จากการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม กล่าวโทษนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร รวมทั้งข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากรอีกจำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน ประกอบด้วย
1) นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร ขณะนั้นเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร 2) นายวิชัย จึงรักเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย 3) นางสาวสุจินดา แสงชมพู สรรพากรภาค 10 ขณะที่เป็นนิติกร 9 ชช. 4) นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ขณะนั้นเป็น นิติกร 8 ว. 5) นางสาวกุลวดี แสงสายัณห์ นิติกร 8 ว. ขณะนั้นเป็น นิติกร 7 ว.
ทั้ง 5 คนมีความผิดทางอาญา ฐานทุจริตต่อหน้าที่และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เก็บภาษี ละเว้นไม่เก็บภาษี หรือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 154 และมาตรา 157 และมีความผิดร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535
กรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นพี่ชายบุญธรรมของพจมาน ชินวัตร ที่ได้รับหุ้นจากบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีมูลค่าหุ้นถึง 738 ล้านบาท จากคุณหญิงพจมานผ่านนางสาวดวงตา วงศ์ภักดี คนใช้ของคุณหญิงพจมาน
โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 154 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี - 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 2,000 - 40,000 บาท มาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 20,000 บาทา หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าแปลกใจที่ทำไม เบอร์หนึ่ง (ขณะนั้น) ของกรมสรรพากรกลับรอดไปได้ และความผิดนี้ไม่สามารถโยงไปยังนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งที่ความเป็นจริง นายศุภรัตน์ ควรจะเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบเป็นคนแรก
เส้นทางของทั้ง 5 คนจะเป็นอย่างไรต่อไป
เพราะตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องดำเนินการทางวินัย ส่งเรื่องให้ต้นสังกัดคือ กระทรวงการคลังดำเนินการ และในการดำเนินคดีอาญา ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลอาญา
ส่วนการดำเนินการทางวินัย อ.ก.พ. กระทรวงการคลังต้องพิจารณาลงโทษตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนวินัยอีก และต้องส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง
โทษทางวินัยของข้าราชการ มีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
กรณีของ 5 คนนี้ ต้องลงโทษไล่ออกอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากเคยมีมติ ครม. กำหนดว่าการลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัยร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ให้ไล่ออกเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ข้าราชการนั้นไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ และ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไปลงโทษโดยการปลดออกได้
ส่วนนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จากการเปิดเผยของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับหนังสือจากกรมสรรพากรให้ไปจ่ายภาษีแล้ว และพร้อมจะชำระภาษี โดยจะใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันของธนาคาร จากนั้นจะยื่นอุทธรณ์และต่อสู้คดีจนถึงที่สุดในชั้นศาลต่อไป
ก่อนหน้านี้กรมสรรพากรได้เชิญนายบรรณพจน์ไปพบ แต่ไม่ได้แจ้งว่าต้องจ่ายภาษีแต่อย่างใด
ผมเองอดแปลกใจไม่ได้ว่า เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่นายนพดลอ้างถึงนั้นหมายถึงใคร เป็น 1 ใน 5 ของผู้ที่กระทำผิดด้วยหรือไม่ และถ้าไม่ใช่ ทำไมบุคคลผู้นั้นถึงไม่ได้รับโทษด้วย
คำถามต่อมาคือ ถ้าไม่มีมติของ ป.ป.ช. ในกรณีนี้ นายบรรณพจน์ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกทั้งข้าราชการที่กระทำผิดกลับลอยนวลทำงานได้ดิบได้ดีต่อไป
หรือเมื่อมีมติอย่างนี้ออกมา นายบรรณพจน์ก็ออกมาเสียภาษีแล้วก็จบกันไป ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การมีมติ ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง นับได้ว่าเด็ดขาด สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้ว่า การเข้ามายึดอำนาจของคณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน โดยใช้ข้ออ้าง 4 ข้อ นับได้ว่าไม่สูญเปล่า
ประชาชน สังคม เริ่มมีความหวังจะได้เห็นการลงโทษข้าราชการตลอดจนบุคคลที่รับใช้ทักษิณและพวกพ้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา คิดว่าทักษิณสามารถช่วยเหลือเนรมิตทั้งตำแหน่งและเงินทองให้กับตนเองได้ จนลืมศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความภาคภูมิใจที่เป็นข้าราชการ หรือข้ารับใช้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นการสร้างความสะเทือนให้กับพวกที่โกงกิน ทุจริตคอร์รัปชันได้เป็นอย่างดี และสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
แม้แต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะออกมาประกาศวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ มีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน
1) การลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตและลดการสูญเสียในการปฏิบัติราชการ
2) การสร้างสำนึกในการประพฤติมิชอบ โดยยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่หมักหมมมานานเสียที
ผมคิดว่าการที่จะรื้อล้างระบอบทักษิณกับพรรคพวกที่ได้กระทำไว้ตลอด 5 ปี แทะกินประเทศชาติจนเหลือแต่กระดูก แม้แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยังให้สัมภาษณ์ว่าเห็นข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันในบ้านเมืองเราแล้วอยากจะร้องไห้นั้น อาจต้องใช้เวลานาน
แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ยังไม่สาย ใช่ไหมครับ
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานต่างๆ ควรจะนำเอาวาระแห่งชาติครั้งนี้มาใช้เพื่อพัฒนาหน่วยงานของท่านให้เป็นธรรมาภิบาลที่แแท้จริง ให้ประชาชนรู้สึกว่าภาษีที่ประชาชนเสียไปเป็นเงินเดือนค่าตอบแทนท่านคุ้มค่าและเหมาะสม
1) นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร ขณะนั้นเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร 2) นายวิชัย จึงรักเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย 3) นางสาวสุจินดา แสงชมพู สรรพากรภาค 10 ขณะที่เป็นนิติกร 9 ชช. 4) นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ขณะนั้นเป็น นิติกร 8 ว. 5) นางสาวกุลวดี แสงสายัณห์ นิติกร 8 ว. ขณะนั้นเป็น นิติกร 7 ว.
ทั้ง 5 คนมีความผิดทางอาญา ฐานทุจริตต่อหน้าที่และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เก็บภาษี ละเว้นไม่เก็บภาษี หรือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 154 และมาตรา 157 และมีความผิดร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535
กรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นพี่ชายบุญธรรมของพจมาน ชินวัตร ที่ได้รับหุ้นจากบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีมูลค่าหุ้นถึง 738 ล้านบาท จากคุณหญิงพจมานผ่านนางสาวดวงตา วงศ์ภักดี คนใช้ของคุณหญิงพจมาน
โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 154 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี - 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 2,000 - 40,000 บาท มาตรา 157 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 20,000 บาทา หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าแปลกใจที่ทำไม เบอร์หนึ่ง (ขณะนั้น) ของกรมสรรพากรกลับรอดไปได้ และความผิดนี้ไม่สามารถโยงไปยังนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งที่ความเป็นจริง นายศุภรัตน์ ควรจะเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบเป็นคนแรก
เส้นทางของทั้ง 5 คนจะเป็นอย่างไรต่อไป
เพราะตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องดำเนินการทางวินัย ส่งเรื่องให้ต้นสังกัดคือ กระทรวงการคลังดำเนินการ และในการดำเนินคดีอาญา ให้ส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลอาญา
ส่วนการดำเนินการทางวินัย อ.ก.พ. กระทรวงการคลังต้องพิจารณาลงโทษตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนวินัยอีก และต้องส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง
โทษทางวินัยของข้าราชการ มีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
กรณีของ 5 คนนี้ ต้องลงโทษไล่ออกอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากเคยมีมติ ครม. กำหนดว่าการลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัยร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ให้ไล่ออกเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ข้าราชการนั้นไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ และ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไปลงโทษโดยการปลดออกได้
ส่วนนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จากการเปิดเผยของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับหนังสือจากกรมสรรพากรให้ไปจ่ายภาษีแล้ว และพร้อมจะชำระภาษี โดยจะใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันของธนาคาร จากนั้นจะยื่นอุทธรณ์และต่อสู้คดีจนถึงที่สุดในชั้นศาลต่อไป
ก่อนหน้านี้กรมสรรพากรได้เชิญนายบรรณพจน์ไปพบ แต่ไม่ได้แจ้งว่าต้องจ่ายภาษีแต่อย่างใด
ผมเองอดแปลกใจไม่ได้ว่า เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่นายนพดลอ้างถึงนั้นหมายถึงใคร เป็น 1 ใน 5 ของผู้ที่กระทำผิดด้วยหรือไม่ และถ้าไม่ใช่ ทำไมบุคคลผู้นั้นถึงไม่ได้รับโทษด้วย
คำถามต่อมาคือ ถ้าไม่มีมติของ ป.ป.ช. ในกรณีนี้ นายบรรณพจน์ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกทั้งข้าราชการที่กระทำผิดกลับลอยนวลทำงานได้ดิบได้ดีต่อไป
หรือเมื่อมีมติอย่างนี้ออกมา นายบรรณพจน์ก็ออกมาเสียภาษีแล้วก็จบกันไป ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การมีมติ ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง นับได้ว่าเด็ดขาด สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้ว่า การเข้ามายึดอำนาจของคณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน โดยใช้ข้ออ้าง 4 ข้อ นับได้ว่าไม่สูญเปล่า
ประชาชน สังคม เริ่มมีความหวังจะได้เห็นการลงโทษข้าราชการตลอดจนบุคคลที่รับใช้ทักษิณและพวกพ้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา คิดว่าทักษิณสามารถช่วยเหลือเนรมิตทั้งตำแหน่งและเงินทองให้กับตนเองได้ จนลืมศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความภาคภูมิใจที่เป็นข้าราชการ หรือข้ารับใช้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นการสร้างความสะเทือนให้กับพวกที่โกงกิน ทุจริตคอร์รัปชันได้เป็นอย่างดี และสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
แม้แต่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะออกมาประกาศวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ มีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน
1) การลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตและลดการสูญเสียในการปฏิบัติราชการ
2) การสร้างสำนึกในการประพฤติมิชอบ โดยยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่หมักหมมมานานเสียที
ผมคิดว่าการที่จะรื้อล้างระบอบทักษิณกับพรรคพวกที่ได้กระทำไว้ตลอด 5 ปี แทะกินประเทศชาติจนเหลือแต่กระดูก แม้แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยังให้สัมภาษณ์ว่าเห็นข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันในบ้านเมืองเราแล้วอยากจะร้องไห้นั้น อาจต้องใช้เวลานาน
แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ยังไม่สาย ใช่ไหมครับ
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานต่างๆ ควรจะนำเอาวาระแห่งชาติครั้งนี้มาใช้เพื่อพัฒนาหน่วยงานของท่านให้เป็นธรรมาภิบาลที่แแท้จริง ให้ประชาชนรู้สึกว่าภาษีที่ประชาชนเสียไปเป็นเงินเดือนค่าตอบแทนท่านคุ้มค่าและเหมาะสม