ศาลอาญาพิพากษาคดีอดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า และพวก ร่วมกันทุจริตการจัดซื้อเรือขุดหัวสว่านเอลลิคอตต์ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท 09.00 น.วันนี้ หลัง พวกจำเลยยืนกรานปฎิเสธและต่อสู้คดีมานาน กว่า 2 ปี
วานนี้(27 ธ.ค.)ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการพิจารณาคดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเรือขุดหัวสว่าน บริษัทเอลลิคอตต์ แมชชิน คอร์ปอเรชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ว่าหลังจากที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 โจทก์ และ นายจงอาชว์ โพธิสุนทร อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า(กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี)กับพวกรวม 7 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าเป็นจำเลยได้นำสืบพยานแต่ละฝ่ายๆ ละ จำนวน 16 ปาก รวมจำนวนพยานทั้งสิ้น32 ปาก ซึ่งศาลสืบพยานจำเลยปากสุดท้ายเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา และศาลอาญาได้นัดคู่ความทั้งสองฝ่ายมาฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ธ.ค. นี้ เวลา 09.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 704
สำหรับคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ม.ค.47 อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายจงอาชว์ โพธิสุนทร อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า อายุ 61 ปี ,ร.ต.สัญชัย กุลปรีชา อดีตรองอธิบดีกรมเจ้าท่าฝ่ายปฏิบัติการ อายุ 55 ปี ,ร.ต.ประเวช รักแผน นักวิชาการขนส่ง 9 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเดินเรือกรมเจ้าท่า อายุ 52 ปี ,นายอิทธิพล กาญจนกิจ นิติกร 8 สำนักงานเลขานุการกรมเจ้าท่า อายุ 62 ปี ,นายดนัย ศรีพิทักษ์ นายช่างขุดลอก ฝ่ายแผนงานบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลกรมเจ้าท่า อายุ 52 ปี ,ร.ต.วิเชฎฐ์ พงษ์ทองเจริญ เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 กรมเจ้าท่า และ นายปัญญา ส่งเจริญ เจ้าพนักงานตรวจเรือ 7 ฝ่ายตรวจเรือสำนักงานเจ้าท่าที่ 2 กรมเจ้าท่า ตกเป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต และร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับรองเอกสารได้กระทำการรับรองเอกสารอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162
โดยคำฟ้องระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย .40 ร.ท.วิทย์ วรคุปต์ อธิบดีกรมเจ้าท่าในขณะนั้น จัดทำสัญญาซื้อเรือขุดแบบหัวสว่าน จำนวน 3 ลำ พร้อมเรือพี่เลี้ยง ราคา 49,400,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,000 พันล้านบาท จากบริษัทเอลลิคอตต์ฯกำหนดส่งมอบงานภายใน 540 วัน นับจากวันทำสัญญาโดยจะครบกำหนดสัญญาวันที่ 24 มี.ค. 42 ซึ่งต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 -7 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างและระหว่างวันที่ 30 ก.ย.41 – 6 ส.ค.42 พวกจำเลยร่วมกันกระทำผิดที่ตรวจรับเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 3 เครื่องพร้อมอ้างว่าเป็นเครื่องจักรหลักและอ้างว่าทำถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิคและเงื่อนไขสัญญาทั้งที่รู้ดีอยู่แล้วว่าเครื่องจักรหลักตามสัญญาหมายถึงเครื่องยนต์ขับปั๊มขุดยี่ห้อแคตเทอร์ฟิลล่าร์รุ่น 3516 เอ ตามที่เคยมีหนังสือทำความเข้าใจมาก่อนแล้วซึ่งมีราคาสูงกว่าเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าว
นอกจากนี้พวกจำเลยยังร่วมกันรับรองบันทึกรายงานผลการตรวจรับงาน ลงวันที่ 30 ก.ย.41 เสนอให้จำเลยที่ 1 อนุมัติให้จ่ายเงินค่าจ้างจำนวน 6,679,817.85 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลให้กรมเจ้าท่าได้รับความเสียหาย และเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2544 พวกจำเลยยังร่วมกับบริษัทเอลลิคอตต์ฯ แก้ไขสัญญาเงื่อนไขและการชำระเงินจากเดิมให้ชำระร้อยละ 20 หรือ 9,800,000 เหรียญสหรัฐในงวดเดียวแก้ไขเป็นขอแบ่งชำระเงินออกเป็น 3 งวดคือชำระร้อยละ 9 เมื่อส่งมอบท่อทุ่นชำระร้อยละ 6 เมื่อปล่อยเรือพี่เลี้ยงลงน้ำ และชำระอีกร้อยละ 5 เมื่อส่งเรือขุดมายังประเทศไทยซึ่งการขอแก้ไขสัญญาดังกล่าวไม่ใช่กรณีจำเป็นแต่ทำให้ราชการเสียประโยชน์โดยมีบริษัทผู้ขายได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวซึ่งการกระทำของพวกจำเลย ทำให้กรมเจ้าท่าต้องชำระเงินจำนวนร้อยละ 85 ของ 49,400,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยจำนวน 2,000 ล้านบาทให้ บ.เอลลิคอตต์ ไปก่อนโดยที่ยังไม่สามารถนำเรือขุดมาใช้งานได้
สำหรับพยานโจทก์ที่นำสืบทั้ง 16 ปากประกอบด้วย นายถวัลย์ รัฐอ่อนศิระ อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำและพานิชย์นาวี ,นายเฟื่อง พานิชกิจ,นายวิชิต รักพานิช,น.ท.ไพบูลย์ พูนสุข ,ร.อ.อนันต์ ศรีมกุฎพันธ์,นางวิรูญ เพิ่มทรัพย์, ร.อ.เกษม พรหมประเสริฐ ,น.ส.วิลาวรรณ ศิริงามเพ็ญ, ร.ต.อ.ขจร เทศมาสา ,นายณัฐ จับใจ ,นายวิเชษฐ์ โรจน์ธรรมกุล ,นายธีรพงศ์ วรางกูร ,นายชาญชัย ชื่นเชย ,นายจาตุรงค์ ปัญญาดิลก เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,นายพิเชษฐ พุ่มพันธ์ เจ้าหน้าที่จาก ป.ป.ช. และนายวิวัฒน์ เจริญฉ่ำ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. เสร็จสิ้นแล้ว
ส่วนพยานจำเลย จำนวน 16 ปากนั้น จำเลยทั้งเจ็ดขึ้นเบิกความด้วยตัวเองพร้อมนำสืบพยานแวดล้อมอื่นอีก 9 ปาก ประกอบด้วย นายวีระยุทธ สินศิริตระกูล,น.ส เทียมจิต อมาตยกุล กรมการขนส่งทางน้ำฯ , น.ส.นวพร วิทยานันท์ ผู้ตรวจฯ กรมการขนส่งทางน้ำฯ ,น.ส.สุมณฑา ทองแพทย์ อดีตรองอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำฯ,นายภุชงค์ ฉัตรจินดา สำนักปลัดกระทรวงคมนาคม,นายบรรเจิด อภิเวช ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายกระทรวงคมนาคม ,นายสุรชาติ เฉลิมนาม นิติกรกรมการขนส่งทางน้ำฯ,นายสุรพล มีเสถียรและนายธีรวุฒิ ทวิชศรี วิศวกรกรมการขนส่งทางน้ำฯ
อย่างไรก็ดีในการต่อสู้คดีจำเลยทั้งเจ็ดยืนกรานปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาโดยชั้นพิจารณาคดีจำเลยทั้งหมดยื่นหลักทรัพย์คนละ 500,000 บาท ขอประกันตัวระหว่างการพิจารณา โดยคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 43 ซึ่ง ป.ป.ช.ได้พิจารณาคำร้องการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเรือขุดเอลลิคอตต์แล้วพบความผิด จึงส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 พิจารณา เมื่อวันที่ 7 ส.ค.45 ซึ่งพนักงานอัยการใช้เวลาพิจารณาสำนวน 1 ปี 6 เดือน ก่อนจะมีความเห็นสั่งฟ้อง และศาลนัดพิพากษาคดีในวันนี้
วานนี้(27 ธ.ค.)ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการพิจารณาคดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเรือขุดหัวสว่าน บริษัทเอลลิคอตต์ แมชชิน คอร์ปอเรชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ว่าหลังจากที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 โจทก์ และ นายจงอาชว์ โพธิสุนทร อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า(กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี)กับพวกรวม 7 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าเป็นจำเลยได้นำสืบพยานแต่ละฝ่ายๆ ละ จำนวน 16 ปาก รวมจำนวนพยานทั้งสิ้น32 ปาก ซึ่งศาลสืบพยานจำเลยปากสุดท้ายเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา และศาลอาญาได้นัดคู่ความทั้งสองฝ่ายมาฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ธ.ค. นี้ เวลา 09.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 704
สำหรับคดีนี้เมื่อวันที่ 12 ม.ค.47 อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายจงอาชว์ โพธิสุนทร อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า อายุ 61 ปี ,ร.ต.สัญชัย กุลปรีชา อดีตรองอธิบดีกรมเจ้าท่าฝ่ายปฏิบัติการ อายุ 55 ปี ,ร.ต.ประเวช รักแผน นักวิชาการขนส่ง 9 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเดินเรือกรมเจ้าท่า อายุ 52 ปี ,นายอิทธิพล กาญจนกิจ นิติกร 8 สำนักงานเลขานุการกรมเจ้าท่า อายุ 62 ปี ,นายดนัย ศรีพิทักษ์ นายช่างขุดลอก ฝ่ายแผนงานบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลกรมเจ้าท่า อายุ 52 ปี ,ร.ต.วิเชฎฐ์ พงษ์ทองเจริญ เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 กรมเจ้าท่า และ นายปัญญา ส่งเจริญ เจ้าพนักงานตรวจเรือ 7 ฝ่ายตรวจเรือสำนักงานเจ้าท่าที่ 2 กรมเจ้าท่า ตกเป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต และร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับรองเอกสารได้กระทำการรับรองเอกสารอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162
โดยคำฟ้องระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย .40 ร.ท.วิทย์ วรคุปต์ อธิบดีกรมเจ้าท่าในขณะนั้น จัดทำสัญญาซื้อเรือขุดแบบหัวสว่าน จำนวน 3 ลำ พร้อมเรือพี่เลี้ยง ราคา 49,400,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,000 พันล้านบาท จากบริษัทเอลลิคอตต์ฯกำหนดส่งมอบงานภายใน 540 วัน นับจากวันทำสัญญาโดยจะครบกำหนดสัญญาวันที่ 24 มี.ค. 42 ซึ่งต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 -7 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างและระหว่างวันที่ 30 ก.ย.41 – 6 ส.ค.42 พวกจำเลยร่วมกันกระทำผิดที่ตรวจรับเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 3 เครื่องพร้อมอ้างว่าเป็นเครื่องจักรหลักและอ้างว่าทำถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิคและเงื่อนไขสัญญาทั้งที่รู้ดีอยู่แล้วว่าเครื่องจักรหลักตามสัญญาหมายถึงเครื่องยนต์ขับปั๊มขุดยี่ห้อแคตเทอร์ฟิลล่าร์รุ่น 3516 เอ ตามที่เคยมีหนังสือทำความเข้าใจมาก่อนแล้วซึ่งมีราคาสูงกว่าเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าว
นอกจากนี้พวกจำเลยยังร่วมกันรับรองบันทึกรายงานผลการตรวจรับงาน ลงวันที่ 30 ก.ย.41 เสนอให้จำเลยที่ 1 อนุมัติให้จ่ายเงินค่าจ้างจำนวน 6,679,817.85 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลให้กรมเจ้าท่าได้รับความเสียหาย และเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2544 พวกจำเลยยังร่วมกับบริษัทเอลลิคอตต์ฯ แก้ไขสัญญาเงื่อนไขและการชำระเงินจากเดิมให้ชำระร้อยละ 20 หรือ 9,800,000 เหรียญสหรัฐในงวดเดียวแก้ไขเป็นขอแบ่งชำระเงินออกเป็น 3 งวดคือชำระร้อยละ 9 เมื่อส่งมอบท่อทุ่นชำระร้อยละ 6 เมื่อปล่อยเรือพี่เลี้ยงลงน้ำ และชำระอีกร้อยละ 5 เมื่อส่งเรือขุดมายังประเทศไทยซึ่งการขอแก้ไขสัญญาดังกล่าวไม่ใช่กรณีจำเป็นแต่ทำให้ราชการเสียประโยชน์โดยมีบริษัทผู้ขายได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวซึ่งการกระทำของพวกจำเลย ทำให้กรมเจ้าท่าต้องชำระเงินจำนวนร้อยละ 85 ของ 49,400,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยจำนวน 2,000 ล้านบาทให้ บ.เอลลิคอตต์ ไปก่อนโดยที่ยังไม่สามารถนำเรือขุดมาใช้งานได้
สำหรับพยานโจทก์ที่นำสืบทั้ง 16 ปากประกอบด้วย นายถวัลย์ รัฐอ่อนศิระ อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำและพานิชย์นาวี ,นายเฟื่อง พานิชกิจ,นายวิชิต รักพานิช,น.ท.ไพบูลย์ พูนสุข ,ร.อ.อนันต์ ศรีมกุฎพันธ์,นางวิรูญ เพิ่มทรัพย์, ร.อ.เกษม พรหมประเสริฐ ,น.ส.วิลาวรรณ ศิริงามเพ็ญ, ร.ต.อ.ขจร เทศมาสา ,นายณัฐ จับใจ ,นายวิเชษฐ์ โรจน์ธรรมกุล ,นายธีรพงศ์ วรางกูร ,นายชาญชัย ชื่นเชย ,นายจาตุรงค์ ปัญญาดิลก เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,นายพิเชษฐ พุ่มพันธ์ เจ้าหน้าที่จาก ป.ป.ช. และนายวิวัฒน์ เจริญฉ่ำ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. เสร็จสิ้นแล้ว
ส่วนพยานจำเลย จำนวน 16 ปากนั้น จำเลยทั้งเจ็ดขึ้นเบิกความด้วยตัวเองพร้อมนำสืบพยานแวดล้อมอื่นอีก 9 ปาก ประกอบด้วย นายวีระยุทธ สินศิริตระกูล,น.ส เทียมจิต อมาตยกุล กรมการขนส่งทางน้ำฯ , น.ส.นวพร วิทยานันท์ ผู้ตรวจฯ กรมการขนส่งทางน้ำฯ ,น.ส.สุมณฑา ทองแพทย์ อดีตรองอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำฯ,นายภุชงค์ ฉัตรจินดา สำนักปลัดกระทรวงคมนาคม,นายบรรเจิด อภิเวช ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายกระทรวงคมนาคม ,นายสุรชาติ เฉลิมนาม นิติกรกรมการขนส่งทางน้ำฯ,นายสุรพล มีเสถียรและนายธีรวุฒิ ทวิชศรี วิศวกรกรมการขนส่งทางน้ำฯ
อย่างไรก็ดีในการต่อสู้คดีจำเลยทั้งเจ็ดยืนกรานปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาโดยชั้นพิจารณาคดีจำเลยทั้งหมดยื่นหลักทรัพย์คนละ 500,000 บาท ขอประกันตัวระหว่างการพิจารณา โดยคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 43 ซึ่ง ป.ป.ช.ได้พิจารณาคำร้องการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเรือขุดเอลลิคอตต์แล้วพบความผิด จึงส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 พิจารณา เมื่อวันที่ 7 ส.ค.45 ซึ่งพนักงานอัยการใช้เวลาพิจารณาสำนวน 1 ปี 6 เดือน ก่อนจะมีความเห็นสั่งฟ้อง และศาลนัดพิพากษาคดีในวันนี้