สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ซึ่งเชื่อมแขวงสะหวันนะเขตของลาวกับจังหวัดมุกดาหารของไทย ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 และจะเปิดใช้สะพานในเดือนมกราคม 2550 สะพานแห่งใหม่นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไป-มาของประชาชนและการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับลาว ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวมากยิ่งขึ้น ถือว่าสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ช่วยสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West Economic Corridor) ระหว่างลาว ไทย และเวียดนาม ผ่านเส้นทางถนนหมายเลข 9 ซึ่งขณะนี้กำลังขยายเครือข่ายของเส้นทางระหว่างประเทศสายนี้ไปถึงพม่าด้วย จึงช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ 4 ประเทศ ตั้งแต่เมืองดานังของเวียดนาม-แขวงสะหวันนะเขตของลาว-จังหวัดมุกดาหารและอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของไทย-เมืองเมียงสอและเมืองมะละแม่งของพม่า นับเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอินโดจีน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลาวให้เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นการค้าชายแดนไทย-ลาว ทางจังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขตด้วย
ลาวเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา เวียดนาม พม่า และไทย โดยพรมแดนของลาวที่ติดต่อกับไทยคิดเป็นระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 รองจากพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับเวียดนาม ทำให้การค้าทางชายแดนมีบทบาทสำคัญกับลาวทั้งด้านการส่งออกสินค้าและการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับลาวเป็นประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล ทำให้ต้องส่งออก/นำเข้าสินค้าผ่านประเทศเพื่อนบ้านไปยังประเทศที่สาม ซึ่งมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 30% ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่ารวม (ส่งออก+นำเข้า) 38,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.8% จากมูลค่า 28,805 ล้านบาท ในปี 2547 และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่าการค้าชายแดนรวมระหว่างไทย-ลาว เพิ่มขึ้นราว 30% จาก 24,520 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2548 เป็น 32,083 ล้านบาท
โดยการส่งออกทางชายแดนของไทยไปลาวขยายตัวราว 21% เป็นมูลค่า 25,264.8 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับมูลค่าส่งออก 20,862.8 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปี 2548 ทั้งนี้ การส่งออกชายแดนของไทยไปลาวในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 35% ต่อปี ระหว่างปี 2547-2548 เนื่องจากสินค้าส่งออกของจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่าเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย
ส่วนการนำเข้าทางชายแดนของไทยจากลาวในช่วงเดียวกันขยายตัว 86% จากมูลค่านำเข้า 3,658 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2548 เป็น 6,818 ล้านบาท นับว่าการนำเข้าสินค้าชายแดนจากลาวขยายตัวในอัตราสูงเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มเฉลี่ย 13% ต่อปีระหว่างปี 2547-2548
สำหรับการค้าชายแดนไทย-ลาวทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีมูลค่ารวม 7,630 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไทยส่งออกไปลาวทางชายแดนนี้มูลค่า 5,356 ล้านบาท และนำเข้าเป็นมูลค่า 2,275 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าชายแดนลาวเฉพาะที่จุดผ่านแดนนี้เป็นมูลค่าราว 3,080 ล้านบาท สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปลาวมากที่สุดทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต คิดเป็นสัดส่วน 23% ของการส่งออกผ่านทางด่านชายแดนนี้ทั้งหมดของไทยไปลาว
ทั้งนี้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ระหว่างไทยกับลาว คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่สนับสนุนโครงการก่อสร้างถนนและสะพานเชื่อมประเทศสมาชิก ACMECS 5 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) รวมทั้งเพิ่มเส้นทางระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับประเทศใกล้เคียง เช่น จีนและอินเดีย ด้วย นอกจากนี้ โครงการ ACMECS ยังส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เข้าไปร่วมผลิตสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้านและรับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเหล่านี้ หรือเรียกว่า การจัดทำสัญญาเกษตรพันธะ (contract farming) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การค้าชายแดนของประเทศสมาชิกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จะอำนวยความสะดวกของการเดินทางท่องเที่ยวไป-มาระหว่างไทยกับลาวให้ขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในลาว จะช่วยเพิ่มความต้องการสินค้านำเข้าจากไทยทางชายแดนด้วย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค แขวงสำคัญของลาวที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ แขวงเวียงจันทน์ และแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ระหว่างไทย-ลาว จะช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนไทย-ลาวให้เฟื่องฟูขึ้น และยังสนับสนุนเป้าหมายของยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ที่ส่งเสริมการขยายตัวของการค้าชายแดนของประเทศสมาชิก โดยการลดภาษีศุลกากรสินค้าเกษตร การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวไป-มาระหว่างไทยกับลาวด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาว ที่ภาคเอกชนควรระวังและภาครัฐควรช่วยสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การค้านอกระบบตามแนวชายแดน สินค้าส่งออกของไทยเสียเปรียบสินค้าจากคู่แข่งในลาวที่มีราคาต่ำกว่า เส้นทางคมนาคมในลาวยังไม่สะดวกและ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบทางการค้าของลาวบ่อยครั้ง ทำให้นักธุรกิจและผู้ส่งออกไทยต้องปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและการค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ไทยควรระวังปัญหาคนลาวที่หลบหนีเข้ามาไทยทางชายแดนอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งงานคนไทย และปัญหาทางสังคมตามมา
ลาวเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา เวียดนาม พม่า และไทย โดยพรมแดนของลาวที่ติดต่อกับไทยคิดเป็นระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 รองจากพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับเวียดนาม ทำให้การค้าทางชายแดนมีบทบาทสำคัญกับลาวทั้งด้านการส่งออกสินค้าและการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับลาวเป็นประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล ทำให้ต้องส่งออก/นำเข้าสินค้าผ่านประเทศเพื่อนบ้านไปยังประเทศที่สาม ซึ่งมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 30% ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่ารวม (ส่งออก+นำเข้า) 38,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.8% จากมูลค่า 28,805 ล้านบาท ในปี 2547 และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่าการค้าชายแดนรวมระหว่างไทย-ลาว เพิ่มขึ้นราว 30% จาก 24,520 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2548 เป็น 32,083 ล้านบาท
โดยการส่งออกทางชายแดนของไทยไปลาวขยายตัวราว 21% เป็นมูลค่า 25,264.8 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับมูลค่าส่งออก 20,862.8 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปี 2548 ทั้งนี้ การส่งออกชายแดนของไทยไปลาวในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 35% ต่อปี ระหว่างปี 2547-2548 เนื่องจากสินค้าส่งออกของจีนและเวียดนามที่ราคาถูกกว่าเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย
ส่วนการนำเข้าทางชายแดนของไทยจากลาวในช่วงเดียวกันขยายตัว 86% จากมูลค่านำเข้า 3,658 ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2548 เป็น 6,818 ล้านบาท นับว่าการนำเข้าสินค้าชายแดนจากลาวขยายตัวในอัตราสูงเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มเฉลี่ย 13% ต่อปีระหว่างปี 2547-2548
สำหรับการค้าชายแดนไทย-ลาวทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีมูลค่ารวม 7,630 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไทยส่งออกไปลาวทางชายแดนนี้มูลค่า 5,356 ล้านบาท และนำเข้าเป็นมูลค่า 2,275 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าชายแดนลาวเฉพาะที่จุดผ่านแดนนี้เป็นมูลค่าราว 3,080 ล้านบาท สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปลาวมากที่สุดทางด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต คิดเป็นสัดส่วน 23% ของการส่งออกผ่านทางด่านชายแดนนี้ทั้งหมดของไทยไปลาว
ทั้งนี้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ระหว่างไทยกับลาว คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่สนับสนุนโครงการก่อสร้างถนนและสะพานเชื่อมประเทศสมาชิก ACMECS 5 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) รวมทั้งเพิ่มเส้นทางระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับประเทศใกล้เคียง เช่น จีนและอินเดีย ด้วย นอกจากนี้ โครงการ ACMECS ยังส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เข้าไปร่วมผลิตสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้านและรับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเหล่านี้ หรือเรียกว่า การจัดทำสัญญาเกษตรพันธะ (contract farming) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การค้าชายแดนของประเทศสมาชิกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จะอำนวยความสะดวกของการเดินทางท่องเที่ยวไป-มาระหว่างไทยกับลาวให้ขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในลาว จะช่วยเพิ่มความต้องการสินค้านำเข้าจากไทยทางชายแดนด้วย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค แขวงสำคัญของลาวที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ แขวงเวียงจันทน์ และแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ระหว่างไทย-ลาว จะช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนไทย-ลาวให้เฟื่องฟูขึ้น และยังสนับสนุนเป้าหมายของยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ที่ส่งเสริมการขยายตัวของการค้าชายแดนของประเทศสมาชิก โดยการลดภาษีศุลกากรสินค้าเกษตร การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวไป-มาระหว่างไทยกับลาวด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาว ที่ภาคเอกชนควรระวังและภาครัฐควรช่วยสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การค้านอกระบบตามแนวชายแดน สินค้าส่งออกของไทยเสียเปรียบสินค้าจากคู่แข่งในลาวที่มีราคาต่ำกว่า เส้นทางคมนาคมในลาวยังไม่สะดวกและ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบทางการค้าของลาวบ่อยครั้ง ทำให้นักธุรกิจและผู้ส่งออกไทยต้องปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและการค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ไทยควรระวังปัญหาคนลาวที่หลบหนีเข้ามาไทยทางชายแดนอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งงานคนไทย และปัญหาทางสังคมตามมา