ในโอกาสที่จะครบรอบ 2 ปีมหันตภัยคลื่นยักษ์ถล่มฝั่งทะเลอันดามัน จากเหตุแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดสึนามิเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยวันที่ 26 ธันวาคม ปี 2004 ถามตอบรอบโลกขอใช้โอกาสนี้นำเรื่องราวของ "สึนามิ" มาเล่าให้ผู้อ่านได้ทราบกันอีกครั้ง
คลื่นสึนามิ มาจากคำว่า tsunami (สึนะมิ) ในภาษาญี่ปุ่น ที่แปลว่าคลื่นที่ท่าเรือ หรือ คลื่นชายฝั่ง ความหมายของมันคือคลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล ดังนั้นอานุภาพของสึนามิจึงสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ในส่วนของสาเหตุของการเกิดสึนามิ หลายท่านคงทราบดีแล้ว ดังนั้นถามตอบรอบโลกขออธิบายสั้นๆเพื่อเป็นการเตือนความจำว่าคลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
ย้อนกลับมาของชื่อเรียกสึนามิ สักหน่อย โดย "tsunami" ในภาษาอังกฤษ ออกเสียงว่า ซูนามิ หรือ ทซูนามิ อย่างไรก็ตามความหมายของมันเหมือนกันที่ถามตอบรอบโลกได้อธิบายไว้แล้วในข้างต้น แต่ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกหน่อยว่า ที่จริงแล้ว "tsunami" เกิดขึ้นมานานตั้งแต่ 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แต่ช่วงเวลาดังกล่าวสึนามิเป็นลักษณะคลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี แต่อย่างที่ทราบกันคนไทยเพิ่งได้เรียนรู้ความโหดร้ายของสึนามิเมื่อ 2 ปีก่อนนี่เอง
สำหรับสึนามิที่เกิดขึ้นในปี 2004 เกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย
นอกจากนี้พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีฟส์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
คลื่นสึนามิ มาจากคำว่า tsunami (สึนะมิ) ในภาษาญี่ปุ่น ที่แปลว่าคลื่นที่ท่าเรือ หรือ คลื่นชายฝั่ง ความหมายของมันคือคลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล ดังนั้นอานุภาพของสึนามิจึงสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ในส่วนของสาเหตุของการเกิดสึนามิ หลายท่านคงทราบดีแล้ว ดังนั้นถามตอบรอบโลกขออธิบายสั้นๆเพื่อเป็นการเตือนความจำว่าคลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน
ย้อนกลับมาของชื่อเรียกสึนามิ สักหน่อย โดย "tsunami" ในภาษาอังกฤษ ออกเสียงว่า ซูนามิ หรือ ทซูนามิ อย่างไรก็ตามความหมายของมันเหมือนกันที่ถามตอบรอบโลกได้อธิบายไว้แล้วในข้างต้น แต่ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกหน่อยว่า ที่จริงแล้ว "tsunami" เกิดขึ้นมานานตั้งแต่ 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แต่ช่วงเวลาดังกล่าวสึนามิเป็นลักษณะคลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี แต่อย่างที่ทราบกันคนไทยเพิ่งได้เรียนรู้ความโหดร้ายของสึนามิเมื่อ 2 ปีก่อนนี่เอง
สำหรับสึนามิที่เกิดขึ้นในปี 2004 เกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย
นอกจากนี้พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีฟส์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน