"การุณ"ฟันธงขั้นตอนการเลือกกันเองของสมาชิกสมัชชาฯให้เหลือ 200 มีการล็อบบี้แน่ แนะจับตาขั้นเลือกเหลือ 100 คนรวมถึงอีก 10 คนที่คมช.เลือกมายกร่าง ชี้ต้องปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองด้วย คาดยกร่าง 1-2 สัปดาห์น่าจะเสร็จ อ้างแบบอยู่แล้ว
นายการุณ ใสงาม สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ อดีตส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวถึงกระแสข่าวการล็อบบี้ในการเลือกกันเองของสมัชชาแห่งชาติให้เหลือ 200 คน ว่าพวกที่บอกว่าล็อบบี้ไม่ได้ พยายามทำเป็นไม่รู้ หรือแกล้งโง่ หรืออาจไม่รู้จริงเพราะไม่เคยเกี่ยวข้องการเมือง การล็อบบี้ถ้ามีกำลังทรัพย์และกำลังจัดตั้งเพียงพอสามารถทำได้อยู่แล้ว เอาเพียงให้ทุกคนเลือกตัวเองคนละ 1 คะแนนเท่านั้น ไม่ต้องเลือกใครอีก และมาเอาเงินไปคนละ 1 แสน สมัชชาฯ 1 พันคนก็ไม่กี่ล้านบาท ตรงนี้ทำลายคะแนน 1 พันคนไปแล้ว จากนั้นเมื่อเหลือในกลุ่มจัดตั้ง 400-500 คน ในกลุ่มนี้ก็ไขว้กันไปไขว้กันมา ได้คนละ 3–4 คะแนน ก็จะชนะอยู่ใน 200 คนแล้ว ดังนั้นไม่ยุ่งยากเลยถ้าจะล็อบบี้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจจะทำหรือไม่ มีกำลังพอหรือไม่ เพราะมีวิธีมากมาย ดังนั้น ที่บอกว่าล็อบบี้ยาก คงไม่ใช่ ไม่แน่บางทีอาจรู้แล้วและได้ทำแล้วก็ได้ ตนก็กำลังติดตามอยู่ และขอให้ทุกคนช่วยจับตาด้วย
ส่วนกระแสข่าวรายชื่อกรรมาธิการยกร่างฯที่มีการเปิดรายชื่อออกมาแล้วนั้น ตนยังไม่เห็นรายชื่อใครชัดเจน และข่าวที่ระบุว่า นายเชาวน์ สายเชื้อ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถูกทาบทามเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างฯนั้น ตนเห็นว่านายเชาวน์ มีประสบการณ์ ในฐานะอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยสัมผัสการใช้รัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของอำนาจทางนิติบัญญัติ และทางฝ่ายบริหาร แต่กรรมธิการสามารถช่วยได้ในส่วนนี้ อย่างไรก็ดี เมี่อ ส.ส.ร. 100 คน เป็นผู้เสนอชื่อกรรมาธิการยกร่าง 25 คน ปัญหาคือ ส.ส.ร. 100 คนนั้น คือใคร เพราะถ้าล็อบบี้มาได้จำนวน 50-60 คน เป็นเสียงข้างมาก คนกลุ่มนี้ก็จะสามารถจัดตั้งกรรมาธิการยกร่าง 25 คนได้ และ 25 คนนี้จะไปสมทบกับ 10 คน ที่ คมช.ส่งมา ตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหา ประชาชนจะลำบากในการผลักดันให้รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน
เมื่อถามถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายการุณ กล่าวว่า สิ่งที่หนักใจที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองให้มีสูงขึ้น เพราะหากวัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมืองและประชาชนไม่ได้รับการปฏิรูปอย่างเอาจริงเอาจัง ปัญหาจะเกิดขึ้นอีกโดยอำนาจจะไปตกอยู่กับคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ กลายเป็นผู้มีอำนาจและผู้มีผลประโยชน์จะนำอำนาจไปใช้ให้เกิดประโยชน์เฉพาะกลุ่ม หรือพวกของตน
ส่วนระยะเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญ คงไม่ต้องใช้เวลามาก ใช้เวลาเพียง 1-2 สัปดาห์ คงจะยกร่างเสร็จ เนื่องจากมีตัวแบบอยู่แล้ว ตนเห็นว่าควรใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นหลักในการยกร่าง โดยแก้ไขบางส่วนที่เป็นปัญหาซึ่งประเด็นเหล่านี้ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว ส่วนตัวแบบในการแก้ไขปัญหา ก็รู้กันดีไม่ว่าจะเป็นกรณีองค์กรอิสระ อำนาจของฝ่ายบริหาร อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ หรือเครื่องมือที่มีปัญหาทางรัฐธรรมนูญที่ใช้มาทุกแบบ และพบปัญหาแล้ว ความจริงการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้มีผู้เตรียมการยกร่างแก้ไขไว้แล้วในทุกประเด็น จึงสามารถนำมาใช้ปรับปรุงโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น
"การประชาพิจารณ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมทางการเมืองต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อเป็นเจ้าของในรัฐธรรมนูญและมีสำนึก วัฒนธรรมทางการเมือง และความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย มีการแบ่งพื้นที่ระหว่างภาคการเมืองกับภาคตัวแทนให้ชัดเจน ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในภาคพลเมืองได้อย่างเต็มกำลัง เพราะปัญหาของรัฐธรรมนูญคือ ภาคตัวแทนไม่ทำงาน หรือทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอาจจะมาจากเหตุผลที่เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญจำกัด"นายการุณ กล่าว
**ร้องสมัชชาฯ สายแรงงานเร่ขายเสียง
นายภวิศ ผาสุข ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมโลหะแห่งประเทศไทย เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานสมัชชาแห่งชาติ เรียกร้องให้เร่งตรวจสอบการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในการลงคะแนนการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และขอให้ออกข้อกำหนดให้สมาชิกสมัชชาฯ มีสิทธิคัดเลือกได้เฉพาะกลุ่มตัวเอง เพราะทราบว่า มีสมัชชาแห่งชาติจากสายแรงงานติดต่อขายเสียงให้กับสมัชชาแห่งชาติกลุ่มอื่นๆ โดยเรียกเงินเป็นหลักล้านบาทขึ้นไป
"สหพันธ์แรงงานฯ ทราบข่าวว่ามีผู้แทนแรงงานภาคเอกชนบางกลุ่มออกเร่ขายเสียง ด้วยการไปพูดคุยกับสมาชิกสมัชชาฯกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่มีฐานเสียงสนับสนุน แต่มีเงินมากกว่า ตัวเองสามารถควบคุมเสียงสมาชิกสมัชชาฯ ในกลุ่มแรงงานได้ 70– 80 เสียง ทำให้สมาชิกสมัชชาฯกลุ่มอื่นเกิดความสนใจ จึงติดต่อมายังผู้แทนกลุ่มแรงงานดังกล่าวแล้วหลายคน เพราะต้องการให้มีชื่อติดอยู่ในรายชื่อผู้ได้รับจากคัดเลือก 200 คน จึงขอให้ประธานสมัชชาแห่งชาติ ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเหลือบแรงงาน ใช้เวทีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นช่องทางหาประโยชน์โดยมิชอบเหมือนกับการเลือกตั้งไตรภาคี"นายภวิศ กล่าว
นายการุณ ใสงาม สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ อดีตส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวถึงกระแสข่าวการล็อบบี้ในการเลือกกันเองของสมัชชาแห่งชาติให้เหลือ 200 คน ว่าพวกที่บอกว่าล็อบบี้ไม่ได้ พยายามทำเป็นไม่รู้ หรือแกล้งโง่ หรืออาจไม่รู้จริงเพราะไม่เคยเกี่ยวข้องการเมือง การล็อบบี้ถ้ามีกำลังทรัพย์และกำลังจัดตั้งเพียงพอสามารถทำได้อยู่แล้ว เอาเพียงให้ทุกคนเลือกตัวเองคนละ 1 คะแนนเท่านั้น ไม่ต้องเลือกใครอีก และมาเอาเงินไปคนละ 1 แสน สมัชชาฯ 1 พันคนก็ไม่กี่ล้านบาท ตรงนี้ทำลายคะแนน 1 พันคนไปแล้ว จากนั้นเมื่อเหลือในกลุ่มจัดตั้ง 400-500 คน ในกลุ่มนี้ก็ไขว้กันไปไขว้กันมา ได้คนละ 3–4 คะแนน ก็จะชนะอยู่ใน 200 คนแล้ว ดังนั้นไม่ยุ่งยากเลยถ้าจะล็อบบี้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจจะทำหรือไม่ มีกำลังพอหรือไม่ เพราะมีวิธีมากมาย ดังนั้น ที่บอกว่าล็อบบี้ยาก คงไม่ใช่ ไม่แน่บางทีอาจรู้แล้วและได้ทำแล้วก็ได้ ตนก็กำลังติดตามอยู่ และขอให้ทุกคนช่วยจับตาด้วย
ส่วนกระแสข่าวรายชื่อกรรมาธิการยกร่างฯที่มีการเปิดรายชื่อออกมาแล้วนั้น ตนยังไม่เห็นรายชื่อใครชัดเจน และข่าวที่ระบุว่า นายเชาวน์ สายเชื้อ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถูกทาบทามเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างฯนั้น ตนเห็นว่านายเชาวน์ มีประสบการณ์ ในฐานะอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยสัมผัสการใช้รัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของอำนาจทางนิติบัญญัติ และทางฝ่ายบริหาร แต่กรรมธิการสามารถช่วยได้ในส่วนนี้ อย่างไรก็ดี เมี่อ ส.ส.ร. 100 คน เป็นผู้เสนอชื่อกรรมาธิการยกร่าง 25 คน ปัญหาคือ ส.ส.ร. 100 คนนั้น คือใคร เพราะถ้าล็อบบี้มาได้จำนวน 50-60 คน เป็นเสียงข้างมาก คนกลุ่มนี้ก็จะสามารถจัดตั้งกรรมาธิการยกร่าง 25 คนได้ และ 25 คนนี้จะไปสมทบกับ 10 คน ที่ คมช.ส่งมา ตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหา ประชาชนจะลำบากในการผลักดันให้รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน
เมื่อถามถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายการุณ กล่าวว่า สิ่งที่หนักใจที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองให้มีสูงขึ้น เพราะหากวัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมืองและประชาชนไม่ได้รับการปฏิรูปอย่างเอาจริงเอาจัง ปัญหาจะเกิดขึ้นอีกโดยอำนาจจะไปตกอยู่กับคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ กลายเป็นผู้มีอำนาจและผู้มีผลประโยชน์จะนำอำนาจไปใช้ให้เกิดประโยชน์เฉพาะกลุ่ม หรือพวกของตน
ส่วนระยะเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญ คงไม่ต้องใช้เวลามาก ใช้เวลาเพียง 1-2 สัปดาห์ คงจะยกร่างเสร็จ เนื่องจากมีตัวแบบอยู่แล้ว ตนเห็นว่าควรใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นหลักในการยกร่าง โดยแก้ไขบางส่วนที่เป็นปัญหาซึ่งประเด็นเหล่านี้ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว ส่วนตัวแบบในการแก้ไขปัญหา ก็รู้กันดีไม่ว่าจะเป็นกรณีองค์กรอิสระ อำนาจของฝ่ายบริหาร อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ หรือเครื่องมือที่มีปัญหาทางรัฐธรรมนูญที่ใช้มาทุกแบบ และพบปัญหาแล้ว ความจริงการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้มีผู้เตรียมการยกร่างแก้ไขไว้แล้วในทุกประเด็น จึงสามารถนำมาใช้ปรับปรุงโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น
"การประชาพิจารณ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมทางการเมืองต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อเป็นเจ้าของในรัฐธรรมนูญและมีสำนึก วัฒนธรรมทางการเมือง และความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย มีการแบ่งพื้นที่ระหว่างภาคการเมืองกับภาคตัวแทนให้ชัดเจน ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในภาคพลเมืองได้อย่างเต็มกำลัง เพราะปัญหาของรัฐธรรมนูญคือ ภาคตัวแทนไม่ทำงาน หรือทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอาจจะมาจากเหตุผลที่เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญจำกัด"นายการุณ กล่าว
**ร้องสมัชชาฯ สายแรงงานเร่ขายเสียง
นายภวิศ ผาสุข ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมโลหะแห่งประเทศไทย เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานสมัชชาแห่งชาติ เรียกร้องให้เร่งตรวจสอบการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในการลงคะแนนการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และขอให้ออกข้อกำหนดให้สมาชิกสมัชชาฯ มีสิทธิคัดเลือกได้เฉพาะกลุ่มตัวเอง เพราะทราบว่า มีสมัชชาแห่งชาติจากสายแรงงานติดต่อขายเสียงให้กับสมัชชาแห่งชาติกลุ่มอื่นๆ โดยเรียกเงินเป็นหลักล้านบาทขึ้นไป
"สหพันธ์แรงงานฯ ทราบข่าวว่ามีผู้แทนแรงงานภาคเอกชนบางกลุ่มออกเร่ขายเสียง ด้วยการไปพูดคุยกับสมาชิกสมัชชาฯกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่มีฐานเสียงสนับสนุน แต่มีเงินมากกว่า ตัวเองสามารถควบคุมเสียงสมาชิกสมัชชาฯ ในกลุ่มแรงงานได้ 70– 80 เสียง ทำให้สมาชิกสมัชชาฯกลุ่มอื่นเกิดความสนใจ จึงติดต่อมายังผู้แทนกลุ่มแรงงานดังกล่าวแล้วหลายคน เพราะต้องการให้มีชื่อติดอยู่ในรายชื่อผู้ได้รับจากคัดเลือก 200 คน จึงขอให้ประธานสมัชชาแห่งชาติ ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเหลือบแรงงาน ใช้เวทีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นช่องทางหาประโยชน์โดยมิชอบเหมือนกับการเลือกตั้งไตรภาคี"นายภวิศ กล่าว