ประชาชนคนไทยที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยต่างตระหนักดีว่า เป็นคนไทยอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมา 700 ปี เป็นคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือลัทธิอื่นๆ มีอาชีพเป็นเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักธุรกิจ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร เป็นนายแพทย์ เป็นนักกฎหมาย เป็นวิศวกร ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้คือการตระหนักถึงสภาวะของตนเองว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีอาชีพอะไร นับถือศาสนาอะไร
แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปคืออาตมันทางการเมือง (political self) อันจะเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐาน ในแง่ที่ว่า ในทางการเมือง คนไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างไรบ้าง อันเป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่ไม่สามารถจะล้มล้างได้ด้วยอำนาจใด แต่ในแง่หนึ่งสิทธิดังกล่าวมานี้ก็มีอยู่เพียงแต่มิได้รวบรวมให้เป็นกลุ่ม และเรียบเรียงให้เป็นเนื้อหาที่ยกขึ้นมาให้เห็นเด่นชัด ถ้าจะว่าไปแล้วสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานนี้มีสืบเนื่องมาเป็นเวลานานตั้งแต่ประวัติศาสตร์
ในยุคสุโขทัย ถ้าดูจากศิลาจารึกจะเห็นได้ชัดว่า ประชาชนชาวสุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองที่ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นบิดาปกครองบุตร อันหมายถึง ประกอบด้วยความเมตตาและเอื้ออาทร ซึ่งต่อมาก็มีลัทธิธรรมราชาซึ่งหมายถึงสิทธิของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองที่มีธรรมะเป็นประทีป นอกเหนือจากนั้นประชาชนก็มีสิทธิในการทำมาหากินเพื่อยังชีพของตน ดังเห็นได้จากศิลาจารึกว่า "ใคร่จักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนยังมีสิทธิได้รับความยุติธรรมด้วยการร้องทุกข์ถวายฎีกาจากกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูราชวัง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองจากภายนอกให้เข้ารีตเป็นคริสเตียน หรือรับเอาอิสลามมาเป็นสรณะ พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำรัสที่สำคัญยิ่ง อันเท่ากับการเปิดโอกาสให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนในการนับถือศาสนา โดยพระองค์เองนั้นจะยังคงดำรงเป็นพุทธมามะกะต่อไป ดังพระราชดำรัสของพระองค์เมื่อปี พ.ศ.2228 ความว่า "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"
มาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การเข้าฝากตัวเป็นมหาดเล็ก โดยเปิดโอกาสให้ไพร่ซึ่งหมายถึงสามัญชนทั่วไปได้มีโอกาสมาฝึกรับราชการ ซึ่งเดิมทีนั้นในแผ่นดินบรมโกศผู้ที่จะมาฝากตัวเป็นมหาดเล็กจะต้องมีคุณวุฒิสี่ อธิบดีสี่ คุณานุรูป และสืบเชื้อสายเสนาบดี แต่เนื่องจากสภาวะสงครามทำให้คนที่มาจากตระกูลขุนนางโรยราไปจำนวนมาก พระองค์ท่านจึงเปิดระบบให้กว้างขึ้นและนี่คือการเริ่มต้นของสิทธิของผู้ที่จะเข้ารับราชการโดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังของตระกูล นอกเหนือจากนั้นพระองค์ท่านยังตั้งพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะค้ำจุนศาสนาพุทธ ป้องกันเอกราชของชาติ พิทักษ์ประชาชนและเหล่าข้าราชการ อันเสมือนการประกาศแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับจากผู้ปกครองแผ่นดิน ความว่า "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขันธเสมา รักษาประชาชนและมนตรี"
มาในยุครัชกาลที่ 4 พระองค์ก็มีนโยบายที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับการขยายการศึกษาให้กับประชาชนในหัวเมือง เท่ากับเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิทยาการต่างๆ สิทธิในการเรียนรู้นี้ต้องถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นมูลฐานที่สำคัญยิ่ง นอกจากนั้นพระองค์ท่านยังเปิดโอกาสให้มีการร้องทุกข์ด้วยการตีกลองทำนองเดียวกับการสั่นกระดิ่งในสมัยสุโขทัย
ในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานสิทธิทางสังคมที่สำคัญที่สุดแก่ประชาชน คือการเลิกระบบไพร่และเลิกระบบทาส ทำให้คนไทยกลายเป็นเสรีชน มีความเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมอกัน ระบบไพร่แปรเปลี่ยนเป็นการเกณฑ์ทหารตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร และทาสซึ่งเดิมถือเป็นสมบัติของนายทาสนั้นก็หมดสิ้นไปจากแผ่นดินสยาม
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้มีการรับรองความเป็นครอบครัว เดิมไพร่จะไม่มีนามสกุล เป็นบุคคลที่ขึ้นอยู่กับมูลนาย เช่น เป็นคนของขุนนางนั้น ขุนนางเองก็ไม่มีนามสกุลมีแต่ตำแหน่งและราชทินนามเฉพาะตัว เมื่อมีการใช้ระบบนามสกุลขึ้นก็เท่ากับเป็นการรับรองความเป็นครอบครัว รวมทั้งความเป็นตระกูลของประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันก็มีการรับรองความเป็นคนด้วยการมีคำนำหน้านาม ผู้ชายใช้คำว่า นาย ผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานใช้คำว่า นางสาว ผู้หญิงที่สมรสแล้วคือ นาง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชนที่ประกาศในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นมูลฐานที่สามารถจะอ้างได้มาจนถึงปัจจุบัน ดังความว่า
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
สิทธิขั้นมูลฐานที่สำคัญยิ่งอีกส่วนหนึ่งของประชาชนก็คือ ความต้องการและเสียงของประชาชน อันเป็นสิทธิภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่คนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวที่อ้างสิทธิธรรมดังกล่าวจากประชาชน การปกครองประเทศภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องฟังเสียงประชาชนอย่างแท้จริง และสิทธิที่กล่าวมานี้เป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศได้รับพระราชทานจากองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"
บนพื้นฐานพระราชกระแสดังกล่าว สามารถจะบอกได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้ครองอำนาจรัฐกลุ่มเล็กๆ กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มบุคคลกลุ่มนั้นย่อมขาดความชอบธรรม และปัญหายิ่งจะหนักมากกว่านั้น ถ้าการปกครองบริหารนั้นไม่เดินไปตามครรลองของหลักนิติธรรม มีการละเมิดกฎหมาย ฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ครองตำแหน่งอำนาจลุแก่อำนาจ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งขัดแย้งกับหลักการปกครองที่ดี ดังจะเห็นได้จากพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
การบริหารโดยใช้หลักธรรมะ ความชอบธรรม หลักนิติธรรม คุณธรรมและจริยธรรม จึงเป็นดัชนีวัดสิทธิธรรมหรือธรรมแห่งอำนาจของผู้ปกครองว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะได้คนดีขึ้นมาปกครองบริหารประเทศ ขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยเมื่อคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งอำนาจ พระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงสามารถนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์แห่งการวัดธรรมแห่งอำนาจของผู้ครองอำนาจรัฐได้ "...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้..."
เมื่อรวบรวมสิทธิต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้น ก็พอสรุปได้ว่า สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชนคนไทยนั้น ได้แก่
1. สิทธิที่จะร้องทุกข์ในกระบวนการยุติธรรม (สมัยสุโขทัย และรัชกาลที่ 4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
2. สิทธิในการทำมาหากิน (สมัยสุโขทัย และหลักข้อที่ 3 ของคณะราษฎร)
3. สิทธิในการนับถือศาสนา (พระนารายณ์มหาราช สมัยกรุงศรีอยุธยา)
4. โอกาสในการเข้ารับราชการ (รัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
5. สิทธิของความเป็นมนุษย์และมีเสรีภาพ (รัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 5 ของคณะราษฎร)
6. สิทธิที่มีเอกลักษณ์ของครอบครัว (รัชกาลที่ 6 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
7. สิทธิของความเสมอภาค (รัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 4 ของคณะราษฎร)
8. สิทธิในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน (รัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 2 ของคณะราษฎร)
9. สิทธิของประชาชนในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (รัชกาลที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
10. สิทธิที่จะรัฐบาลที่มีธรรมแห่งอำนาจ ซื่อสัตย์สุจริต (สมัยสุโขทัย-ธรรมราชา และองค์พระประมุขปัจจุบัน)
สิทธิขั้นมูลฐานทั้ง 10 ข้อนี้อาจจะไม่ครบถ้วน แต่ที่ยกมาจะชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยที่มีประวัติมา 700 ปีนั้นก็มีเรื่องของสิทธิขั้นมูลฐานในมุมต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังมิได้มีการรวบรวมและชี้ให้เห็นเด่นชัดอย่างแท้จริง
ประเทศอังกฤษมีสิทธิขั้นมูลฐาน ปี ค.ศ. 1689 (English Bill of Rights 1689) ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้คำว่า Bill of Rights ในปี ค.ศ. 1774 (United States Bill of Rights) ประเทศฝรั่งเศสมีในปี ค.ศ.1789 (Declaration of the Rights of Man - 1789) ในกรณีของประเทศไทยนั้นมีแต่รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง น่าจะถึงเวลาที่มีการประกาศปฏิญญาสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานเพื่อเป็นหลักการสำคัญของสังคมและของประชาชน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาตมันทางการเมือง ทำนองเดียวกับการมีธรรมะทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวประจำใจ ขณะเดียวกัน การกระทำอันใดของรัฐที่ขัดต่อสิทธิขั้นมูลฐานก็จะสามารถทราบได้ทันทีและยกมากล่าวอ้างได้ สิทธิขั้นมูลฐานดังกล่าวนี้ต้องมีการเขียนอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ผนวกกับสิ่งที่ต้องเขียนขึ้นเพื่อสอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบัน
แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปคืออาตมันทางการเมือง (political self) อันจะเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐาน ในแง่ที่ว่า ในทางการเมือง คนไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างไรบ้าง อันเป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่ไม่สามารถจะล้มล้างได้ด้วยอำนาจใด แต่ในแง่หนึ่งสิทธิดังกล่าวมานี้ก็มีอยู่เพียงแต่มิได้รวบรวมให้เป็นกลุ่ม และเรียบเรียงให้เป็นเนื้อหาที่ยกขึ้นมาให้เห็นเด่นชัด ถ้าจะว่าไปแล้วสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานนี้มีสืบเนื่องมาเป็นเวลานานตั้งแต่ประวัติศาสตร์
ในยุคสุโขทัย ถ้าดูจากศิลาจารึกจะเห็นได้ชัดว่า ประชาชนชาวสุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองที่ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นบิดาปกครองบุตร อันหมายถึง ประกอบด้วยความเมตตาและเอื้ออาทร ซึ่งต่อมาก็มีลัทธิธรรมราชาซึ่งหมายถึงสิทธิของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองที่มีธรรมะเป็นประทีป นอกเหนือจากนั้นประชาชนก็มีสิทธิในการทำมาหากินเพื่อยังชีพของตน ดังเห็นได้จากศิลาจารึกว่า "ใคร่จักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนยังมีสิทธิได้รับความยุติธรรมด้วยการร้องทุกข์ถวายฎีกาจากกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูราชวัง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองจากภายนอกให้เข้ารีตเป็นคริสเตียน หรือรับเอาอิสลามมาเป็นสรณะ พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำรัสที่สำคัญยิ่ง อันเท่ากับการเปิดโอกาสให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนในการนับถือศาสนา โดยพระองค์เองนั้นจะยังคงดำรงเป็นพุทธมามะกะต่อไป ดังพระราชดำรัสของพระองค์เมื่อปี พ.ศ.2228 ความว่า "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"
มาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การเข้าฝากตัวเป็นมหาดเล็ก โดยเปิดโอกาสให้ไพร่ซึ่งหมายถึงสามัญชนทั่วไปได้มีโอกาสมาฝึกรับราชการ ซึ่งเดิมทีนั้นในแผ่นดินบรมโกศผู้ที่จะมาฝากตัวเป็นมหาดเล็กจะต้องมีคุณวุฒิสี่ อธิบดีสี่ คุณานุรูป และสืบเชื้อสายเสนาบดี แต่เนื่องจากสภาวะสงครามทำให้คนที่มาจากตระกูลขุนนางโรยราไปจำนวนมาก พระองค์ท่านจึงเปิดระบบให้กว้างขึ้นและนี่คือการเริ่มต้นของสิทธิของผู้ที่จะเข้ารับราชการโดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังของตระกูล นอกเหนือจากนั้นพระองค์ท่านยังตั้งพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะค้ำจุนศาสนาพุทธ ป้องกันเอกราชของชาติ พิทักษ์ประชาชนและเหล่าข้าราชการ อันเสมือนการประกาศแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับจากผู้ปกครองแผ่นดิน ความว่า "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขันธเสมา รักษาประชาชนและมนตรี"
มาในยุครัชกาลที่ 4 พระองค์ก็มีนโยบายที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับการขยายการศึกษาให้กับประชาชนในหัวเมือง เท่ากับเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้วิทยาการต่างๆ สิทธิในการเรียนรู้นี้ต้องถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นมูลฐานที่สำคัญยิ่ง นอกจากนั้นพระองค์ท่านยังเปิดโอกาสให้มีการร้องทุกข์ด้วยการตีกลองทำนองเดียวกับการสั่นกระดิ่งในสมัยสุโขทัย
ในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานสิทธิทางสังคมที่สำคัญที่สุดแก่ประชาชน คือการเลิกระบบไพร่และเลิกระบบทาส ทำให้คนไทยกลายเป็นเสรีชน มีความเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมอกัน ระบบไพร่แปรเปลี่ยนเป็นการเกณฑ์ทหารตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร และทาสซึ่งเดิมถือเป็นสมบัติของนายทาสนั้นก็หมดสิ้นไปจากแผ่นดินสยาม
ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้มีการรับรองความเป็นครอบครัว เดิมไพร่จะไม่มีนามสกุล เป็นบุคคลที่ขึ้นอยู่กับมูลนาย เช่น เป็นคนของขุนนางนั้น ขุนนางเองก็ไม่มีนามสกุลมีแต่ตำแหน่งและราชทินนามเฉพาะตัว เมื่อมีการใช้ระบบนามสกุลขึ้นก็เท่ากับเป็นการรับรองความเป็นครอบครัว รวมทั้งความเป็นตระกูลของประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันก็มีการรับรองความเป็นคนด้วยการมีคำนำหน้านาม ผู้ชายใช้คำว่า นาย ผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานใช้คำว่า นางสาว ผู้หญิงที่สมรสแล้วคือ นาง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชนที่ประกาศในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นมูลฐานที่สามารถจะอ้างได้มาจนถึงปัจจุบัน ดังความว่า
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
สิทธิขั้นมูลฐานที่สำคัญยิ่งอีกส่วนหนึ่งของประชาชนก็คือ ความต้องการและเสียงของประชาชน อันเป็นสิทธิภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่คนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวที่อ้างสิทธิธรรมดังกล่าวจากประชาชน การปกครองประเทศภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องฟังเสียงประชาชนอย่างแท้จริง และสิทธิที่กล่าวมานี้เป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศได้รับพระราชทานจากองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"
บนพื้นฐานพระราชกระแสดังกล่าว สามารถจะบอกได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้ครองอำนาจรัฐกลุ่มเล็กๆ กระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวก โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มบุคคลกลุ่มนั้นย่อมขาดความชอบธรรม และปัญหายิ่งจะหนักมากกว่านั้น ถ้าการปกครองบริหารนั้นไม่เดินไปตามครรลองของหลักนิติธรรม มีการละเมิดกฎหมาย ฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ครองตำแหน่งอำนาจลุแก่อำนาจ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งขัดแย้งกับหลักการปกครองที่ดี ดังจะเห็นได้จากพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
การบริหารโดยใช้หลักธรรมะ ความชอบธรรม หลักนิติธรรม คุณธรรมและจริยธรรม จึงเป็นดัชนีวัดสิทธิธรรมหรือธรรมแห่งอำนาจของผู้ปกครองว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะได้คนดีขึ้นมาปกครองบริหารประเทศ ขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยเมื่อคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งอำนาจ พระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงสามารถนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์แห่งการวัดธรรมแห่งอำนาจของผู้ครองอำนาจรัฐได้ "...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้..."
เมื่อรวบรวมสิทธิต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้น ก็พอสรุปได้ว่า สิทธิขั้นมูลฐานของประชาชนคนไทยนั้น ได้แก่
1. สิทธิที่จะร้องทุกข์ในกระบวนการยุติธรรม (สมัยสุโขทัย และรัชกาลที่ 4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
2. สิทธิในการทำมาหากิน (สมัยสุโขทัย และหลักข้อที่ 3 ของคณะราษฎร)
3. สิทธิในการนับถือศาสนา (พระนารายณ์มหาราช สมัยกรุงศรีอยุธยา)
4. โอกาสในการเข้ารับราชการ (รัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
5. สิทธิของความเป็นมนุษย์และมีเสรีภาพ (รัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 5 ของคณะราษฎร)
6. สิทธิที่มีเอกลักษณ์ของครอบครัว (รัชกาลที่ 6 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
7. สิทธิของความเสมอภาค (รัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 4 ของคณะราษฎร)
8. สิทธิในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน (รัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และข้อที่ 2 ของคณะราษฎร)
9. สิทธิของประชาชนในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (รัชกาลที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)
10. สิทธิที่จะรัฐบาลที่มีธรรมแห่งอำนาจ ซื่อสัตย์สุจริต (สมัยสุโขทัย-ธรรมราชา และองค์พระประมุขปัจจุบัน)
สิทธิขั้นมูลฐานทั้ง 10 ข้อนี้อาจจะไม่ครบถ้วน แต่ที่ยกมาจะชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยที่มีประวัติมา 700 ปีนั้นก็มีเรื่องของสิทธิขั้นมูลฐานในมุมต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ยังมิได้มีการรวบรวมและชี้ให้เห็นเด่นชัดอย่างแท้จริง
ประเทศอังกฤษมีสิทธิขั้นมูลฐาน ปี ค.ศ. 1689 (English Bill of Rights 1689) ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้คำว่า Bill of Rights ในปี ค.ศ. 1774 (United States Bill of Rights) ประเทศฝรั่งเศสมีในปี ค.ศ.1789 (Declaration of the Rights of Man - 1789) ในกรณีของประเทศไทยนั้นมีแต่รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง น่าจะถึงเวลาที่มีการประกาศปฏิญญาสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานเพื่อเป็นหลักการสำคัญของสังคมและของประชาชน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาตมันทางการเมือง ทำนองเดียวกับการมีธรรมะทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวประจำใจ ขณะเดียวกัน การกระทำอันใดของรัฐที่ขัดต่อสิทธิขั้นมูลฐานก็จะสามารถทราบได้ทันทีและยกมากล่าวอ้างได้ สิทธิขั้นมูลฐานดังกล่าวนี้ต้องมีการเขียนอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ผนวกกับสิ่งที่ต้องเขียนขึ้นเพื่อสอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบัน