้ว
กรมสรรพาวุธทหารอากาศได้มีเหตุผลอีกหลายประการแจ้งให้กรมยุทธการทหารอากาศทราบในฐานะที่เป็นสายรับผิดชอบโดยตรงกับงานนี้ และสรุปว่า
“บนอ. (สพ.ทอ.) พิจารณาแล้ว การประมาณการราคา CAD/PAD ที่บริษัท GOOD RICH เสนอมานั้น อยู่บนพื้นฐานการกำหนดอายุการใช้งานที่ไม่ถูกต้องตาม T.O. 1 F-AJET-6-1 และราคาที่ต่ำลง บางชิ้นเป็นราคาที่ต้องถอดไป REFUBISH ไม่ใช่น้องใหม่ จึงไม่สามารถปฏิบัติได้ในความเป็นจริง”
หนังสือตอบของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (สพ.ทอ.) กับกรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.) ครั้งนี้ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากที่ “ดอนเมือง” เพราะตามปกติแล้วจะไม่มีการใช้ถ้อยคำกันอย่างนี้ ที่ถือว่าแรงและเด็ดขาด ในทำนองว่ากรมยุทธการทหารอากาศจะเชื่อตามบริษัท GOOD RICH ก็เชื่อไป แต่ทางกรมสรรพาวุธทหารอากาศไม่เชื่อและสรุปทิ้งท้ายว่า “จึงไม่สามารถปฏิบัติได้ในความเป็นจริง” ดังกล่าว หากพูดอย่างภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นเรื่องโกหกเชื่อถือไม่ได้
สำหรับราคาที่ว่ามีการเสนอมาให้ต่ำกว่าราคาประเมินการนั้น เป็นการเสนอราคาใหม่ เมื่อรู้ว่าคณะกรรมการชุด พล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ตกลงใจว่าจะซื้อของใหม่ของมาร์ติน เบเกอร์ จึงมีการลดราคาลงมาสู้
บรรดานักบินที่ต้องบินกับเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ต ต่างก็รู้ดีว่า อุปกรณ์การช่วยชีวิตให้รอดเมื่อเกิดปัญหาคับขันต้องสละเครื่องนั้น มีปัญหาอยู่ แต่เป็นหน้าที่และภารกิจต้องทำการบินมาโดยตลอด เมื่อทราบว่ากองทัพอากาศได้ตกลงใจที่จะเปลี่ยนเก้าอี้เป็นของใหม่ทั้งหมด ก็พ้นจากความรู้สึกกดดันในเรื่องนี้ เพราะการบินจะมีความปลอดภัยแก่ชีวิตตัวเองยิ่งขึ้น, แต่เมื่อมีผู้บัญชาการทหารอากาศคนใหม่คือ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายที่มีแต่สมัย พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ คือให้มีการซ่อมแทนการใช้ของใหม่ ความรู้สึกกดดันนั้นก็ดีดกลับไปสู่จุดเดิมอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับมีความสงสัยว่า ผู้บังคับบัญชาคิดอย่างไร ทั้งๆ ที่กองทัพอากาศอังกฤษที่ซื้อเครื่องบินอัลฟ่า เจ็ตมือสองมาจากกองทัพอากาศเยอรมนี 12 เครื่อง และมีปัญหาเรื่องเก้าอี้นักบินหมดอายุการใช้งานเหมือนกัน ไม่ยอมรับและไม่เชื่อถือ “ใบต่ออายุ” ที่ว่าจะใช้ได้อีกจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 เพราะเป็นการต่ออายุโดยกระดาษทางกองทัพอากาศอังกฤษไม่ซ่อมแต่ซื้อของใหม่ ซึ่งมีราคาโดยรวมเท่าๆ กับการซ่อม เหตุใดจึงไม่ทำอย่างกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งกรมข่าวทหารอากาศ (ขว.ทอ.) ได้สอบถามข้อมูล ข้อเท็จจริง และเทคนิคจากทางอังกฤษ ซึ่งได้รับคำตอบมาอย่างชัดเจนทั้งจากกองทัพอากาศอังกฤษ และจากบริษัท QINETIQ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนเก้าอี้ดีด
พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลทักษิณยุคล่มสลาย คิดอย่างไร-จึงไม่เหมือนกับความคิดของ พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ และพล.อ.อ.อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ในข้อเท็จจริงเรื่องการเปลี่ยนจากซื้อมาเป็นซ่อมนั้น ดูเป็นเรื่องที่ดีเพราะอะไรๆ ที่พอจะซ่อมแทนให้ใช้งานได้ ก็ควรที่จะซ่อม เพื่อเป็นการประหยัดเงินงบประมาณของชาติ
แต่การซ่อมที่ว่านี้ เป็นการประหยัดจริงหรือ? ในเมื่อการซื้อของใหม่นั้น ใช้งบประมาณพอๆ กันกับการซ่อม และการซ่อมที่มีนโยบายใหม่ ก็เป็นการซ่อมที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศไทย มีฝีมือเก่งกาจและฉลาดกว่ากองทัพอากาศอังกฤษ ที่ไม่ซ่อมแต่ซื้อของใหม่ให้หมดปัญหาไปในคราวเดียว และที่เก่งกว่านั้นคือเปลี่ยนวิธีการซ่อมคือ จัดหาซื้อพัสดุอะไหล่มาดำเนินการซ่อมเองโดย กรมช่างอากาศ (ชอ.ทอ.) เป็นผู้รับผิดชอบ มีการใช้งบประมาณจัดหาเป็นงวดๆ ไป โดยวงเงินของการจัดหาแต่ละครั้งต้องไม่เกินครั้งละ 100 ล้านบาท เพราะการใช้งบประมาณไม่เกิน 100 ล้านบาทนั้น กองทัพอากาศสามารถใช้เงินงบประมาณในส่วนของตัวเองได้ตามอำนาจ ไม่ต้องขออนุมัติจากใครอีก
ประเด็นเช่นนี้แหละที่ ป.ป.ช.ให้ความสนใจว่า ใช้เงินไปเท่าใดแล้ว และผลเป็นอย่างไรบ้าง?