"หม่อมอุ๋ย"กอดเก้าอี้แน่น ลั่นยังทำประโยชน์ให้ชาติได้ พร้อมหยันแนวคิดนักวิชาการเสนอลดดอกเบี้ย หยอด"ธาริษา"เด็ดเดี่ยว ส่วน ผู้ว่าฯธปท.โต้มาตรการ 30% ไม่ใช่การกลบเกลื่อนการแทรกแซงเงินบาทจนขาดทุน เผยใช้เงินเล่นบาทแค่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับทุนสำรอง 6.4 หมื่นล้าน ด้านสมาคม บลจ.ร่อนหนังสือขอความชัดเจนและยกเว้นมาตรการสำรอง 30 %
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่มีแนวคิดจะออกมาตรการเพิ่มเติมหรือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยตามที่เอกชนเรียกร้องโดยเฉพาะนักวิชาการก็แค่นักวิชาการ ตนมองว่าการลดดอกเบี้ยลง 0.25 หรือ 0.50 เปอร์เซ็นต์ คงไม่สามารถช่วยอะไรได้ เพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 10 %
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังระบุว่า ไม่มีความคิดจะลาออกจากตำแหน่ง แม้จะมีแรงกดดันจากหลายฝ่ายที่เห็นว่าควรจะมีผู้ออกมาแสดงความรับผิดชอบผลกระทบของมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทที่ทำให้ตลาดหุ้นร่วงอย่างหนัก โดยเชื่อว่าการอยู่ในตำแหน่งต่อไปจะสามารถทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติได้พร้อมกับระบุว่า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ที่มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว สามารถเผชิญต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายได้
"ขณะที่ผมส่องกระจกดู ผมก็ยังเห็นว่าจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นางธาริษา เปิดเผยวานนี้ว่า หลังจากที่ ธปท.ออกมาตรการกันสำรองธุรกรรมที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท 30% และมีการผ่อนคลายมาตรการให้กับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในหุ้นและเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ในภายหลังนั้น ขณะนี้เท่าที่ธปท.ตรวจสอบ พบว่า นักลงทุนต่างชาติยังไม่มีการขนเงินออกนอกประเทศมากนัก โดยมีนักลงทุนต่างชาติบางส่วนรอการลงทุนในไทยต่อไป ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นปีก็น่าจะเห็นการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น
"หลังจากที่แบงก์ชาติออกมาตรการและมีการผ่อนผันมากขึ้น พบว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมีการแลกเงินบาทเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลับไปยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของนักลงทุนเห่ขายหุ้นในช่วงวันแรกที่ตลาดรับรู้มาตรการของ ธปท.ไป จึงเชื่อว่ายังมีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติบางส่วนยังคงหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอยู่ ฉะนั้น ความกังวลที่คาดว่านักลงทุนต่างชาติจะเอาเงินออกนอกประเทศไม่น่าเป็นปัญหา"
อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการดังกล่าว ธปท.ได้ประเมินแล้วว่านักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในไทยจะได้รับผลตอบแทนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นประมาณ 15% และหากเข้าไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก็จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก 5% ส่วนหากเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นก็จะได้กำไรจากการที่ราคาหุ้นขยับขึ้นอีก ดังนั้นเทียบกับต้นทุนค่าเสียโอกาสในการกันสำรองเงินตราต่างประเทศที่เข้ามาแลกเป็นเงินบาท 30% ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่แท้จริงประมาณ 1.5% เท่านั้น
**โต้ไม่กลบเกลื่อนเล่นบาทขาดทุน
สำหรับประเด็นที่ว่าธปท.ออกมาตรการนี้เพื่อกลบเกลื่อนภาระการขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่แข็งค่ามากขึ้นนั้น นางธาริษา กล่าวว่า การออกมาตรการดังกล่าว เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกปรับตัว ไม่ได้กลบเกลื่อนภาระการขาดทุนแต่อย่างใด โดยการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนมากเกินไปนั้นยังมีน้อยเมื่อเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ไทยมีอยู่ ขณะเดียวกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยก็มีการกระจายความเสี่ยงจากถือครองค่าเงินอื่นๆ นอกเหนือจากค่าเงินสกุลดอลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว เพราะเห็นว่าแนวโน้มความเสี่ยงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีอยู่ในอนาคต
“หากเกิดการขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินบาทจริง ธปท.ก็พร้อมที่จะอธิบายต้นทุนที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นแค่ไหนถึงต้องเข้าไปรองรับภาระขาดทุนดังกล่าว ขณะเดียวกันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการแบงก์ชาติเข้าไปรับภาระค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างมาก ซึ่งทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนต้องช่วยกัน โดยธุรกิจใดที่ภาคเอกชนไม่สามารถเข้าไปแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะความผันผวนอย่างมากจากค่าเงินบาทจนกระทบมายังการจ้างงานและภาคส่งออก แบงก์ชาติจะเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งธปท.ก็ไม่ได้กำหนดค่าเงินบาทว่าควรอยู่ที่ระดับเท่าใดเป็นเป้าหมายในการเข้าไปแทรกแซง แต่จะดูการความผันผวนของค่าเงินเป็นหลัก”
ด้านนายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท.กล่าวว่า ธปท.อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสำหรับตลาดหุ้น (Special Non-resident Baht Accout for Equity Securities) หรือ SNS เพิ่มอีกหนึ่งบัญชี นอกเหนือจากบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident Baht Account) หรือ NRBA ให้แก่นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยโดยเริ่มใช้หลังจากวันที่ 8 ม.ค.50 อย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) และคัสโตเดียนเตรียมความพร้อมก่อน
ทั้งนี้ ธปท.อนุญาตให้นักลงทุนรายหนึ่งจะมีบัญชี SNS ที่มียอดคงค้างไม่เกิน 300 ล้านบาทของแต่ละวันได้ 1 บัญชี ซึ่งนอกเหนือจากที่อนุญาตให้บัญชี NRBA ซึ่งรวมธุรกรรมต่างๆ รวมถึงตราสารหนี้มียอดคงค้าง ณ สิ้นวันได้ 300 ล้านบาท ดังนั้น หากนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในไทยทั้งในตลาดหุ้นและการลงทุนอื่นๆ สามารถมียอดคงค้าง ณ สิ้นวันรวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท
“การทำบัญชี SNS เพิ่มขึ้น เพื่อธุรกรรมที่เกี่ยวกับตลาดหุ้นโดยเฉพาะ สาเหตุหลักๆ เราเชื่อว่านักลงทุนจะไม่พักเงินอยู่เฉยๆ เพราะการลงทุนในตลาดหุ้น ราคาหุ้นจะขยับขึ้นๆ ลงๆ นักลงทุนเข้าไปซื้อขายตลอด ทำให้ความกังวลที่เรากลัวว่าเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนักลงทุนจะเข้ามาซื้อขายดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเก็งกำไรไม่น่าจะมี ซึ่งต่างกับบัญชี NRBA ถือเป็นการลงทุนในตราสารหนี้หรือการลงทุนอื่นๆ ที่เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็สามารถโยกเงินมาลงทุนในตลาดอื่นที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าได้”
อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้ยกเว้นการกันสำรอง 30% ให้แก่ธุรกรรมของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่มีการซื้อขายถือหน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ(FIF) เนื่องจาก ธุรกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนมือได้ในการถือหน่วยลงทุนได้ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในลักษณะตราสารหนี้อย่างหนึ่ง จึงไม่ได้รับการยกเว้นมาตรการผ่อนผันจาก ธปท.
สำหรับยอดเงินคงค้างโดยรวมทั้งระบบที่อยู่ในบัญชี NRBA ล่าสุด ณ วันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา มียอดคงค้างทั้งสิ้นจำนวน 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกับจำนวนเงินที่นักลงทุนได้รับเงินชำระหลังจากมีการซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนออกมาตรการในช่วงเดือนตุลาคม 46 ที่กำหนดให้บัญชี NRBA ต้องมียอดคงค้างในแต่ละวันไม่เกิน 300 ล้านบาทของนักลงทุนแต่ละราย มียอดคงค้างในบัญชี NRBA อยู่ในระบบทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมียอดคงค้างทั้ง 2 บัญชีในจำนวน 600 ล้านบาท ถือว่าเพียงพอกับธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตต่อไปของนักลงทุน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท.กล่าวว่า ยอมรับว่าเงินที่เข้ามาลงทุนในไทยยังคงมีสัดส่วนน้อยกว่าช่วงที่มีการเทขายหุ้นในช่วง 1-2 วันที่ผ่าน ถือว่ายังมีเงินทุนจากต่างชาติพักอยู่ในไทยจำนวนมาก ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในขณะนี้ก็เริ่มนิ่งแล้ว และมีความผันผวนน้อยลง ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะเริ่มมีความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเงินดอลลาร์สหรัฐ
**สมาคม บลจ.จี้ขอความชัดเจน 30%
นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า สมาคม บลจ. เตรียมทำหนังสือขอความชัดเจนเกี่ยวกับเงินลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนผ่านกองทุนรวม ในกรณีการกันเงินสำรองไว้ 30% ไปสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคมนี้ เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. นำไปยื่นให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พิจารณาต่อไป
"สมาคมฯ จะทำหนังสือให้ธปท.พิจารณาต่อไป เนื่องจากธุรกิจกองทุนรวมเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนจากต่างชาติน้อยมาก ในขณะที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอง ถึงแม้จะมีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นการลงทุนระยะยาว และไม่ค่อนมีการซื้อขายในตลาดมากนัก"นายมาริษกล่าว
ทั้งนี้ เรื่องที่สมาคมบลจ. ขอไปนั้น ประเด็นแรก คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างเสนอขายให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) และกองทุนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แล้ว ให้ถือว่าเข้าข่ายเงินที่เข้ามาลงทุนระยะยาว ซึ่งไม่ต้องกันสำรอง กองทุนหุ้นทุน ที่เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตรง ไม่ต้องกันเงินสำรอง กองทุนตราสารหนี้และกองทุนผสม ที่เป็นกองทุนปิดและมีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ให้ ไม่ต้องกันสำรอง กองทุนในประเทศที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นต่างชาติทั้งหมด ให้ไม่ต้องกันเงินสำรอง กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว (ไทย ทรัสต์ ฟันด์) ไม่ต้องกันเงินสำรอง และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ที่มีเจ้าของเงินทุนเป็นต่างชาติแล้วนำเงินเข้ามาลงทุนในหุ้น ขอให้ไม่ต้องกันสำรองเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังได้ตั้งประเด็นสอบถามไปด้วยว่า หากเป็นกองทุนประเภทกองทุนร่วมลงทุนหรือเวนเจอร์ แคปปิตอล ซึ่งมีนโยบายเข้ามาลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นกองทุนที่มีนักลงทุนต่างชาติลงทุนด้วย ขอให้ยกเว้นการกันสำรองเช่นกัน หรือให้กำหนดเวลาในการขออนุมัติให้ชัดเจนว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการพิจารณา กองทุนจะได้จัดการนำเงินต่างประเทศเข้ามาได้ถูกต้อง
ประเด็นสุดท้ายคือ กองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ซึ่งสมาคมบลจ.ต้องการความชัดเจนว่าเมื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนแล้ว ต้องนำสินทรัพย์ต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศ จะต้องถูกธนาคารพาณิชย์ตรวจสอบหรือไม่ เพราะถ้าต้องถูกตรวจสอบจะทำให้ กองทุนผิดระเบียบที่ระบุไว้กับผู้ถือหน่วยลงทุนว่า จะต้องคืนเงินบาทให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนภายในเวลาที่กำหนด
ในเบื้องต้นสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับธปท. แล้ว เพียงแต่ให้สมาคมฯ ทำหนังสือส่งรายละเอียดที่ชัดเจนไปให้อีกครั้ง ส่วนธปท. จะพิจารณาอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ธปท. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หากต้องกันสำรองด้วยจะได้รับผลกระทบมาก เพราะปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีนักลงทุนต่างชาติถือหน่วยลงทุนประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท และในปี 50 บลจ. ต่างๆ มีแผนออกกองทุนในไตรมาสแรก ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากต้องกันสำรองก็จะส่งผลกระทบต่อแผนการออกกองทุน ส่งผลให้บลจ. ต่าง ๆ ต้องการทราบความชัดเจนโดยเร็วเพื่อจะได้วางแผนได้ล่วงหน้า
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ไม่มีแนวคิดจะออกมาตรการเพิ่มเติมหรือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยตามที่เอกชนเรียกร้องโดยเฉพาะนักวิชาการก็แค่นักวิชาการ ตนมองว่าการลดดอกเบี้ยลง 0.25 หรือ 0.50 เปอร์เซ็นต์ คงไม่สามารถช่วยอะไรได้ เพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 10 %
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังระบุว่า ไม่มีความคิดจะลาออกจากตำแหน่ง แม้จะมีแรงกดดันจากหลายฝ่ายที่เห็นว่าควรจะมีผู้ออกมาแสดงความรับผิดชอบผลกระทบของมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทที่ทำให้ตลาดหุ้นร่วงอย่างหนัก โดยเชื่อว่าการอยู่ในตำแหน่งต่อไปจะสามารถทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติได้พร้อมกับระบุว่า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ที่มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว สามารถเผชิญต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายได้
"ขณะที่ผมส่องกระจกดู ผมก็ยังเห็นว่าจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นางธาริษา เปิดเผยวานนี้ว่า หลังจากที่ ธปท.ออกมาตรการกันสำรองธุรกรรมที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท 30% และมีการผ่อนคลายมาตรการให้กับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในหุ้นและเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ในภายหลังนั้น ขณะนี้เท่าที่ธปท.ตรวจสอบ พบว่า นักลงทุนต่างชาติยังไม่มีการขนเงินออกนอกประเทศมากนัก โดยมีนักลงทุนต่างชาติบางส่วนรอการลงทุนในไทยต่อไป ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นปีก็น่าจะเห็นการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น
"หลังจากที่แบงก์ชาติออกมาตรการและมีการผ่อนผันมากขึ้น พบว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมีการแลกเงินบาทเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลับไปยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของนักลงทุนเห่ขายหุ้นในช่วงวันแรกที่ตลาดรับรู้มาตรการของ ธปท.ไป จึงเชื่อว่ายังมีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติบางส่วนยังคงหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอยู่ ฉะนั้น ความกังวลที่คาดว่านักลงทุนต่างชาติจะเอาเงินออกนอกประเทศไม่น่าเป็นปัญหา"
อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการดังกล่าว ธปท.ได้ประเมินแล้วว่านักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในไทยจะได้รับผลตอบแทนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นประมาณ 15% และหากเข้าไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ก็จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก 5% ส่วนหากเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นก็จะได้กำไรจากการที่ราคาหุ้นขยับขึ้นอีก ดังนั้นเทียบกับต้นทุนค่าเสียโอกาสในการกันสำรองเงินตราต่างประเทศที่เข้ามาแลกเป็นเงินบาท 30% ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่แท้จริงประมาณ 1.5% เท่านั้น
**โต้ไม่กลบเกลื่อนเล่นบาทขาดทุน
สำหรับประเด็นที่ว่าธปท.ออกมาตรการนี้เพื่อกลบเกลื่อนภาระการขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่แข็งค่ามากขึ้นนั้น นางธาริษา กล่าวว่า การออกมาตรการดังกล่าว เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกปรับตัว ไม่ได้กลบเกลื่อนภาระการขาดทุนแต่อย่างใด โดยการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนมากเกินไปนั้นยังมีน้อยเมื่อเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ไทยมีอยู่ ขณะเดียวกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยก็มีการกระจายความเสี่ยงจากถือครองค่าเงินอื่นๆ นอกเหนือจากค่าเงินสกุลดอลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว เพราะเห็นว่าแนวโน้มความเสี่ยงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีอยู่ในอนาคต
“หากเกิดการขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินบาทจริง ธปท.ก็พร้อมที่จะอธิบายต้นทุนที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นแค่ไหนถึงต้องเข้าไปรองรับภาระขาดทุนดังกล่าว ขณะเดียวกันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการแบงก์ชาติเข้าไปรับภาระค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างมาก ซึ่งทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนต้องช่วยกัน โดยธุรกิจใดที่ภาคเอกชนไม่สามารถเข้าไปแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะความผันผวนอย่างมากจากค่าเงินบาทจนกระทบมายังการจ้างงานและภาคส่งออก แบงก์ชาติจะเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งธปท.ก็ไม่ได้กำหนดค่าเงินบาทว่าควรอยู่ที่ระดับเท่าใดเป็นเป้าหมายในการเข้าไปแทรกแซง แต่จะดูการความผันผวนของค่าเงินเป็นหลัก”
ด้านนายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธปท.กล่าวว่า ธปท.อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสำหรับตลาดหุ้น (Special Non-resident Baht Accout for Equity Securities) หรือ SNS เพิ่มอีกหนึ่งบัญชี นอกเหนือจากบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident Baht Account) หรือ NRBA ให้แก่นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยโดยเริ่มใช้หลังจากวันที่ 8 ม.ค.50 อย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) และคัสโตเดียนเตรียมความพร้อมก่อน
ทั้งนี้ ธปท.อนุญาตให้นักลงทุนรายหนึ่งจะมีบัญชี SNS ที่มียอดคงค้างไม่เกิน 300 ล้านบาทของแต่ละวันได้ 1 บัญชี ซึ่งนอกเหนือจากที่อนุญาตให้บัญชี NRBA ซึ่งรวมธุรกรรมต่างๆ รวมถึงตราสารหนี้มียอดคงค้าง ณ สิ้นวันได้ 300 ล้านบาท ดังนั้น หากนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในไทยทั้งในตลาดหุ้นและการลงทุนอื่นๆ สามารถมียอดคงค้าง ณ สิ้นวันรวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท
“การทำบัญชี SNS เพิ่มขึ้น เพื่อธุรกรรมที่เกี่ยวกับตลาดหุ้นโดยเฉพาะ สาเหตุหลักๆ เราเชื่อว่านักลงทุนจะไม่พักเงินอยู่เฉยๆ เพราะการลงทุนในตลาดหุ้น ราคาหุ้นจะขยับขึ้นๆ ลงๆ นักลงทุนเข้าไปซื้อขายตลอด ทำให้ความกังวลที่เรากลัวว่าเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนักลงทุนจะเข้ามาซื้อขายดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเก็งกำไรไม่น่าจะมี ซึ่งต่างกับบัญชี NRBA ถือเป็นการลงทุนในตราสารหนี้หรือการลงทุนอื่นๆ ที่เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็สามารถโยกเงินมาลงทุนในตลาดอื่นที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าได้”
อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้ยกเว้นการกันสำรอง 30% ให้แก่ธุรกรรมของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่มีการซื้อขายถือหน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ(FIF) เนื่องจาก ธุรกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนมือได้ในการถือหน่วยลงทุนได้ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในลักษณะตราสารหนี้อย่างหนึ่ง จึงไม่ได้รับการยกเว้นมาตรการผ่อนผันจาก ธปท.
สำหรับยอดเงินคงค้างโดยรวมทั้งระบบที่อยู่ในบัญชี NRBA ล่าสุด ณ วันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา มียอดคงค้างทั้งสิ้นจำนวน 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกับจำนวนเงินที่นักลงทุนได้รับเงินชำระหลังจากมีการซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนออกมาตรการในช่วงเดือนตุลาคม 46 ที่กำหนดให้บัญชี NRBA ต้องมียอดคงค้างในแต่ละวันไม่เกิน 300 ล้านบาทของนักลงทุนแต่ละราย มียอดคงค้างในบัญชี NRBA อยู่ในระบบทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมียอดคงค้างทั้ง 2 บัญชีในจำนวน 600 ล้านบาท ถือว่าเพียงพอกับธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตต่อไปของนักลงทุน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท.กล่าวว่า ยอมรับว่าเงินที่เข้ามาลงทุนในไทยยังคงมีสัดส่วนน้อยกว่าช่วงที่มีการเทขายหุ้นในช่วง 1-2 วันที่ผ่าน ถือว่ายังมีเงินทุนจากต่างชาติพักอยู่ในไทยจำนวนมาก ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในขณะนี้ก็เริ่มนิ่งแล้ว และมีความผันผวนน้อยลง ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะเริ่มมีความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเงินดอลลาร์สหรัฐ
**สมาคม บลจ.จี้ขอความชัดเจน 30%
นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า สมาคม บลจ. เตรียมทำหนังสือขอความชัดเจนเกี่ยวกับเงินลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนผ่านกองทุนรวม ในกรณีการกันเงินสำรองไว้ 30% ไปสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคมนี้ เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. นำไปยื่นให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พิจารณาต่อไป
"สมาคมฯ จะทำหนังสือให้ธปท.พิจารณาต่อไป เนื่องจากธุรกิจกองทุนรวมเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนจากต่างชาติน้อยมาก ในขณะที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอง ถึงแม้จะมีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นการลงทุนระยะยาว และไม่ค่อนมีการซื้อขายในตลาดมากนัก"นายมาริษกล่าว
ทั้งนี้ เรื่องที่สมาคมบลจ. ขอไปนั้น ประเด็นแรก คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างเสนอขายให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) และกองทุนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แล้ว ให้ถือว่าเข้าข่ายเงินที่เข้ามาลงทุนระยะยาว ซึ่งไม่ต้องกันสำรอง กองทุนหุ้นทุน ที่เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตรง ไม่ต้องกันเงินสำรอง กองทุนตราสารหนี้และกองทุนผสม ที่เป็นกองทุนปิดและมีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ให้ ไม่ต้องกันสำรอง กองทุนในประเทศที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นต่างชาติทั้งหมด ให้ไม่ต้องกันเงินสำรอง กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว (ไทย ทรัสต์ ฟันด์) ไม่ต้องกันเงินสำรอง และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ที่มีเจ้าของเงินทุนเป็นต่างชาติแล้วนำเงินเข้ามาลงทุนในหุ้น ขอให้ไม่ต้องกันสำรองเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังได้ตั้งประเด็นสอบถามไปด้วยว่า หากเป็นกองทุนประเภทกองทุนร่วมลงทุนหรือเวนเจอร์ แคปปิตอล ซึ่งมีนโยบายเข้ามาลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นกองทุนที่มีนักลงทุนต่างชาติลงทุนด้วย ขอให้ยกเว้นการกันสำรองเช่นกัน หรือให้กำหนดเวลาในการขออนุมัติให้ชัดเจนว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการพิจารณา กองทุนจะได้จัดการนำเงินต่างประเทศเข้ามาได้ถูกต้อง
ประเด็นสุดท้ายคือ กองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ซึ่งสมาคมบลจ.ต้องการความชัดเจนว่าเมื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนแล้ว ต้องนำสินทรัพย์ต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศ จะต้องถูกธนาคารพาณิชย์ตรวจสอบหรือไม่ เพราะถ้าต้องถูกตรวจสอบจะทำให้ กองทุนผิดระเบียบที่ระบุไว้กับผู้ถือหน่วยลงทุนว่า จะต้องคืนเงินบาทให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนภายในเวลาที่กำหนด
ในเบื้องต้นสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับธปท. แล้ว เพียงแต่ให้สมาคมฯ ทำหนังสือส่งรายละเอียดที่ชัดเจนไปให้อีกครั้ง ส่วนธปท. จะพิจารณาอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ธปท. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หากต้องกันสำรองด้วยจะได้รับผลกระทบมาก เพราะปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีนักลงทุนต่างชาติถือหน่วยลงทุนประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท และในปี 50 บลจ. ต่างๆ มีแผนออกกองทุนในไตรมาสแรก ประมาณ 30,000 ล้านบาท หากต้องกันสำรองก็จะส่งผลกระทบต่อแผนการออกกองทุน ส่งผลให้บลจ. ต่าง ๆ ต้องการทราบความชัดเจนโดยเร็วเพื่อจะได้วางแผนได้ล่วงหน้า