นักวิจัยอเมริกันเจ้าเล่ห์แอบจดสิทธิบัตรไวรัสสายพันธุ์ไทยต้านโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอแล้ว ไบโอไทยหวั่นกระทบเกษตรกรและธุรกิจที่อาจถูกเรียกเก็บค่าสิทธิบัตรอีก 35% ชี้คุกคามปากท้องและละเมิดอธิปไตยของไทย หวั่นนักวิจัยต่างชาติแห่กอบโกยประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาไทย
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2549 ที่ผ่านมา นักวิจัยสหรัฐอเมริกา ชื่อ นายเดนนิส กอนซาลเวส ได้ฉวยโอกาสจดสิทธิบัตรไวรัสสายพันธุ์ไทยที่ต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายค้าของสหรัฐฯ หรือ USPTO ได้อนุมัติสิทธิบัตรหมายเลข 7,078,586 ให้แก่ นายกอนซาลเวสในฐานะนักประดิษฐ์ และบริษัทมูลนิธิวิจัยมหาวิทยาลัยคอร์แนล ซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิชาการ เอ็นจีโอ จะคัดค้านอย่างกว้างขวาง กระทั่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.กระทรวงเกษตรฯ ขณะนั้นแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามเรื่องนี้โดยเฉพาะแต่กลับมิได้ดำเนินการใดๆ
นายวิฑูรย์ ระบุว่า สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุม การแยกและจำแนกยีนจากโปรตีนหุ้มไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอสายพันธุ์ในประเทศไทย การใช้ไวรัสดังกล่าวเพื่อสร้างการต้านทานโรคไวรัสในมะละกอ สิทธิบัตรนี้ยังให้สิทธิผูกขาดแก่เจ้าของสิทธิบัตรเมื่อมีการนำไวรัสนี้ไปใช้ ในการพัฒนาพันธุ์พืชอื่นๆ ทั้งหมด รวมข้อถือสิทธิ์ทั้งหมด 51 รายการ ซึ่งจะส่งผลให้มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมที่กระทรวงเกษตรฯ ทำวิจัยในประเทศไทยทั้งหมดในประเทศไทยกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเดนนิส กอนซาลเวส และมหาวิทยาลัยคอร์แนล
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า กรรมสิทธิ์นี้ยังครอบคลุมไปถึงมะละกอสายพันธุ์ท้องถิ่นอื่นๆที่ผสมข้ามกับมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในพันธุ์พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ และพืชอื่นๆทั้งหมดที่นำเอายีนจากไวรัสใบด่างจุดวงแหวนสายพันธุ์ไทยไปใช้ประโยชน์ด้วย ที่สำคัญ เกษตรกรและแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากอาจถูกเรียกเก็บค่าสิทธิบัตรสูงถึง 35 % ของยอดขายจากผลิตภัณฑ์ หากพบว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรที่เขาจดเอาไว้
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหาร และละเมิดอธิปไตยของไทย และละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ระบุให้ทรัพยากรชีวภาพภายใต้ดินแดนของประเทศใดต้องอยู่ภายใต้สิทธิอธิปไตยของประเทศนั้น การปล่อยให้สหรัฐฯ จดสิทธิบัตรโดยไม่ดำเนินการใดๆ จะเป็นแบบอย่างให้บรรษัทข้ามชาติและนักวิจัยจากต่างประเทศเข้ามาเอาประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยขนานใหญ่
ด้านนายเจริญ คัมภีรภาพ รองอธิการบดี ม.ศิลปากร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ กฎหมายระหว่างประเทศ ระบุว่า หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ คือ กรมวิชาการเกษตร แต่ทางการไทย ยังมีช่องทางคัดค้านการจดสิทธิบัตรครั้งนี้ เพราะการขอจดสิทธิบัตรของนายกอนซาลเวส ไม่ชอบด้วยกติการระหว่างประเทศและกฎหมายของไทย ที่ห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรพันธุกรรมออกนอกประเทศจนกว่าจะได้รับอนุญาต กรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการขโมยทรัพยากร มีพฤติกรรมเป็นโจรสลัดชีวภาพ
นักวิชาการผู้นี้ ระบุว่ากระทรวงเกษตรฯ จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้รับทราบโดยเร็วที่สุด และรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงจะต้องดำเนินการคัดค้านการจดสิทธิบัตรดังกล่าวไปยัง USPTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) รวมทั้งส่งรายงานเข้าที่ประชุมภาคีสมาชิกของ CBD โดยระบุว่า นักวิจัยและองค์กรของอเมริกันได้ละเมิดหลักการของ CBD
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2549 ที่ผ่านมา นักวิจัยสหรัฐอเมริกา ชื่อ นายเดนนิส กอนซาลเวส ได้ฉวยโอกาสจดสิทธิบัตรไวรัสสายพันธุ์ไทยที่ต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายค้าของสหรัฐฯ หรือ USPTO ได้อนุมัติสิทธิบัตรหมายเลข 7,078,586 ให้แก่ นายกอนซาลเวสในฐานะนักประดิษฐ์ และบริษัทมูลนิธิวิจัยมหาวิทยาลัยคอร์แนล ซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของสิทธิบัตรแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิชาการ เอ็นจีโอ จะคัดค้านอย่างกว้างขวาง กระทั่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.กระทรวงเกษตรฯ ขณะนั้นแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามเรื่องนี้โดยเฉพาะแต่กลับมิได้ดำเนินการใดๆ
นายวิฑูรย์ ระบุว่า สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุม การแยกและจำแนกยีนจากโปรตีนหุ้มไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอสายพันธุ์ในประเทศไทย การใช้ไวรัสดังกล่าวเพื่อสร้างการต้านทานโรคไวรัสในมะละกอ สิทธิบัตรนี้ยังให้สิทธิผูกขาดแก่เจ้าของสิทธิบัตรเมื่อมีการนำไวรัสนี้ไปใช้ ในการพัฒนาพันธุ์พืชอื่นๆ ทั้งหมด รวมข้อถือสิทธิ์ทั้งหมด 51 รายการ ซึ่งจะส่งผลให้มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมที่กระทรวงเกษตรฯ ทำวิจัยในประเทศไทยทั้งหมดในประเทศไทยกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเดนนิส กอนซาลเวส และมหาวิทยาลัยคอร์แนล
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า กรรมสิทธิ์นี้ยังครอบคลุมไปถึงมะละกอสายพันธุ์ท้องถิ่นอื่นๆที่ผสมข้ามกับมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในพันธุ์พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ และพืชอื่นๆทั้งหมดที่นำเอายีนจากไวรัสใบด่างจุดวงแหวนสายพันธุ์ไทยไปใช้ประโยชน์ด้วย ที่สำคัญ เกษตรกรและแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากอาจถูกเรียกเก็บค่าสิทธิบัตรสูงถึง 35 % ของยอดขายจากผลิตภัณฑ์ หากพบว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรที่เขาจดเอาไว้
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหาร และละเมิดอธิปไตยของไทย และละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ระบุให้ทรัพยากรชีวภาพภายใต้ดินแดนของประเทศใดต้องอยู่ภายใต้สิทธิอธิปไตยของประเทศนั้น การปล่อยให้สหรัฐฯ จดสิทธิบัตรโดยไม่ดำเนินการใดๆ จะเป็นแบบอย่างให้บรรษัทข้ามชาติและนักวิจัยจากต่างประเทศเข้ามาเอาประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยขนานใหญ่
ด้านนายเจริญ คัมภีรภาพ รองอธิการบดี ม.ศิลปากร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ กฎหมายระหว่างประเทศ ระบุว่า หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ คือ กรมวิชาการเกษตร แต่ทางการไทย ยังมีช่องทางคัดค้านการจดสิทธิบัตรครั้งนี้ เพราะการขอจดสิทธิบัตรของนายกอนซาลเวส ไม่ชอบด้วยกติการระหว่างประเทศและกฎหมายของไทย ที่ห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรพันธุกรรมออกนอกประเทศจนกว่าจะได้รับอนุญาต กรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการขโมยทรัพยากร มีพฤติกรรมเป็นโจรสลัดชีวภาพ
นักวิชาการผู้นี้ ระบุว่ากระทรวงเกษตรฯ จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้รับทราบโดยเร็วที่สุด และรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงจะต้องดำเนินการคัดค้านการจดสิทธิบัตรดังกล่าวไปยัง USPTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) รวมทั้งส่งรายงานเข้าที่ประชุมภาคีสมาชิกของ CBD โดยระบุว่า นักวิจัยและองค์กรของอเมริกันได้ละเมิดหลักการของ CBD