โฟกัสโค้งสุดท้ายตลาดแอร์ยังคึกคัก “เทรน”พุ่งเป้าจับตลาดโปรเจกต์กว่า 10 โครงการ มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 200 ลบ. แทนช่วงโลว์ซีซันของตลาดบ้าน มั่นใจช่วยดันรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้กว่า 3,500 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10 % ด้านเซ็นทรัล แอร์มุ่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หวังมาร์เก็ตแชร์สิ้นปีนี้15 %
นายมหิธร วิภัติภูมิประเทศ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท แอร์โค จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ภายใต้แบรนด์ “เทรน” เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ถึงแม้จะเป็นช่วงโลว์ซีซันของตลาดแอร์ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นช่วงที่ยังมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มของตลาดโปรเจกต์ ล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โปรเจกต์ของทางภาครัฐได้มีการอนุมัติไว้หลายโครงการ ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่บริษัทฯจะเน้นตลาดโปรเจกต์แทน โดยล่าสุดในขณะนี้มีโปรเจกต์อยู่ในมือแล้วกว่า 5-10 โครงการ มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 150-200 ล้านบาท
สำหรับงานโปรเจกต์ใหญ่ๆ ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่ร่วมมือกันมาตลอด คือ สยามพารากอน, เอ็มโพเลี่ยม และห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ ที่มีทั้งการ ติดตั้งใหม่และเปลี่ยนแอร์ใหม่ รวมถึงกลุ่มโรงแรมระดับห้าดาวย่านถนนสุขุมวิทอีก เช่น เจ ดับบลิว แมริออท, กลุ่มโรงแรมแอคคอร์ กลุ่มโรงพยาบาล อย่าง โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กลุ่มสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเอแบค เป็นต้น
“บริษัทฯให้ความสำคัญกับแอร์ในทุกไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบ้านหรือโปรเจกต์ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ดังนั้นช่วงไหนที่ตลาดแอร์บ้านลดลง ก็ยังคงมีกลุ่มตลาดโปรเจกต์ที่ยังคงสร้างรายได้ที่ดีอยู่ จึงทำให้มองว่า ตลอดทั้งปี บริษัทฯยังคงมีรายได้เติบโตที่ 10 % เป็นไปตามเป้าที่วางไว้กว่า 3,500 ล้านบาท มาจาก ตลาดแอร์บ้าน 50 % และตลาดโปรเจกต์ 50 %”
สำหรับตลาดแอร์บ้านในปีนี้ยังคงมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยผู้เล่นส่วนใหญ่จะเน้นการแข่งขันทางด้านคุณภาพ ฟังก์ชั่นการทำงาน และบริการหลังการขายเป็นหลัก รวมไปถึงราคาที่ปัจจุบันจะมีราคาที่ถูกลง ขณะที่บริษัทฯจะเน้นเรื่องคุณภาพและบริการหลังการขายมากกว่า แทนที่จะลงมาเล่นเรื่องราคาแทน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากต้นทุน โดยเฉพาะทองแดงที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ในปีนี้บริษัทฯจำเป็นต้องมีการปรับราคาสินค้า บางโมเดลขึ้นอย่างน้อย 5-10 % แต่มองว่าไม่กระทบกับผู้บริโภคมากนัก
ขณะที่ในปีนี้บริษัทฯใช้งบการตลาดไปเพียง 50-60 ล้านบาท สำหรับสื่อไปยังผู้บริโภคให้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้แอร์เป็นหลัก และมีจำนวนดีลเล่อร์กว่า 200 รายทั่วประเทศ โดยมองว่าจำนวนดีลเล่อร์ที่มีอยู่เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องขยายเพิ่มแต่อย่างไร
นายมหิธร กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มตลาดแอร์ในปีหน้านั้น มองว่าอาจจะมีการเติบโตที่ไม่หวือหวา ประมาณ 5 % เท่านั้น เนื่องจากกลุ่มตลาดโปรเจกต์ ที่ยังรอการอนุมัติจากทางภาครัฐอยู่อีกหลายโครงการ ที่ยังไม่ทราบว่าจะมีการอนุมัติเมื่อใด ขณะที่หน่วยงานของภาครัฐบาลเองก็ยังไม่นิ่งอยู่แบบนี้ ส่วนตลาดแอร์บ้านนั้น ยังมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยเชื่อว่าแนวโน้มตลาดแอร์บ้านจะดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มมองว่าแอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น สำหรับผู้เล่นแต่ละรายเองนั้น ก็จะมีการออกผลิตภัณฑ์ไลน์ใหม่ๆมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของบริษัทฯเองนั้น คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดหลายไลน์ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันมูลค่าตลาดแอร์บ้านอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5 % ขณะที่บริษัทฯมีแชร์ในตลาดแอร์บ้านประมาณ 10 % ส่วนตลาดโปรเจกต์นั้น คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯครองมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 40 %
เซ็นทรัลแอร์มุ่งมาร์เก็ตแชร์ 15 %
นายสัตยา ศรีอ่อน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนสยาม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่าย เครื่องปรับอากาศ เซ็นทรัลแอร์ เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ ถือเป็นช่วงโลว์ซีซันของตลาดแอร์ ดังนั้นทางบริษัทฯจึงมีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 2 รุ่น ขนาด 9,000 บีทียู และ 13,000 บีทียู โดยจะชูกลยุทธ์ในเรื่องของราคาเข้าแข่งขัน และจะมีการจำหน่ายในราคาพิเศษ สำหรับช่วงส่งท้ายปลายปี คาดว่าน่าจะช่วยให้บริษัทฯมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดรวมที่ 15 % ในปีนี้
ขณะที่ในปีหน้านั้น เบื้องต้นบริษัทฯได้มีการวางงบการตลาดไว้กว่า 70-80 ล้านบาท สำหรับทำการตลาดตลอดทั้งปีในทุกไลน์ผลิตภัณฑ์ โดยจะยังให้ความสำคัญกับการทำตลาดของแอร์ประเภทเคลื่อนที่ต่อเนื่อง จากเดิมที่มีวางจำหน่ายอยู่ในตลาดแล้ว 2 รุ่น คือ 9,000 บีทียู และ 12,000 บีทียู ปีหน้าจะมีเข้ามาจำหน่ายอีกอย่างน้อย 1 รุ่น คือ 13,000 บีทียู
“ปีหน้า บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับแอร์เคลื่อนที่ต่อเนื่อง หลังจากที่เป็นรายแรกที่เข้ามาบุกเบิกตลาดแอร์เคลื่อนที่ในไทยกว่า 3 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันบริษัทฯมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดกว่า 50 % ขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอยู่ประมาณ 3 รายเท่านั้น โดยในปีนี้มองว่าตลาดแอร์เคลื่อนที่กำลังมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น 10 % ทุกปี จากการที่กลุ่มบริษัทฯมีความต้องการในการใช้งานมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการของตลาดอยู่ที่ 10,000 เครื่อง โดยมีราคาในการจำหน่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท”
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยแบ่งสัดส่วนรายได้เป็น แอร์เคลื่อนที่ 10 % แอร์บ้านหรือโฮมยูส 40% และ โปรเจกต์รวมกับคอมเมอร์เชียลแอร์อีก 50 % ซึ่งในส่วนของตลาดโฮมยูสนั้น ขณะนี้สามารถครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 12 % คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเป็น 15 % ตามเป้าที่วางไว้ ขณะที่ตลาดโปรเจกต์เช่นเดียวกัน คาดว่าสิ้นปีจะครองมาร์เก็ตแชร์ที่ 20 % ได้อย่างแน่นอน
นายมหิธร วิภัติภูมิประเทศ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท แอร์โค จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ภายใต้แบรนด์ “เทรน” เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ถึงแม้จะเป็นช่วงโลว์ซีซันของตลาดแอร์ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นช่วงที่ยังมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มของตลาดโปรเจกต์ ล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โปรเจกต์ของทางภาครัฐได้มีการอนุมัติไว้หลายโครงการ ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่บริษัทฯจะเน้นตลาดโปรเจกต์แทน โดยล่าสุดในขณะนี้มีโปรเจกต์อยู่ในมือแล้วกว่า 5-10 โครงการ มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 150-200 ล้านบาท
สำหรับงานโปรเจกต์ใหญ่ๆ ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่ร่วมมือกันมาตลอด คือ สยามพารากอน, เอ็มโพเลี่ยม และห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ ที่มีทั้งการ ติดตั้งใหม่และเปลี่ยนแอร์ใหม่ รวมถึงกลุ่มโรงแรมระดับห้าดาวย่านถนนสุขุมวิทอีก เช่น เจ ดับบลิว แมริออท, กลุ่มโรงแรมแอคคอร์ กลุ่มโรงพยาบาล อย่าง โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กลุ่มสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเอแบค เป็นต้น
“บริษัทฯให้ความสำคัญกับแอร์ในทุกไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบ้านหรือโปรเจกต์ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ดังนั้นช่วงไหนที่ตลาดแอร์บ้านลดลง ก็ยังคงมีกลุ่มตลาดโปรเจกต์ที่ยังคงสร้างรายได้ที่ดีอยู่ จึงทำให้มองว่า ตลอดทั้งปี บริษัทฯยังคงมีรายได้เติบโตที่ 10 % เป็นไปตามเป้าที่วางไว้กว่า 3,500 ล้านบาท มาจาก ตลาดแอร์บ้าน 50 % และตลาดโปรเจกต์ 50 %”
สำหรับตลาดแอร์บ้านในปีนี้ยังคงมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยผู้เล่นส่วนใหญ่จะเน้นการแข่งขันทางด้านคุณภาพ ฟังก์ชั่นการทำงาน และบริการหลังการขายเป็นหลัก รวมไปถึงราคาที่ปัจจุบันจะมีราคาที่ถูกลง ขณะที่บริษัทฯจะเน้นเรื่องคุณภาพและบริการหลังการขายมากกว่า แทนที่จะลงมาเล่นเรื่องราคาแทน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากต้นทุน โดยเฉพาะทองแดงที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ในปีนี้บริษัทฯจำเป็นต้องมีการปรับราคาสินค้า บางโมเดลขึ้นอย่างน้อย 5-10 % แต่มองว่าไม่กระทบกับผู้บริโภคมากนัก
ขณะที่ในปีนี้บริษัทฯใช้งบการตลาดไปเพียง 50-60 ล้านบาท สำหรับสื่อไปยังผู้บริโภคให้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้แอร์เป็นหลัก และมีจำนวนดีลเล่อร์กว่า 200 รายทั่วประเทศ โดยมองว่าจำนวนดีลเล่อร์ที่มีอยู่เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องขยายเพิ่มแต่อย่างไร
นายมหิธร กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มตลาดแอร์ในปีหน้านั้น มองว่าอาจจะมีการเติบโตที่ไม่หวือหวา ประมาณ 5 % เท่านั้น เนื่องจากกลุ่มตลาดโปรเจกต์ ที่ยังรอการอนุมัติจากทางภาครัฐอยู่อีกหลายโครงการ ที่ยังไม่ทราบว่าจะมีการอนุมัติเมื่อใด ขณะที่หน่วยงานของภาครัฐบาลเองก็ยังไม่นิ่งอยู่แบบนี้ ส่วนตลาดแอร์บ้านนั้น ยังมีการแข่งขันที่ดีอยู่ โดยเชื่อว่าแนวโน้มตลาดแอร์บ้านจะดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มมองว่าแอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น สำหรับผู้เล่นแต่ละรายเองนั้น ก็จะมีการออกผลิตภัณฑ์ไลน์ใหม่ๆมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของบริษัทฯเองนั้น คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดหลายไลน์ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันมูลค่าตลาดแอร์บ้านอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5 % ขณะที่บริษัทฯมีแชร์ในตลาดแอร์บ้านประมาณ 10 % ส่วนตลาดโปรเจกต์นั้น คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯครองมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 40 %
เซ็นทรัลแอร์มุ่งมาร์เก็ตแชร์ 15 %
นายสัตยา ศรีอ่อน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนสยาม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่าย เครื่องปรับอากาศ เซ็นทรัลแอร์ เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีนี้ ถือเป็นช่วงโลว์ซีซันของตลาดแอร์ ดังนั้นทางบริษัทฯจึงมีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 2 รุ่น ขนาด 9,000 บีทียู และ 13,000 บีทียู โดยจะชูกลยุทธ์ในเรื่องของราคาเข้าแข่งขัน และจะมีการจำหน่ายในราคาพิเศษ สำหรับช่วงส่งท้ายปลายปี คาดว่าน่าจะช่วยให้บริษัทฯมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดรวมที่ 15 % ในปีนี้
ขณะที่ในปีหน้านั้น เบื้องต้นบริษัทฯได้มีการวางงบการตลาดไว้กว่า 70-80 ล้านบาท สำหรับทำการตลาดตลอดทั้งปีในทุกไลน์ผลิตภัณฑ์ โดยจะยังให้ความสำคัญกับการทำตลาดของแอร์ประเภทเคลื่อนที่ต่อเนื่อง จากเดิมที่มีวางจำหน่ายอยู่ในตลาดแล้ว 2 รุ่น คือ 9,000 บีทียู และ 12,000 บีทียู ปีหน้าจะมีเข้ามาจำหน่ายอีกอย่างน้อย 1 รุ่น คือ 13,000 บีทียู
“ปีหน้า บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับแอร์เคลื่อนที่ต่อเนื่อง หลังจากที่เป็นรายแรกที่เข้ามาบุกเบิกตลาดแอร์เคลื่อนที่ในไทยกว่า 3 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันบริษัทฯมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดกว่า 50 % ขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอยู่ประมาณ 3 รายเท่านั้น โดยในปีนี้มองว่าตลาดแอร์เคลื่อนที่กำลังมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น 10 % ทุกปี จากการที่กลุ่มบริษัทฯมีความต้องการในการใช้งานมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการของตลาดอยู่ที่ 10,000 เครื่อง โดยมีราคาในการจำหน่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท”
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยแบ่งสัดส่วนรายได้เป็น แอร์เคลื่อนที่ 10 % แอร์บ้านหรือโฮมยูส 40% และ โปรเจกต์รวมกับคอมเมอร์เชียลแอร์อีก 50 % ซึ่งในส่วนของตลาดโฮมยูสนั้น ขณะนี้สามารถครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 12 % คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเป็น 15 % ตามเป้าที่วางไว้ ขณะที่ตลาดโปรเจกต์เช่นเดียวกัน คาดว่าสิ้นปีจะครองมาร์เก็ตแชร์ที่ 20 % ได้อย่างแน่นอน