"สุรยุทธ์"ปลุกข้าราชการต้องยึดมั่นศักดิ์ศรี คุณธรรม ต้องมีเกียรติ และรู้จักพอเพียง เป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือทำเพื่อชาติและประชาชน เลิก"เช้าชาม เย็นชาม" เลิกเกรงกลัวกับคำสั่งที่ผิดๆ อยากเห็นคนในชาติแม้แต่ชีวิตก็ยอมที่จะเสียสละได้ ถ้าเป็นความรับผิดชอบ อย่าง"พันท้ายนรสิงห์" เล่าประสบการณ์-ปล่อยมุขทหาร ถ้าอยากก้าวหน้าทางทหาร ต้องยืนบนพื้นฐาน"เลียตีน เงินมาก ปากสอพลอ ล่อไข่แดง และแกร่งวิชา"เผยตอนเป็นแม่ทัพภาค 2 มีนักการเมืองหอบกระเป๋าเงินส่งให้ยังไม่เอา เพราะชีวิตยึดหลักเลือกตั้งต้องไม่ใช้เงินซื้อเสียง
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (8ธ.ค.)ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการและกล่าวปาฐกถาพร้อมประกาศ"วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคราชการ"
"ผมได้แสดงเจตนารมณ์ไว้อย่างมุ่งมั่นว่า จะแก้ไขปัญหาทุจริต และการประพฤติมิชอบ ปัญหาของความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเราก็จำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเร่งด่วน นอกจากจะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ขับเคลื่อนกันไปด้วยกันทั้งระบบแล้ว ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เราต้องร่วมมือกันทุกส่วน นอกจากส่วนของรัฐอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว เราต้องยอมรับความจริงกันว่า การที่ประเทศไทยกลับไปเริ่มนับหนึ่งกันใหม่นั้น ก็เพราะมีเหตุสำคัญมาจากสังคมของเราขาดในเรื่องจริยธรรม ธรรมภิบาล และมีการทุจริตกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นเมื่อเรายอมที่จะถอยกลับมาแล้ว การที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าก็จะต้องพูดถึงเรื่องจริยธรรม ธรรมภิบาล เพราะว่าถ้าเราไม่พูดถึง ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาสังคมของเราเอง"
เมื่อเราจะพูดถึงราชการ ส่วนประกอบของราชการก็คือ ตัวข้าราชการเอง ซึ่งแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงอยากเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาพูดให้ฟังว่า ได้เริ่มรับราชการปี 2508 ซึ่งเป็นปีที่มีเหตุการณ์การต่อสู้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเกิดขึ้น ด้วยการใช้อาวุธ ที่อ.นาแก ในวันที่ 8 ส.ค. ผมเป็นข้าราชการทหาร เมื่อจบออกมาแล้ว ความตั้งใจก็คือ อยากทำหน้าที่อย่างที่เราได้รับการฝึกฝนมา เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็ได้เข้าไปรับหน้าที่เป็นผู้บังคับหมวดที่ จ.ลพบุรี ก็ทราบจากผู้บังคับกองพันว่า กองทัพบกได้ออกคำสั่ง ห้ามมิให้ไปปฏิบัติการที่ชายแดน เพราะว่าปัญหาเรื่องทางการเมืองที่คุณพ่อของผมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นั่นเป็นเหตุครั้งแรกที่ทำให้ต้องย้อนดูตัวเองว่า เพิ่งจบไปได้ไม่กี่เดือน แต่สิ่งที่ได้พยายามจะศึกษา พยายามที่จะใช้เป็นอาชีพนั้น มองดูแล้วไม่สดใสเลย
"มีหลายคนให้ข้อคิดเห็นกับผมว่า ทางที่ดีลาออกไปดีกว่า หรืออย่างน้อยที่สุดก็เปลี่ยนนามสกุล เพราะมีหลายคนที่ประสบเหตุทางการเมืองแล้วก็เปลี่ยนนามสกุล บางท่านก็เปลี่ยนชื่อด้วย เพื่อให้การรับราชการไม่ถูกเพ่งเล็งมากนัก ด้วยเหตุนี้เองผมก็มาคิดอยู่มาก เพราะเป็นอนาคตของคนที่อายุเพิ่ง 22-23 ปี ในสมัยนั้นมันก็เหมือนกับว่าอนาคตของเราไม่มีทางก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าพูดในทางพระก็เรียกว่า เกิดความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ว่า สิ่งที่เราคาด สิ่งที่เราหวังนั้น มันคงไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดแล้ว นั้นก็เป็นความทุกข์ ก็ได้คิดถึงตัวเอง นั่งพิจารณานานมากว่าจะเอาอย่างไรดี กับชีวิตของเรา ได้ไปอ่านหนังสือพระก็ได้ตระหนักถึงว่า คนเรานั้นมันไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงจากทุกข์ไปได้ ทุกข์กับสุขเป็นเรื่องที่จะต้องมีควบคู่กันตลอดเวลา ไม่มีใครมีความสุขอย่างเดียว เป็นไปไม่ได้ นั้นก็เป็นความจริง เป็นสัจจะธรรม ที่พระพุทธองค์ท่านสอนไว้"
เราจะหลีกเลี่ยงจากทุกข์นั้นได้อย่างไร ก็ยืนอยู่ด้วยเหตุและผล ท่านสอนไว้ว่า เราต้องพิจารณาด้วยเหตุและผล จึงได้มาพิจารณาดูว่า มีคนอื่นอีกเยอะที่เขามีความทุกข์คล้ายๆกับเรา เมื่อคิดได้อย่างนั้นก็มีความสุขขึ้นมาระดับหนึ่ง แล้วก็ตั้งใจว่า ชีวิตราชการจะไปแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของเรา ถ้าเราทำดีที่สุดแล้ว เต็มความสามารถแล้ว ไปได้แค่ไหนก็ไปแค่นั้น
ในชีวิตราชการทหารก็มีอยู่ 2 อย่าง คือการทำงาน และการฝึกศึกษา เมื่อเขาไม่ให้ไปทำงานที่ชายแดน ก็มาทำงานฝึก และศึกษา ทุกอย่างที่ได้ทำมันก็แสดงออกมา การศึกษาผมไม่เคยด้อย การฝึกผมก็ทำได้ด้วยดี ผู้บังคับบัญชาที่ดีก็เห็นว่า คนที่ทำได้ทั้ง 2 อย่าง เขาก็อยากเอาไปใช้งาน จึงเป็นที่มาของความก้าวหน้าในชีวิตราชการ ว่าการที่เราจะมีความก้าวหน้าโดยยืนบนพื้นฐานของความถูกต้องนั้น สามารถทำได้
ในทางทหารมีคำพูดที่เป็นชาวบ้านๆนิดหน่อย พูดกันว่า ความก้าวหน้าในชีวิตมี 5 คำ คำแรกไม่สุภาพนัก ก็คือ เลียตีน เงินมาก ปากสอพลอ ล่อไข่แดง หมายความว่า แต่งงานกับลูกเจ้านายก็จะก้าวหน้า ส่วนประการสุดท้ายคือ แกร่งวิชา นั้นเป็นคำที่พูดกันในหมู่ทหาร แนวทางก้าวหน้าในชีวิตราชการก็มีอย่างนี้ เราก็เลือกจากทางเดินเหล่านั้นว่า เอาแหละเราจะแกร่งวิชา เมื่อแกร่งวิชา มันก็ต้องยืนอยู่บนหลักคุณธรรม จริยธรรม คนที่เป็นผู้นำจะต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตาม นำพาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีประสบการณ์ ทำงานด้วยกันได้ ด้วยการเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีคือ ต้องนำความรู้ ซึ่งได้เรียนมาใช้เป็นประโยชน์ นั้นก็คือลักษณะของการเป็นผู้นำ เมื่อท่านมีคุณธรรม ใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา แน่นอนเราไม่สามารถจะช่วยคนได้ทุกคน มาถึงวันหนึ่ง ก็ต้องใช้อุเบกขา คือต้องตัดใจ ลูกน้องบางคนไม่ดีก็ต้องลงโทษให้ออกจากราชการ ก็จำเป็นต้องพูดกัน และจำเป็นต้องทำ
"ประสบกรณ์ส่วนตัวอีกเรื่องหนึ่ง ตอนนี้เป็นผู้ใหญ่แล้ว เป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 2 มีการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงที่ผมเป็นแม่ทัพภาคอยู่ หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคใหญ่พรรคหนึ่ง ก็ให้ลูกน้องถือกระเป๋าเงินมาพบผมที่จ.สกลนคร ตอนนั้นผมไปประชุมที่จ.สกลนคร บอกพี่ครับ ท่านให้เอาเงินมาให้ แต่ผมไม่รู้ในกระเป๋ามีเงินเท่าไร ผมก็บอกว่า ขอบใจมาก แต่ว่าผมรับไม่ได้ เพราะความตั้งใจของผมก็คือ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งโดยใช้เงินใช้ทอง ถ้าท่านจะไปแจกที่อื่น ผมไม่ว่า แต่ว่าให้ผมนั้น ผมรับไม่ได้ เพราะผมไม่มีโอกาสไปพูดที่ไหน ผมไม่ได้ชื่นชมวิธีการแจกเงิน เมื่อผมปฎิเสธก็แน่นอน ถูกเพ่งเล็งมาตลอดว่าไม่ให้ความร่วมมือ"
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่อยากจะเรียนกับท่านทั้งหลายว่า ถ้ายึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องเราก็คงต้องมันไม่เจริญก้าวหน้า อยู่แค่ไหนก็แค่นั้น จุดของความพอเพียง ถ้าเราตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม แล้วเรายืนอย่ตรงนั้น ก็คือความพอเพียง
"ผมได้ยิน พล.อ.พิจิตร กุลวณิชย์ องคมนตรี ท่านพูดหลายครั้ง บุคคลที่เป็นตัวอย่างคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ พันท้ายนรสิงห์ จะมีกี่คนที่มีความรับผิดชอบ และยอมรับผิดอย่างพันท้ายนรสิงห์บ้าง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราจะต้องนำมาให้คนในบ้านเมืองของเราตระหนักว่า แม้แต่ชีวิตก็ยอมที่จะเสียสละ ถ้าเป็นความรับผิดชอบของเขา และเขาทำผิด"
นั้นเป็นจุดอันหนึ่งที่อยากพูดว่า ถ้าเราไม่แก้เรื่องบุคคล ประกอบกับเรื่องของระบบ ทำอย่างไรก็แก้ไม่ได้ ฉะนั้น ข้าราชการทุกท่านก็ต้องตั้งอุดมการณ์ว่าจะไปแค่ไหน อย่างไร และยึดตรงนี้ไว้ งานของชาติบ้านเมือง งานที่ทำเป็นระบบก็จะง่ายขึ้น
เมื่อพูดถึงเรื่องระบบ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ใครที่อยู่ในวงราชการคงจะตระหนักได้ว่า ระบบราชการนั้นแม้ว่าจะได้มีความพยายามพัฒนาการปฏิบัติการมากขึ้น แต่ก็ขาดอิสระ และถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองมากเกินไป จนข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญ กำลังใจ และทำให้ข้าราชการหลายคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่วัฒนธรรมที่ไม่พึ่งประสงค์มากขึ้น ระบบอุปถัมภ์ก็เติบโตจนทำลายระบบคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีงาม และมีความสำคัญในการให้บ้านเมือง มีความเจริญ และก้าวหน้าอย่างมั่นคง
การขาดคุณธรรม และจริยธรรมในระบบราชการ มีผลกระทบต่อการทำงานของข้าราชการในการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ข้าราชการคือบุคคลที่นำนโยบายต่างๆไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ นอกจากตัวราชการแล้ว ระบบราชการหัวขบวนที่เราจะขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ หากข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญ กำลังใจ การทำราชการก็ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างที่เราพูดว่า "เช้าชาม เย็นชาม"ประชาชน และประเทศชาติก็ไม่ได้รับผลที่ดีจากการทำงานของข้าราชการ ก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ รัฐบาลนี้ จึงมีความคิดที่จะทำให้ข้าราชการมีอิสระ มีความมั่นคง ปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น สามารถทำงานในความรับผิดชอบแต่ละคน โดยไม่ต้องวิตกกังวล หรือเกรงกลัวในคำสั่งที่ผิดๆ ซึ่งรูปแบบที่เราจะพัฒนาต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องมีการปรึกษาหารือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
"ผมขอเรียนว่า ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของท่านทั้งหลายมีความสำคัญ มีความจำเป็นที่ต้องสร้างรูปแบบที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุด อย่างไรก็ตามผมขอเรียนไว้ ณ ที่นี้ว่า คำว่า "ข้าราชการ"หมายถึงความผูกพันที่เราจะต้องทำงานสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ดีที่สุด ข้าราชการ ก็คืองานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าราชการจะทำอย่างไรก็ต้องมองไปที่พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก ซึ่งจริงๆแล้ว ก็มีเป้าหมายสำคัญอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือเพื่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยของเรานั่นเอง"
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สำคัญ ที่อยากอัญเชิญมาไว้ในที่นี้ ก็มีอยู่ 3-4 ประเด็น คือ การทำงานอย่างมีความสุข หมายถึง ความสุขที่ได้ทำงานช่วยเหลือประชาชน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติ ความเพียร หมายถึง ความมุ่งมั่นทำงานโดยไม่ย่อท้อกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สุดท้าย คือ ความสามัคคี หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมือง ข้าราชการต้องยึดหลักการทำงานเหล่านี้เอาไว้ และต้องปรับลดอัตตวิสัยของตนเอง ของหน่วยงาน เลิกยึดติดการเป็นเจ้าของผลงาน ปรับให้ร่วมมือกันทำงานโดยไม่มีเจ้าของ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดความสุขแก่ประชาชน
เรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบนั้น เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานาน เป็นปัญหาสังคม เป็นธรรมดาองค์กรที่มีขนาดใหญ่อย่างระบบราชการ มีคนเป็นจำนวนมาก และต้องทำงานเกี่ยวข้องกับงบประมาณของประเทศ เมื่อมีคนเป็นจำนวนมากย่อมต้องมีทั้งคนดีและไม่ดี เมื่อมีโอกาสที่จะหาช่องทางทุจริตได้ ก็คงใช้โอกาสเหล่านั้น ถ้าเป็นคนที่ไม่มีจิตใจที่เข้มแข็งพอ ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ก็จะเผลอใจไปได้ง่ายๆ ตรงนี้ทางศาสนาพุทธพูดว่า"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"แต่บางครั้งก็มีคนพูดว่า"ทำชั่วได้ดีก็มีถมไป"แต่โดยความเป็นจริง โดยสัจจธรรมแล้ว กฎแห่งกรรมเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ แน่นอนไม่ว่าศาสนาใดๆ ก็พูดถึงเรื่องเหล่านี้ จะมาช้ามาเร็วก็เป็นเรื่องเห็นชัดเจน
บางครั้งคนเรามองว่า กรรม เป็นเรื่องในด้านที่ไม่ดี กรรมมี 2 ด้าน คือ กรรมดี กรรมเลว กรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากใคร แต่เกิดจากตัวเราเอง ถ้าทำดีกรรมนั้นก็ส่งผลดี ถ้าท่านชั่วกรรมนั้นก็ส่งผลชั่ว ในพระไตรปิฏก ได้กล่าวถึงเรื่องของกรรม เราคงได้ยินกันมามากมายว่า พระเทวทัต ซึ่งเป็นพระญาติของพระพุทธเจ้า ปองร้ายพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด พยายมแม้กระทั่งที่ว่าทำร้ายพระพุทธองค์ ในพระไตรปิฏกเขียนชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าได้เล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ท่านเองเป็นผู้ที่เริ่มกรรมกับพระเทวทัตในอดีตชาติที่ผ่านมา ท่านเคยทำร้ายเทวทัตจนถึงแก่ชีวิตมาแล้ว เพราะฉะนั้นในชาติที่เป็นพระพุทธองค์ เทวทัต ถึงได้มาทำกรรมตอบแทน แต่ว่าด้วยกรรมดีที่พระพุทธองค์บำเพ็ญมา แม้เทวทัตพยายามที่จะกลิ้นหินให้ทับพระพุทธองค์ หินก้อนใหญ่ไม่ถูก เศษหินมาถูกที่นิ้วของพระองค์ถึงกับเลือดไหล นั่นแหละคือผลกรรมในอดีตที่พระพุทธองค์ได้ทำมา
ปัจจุบันร่างกายของคนเราได้พิสูจน์ชัดเจนว่า มันมียีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาเสมอ สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ พันธุกรรม นั้นเป็นกรรมอันหนึ่งที่ชัดเจนแน่นอน ที่พิสูจน์ทราบทางธรรมชาติ และทางวิทยาสตร์ที่แน่นอนแล้ว ฉะนั้นถ้าเราได้ตระหนักกันว่า เราตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ทำกรรมดี แน่นอนสิ่งนั้นจะต้องปรากฏขึ้นมา ในส่วนของกฎแห่งกรรมนี้ ก็เป็นอีกอันหนึ่งเป็นเครื่องบำรุงใจว่า ถ้าเราทำกรรมดีแล้วในอนาคตสิ่งเหล่านั้นก็จะมาตอบแทนเราเสมอ ไม่ช้าก็เร็ว อยากจะบอกว่า คุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นในใจของข้าราชการ เราจะต้องมีหลักยึด มีเป้าหมาย มีธงที่เราจะปักไว้ในใจของเราเอง ถ้าเราไม่สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ระบบหรือกลไกต่างๆ ที่เราสร้างมาก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ส่วนในเรื่องของงบประมาณ อยากเรียนว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เป็นงบประมาณก็เป็นของประชาชน มาจากประชาชน จึงไม่พ้นที่ตกอยู่ในสายตาและการตรวจสอบของประชาชน ในขณะนั้นเราก็อาจจะมองมุมหนึ่งว่า ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ใครที่คิดทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เบียดบังผลประโยชน์จากงบประมาณ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะหลีกหนีความผิดไปได้
"ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราจะมาพูดถึงวาระแห่งชาติ เรื่องการสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการเวลานี้ เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันสร้างมาตรฐาน สร้างคุณภาพการทำงานให้ดีขึ้นในภาคราชการต่อไป ผมมีความเข้าใจดีว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ยังมีรายได้ค่อนข้างน้อย หากเปรียบเทียบกับภาคเอกชนในบางสาขาอาชีพ แต่หากเปรียบเทียบกับประชาชนโดยทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะภาคเกษตรกร ก็สามารถเดาได้ว่าข้าราชการของเรายังมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก การที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ได้อยู่ที่มีรายได้มาก รายได้น้อย แต่อยู่ที่การปฏิบัติตน และความพอเพียง และใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล มีเหตุ มีผล ไม่ประมาท ฟุ้งเฟื้อเกินไป ระมัดระวัง ผมคิดว่าเราสามารถยืนอยู่บนเกียรติและศักดิ์ศรีของเราได้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิด ข้อเสนอแนะที่ได้รับในวันนี้ และการที่ข้าราชการทั่วประเทศจะได้นำเรื่องการสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบไปปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรม และค่านิยมอันดีงามต่อไป ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อไป
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (8ธ.ค.)ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการและกล่าวปาฐกถาพร้อมประกาศ"วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคราชการ"
"ผมได้แสดงเจตนารมณ์ไว้อย่างมุ่งมั่นว่า จะแก้ไขปัญหาทุจริต และการประพฤติมิชอบ ปัญหาของความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเราก็จำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเร่งด่วน นอกจากจะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ขับเคลื่อนกันไปด้วยกันทั้งระบบแล้ว ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เราต้องร่วมมือกันทุกส่วน นอกจากส่วนของรัฐอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว เราต้องยอมรับความจริงกันว่า การที่ประเทศไทยกลับไปเริ่มนับหนึ่งกันใหม่นั้น ก็เพราะมีเหตุสำคัญมาจากสังคมของเราขาดในเรื่องจริยธรรม ธรรมภิบาล และมีการทุจริตกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นเมื่อเรายอมที่จะถอยกลับมาแล้ว การที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าก็จะต้องพูดถึงเรื่องจริยธรรม ธรรมภิบาล เพราะว่าถ้าเราไม่พูดถึง ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาสังคมของเราเอง"
เมื่อเราจะพูดถึงราชการ ส่วนประกอบของราชการก็คือ ตัวข้าราชการเอง ซึ่งแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงอยากเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาพูดให้ฟังว่า ได้เริ่มรับราชการปี 2508 ซึ่งเป็นปีที่มีเหตุการณ์การต่อสู้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเกิดขึ้น ด้วยการใช้อาวุธ ที่อ.นาแก ในวันที่ 8 ส.ค. ผมเป็นข้าราชการทหาร เมื่อจบออกมาแล้ว ความตั้งใจก็คือ อยากทำหน้าที่อย่างที่เราได้รับการฝึกฝนมา เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็ได้เข้าไปรับหน้าที่เป็นผู้บังคับหมวดที่ จ.ลพบุรี ก็ทราบจากผู้บังคับกองพันว่า กองทัพบกได้ออกคำสั่ง ห้ามมิให้ไปปฏิบัติการที่ชายแดน เพราะว่าปัญหาเรื่องทางการเมืองที่คุณพ่อของผมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นั่นเป็นเหตุครั้งแรกที่ทำให้ต้องย้อนดูตัวเองว่า เพิ่งจบไปได้ไม่กี่เดือน แต่สิ่งที่ได้พยายามจะศึกษา พยายามที่จะใช้เป็นอาชีพนั้น มองดูแล้วไม่สดใสเลย
"มีหลายคนให้ข้อคิดเห็นกับผมว่า ทางที่ดีลาออกไปดีกว่า หรืออย่างน้อยที่สุดก็เปลี่ยนนามสกุล เพราะมีหลายคนที่ประสบเหตุทางการเมืองแล้วก็เปลี่ยนนามสกุล บางท่านก็เปลี่ยนชื่อด้วย เพื่อให้การรับราชการไม่ถูกเพ่งเล็งมากนัก ด้วยเหตุนี้เองผมก็มาคิดอยู่มาก เพราะเป็นอนาคตของคนที่อายุเพิ่ง 22-23 ปี ในสมัยนั้นมันก็เหมือนกับว่าอนาคตของเราไม่มีทางก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าพูดในทางพระก็เรียกว่า เกิดความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ว่า สิ่งที่เราคาด สิ่งที่เราหวังนั้น มันคงไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดแล้ว นั้นก็เป็นความทุกข์ ก็ได้คิดถึงตัวเอง นั่งพิจารณานานมากว่าจะเอาอย่างไรดี กับชีวิตของเรา ได้ไปอ่านหนังสือพระก็ได้ตระหนักถึงว่า คนเรานั้นมันไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงจากทุกข์ไปได้ ทุกข์กับสุขเป็นเรื่องที่จะต้องมีควบคู่กันตลอดเวลา ไม่มีใครมีความสุขอย่างเดียว เป็นไปไม่ได้ นั้นก็เป็นความจริง เป็นสัจจะธรรม ที่พระพุทธองค์ท่านสอนไว้"
เราจะหลีกเลี่ยงจากทุกข์นั้นได้อย่างไร ก็ยืนอยู่ด้วยเหตุและผล ท่านสอนไว้ว่า เราต้องพิจารณาด้วยเหตุและผล จึงได้มาพิจารณาดูว่า มีคนอื่นอีกเยอะที่เขามีความทุกข์คล้ายๆกับเรา เมื่อคิดได้อย่างนั้นก็มีความสุขขึ้นมาระดับหนึ่ง แล้วก็ตั้งใจว่า ชีวิตราชการจะไปแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของเรา ถ้าเราทำดีที่สุดแล้ว เต็มความสามารถแล้ว ไปได้แค่ไหนก็ไปแค่นั้น
ในชีวิตราชการทหารก็มีอยู่ 2 อย่าง คือการทำงาน และการฝึกศึกษา เมื่อเขาไม่ให้ไปทำงานที่ชายแดน ก็มาทำงานฝึก และศึกษา ทุกอย่างที่ได้ทำมันก็แสดงออกมา การศึกษาผมไม่เคยด้อย การฝึกผมก็ทำได้ด้วยดี ผู้บังคับบัญชาที่ดีก็เห็นว่า คนที่ทำได้ทั้ง 2 อย่าง เขาก็อยากเอาไปใช้งาน จึงเป็นที่มาของความก้าวหน้าในชีวิตราชการ ว่าการที่เราจะมีความก้าวหน้าโดยยืนบนพื้นฐานของความถูกต้องนั้น สามารถทำได้
ในทางทหารมีคำพูดที่เป็นชาวบ้านๆนิดหน่อย พูดกันว่า ความก้าวหน้าในชีวิตมี 5 คำ คำแรกไม่สุภาพนัก ก็คือ เลียตีน เงินมาก ปากสอพลอ ล่อไข่แดง หมายความว่า แต่งงานกับลูกเจ้านายก็จะก้าวหน้า ส่วนประการสุดท้ายคือ แกร่งวิชา นั้นเป็นคำที่พูดกันในหมู่ทหาร แนวทางก้าวหน้าในชีวิตราชการก็มีอย่างนี้ เราก็เลือกจากทางเดินเหล่านั้นว่า เอาแหละเราจะแกร่งวิชา เมื่อแกร่งวิชา มันก็ต้องยืนอยู่บนหลักคุณธรรม จริยธรรม คนที่เป็นผู้นำจะต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตาม นำพาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีประสบการณ์ ทำงานด้วยกันได้ ด้วยการเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีคือ ต้องนำความรู้ ซึ่งได้เรียนมาใช้เป็นประโยชน์ นั้นก็คือลักษณะของการเป็นผู้นำ เมื่อท่านมีคุณธรรม ใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา แน่นอนเราไม่สามารถจะช่วยคนได้ทุกคน มาถึงวันหนึ่ง ก็ต้องใช้อุเบกขา คือต้องตัดใจ ลูกน้องบางคนไม่ดีก็ต้องลงโทษให้ออกจากราชการ ก็จำเป็นต้องพูดกัน และจำเป็นต้องทำ
"ประสบกรณ์ส่วนตัวอีกเรื่องหนึ่ง ตอนนี้เป็นผู้ใหญ่แล้ว เป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 2 มีการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงที่ผมเป็นแม่ทัพภาคอยู่ หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคใหญ่พรรคหนึ่ง ก็ให้ลูกน้องถือกระเป๋าเงินมาพบผมที่จ.สกลนคร ตอนนั้นผมไปประชุมที่จ.สกลนคร บอกพี่ครับ ท่านให้เอาเงินมาให้ แต่ผมไม่รู้ในกระเป๋ามีเงินเท่าไร ผมก็บอกว่า ขอบใจมาก แต่ว่าผมรับไม่ได้ เพราะความตั้งใจของผมก็คือ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งโดยใช้เงินใช้ทอง ถ้าท่านจะไปแจกที่อื่น ผมไม่ว่า แต่ว่าให้ผมนั้น ผมรับไม่ได้ เพราะผมไม่มีโอกาสไปพูดที่ไหน ผมไม่ได้ชื่นชมวิธีการแจกเงิน เมื่อผมปฎิเสธก็แน่นอน ถูกเพ่งเล็งมาตลอดว่าไม่ให้ความร่วมมือ"
ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่อยากจะเรียนกับท่านทั้งหลายว่า ถ้ายึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องเราก็คงต้องมันไม่เจริญก้าวหน้า อยู่แค่ไหนก็แค่นั้น จุดของความพอเพียง ถ้าเราตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม แล้วเรายืนอย่ตรงนั้น ก็คือความพอเพียง
"ผมได้ยิน พล.อ.พิจิตร กุลวณิชย์ องคมนตรี ท่านพูดหลายครั้ง บุคคลที่เป็นตัวอย่างคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ พันท้ายนรสิงห์ จะมีกี่คนที่มีความรับผิดชอบ และยอมรับผิดอย่างพันท้ายนรสิงห์บ้าง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราจะต้องนำมาให้คนในบ้านเมืองของเราตระหนักว่า แม้แต่ชีวิตก็ยอมที่จะเสียสละ ถ้าเป็นความรับผิดชอบของเขา และเขาทำผิด"
นั้นเป็นจุดอันหนึ่งที่อยากพูดว่า ถ้าเราไม่แก้เรื่องบุคคล ประกอบกับเรื่องของระบบ ทำอย่างไรก็แก้ไม่ได้ ฉะนั้น ข้าราชการทุกท่านก็ต้องตั้งอุดมการณ์ว่าจะไปแค่ไหน อย่างไร และยึดตรงนี้ไว้ งานของชาติบ้านเมือง งานที่ทำเป็นระบบก็จะง่ายขึ้น
เมื่อพูดถึงเรื่องระบบ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ใครที่อยู่ในวงราชการคงจะตระหนักได้ว่า ระบบราชการนั้นแม้ว่าจะได้มีความพยายามพัฒนาการปฏิบัติการมากขึ้น แต่ก็ขาดอิสระ และถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองมากเกินไป จนข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญ กำลังใจ และทำให้ข้าราชการหลายคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่วัฒนธรรมที่ไม่พึ่งประสงค์มากขึ้น ระบบอุปถัมภ์ก็เติบโตจนทำลายระบบคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีงาม และมีความสำคัญในการให้บ้านเมือง มีความเจริญ และก้าวหน้าอย่างมั่นคง
การขาดคุณธรรม และจริยธรรมในระบบราชการ มีผลกระทบต่อการทำงานของข้าราชการในการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ข้าราชการคือบุคคลที่นำนโยบายต่างๆไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ นอกจากตัวราชการแล้ว ระบบราชการหัวขบวนที่เราจะขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ หากข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญ กำลังใจ การทำราชการก็ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างที่เราพูดว่า "เช้าชาม เย็นชาม"ประชาชน และประเทศชาติก็ไม่ได้รับผลที่ดีจากการทำงานของข้าราชการ ก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ รัฐบาลนี้ จึงมีความคิดที่จะทำให้ข้าราชการมีอิสระ มีความมั่นคง ปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น สามารถทำงานในความรับผิดชอบแต่ละคน โดยไม่ต้องวิตกกังวล หรือเกรงกลัวในคำสั่งที่ผิดๆ ซึ่งรูปแบบที่เราจะพัฒนาต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องมีการปรึกษาหารือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
"ผมขอเรียนว่า ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของท่านทั้งหลายมีความสำคัญ มีความจำเป็นที่ต้องสร้างรูปแบบที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุด อย่างไรก็ตามผมขอเรียนไว้ ณ ที่นี้ว่า คำว่า "ข้าราชการ"หมายถึงความผูกพันที่เราจะต้องทำงานสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ดีที่สุด ข้าราชการ ก็คืองานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าราชการจะทำอย่างไรก็ต้องมองไปที่พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก ซึ่งจริงๆแล้ว ก็มีเป้าหมายสำคัญอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือเพื่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยของเรานั่นเอง"
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สำคัญ ที่อยากอัญเชิญมาไว้ในที่นี้ ก็มีอยู่ 3-4 ประเด็น คือ การทำงานอย่างมีความสุข หมายถึง ความสุขที่ได้ทำงานช่วยเหลือประชาชน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติ ความเพียร หมายถึง ความมุ่งมั่นทำงานโดยไม่ย่อท้อกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สุดท้าย คือ ความสามัคคี หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมือง ข้าราชการต้องยึดหลักการทำงานเหล่านี้เอาไว้ และต้องปรับลดอัตตวิสัยของตนเอง ของหน่วยงาน เลิกยึดติดการเป็นเจ้าของผลงาน ปรับให้ร่วมมือกันทำงานโดยไม่มีเจ้าของ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดความสุขแก่ประชาชน
เรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบนั้น เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานาน เป็นปัญหาสังคม เป็นธรรมดาองค์กรที่มีขนาดใหญ่อย่างระบบราชการ มีคนเป็นจำนวนมาก และต้องทำงานเกี่ยวข้องกับงบประมาณของประเทศ เมื่อมีคนเป็นจำนวนมากย่อมต้องมีทั้งคนดีและไม่ดี เมื่อมีโอกาสที่จะหาช่องทางทุจริตได้ ก็คงใช้โอกาสเหล่านั้น ถ้าเป็นคนที่ไม่มีจิตใจที่เข้มแข็งพอ ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ก็จะเผลอใจไปได้ง่ายๆ ตรงนี้ทางศาสนาพุทธพูดว่า"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"แต่บางครั้งก็มีคนพูดว่า"ทำชั่วได้ดีก็มีถมไป"แต่โดยความเป็นจริง โดยสัจจธรรมแล้ว กฎแห่งกรรมเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ แน่นอนไม่ว่าศาสนาใดๆ ก็พูดถึงเรื่องเหล่านี้ จะมาช้ามาเร็วก็เป็นเรื่องเห็นชัดเจน
บางครั้งคนเรามองว่า กรรม เป็นเรื่องในด้านที่ไม่ดี กรรมมี 2 ด้าน คือ กรรมดี กรรมเลว กรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากใคร แต่เกิดจากตัวเราเอง ถ้าทำดีกรรมนั้นก็ส่งผลดี ถ้าท่านชั่วกรรมนั้นก็ส่งผลชั่ว ในพระไตรปิฏก ได้กล่าวถึงเรื่องของกรรม เราคงได้ยินกันมามากมายว่า พระเทวทัต ซึ่งเป็นพระญาติของพระพุทธเจ้า ปองร้ายพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด พยายมแม้กระทั่งที่ว่าทำร้ายพระพุทธองค์ ในพระไตรปิฏกเขียนชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าได้เล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ท่านเองเป็นผู้ที่เริ่มกรรมกับพระเทวทัตในอดีตชาติที่ผ่านมา ท่านเคยทำร้ายเทวทัตจนถึงแก่ชีวิตมาแล้ว เพราะฉะนั้นในชาติที่เป็นพระพุทธองค์ เทวทัต ถึงได้มาทำกรรมตอบแทน แต่ว่าด้วยกรรมดีที่พระพุทธองค์บำเพ็ญมา แม้เทวทัตพยายามที่จะกลิ้นหินให้ทับพระพุทธองค์ หินก้อนใหญ่ไม่ถูก เศษหินมาถูกที่นิ้วของพระองค์ถึงกับเลือดไหล นั่นแหละคือผลกรรมในอดีตที่พระพุทธองค์ได้ทำมา
ปัจจุบันร่างกายของคนเราได้พิสูจน์ชัดเจนว่า มันมียีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาเสมอ สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือ พันธุกรรม นั้นเป็นกรรมอันหนึ่งที่ชัดเจนแน่นอน ที่พิสูจน์ทราบทางธรรมชาติ และทางวิทยาสตร์ที่แน่นอนแล้ว ฉะนั้นถ้าเราได้ตระหนักกันว่า เราตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ทำกรรมดี แน่นอนสิ่งนั้นจะต้องปรากฏขึ้นมา ในส่วนของกฎแห่งกรรมนี้ ก็เป็นอีกอันหนึ่งเป็นเครื่องบำรุงใจว่า ถ้าเราทำกรรมดีแล้วในอนาคตสิ่งเหล่านั้นก็จะมาตอบแทนเราเสมอ ไม่ช้าก็เร็ว อยากจะบอกว่า คุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นในใจของข้าราชการ เราจะต้องมีหลักยึด มีเป้าหมาย มีธงที่เราจะปักไว้ในใจของเราเอง ถ้าเราไม่สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ระบบหรือกลไกต่างๆ ที่เราสร้างมาก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ส่วนในเรื่องของงบประมาณ อยากเรียนว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เป็นงบประมาณก็เป็นของประชาชน มาจากประชาชน จึงไม่พ้นที่ตกอยู่ในสายตาและการตรวจสอบของประชาชน ในขณะนั้นเราก็อาจจะมองมุมหนึ่งว่า ของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ใครที่คิดทุจริตหรือประพฤติมิชอบ เบียดบังผลประโยชน์จากงบประมาณ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะหลีกหนีความผิดไปได้
"ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราจะมาพูดถึงวาระแห่งชาติ เรื่องการสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการเวลานี้ เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันสร้างมาตรฐาน สร้างคุณภาพการทำงานให้ดีขึ้นในภาคราชการต่อไป ผมมีความเข้าใจดีว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ยังมีรายได้ค่อนข้างน้อย หากเปรียบเทียบกับภาคเอกชนในบางสาขาอาชีพ แต่หากเปรียบเทียบกับประชาชนโดยทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะภาคเกษตรกร ก็สามารถเดาได้ว่าข้าราชการของเรายังมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก การที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ได้อยู่ที่มีรายได้มาก รายได้น้อย แต่อยู่ที่การปฏิบัติตน และความพอเพียง และใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล มีเหตุ มีผล ไม่ประมาท ฟุ้งเฟื้อเกินไป ระมัดระวัง ผมคิดว่าเราสามารถยืนอยู่บนเกียรติและศักดิ์ศรีของเราได้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิด ข้อเสนอแนะที่ได้รับในวันนี้ และการที่ข้าราชการทั่วประเทศจะได้นำเรื่องการสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบไปปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรม และค่านิยมอันดีงามต่อไป ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อไป