มาม่าโหนกระแสสุขภาพปีหมู เล็งส่งซีรี่ส์สุขภาพ 2 รสชาติใหม่ เติมสารมีคุณค่าทางโภชนาการ ระเบิดตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1หมื่นล้านบาท วางราคา 5 บาทล่อใจกลุ่มกำลังซื้อน้อยแต่รักสุขภาพ หวังปีหน้ารั้งบัลลังก์ผู้นำตลาดครองแชร์ 52-53%
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธาน บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า เปิดเผยกับ”ผู้จัดการรายวัน”ว่า ในปีหน้านี้บริษัทได้เตรียมเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2 รสชาติใหม่ โดยเป็นซีรี่ส์ อิงกระแสสุขภาพ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเส้นโฮลวีต และเส้นชาเขียว เป็นต้น สำหรับสินค้าใหม่จะเติมสารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อาทิ แคลเซียม เป็นต้น โดยขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะวางราคาสินค้าเท่าใด คือ รูปแบบซองราคา 5 บาท และในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ถ้วยราคา 12บาท
การปรับตัวของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า โดยหันมาจับตลาดรสชาติที่อิงกระแสสุขภาพ ก็เพื่อรองรับกับกระแสสุขภาพที่มาแรงในปีหน้านี้ เนื่องจากการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผู้บริโภคจะคำนึงถึงด้านสุขภาพหรือมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก อย่างไรก็ตามสำหรับรสชาติที่อิงกระแสสุขภาพ บริษัทจะไม่เปิดตัวมากนัก เพราะการทำตลาดค่อนข้างยาก เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่มีภาพลักษณ์อาหารในเรื่องของสุขภาพ ดังนั้นการเติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึงสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคได้ยาก
สำหรับการตัดสินซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ระหว่างปัจจัยด้านราคากับสุขภาพ ผู้บริโภคจะคำนึงถึงราคาเป็นปัจจัยแรกในการตัดสินใจซื้อ รองมาคือ ด้านรสชาติ ความสะดวกสบาย ส่วนในเรื่องของสุขภาพมีน้อยมาก ดังนั้นสำหรับการวางราคาสินค้าอิงสุขภาพรสชาติใหม่ มีความเป็นไปได้ที่จะมีราคา 5 บาทมากกว่า 12 บาท
นายพิพัฒ กล่าวว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพในตลาดต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง ไต้หวัน ได้รับความนิยมอย่างมาก ในฐานะที่มาม่าเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 52-53% จึงต้องพัฒนาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะมีความรุนแรง ขณะเดียวกันมาม่ายังได้ในแง่ของภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น จากที่ผ่านมาผู้บริโภคจะมองว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ โดยหลังจากเปิดตัวซี่รี่ส์สุขภาพชาเขียวและโฮลวีตทั้งสองรสชาติได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีส่วนแบ่ง 4-5%
นอกจากนี้ปีหน้าบริษัทยังเน้นการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบรรจุภัณฑ์ถ้วยในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ เป็นตัวเลขสองหลักจากมูลค่า 1,500 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15% ของตลาดรวม 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นสินค้าที่ตอบสนองในเรื่องของความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันบริษัทยังเตรียมผลักดันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดชามเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 10,000 ล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10% เมื่อเทียบกับปีนี้มีอัตราการเติบโต 7% ทั้งนี้ปัจจัยที่คาดว่าปีหน้าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังการซื้อปีหน้าไม่ดีมากนัก โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัดกำลังการซื้อจะซบเซา เพราะผลพวงจากภาวะน้ำท่วม พืชผลทางการเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก
“เชื่อว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคโดยเฉลี่ยมีเพียง 40 ซองต่อคนต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น เกาหลี อัตราการบริโภคมีมากกว่า”
สำหรับผลประกอบการบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปทั้งในและต่างประเทศโดยรวมปีนี้ ตั้งเป้ามีรายได้ 6,000 ล้านบาท และปีหน้าตั้งเป้ามีรายได้ 7,000ล้านบาท ทั้งนี้สาเหตุที่ปีหน้านี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท มาจากการเพิ่มทุนบริษัทไดอิจิ แพกเกจจิ้งจาก 49% เป็นกว่า 50% และเพิ่มทุนบริษัทไทยซันจาก 49% เป็น 52% หรือจาก 20 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธาน บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า เปิดเผยกับ”ผู้จัดการรายวัน”ว่า ในปีหน้านี้บริษัทได้เตรียมเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2 รสชาติใหม่ โดยเป็นซีรี่ส์ อิงกระแสสุขภาพ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทได้เปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเส้นโฮลวีต และเส้นชาเขียว เป็นต้น สำหรับสินค้าใหม่จะเติมสารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อาทิ แคลเซียม เป็นต้น โดยขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะวางราคาสินค้าเท่าใด คือ รูปแบบซองราคา 5 บาท และในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ถ้วยราคา 12บาท
การปรับตัวของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า โดยหันมาจับตลาดรสชาติที่อิงกระแสสุขภาพ ก็เพื่อรองรับกับกระแสสุขภาพที่มาแรงในปีหน้านี้ เนื่องจากการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผู้บริโภคจะคำนึงถึงด้านสุขภาพหรือมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก อย่างไรก็ตามสำหรับรสชาติที่อิงกระแสสุขภาพ บริษัทจะไม่เปิดตัวมากนัก เพราะการทำตลาดค่อนข้างยาก เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่มีภาพลักษณ์อาหารในเรื่องของสุขภาพ ดังนั้นการเติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึงสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคได้ยาก
สำหรับการตัดสินซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ระหว่างปัจจัยด้านราคากับสุขภาพ ผู้บริโภคจะคำนึงถึงราคาเป็นปัจจัยแรกในการตัดสินใจซื้อ รองมาคือ ด้านรสชาติ ความสะดวกสบาย ส่วนในเรื่องของสุขภาพมีน้อยมาก ดังนั้นสำหรับการวางราคาสินค้าอิงสุขภาพรสชาติใหม่ มีความเป็นไปได้ที่จะมีราคา 5 บาทมากกว่า 12 บาท
นายพิพัฒ กล่าวว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพในตลาดต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง ไต้หวัน ได้รับความนิยมอย่างมาก ในฐานะที่มาม่าเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 52-53% จึงต้องพัฒนาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะมีความรุนแรง ขณะเดียวกันมาม่ายังได้ในแง่ของภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น จากที่ผ่านมาผู้บริโภคจะมองว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ โดยหลังจากเปิดตัวซี่รี่ส์สุขภาพชาเขียวและโฮลวีตทั้งสองรสชาติได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีส่วนแบ่ง 4-5%
นอกจากนี้ปีหน้าบริษัทยังเน้นการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบรรจุภัณฑ์ถ้วยในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ เป็นตัวเลขสองหลักจากมูลค่า 1,500 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15% ของตลาดรวม 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นสินค้าที่ตอบสนองในเรื่องของความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันบริษัทยังเตรียมผลักดันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดชามเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 10,000 ล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10% เมื่อเทียบกับปีนี้มีอัตราการเติบโต 7% ทั้งนี้ปัจจัยที่คาดว่าปีหน้าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังการซื้อปีหน้าไม่ดีมากนัก โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัดกำลังการซื้อจะซบเซา เพราะผลพวงจากภาวะน้ำท่วม พืชผลทางการเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก
“เชื่อว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคโดยเฉลี่ยมีเพียง 40 ซองต่อคนต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น เกาหลี อัตราการบริโภคมีมากกว่า”
สำหรับผลประกอบการบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปทั้งในและต่างประเทศโดยรวมปีนี้ ตั้งเป้ามีรายได้ 6,000 ล้านบาท และปีหน้าตั้งเป้ามีรายได้ 7,000ล้านบาท ทั้งนี้สาเหตุที่ปีหน้านี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท มาจากการเพิ่มทุนบริษัทไดอิจิ แพกเกจจิ้งจาก 49% เป็นกว่า 50% และเพิ่มทุนบริษัทไทยซันจาก 49% เป็น 52% หรือจาก 20 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท