เมื่อคำว่า "สนธิ" เป็นคำเรียกนาม-เรียกขาน เป็นคำที่รู้จักกันอยู่ในแผ่นดินของวันนี้, จึงควรจะรู้จักคำนี้ให้มากกว่าการได้ออกจากปาก หรือผ่านหู-หรือรู้จัก
มิใช่ว่า "สนธิ" ในวันนี้, เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่ให้ทั้งความหวังและความหมายมาก แต่คำนี้ ถือว่าเป็นคำหรือเป็นศัพท์โบราณที่สุดของวงการทหาร ที่ใช้กันมานาน และต่อเนื่องนับย้อนได้ถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันมีคำนี้ปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาที่เมืองแคลง แล้ว "บรรดาหัวเมืองมอญน้อยใหญ่ ได้เข้าอ่อนน้อม และสนธิด้วยเป็นอันมาก"
"สนธิ" เป็นศัพท์ทางทหารอยู่จนบัดนี้ และคงจะอยู่ตลอดไป ที่ใช้ในเมื่อ "กำลัง" ของทั้ง 2 ส่วนหรือมากกว่าจะเป็นกี่ส่วนก็ตาม ได้มาบรรจบพบกัน แล้วผสมรวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว เพื่อดำเนินกลศึกต่อไป-นั่นคือการ "สนธิกำลัง" หรือ "ทุกส่วนได้เข้าสนธิกัน" และเมื่อสนธิกันแล้ว ก็ไม่มีการแยกออกจากกัน เหมือนกับการก่อกำเนิดแห่งชีวิต คือการที่อวัยวะต่างๆ ได้เข้าประกอบเป็นร่าง และเป็น "ปฏิสนธิ" ของมนุษย์
คำว่า "สนธิกำลัง" นั้นมีความหมายมากกว่าการบรรจบกำลัง โดยสองคำนี้แยกความหมายและลักษณะกัน คือการมาบรรจบ ก็คือการได้มาพบ ณ จุดหมายตำบลนัดพบ แล้วต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ แต่สนธิกำลังคือการบรรจบพบกันแล้ว ก็เป็นกำลังที่ไปด้วยกัน และทำด้วยกันตามยุทธการที่กำหนด
คำอันเป็นยุทธการแต่โบราณนี้ ยังใช้อยู่ในทุกยุทธการไม่ว่าจะเป็นหน่วยขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ รวมทั้งการเข้าผสมต่างเหล่า เช่น ทหารราบกับทหารม้า ทหารปืนใหญ่ หรือการเข้าผสมเป็นสนธิกำลังต่างทัพของทหารบกกับทหารเรือ ทหารอากาศ เพื่อที่จะ "ยาตราทัพ" ต่อไป-ซึ่งคำว่า "ยาตรา" นี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่ เป็นภาษาของการศึกสงครามที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดทางภาษาและความหมายมาแต่การจัดทัพของบรรพชนนักรบในอดีต และมิใช่แต่ใช้กันในสงครามทางบกเท่านั้น ทางทหารเรือก็ใช้คำว่า "ยาตราเรือ" เช่นกัน ทางทหารเรือยังมีคำโบราณที่มากกว่านั้นอยู่อีกหลายคำ แม้ว่าจะเป็นกองเรือสมัยใหม่ ใช้จรวดนำวิถีแล้วก็ตาม เช่นคำว่า "โอวาทยุทธการ" ของผู้บังคับบัญชาก่อนจะยาตราเรือออกทะเล
"สนธิ" เป็นคำของทหารใช้ในการทหาร และใช้ในยามออกศึกสงคราม การปฏิบัติการรบนี้ มิใช่เป็นแต่ "คำ" หรือเป็นนามบุคคลเท่านั้น, คำว่า "สนธิ" ยังเป็นชื่อของสถานที่อันมีปรากฏอยู่ และมีที่มาอันเกี่ยวข้องกับการศึกที่เกี่ยวข้องกับการ "สนธิกำลัง" คือ 1. เป็นลำสนธิ ในตำบลหนองรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี 2. วัดลำสนธิที่อยู่ในบริเวณนั้น และ 3. ลำน้ำสายหนึ่งที่มีชื่อว่า "ลำสนธิ"
ในแผนที่เดินทัพสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีปรากฏว่า จุด "สนธิกำลัง" อยู่ที่บริเวณนี้ ในการที่จะยาตราทัพไปสู่ที่ราบสูงโคราช และสู่หัวเมืองลาว ทั้งเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง โดยที่เส้นทางคมนาคมในสมัยโบราณนั้นใช้เส้นทางตามลำน้ำเป็นหลัก กองทัพจากศูนย์กลางคือ กรุงเทพมหานครจะไปยังหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือหรือแดนลาวนี้ ต้องรวมพลกันที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่น เมืองสวรรค์ (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) เมืองอินทร์ (อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองพรหม (อำเภอพรหม จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองป่าโมก เมืองวิเศษชัยชาญ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในอ่างทอง จะมารวมพลบรรจบกันกับทัพเมืองหลวงที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยา แล้วเดินทางโดยเรือแพไปตามลำน้ำป่าสัก ที่วัดหลวงพ่อพนัญเชิงไปบรรจบกำลังกับเมืองสระบุรี ที่เตรียมรับอยู่ ณ ตำบลแก่งคอย (อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี) ซึ่งมีแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำป่าสักอยู่ ต้องคอยท่าเปลี่ยนเรือแพชุดใหม่กันที่นั่น อันเป็นจุดนัดพบ คือแก่งคอยไปตามลำน้ำป่าสักที่มีกำลังของเมืองชัยบาดาลรออยู่ ณ จุดหมายของการรวมทัพใหญ่ที่บริเวณเมืองบัวชุม และหัวเมืองทางเหนือของแม่น้ำป่าสักขึ้นไปคือ เมืองวิเชียรบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มสัก เมืองหล่มเก่า (อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์-รวมทั้งอำเภอวิเชียรบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของเพชรบูรณ์) ได้ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสักจากเหนือลงใต้ มาบรรจบกับกองทัพที่ทวนน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ บริเวณที่มาพบกันนั้น คือจุดที่ลำน้ำสายหนึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก แล้วจัดกระบวนทัพเป็นกระบวนบก จัดหมวดหมู่กรมกองกันอยู่บริเวณเชิงเทือกเขาสูงชัน ที่ตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นการ "สนธิกำลัง" กันอย่างสมบูรณ์ เพื่อยาตราต่อไปยังที่หมาย
ลำน้ำที่มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก และกำลังที่มาทางเรือได้จัดเป็นกระบวนบกนั้น มีชื่อว่า ลำน้ำสนธิ และบริเวณที่จัดกระบวนทัพ พักผ่อนไพร่พล ดำเนินการสนธิกำลังกันนั้น คือบ้านลำสนธิ หรือบ้านสนธิ
แล้วกระบวนทัพที่สนธิกำลังกันแล้ว ก็เดินทัพเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ข้ามเทือกเขาสูงทางด้านตะวันออกนั้น คือเทือกเขาที่ปรากฏชื่อในแผนที่เดินทัพครั้งรัชกาลที่ 1 ว่า "ทิวเขากำแพงโคราช" คือมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันปานกำแพงเมือง ทันความชันมาทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ภูพังเหย" ที่จุดสูงสุดของภูนี้สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร มีความยาวเป็นพืดติดต่อกับเทือกเขาใหญ่ (ที่บริเวณลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ไปจนถึงเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วเข้าสู่เทือกเขาหลวง ภูเรือ จังหวัดเลย ถึงแม่น้ำโขง
การเดินทัพจากลำสนธิ ที่สนธิกำลังกันแล้ว จะผ่านช่องเขาที่ว่ามีความลาดน้อยกว่าจุดอื่น คือบ้านป่าลาน ซึ่งเป็นช่องทางโบราณมาตั้งแต่สมัยขอม แผ่อิทธิพลลงมาสู่แผ่นดินที่ราบลุ่มเจ้าพระยา หลังจากที่มีการตัดถนนสายสุรนารายณ์ ระหว่างนครราชสีมากับลพบุรี ผ่านช่องเขาอีกช่องหนึ่งชื่อช่องสำราญ ซึ่งน่าจะเป็นคำใหม่ที่เพี้ยนมาจาก "ป่าลาน" หรือที่มีผู้แย้งว่า เป็นคำโบราณสมัยขอมที่เรียกว่า "ช่องสราญ" อันยังไม่มีการยุติถึงที่มาของคำนี้ แต่สำหรับผู้ที่มีความลึกซึ้งในความหมายของภาษาไทย คิดกัน 5 ชั้น ก็จะได้ความหมายออกไปอีกทางหนึ่งว่าเป็น "ช่อง" ที่มีแต่ความสุขและให้ความสุขมากกว่าช่องใดๆ ก็แล้วแต่จะคิด หรือให้ความหมายกันไปว่า "สำราญ" นั้นคืออะไร?
ความเป็นมาของคำว่า "สนธิ" และสถานที่คือ บ้านลำสนธิ ลำน้ำที่ชื่อลำสนธินี้รวบรวม และประมวลมาจากหลักฐานหลายแห่ง แต่ที่เป็นของทางราชการคือ การประมวลหลักฐานภูมิประเทศทางประวัติศาสตร์ของศูนย์การทหารราบ ตั้งแต่ศูนย์การทหารราบหรือ ศร.ยังมีที่ตั้งอยู่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เช่นในปัจจุบัน และจากการค้นคว้าทางบุคคลของนายวรวิทย์ วงศ์สุวรรณ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นผู้อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมคนสำคัญ ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในจังหวัดลพบุรี
ได้ทราบที่มาของ "สนธิ" อันเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักมาแต่โบราณแล้ว ว่า บ้านลำสนธิ ลำน้ำ ลำสนธิ-อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ซึ่งแยกจากอำเภอชัยบาดาลมาเป็นอำเภอ เมื่อ 20 ปีก่อน มีความเป็นมาเช่นนี้ และปัจจุบันลำสนธิก็เป็นเส้นทางหลักของการคมนาคมทางถนนจากภาคกลาง ภาคเหนือสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยถนนสุรนารายณ์ ก็ใช้เส้นทางโบราณตั้งแต่การเดินทางสมัยขอมเป็นแนวถนนสู่ทิวเขากำแพงโคราช หรือภูพังเหยไปสู่อำเภอเทพสถิต ดินแดนทุ่งดอกกระเจียวอันเลื่องชื่อแห่งเดียวในโลก และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เข้าสู่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หรือไปสู่อำเภอพระทองคำ อำเภอโนนไทยสู่ตัวเมืองโคราช ที่แยกกันได้เป็น 2 สาย โดยที่ประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ดั้งเดิมและแท้จริงอยู่ที่ถนนสายนี้ มิใช่ถนนมิตรภาพที่เพิ่งตัดใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งสหรัฐอเมริกามาเป็นผู้ตัดถนน และสร้างไว้ให้โดยมองผลทางยุทธศาสตร์ก่อนจะเปิดฉากสงครามเวียดนาม
จาก "สนธิ" อันเป็นสถานที่ และ "สนธิ" คำทางยุทธการของทหารดังกล่าวนั้น
มาสู่ "สนธิ" อันเป็นตัวตนของบุคคล
คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.)
กับ "สนธิ ลิ้มทองกุล" ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ซึ่ง "สนธิ" ทั้งสองได้เข้าสนธิกันทั้งรูปแบบ/ยุทธการ/การปฏิบัติการ คือการสนธิกันได้อย่างชัดเจนในเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน 2549 อันเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ประชาชนมือเปล่า แต่มีอาวุธร้ายแรงอยู่ที่จิตใจ ได้นำไปสู่การปฏิบัติการทางทหาร เป็นสหายร่วมรบในการโค่นล้มประชาธิปไตยในระบอบทักษิณ มาเป็นประชาธิปไตยอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญนิติประเพณี และการปกครองที่คนไทยยอมรับและปกป้อง คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นั่นเป็นการสนธิกำลังทางยุทธการอย่างชัดเจน ในรูปแบบสงครามที่เรียกกันว่า CIVIL WAR
ที่มีแรงหน่วงและแรงเหนี่ยวอยู่ด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น โดยที่แรงหน่วงและแรงเหนี่ยวนั้น เป็นปฏิกิริยาที่มีความสัมพันธ์สามารถสนธิกำลังเป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยเนื้อนั้นเป็นเนื้อแท้ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
CIVIL WAR เป็นสงครามนอกแบบ ซึ่งพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เติบโตมาจากหน่วยรบพิเศษที่มีหลักหรือค่านิยมการปฏิบัติสงครามแบบนี้อยู่แล้ว ย่อมเห็นว่า เมื่อตัดสินใจทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล "ทักษิณ" ในวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิวัติมีกำลังของ CIVIL WAR อยู่ในมืออย่างเพียงพอ มีกำลังอยู่หลายแสนคน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มิใช่จะเคียงบ่าเคียงไหล่กันเท่านั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เดินออกหน้าไปแล้ว โดยการสูบอำนาจให้เป็นสุญญากาศ และทหารเข้ายึดภายใต้สุญญากาศนั้น
หากมองตามรูปของสงครามในแบบ ก็เปรียบกันได้กับการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระดมยิงด้วยปืนใหญ่เข้าสู่ที่หมายข้างหน้า จนบริเวณตำบลกระสุนตกนั้นถูกทำลาย หรือทำให้อ่อนกำลังลง ทหารม้าเข้ากวาดล้างด้วยอำนาจการยิงและการเข้าทำลายอย่างรวดเร็วของปืนใหญ่รถถัง และเครื่องยิงระเบิด คือ ค.ขนาดหนัก เป็นพื้นที่เฉพาะจุดตามแบบยุทธวิธีของทหารม้าและทหารราบที่เรียกว่า มินิแคฟ-MINI CAV
หลัง MINI CAV ผ่านไป ทหารช่างได้เข้าทำลายส่วนที่เหลือคือบังเกอร์ที่กำบังหลุมเพราะทั้งหลาย พร้อมกับการกู้เก็บระเบิด สถาปนาพื้นที่ภายใต้การยึดครอง
ผู้ที่เข้ามาเป็น "ส่วนหลัง" ก็คือผู้ที่เคยเป็น "ส่วนหน้า" เข้าพิทักษ์พื้นที่ ซึ่งส่วนนี้คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, โดยตามหลักของทหารในการพิทักษ์ส่วนหลังนี้อยู่กับ ฝ่ายอำนวยการที่ 5 หรือ ฝอ. 5 อันได้แก่ ทหารที่เรียกว่า "ฝ่ายกิจการพลเรือน" ที่จะต้องดำรงความมั่นคงและปลอดภัยในพื้นที่ส่วนหลังทุกรูปแบบ ที่ต้องมี ฝอ. 5 รับผิดชอบพื้นที่ส่วนหลังนั้น เป็นเพราะสรรพกำลังของทหารนั้น มีไม่มากพอที่จะเข้าตี แล้วยึดไว้ด้วยกำลังได้อย่างเต็มพื้นที่ โดยการสถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ส่วนหลังนี้ ก็จะต้องมีอุปสรรค มีสิ่งกีดขวางหรือการขัดขวางอยู่บ้าง
ดังเช่นความคิด หรือความต้องการที่จะให้การชุมนุมที่สนามหลวงในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เป็นการชุมนุมใหญ่
โดยหวังจะขยายผล สร้างแรงเสียดทาน เป”ดพลังกดดันทางการเมือง ซึ่งนั่นเป็นยุทธการของผู้แพ้ เพราะผู้ชนะจะไม่ทำอย่างนั้นเลย, ไม่ว่าจะเป็นสงครามในแบบหรือนอกแบบ การต่อสู้เพื่อหวังชัยชนะกลับคืน จะต้องเป็นไปโดยฉลาดและสงบ เพราะการชุมนุมเช่นว่านั้น เป็นลักษณะของการหมดทางสู้ เป็นการเปิดเผยกำลัง ยอดกำลังว่ามีเท่าใด และจะเปิดเผยถึงแหล่งเสบียงท่อน้ำเลี้ยงด้วย ซึ่งนั่นเป็นความคิดวางแผนแบบ "เมียตำรวจ" ของพันตำรวจโทอดีตรองผู้กำกับการคนหนึ่งเท่านั้น และเมียตำรวจอย่างนี้ก็คงยากที่จะเข้าใจในเรื่องการสนธิกำลังหรือ CIVIL WAR ซึ่งมิใช่ว่าผัวไม่ได้สอน-แต่เป็นสิ่งที่ผัวก็ไม่ได้เรียนมาเหมือนกัน
ดังนั้น จึงพอมองเห็นได้ล่วงหน้าว่า วันที่ 10 ธันวาคมนี้ จะไม่มีอะไรมากไปกว่า การพยายามดิ้นรนจนผ้าหลุด! เพราะโดยสถานการณ์ทั่วไปนั้น การครอบคลุมพื้นที่ส่วนหลัง ยังคงแน่นหนามั่นคงอยู่
ที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ว่าจะมีรายการใหม่คือ "สนธิถึงสนธิ" นั้น เป็นรายงานสำหรับสาธารณชน เพราะในความจริงแล้ว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน กับ สนธิ ลิ้มทองกุล ก็ได้มีการ "สนธิกำลัง" เป็นแบบสนธิถึงสนธิกันมาก่อนหน้านี้แล้ว และเวลานี้ก็ยังเป็นการสนธิกำลังกันอยู่ระหว่างสนธิทั้งสอง
สิ่งที่น่าจะทำสำหรับ "สนธิทั้งสอง" น่าจะได้ "สนธิ" ในบางสิ่งไว้เป็นอนุสรณ์ เช่น การสร้างอาคารห้องสมุดให้กับโรงเรียนบ้านลำสนธิ หรือสร้างอาคารผู้ป่วยที่โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เพราะสิ่งที่เหมือนกันโดยชื่อ และความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาใหญ่ของบ้านเมืองที่ผ่านมานั้น เป็นการสนธิกันทางยุทธการ อันเป็นการยากที่ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นมาได้อีก
มิใช่ว่า "สนธิ" ในวันนี้, เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่ให้ทั้งความหวังและความหมายมาก แต่คำนี้ ถือว่าเป็นคำหรือเป็นศัพท์โบราณที่สุดของวงการทหาร ที่ใช้กันมานาน และต่อเนื่องนับย้อนได้ถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันมีคำนี้ปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาที่เมืองแคลง แล้ว "บรรดาหัวเมืองมอญน้อยใหญ่ ได้เข้าอ่อนน้อม และสนธิด้วยเป็นอันมาก"
"สนธิ" เป็นศัพท์ทางทหารอยู่จนบัดนี้ และคงจะอยู่ตลอดไป ที่ใช้ในเมื่อ "กำลัง" ของทั้ง 2 ส่วนหรือมากกว่าจะเป็นกี่ส่วนก็ตาม ได้มาบรรจบพบกัน แล้วผสมรวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว เพื่อดำเนินกลศึกต่อไป-นั่นคือการ "สนธิกำลัง" หรือ "ทุกส่วนได้เข้าสนธิกัน" และเมื่อสนธิกันแล้ว ก็ไม่มีการแยกออกจากกัน เหมือนกับการก่อกำเนิดแห่งชีวิต คือการที่อวัยวะต่างๆ ได้เข้าประกอบเป็นร่าง และเป็น "ปฏิสนธิ" ของมนุษย์
คำว่า "สนธิกำลัง" นั้นมีความหมายมากกว่าการบรรจบกำลัง โดยสองคำนี้แยกความหมายและลักษณะกัน คือการมาบรรจบ ก็คือการได้มาพบ ณ จุดหมายตำบลนัดพบ แล้วต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ แต่สนธิกำลังคือการบรรจบพบกันแล้ว ก็เป็นกำลังที่ไปด้วยกัน และทำด้วยกันตามยุทธการที่กำหนด
คำอันเป็นยุทธการแต่โบราณนี้ ยังใช้อยู่ในทุกยุทธการไม่ว่าจะเป็นหน่วยขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ รวมทั้งการเข้าผสมต่างเหล่า เช่น ทหารราบกับทหารม้า ทหารปืนใหญ่ หรือการเข้าผสมเป็นสนธิกำลังต่างทัพของทหารบกกับทหารเรือ ทหารอากาศ เพื่อที่จะ "ยาตราทัพ" ต่อไป-ซึ่งคำว่า "ยาตรา" นี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่ เป็นภาษาของการศึกสงครามที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดทางภาษาและความหมายมาแต่การจัดทัพของบรรพชนนักรบในอดีต และมิใช่แต่ใช้กันในสงครามทางบกเท่านั้น ทางทหารเรือก็ใช้คำว่า "ยาตราเรือ" เช่นกัน ทางทหารเรือยังมีคำโบราณที่มากกว่านั้นอยู่อีกหลายคำ แม้ว่าจะเป็นกองเรือสมัยใหม่ ใช้จรวดนำวิถีแล้วก็ตาม เช่นคำว่า "โอวาทยุทธการ" ของผู้บังคับบัญชาก่อนจะยาตราเรือออกทะเล
"สนธิ" เป็นคำของทหารใช้ในการทหาร และใช้ในยามออกศึกสงคราม การปฏิบัติการรบนี้ มิใช่เป็นแต่ "คำ" หรือเป็นนามบุคคลเท่านั้น, คำว่า "สนธิ" ยังเป็นชื่อของสถานที่อันมีปรากฏอยู่ และมีที่มาอันเกี่ยวข้องกับการศึกที่เกี่ยวข้องกับการ "สนธิกำลัง" คือ 1. เป็นลำสนธิ ในตำบลหนองรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี 2. วัดลำสนธิที่อยู่ในบริเวณนั้น และ 3. ลำน้ำสายหนึ่งที่มีชื่อว่า "ลำสนธิ"
ในแผนที่เดินทัพสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีปรากฏว่า จุด "สนธิกำลัง" อยู่ที่บริเวณนี้ ในการที่จะยาตราทัพไปสู่ที่ราบสูงโคราช และสู่หัวเมืองลาว ทั้งเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง โดยที่เส้นทางคมนาคมในสมัยโบราณนั้นใช้เส้นทางตามลำน้ำเป็นหลัก กองทัพจากศูนย์กลางคือ กรุงเทพมหานครจะไปยังหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือหรือแดนลาวนี้ ต้องรวมพลกันที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่น เมืองสวรรค์ (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) เมืองอินทร์ (อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองพรหม (อำเภอพรหม จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองป่าโมก เมืองวิเศษชัยชาญ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในอ่างทอง จะมารวมพลบรรจบกันกับทัพเมืองหลวงที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยา แล้วเดินทางโดยเรือแพไปตามลำน้ำป่าสัก ที่วัดหลวงพ่อพนัญเชิงไปบรรจบกำลังกับเมืองสระบุรี ที่เตรียมรับอยู่ ณ ตำบลแก่งคอย (อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี) ซึ่งมีแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำป่าสักอยู่ ต้องคอยท่าเปลี่ยนเรือแพชุดใหม่กันที่นั่น อันเป็นจุดนัดพบ คือแก่งคอยไปตามลำน้ำป่าสักที่มีกำลังของเมืองชัยบาดาลรออยู่ ณ จุดหมายของการรวมทัพใหญ่ที่บริเวณเมืองบัวชุม และหัวเมืองทางเหนือของแม่น้ำป่าสักขึ้นไปคือ เมืองวิเชียรบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มสัก เมืองหล่มเก่า (อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์-รวมทั้งอำเภอวิเชียรบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของเพชรบูรณ์) ได้ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสักจากเหนือลงใต้ มาบรรจบกับกองทัพที่ทวนน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ บริเวณที่มาพบกันนั้น คือจุดที่ลำน้ำสายหนึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก แล้วจัดกระบวนทัพเป็นกระบวนบก จัดหมวดหมู่กรมกองกันอยู่บริเวณเชิงเทือกเขาสูงชัน ที่ตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นการ "สนธิกำลัง" กันอย่างสมบูรณ์ เพื่อยาตราต่อไปยังที่หมาย
ลำน้ำที่มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก และกำลังที่มาทางเรือได้จัดเป็นกระบวนบกนั้น มีชื่อว่า ลำน้ำสนธิ และบริเวณที่จัดกระบวนทัพ พักผ่อนไพร่พล ดำเนินการสนธิกำลังกันนั้น คือบ้านลำสนธิ หรือบ้านสนธิ
แล้วกระบวนทัพที่สนธิกำลังกันแล้ว ก็เดินทัพเข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ข้ามเทือกเขาสูงทางด้านตะวันออกนั้น คือเทือกเขาที่ปรากฏชื่อในแผนที่เดินทัพครั้งรัชกาลที่ 1 ว่า "ทิวเขากำแพงโคราช" คือมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันปานกำแพงเมือง ทันความชันมาทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ภูพังเหย" ที่จุดสูงสุดของภูนี้สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร มีความยาวเป็นพืดติดต่อกับเทือกเขาใหญ่ (ที่บริเวณลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ไปจนถึงเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วเข้าสู่เทือกเขาหลวง ภูเรือ จังหวัดเลย ถึงแม่น้ำโขง
การเดินทัพจากลำสนธิ ที่สนธิกำลังกันแล้ว จะผ่านช่องเขาที่ว่ามีความลาดน้อยกว่าจุดอื่น คือบ้านป่าลาน ซึ่งเป็นช่องทางโบราณมาตั้งแต่สมัยขอม แผ่อิทธิพลลงมาสู่แผ่นดินที่ราบลุ่มเจ้าพระยา หลังจากที่มีการตัดถนนสายสุรนารายณ์ ระหว่างนครราชสีมากับลพบุรี ผ่านช่องเขาอีกช่องหนึ่งชื่อช่องสำราญ ซึ่งน่าจะเป็นคำใหม่ที่เพี้ยนมาจาก "ป่าลาน" หรือที่มีผู้แย้งว่า เป็นคำโบราณสมัยขอมที่เรียกว่า "ช่องสราญ" อันยังไม่มีการยุติถึงที่มาของคำนี้ แต่สำหรับผู้ที่มีความลึกซึ้งในความหมายของภาษาไทย คิดกัน 5 ชั้น ก็จะได้ความหมายออกไปอีกทางหนึ่งว่าเป็น "ช่อง" ที่มีแต่ความสุขและให้ความสุขมากกว่าช่องใดๆ ก็แล้วแต่จะคิด หรือให้ความหมายกันไปว่า "สำราญ" นั้นคืออะไร?
ความเป็นมาของคำว่า "สนธิ" และสถานที่คือ บ้านลำสนธิ ลำน้ำที่ชื่อลำสนธินี้รวบรวม และประมวลมาจากหลักฐานหลายแห่ง แต่ที่เป็นของทางราชการคือ การประมวลหลักฐานภูมิประเทศทางประวัติศาสตร์ของศูนย์การทหารราบ ตั้งแต่ศูนย์การทหารราบหรือ ศร.ยังมีที่ตั้งอยู่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เช่นในปัจจุบัน และจากการค้นคว้าทางบุคคลของนายวรวิทย์ วงศ์สุวรรณ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นผู้อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมคนสำคัญ ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในจังหวัดลพบุรี
ได้ทราบที่มาของ "สนธิ" อันเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักมาแต่โบราณแล้ว ว่า บ้านลำสนธิ ลำน้ำ ลำสนธิ-อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ซึ่งแยกจากอำเภอชัยบาดาลมาเป็นอำเภอ เมื่อ 20 ปีก่อน มีความเป็นมาเช่นนี้ และปัจจุบันลำสนธิก็เป็นเส้นทางหลักของการคมนาคมทางถนนจากภาคกลาง ภาคเหนือสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยถนนสุรนารายณ์ ก็ใช้เส้นทางโบราณตั้งแต่การเดินทางสมัยขอมเป็นแนวถนนสู่ทิวเขากำแพงโคราช หรือภูพังเหยไปสู่อำเภอเทพสถิต ดินแดนทุ่งดอกกระเจียวอันเลื่องชื่อแห่งเดียวในโลก และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เข้าสู่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หรือไปสู่อำเภอพระทองคำ อำเภอโนนไทยสู่ตัวเมืองโคราช ที่แยกกันได้เป็น 2 สาย โดยที่ประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ดั้งเดิมและแท้จริงอยู่ที่ถนนสายนี้ มิใช่ถนนมิตรภาพที่เพิ่งตัดใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งสหรัฐอเมริกามาเป็นผู้ตัดถนน และสร้างไว้ให้โดยมองผลทางยุทธศาสตร์ก่อนจะเปิดฉากสงครามเวียดนาม
จาก "สนธิ" อันเป็นสถานที่ และ "สนธิ" คำทางยุทธการของทหารดังกล่าวนั้น
มาสู่ "สนธิ" อันเป็นตัวตนของบุคคล
คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.)
กับ "สนธิ ลิ้มทองกุล" ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ซึ่ง "สนธิ" ทั้งสองได้เข้าสนธิกันทั้งรูปแบบ/ยุทธการ/การปฏิบัติการ คือการสนธิกันได้อย่างชัดเจนในเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน 2549 อันเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ประชาชนมือเปล่า แต่มีอาวุธร้ายแรงอยู่ที่จิตใจ ได้นำไปสู่การปฏิบัติการทางทหาร เป็นสหายร่วมรบในการโค่นล้มประชาธิปไตยในระบอบทักษิณ มาเป็นประชาธิปไตยอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญนิติประเพณี และการปกครองที่คนไทยยอมรับและปกป้อง คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นั่นเป็นการสนธิกำลังทางยุทธการอย่างชัดเจน ในรูปแบบสงครามที่เรียกกันว่า CIVIL WAR
ที่มีแรงหน่วงและแรงเหนี่ยวอยู่ด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น โดยที่แรงหน่วงและแรงเหนี่ยวนั้น เป็นปฏิกิริยาที่มีความสัมพันธ์สามารถสนธิกำลังเป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยเนื้อนั้นเป็นเนื้อแท้ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
CIVIL WAR เป็นสงครามนอกแบบ ซึ่งพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เติบโตมาจากหน่วยรบพิเศษที่มีหลักหรือค่านิยมการปฏิบัติสงครามแบบนี้อยู่แล้ว ย่อมเห็นว่า เมื่อตัดสินใจทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล "ทักษิณ" ในวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิวัติมีกำลังของ CIVIL WAR อยู่ในมืออย่างเพียงพอ มีกำลังอยู่หลายแสนคน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มิใช่จะเคียงบ่าเคียงไหล่กันเท่านั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เดินออกหน้าไปแล้ว โดยการสูบอำนาจให้เป็นสุญญากาศ และทหารเข้ายึดภายใต้สุญญากาศนั้น
หากมองตามรูปของสงครามในแบบ ก็เปรียบกันได้กับการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระดมยิงด้วยปืนใหญ่เข้าสู่ที่หมายข้างหน้า จนบริเวณตำบลกระสุนตกนั้นถูกทำลาย หรือทำให้อ่อนกำลังลง ทหารม้าเข้ากวาดล้างด้วยอำนาจการยิงและการเข้าทำลายอย่างรวดเร็วของปืนใหญ่รถถัง และเครื่องยิงระเบิด คือ ค.ขนาดหนัก เป็นพื้นที่เฉพาะจุดตามแบบยุทธวิธีของทหารม้าและทหารราบที่เรียกว่า มินิแคฟ-MINI CAV
หลัง MINI CAV ผ่านไป ทหารช่างได้เข้าทำลายส่วนที่เหลือคือบังเกอร์ที่กำบังหลุมเพราะทั้งหลาย พร้อมกับการกู้เก็บระเบิด สถาปนาพื้นที่ภายใต้การยึดครอง
ผู้ที่เข้ามาเป็น "ส่วนหลัง" ก็คือผู้ที่เคยเป็น "ส่วนหน้า" เข้าพิทักษ์พื้นที่ ซึ่งส่วนนี้คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, โดยตามหลักของทหารในการพิทักษ์ส่วนหลังนี้อยู่กับ ฝ่ายอำนวยการที่ 5 หรือ ฝอ. 5 อันได้แก่ ทหารที่เรียกว่า "ฝ่ายกิจการพลเรือน" ที่จะต้องดำรงความมั่นคงและปลอดภัยในพื้นที่ส่วนหลังทุกรูปแบบ ที่ต้องมี ฝอ. 5 รับผิดชอบพื้นที่ส่วนหลังนั้น เป็นเพราะสรรพกำลังของทหารนั้น มีไม่มากพอที่จะเข้าตี แล้วยึดไว้ด้วยกำลังได้อย่างเต็มพื้นที่ โดยการสถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ส่วนหลังนี้ ก็จะต้องมีอุปสรรค มีสิ่งกีดขวางหรือการขัดขวางอยู่บ้าง
ดังเช่นความคิด หรือความต้องการที่จะให้การชุมนุมที่สนามหลวงในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เป็นการชุมนุมใหญ่
โดยหวังจะขยายผล สร้างแรงเสียดทาน เป”ดพลังกดดันทางการเมือง ซึ่งนั่นเป็นยุทธการของผู้แพ้ เพราะผู้ชนะจะไม่ทำอย่างนั้นเลย, ไม่ว่าจะเป็นสงครามในแบบหรือนอกแบบ การต่อสู้เพื่อหวังชัยชนะกลับคืน จะต้องเป็นไปโดยฉลาดและสงบ เพราะการชุมนุมเช่นว่านั้น เป็นลักษณะของการหมดทางสู้ เป็นการเปิดเผยกำลัง ยอดกำลังว่ามีเท่าใด และจะเปิดเผยถึงแหล่งเสบียงท่อน้ำเลี้ยงด้วย ซึ่งนั่นเป็นความคิดวางแผนแบบ "เมียตำรวจ" ของพันตำรวจโทอดีตรองผู้กำกับการคนหนึ่งเท่านั้น และเมียตำรวจอย่างนี้ก็คงยากที่จะเข้าใจในเรื่องการสนธิกำลังหรือ CIVIL WAR ซึ่งมิใช่ว่าผัวไม่ได้สอน-แต่เป็นสิ่งที่ผัวก็ไม่ได้เรียนมาเหมือนกัน
ดังนั้น จึงพอมองเห็นได้ล่วงหน้าว่า วันที่ 10 ธันวาคมนี้ จะไม่มีอะไรมากไปกว่า การพยายามดิ้นรนจนผ้าหลุด! เพราะโดยสถานการณ์ทั่วไปนั้น การครอบคลุมพื้นที่ส่วนหลัง ยังคงแน่นหนามั่นคงอยู่
ที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ว่าจะมีรายการใหม่คือ "สนธิถึงสนธิ" นั้น เป็นรายงานสำหรับสาธารณชน เพราะในความจริงแล้ว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน กับ สนธิ ลิ้มทองกุล ก็ได้มีการ "สนธิกำลัง" เป็นแบบสนธิถึงสนธิกันมาก่อนหน้านี้แล้ว และเวลานี้ก็ยังเป็นการสนธิกำลังกันอยู่ระหว่างสนธิทั้งสอง
สิ่งที่น่าจะทำสำหรับ "สนธิทั้งสอง" น่าจะได้ "สนธิ" ในบางสิ่งไว้เป็นอนุสรณ์ เช่น การสร้างอาคารห้องสมุดให้กับโรงเรียนบ้านลำสนธิ หรือสร้างอาคารผู้ป่วยที่โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เพราะสิ่งที่เหมือนกันโดยชื่อ และความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาใหญ่ของบ้านเมืองที่ผ่านมานั้น เป็นการสนธิกันทางยุทธการ อันเป็นการยากที่ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นมาได้อีก