“คุณหญิงทิพาวดี”ประกาศรื้อใหญ่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เผยพบปัญหาใหญ่คือเรื่อง “คน”และประสิทธิภาพในการบริหารงาน เตรียมปรับบอร์ดบริหารใหม่ทั้งหมด โละบอร์ดเก่าออกครึ่งหนึ่งและรับคนนอกเข้ามาช่วยงาน จับตาศูนย์เด็กอัจฉริยะเป็นพิเศษเหตุนับตั้งแต่รับตำแหน่งยังไม่เจอผู้อำนวยการ คาดถูกเด้งร้อยเปอร์เซ็นต์
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวนโยบายในการบริหารงานสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) (The Office of Knowledge Management and Development: OKMD) ว่า แนวคิดในการจัดตั้ง หน่วยงานที่อยู่ภายในสบร.ทั้ง 7 แห่งคือ 1.สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) 2.ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (สมพช.) 3. อุทยานการเรียนรู้ (สอร.) 4. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) 5.ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (สคบ.) 6.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) 7. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) นั้น เป็นแนวคิดที่ดีและโดยส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากการที่จะผลักดันนโยบายพิเศษให้เกิดขึ้นจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานพิเศษเข้ามาดูแล
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีปัญหาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทำให้งานไม่เดินอย่างที่ควรจะเป็นอยู่บ้างพอสมควร โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการภายในของแต่ละองค์กร เนื่องจากตำแหน่งประธานบอร์ดและผู้อำนวยการศูนย์เป็นคนๆ เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น อุทยานการเรียนที่ทั้งประธานบอร์ดและผู้อำนวยการคือ ดร.สิริกร มณีรินทร์ เป็นต้น ยกเว้นศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นคนละคน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณซึ่งที่ผ่านมากำหนดวงเงินเอาไว้ค่อนข้างสูง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงตัดงบประมาณลงไป ประมาณ 900 ล้านบาท รวมทั้งปัญหาช่องว่างระหว่างบอร์ดชุดใหญ่กับบอร์ดของแต่ละองค์กรอีกด้วย
สำหรับกรณีนางงามมาศ เกษมเศรษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาตินั้น ยอมรับว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เจอตัวเลย ขณะที่ผู้บริหารหน่วยงานอื่นๆ ได้ทยอยมาพบเพื่อรับทราบนโยบายหมดทุกองค์กรแล้ว
“ตอนที่เรียกบอร์ดมาคุย บอร์ดก็ยอมรับเองว่าสภาพการทำงานที่ผ่านมามีสะดุดและล่าช้าไปบ้าง อันเนื่องมาจากขาดตัวผู้อำนวยการศูนย์ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงในส่วนนี้ กรณีคุณงามมาศถามว่าจะทำอย่างไร คงยังตอบไม่ได้ในขณะนี้”
คุณหญิงทิพาวดีกล่าวต่อว่า สำหรับบอร์ดชุดใหญ่นั้น หลังจากที่นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานบอร์ด สบร.ลาออกก็ส่งผลทำให้บอร์ดคนอื่นๆ ลาออกตามด้วย แต่ก็ได้ขอเอาไว้ว่าให้ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแต่งตั้งบอร์ดเสร็จเรียบร้อย โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าคงจะแล้วเสร็จและจะได้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเห็นชอบต่อไป รวมทั้งตัวประธานบอร์ดที่จะต้องมีการสรรหาใหม่ด้วย
“เท่าที่พิจารณา บอร์ดบางท่านก็ทำงานได้ดี ดังนั้น ก็คงจะเสนอให้ทำงานต่อไป อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเพิ่มสัดส่วนคนจากภายนอกที่เห็นว่าเหมาะสมเข้ามาด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของบอร์ด หรือหมายความว่าจะมีบอร์ดชุดเก่าประมาณครึ่งหนึ่งที่ต้องพ้นจากหน้าที่ ตอนนี้ก็ได้นัดบอร์ดทั้งหมดมาคุยในวันที่ 22 พ.ย.”คุณหญิงทิพาวดีกล่าว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า สำหรับการปฏิรูประบบราชการนั้น หลังจากในช่วงปี 2544-2545 ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างไปแล้ว แต่ในรายละเอียดต้องยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว ดังนั้น จึงต้องสานต่องานเก่าให้แล้วเสร็จ ขณะเดียวกันก้าวต่อไปก็จะเร่งปฏิรูปตัวข้าราชการโดยมุ่งเน้นไปที่ความมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติจะนำ 2 นโยบายสำคัญมาใช้คือการสร้างดัชนีชี้วัดคุณธรรมโดยนำหลัก 4 ป.ของนายกรัฐมนตรีมาใช้คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เตรียมที่จะนำสมุดพกความดีมาใช้บันทึกความดีของข้าราชการ โดยจะให้มีการประเมินปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกจะเริ่มในเดือนเมษายน 2550 และครั้งต่อไปในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
นอกจากนั้นจะมีการปรับปรุงระบบผู้ตรวจราชการจากเดิมที่เป็นกรุของข้าราชการให้กลับมามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำให้ระบบการตรวจราชการของกระทรวงต่างและสำนักนายกรัฐมนตรีประสาน เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลซึ่งกันและกัน รวมทั้งใช้เป็นองคาพยพยสำคัญในการผลักดันการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณซึ่งที่ผ่านมามักมาเร่งใช้กันในช่วงปลายปี ทำให้การแก้ไขและผลักดันนโยบายต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผน
ที่สำคัญคือผู้ตรวจราชการจะต้องลงภาคสนามเพื่อไปตรวจการบริหารราชการด้วย ไม่ใช่เพียงแค่งานเอกสารเพียงอย่างเดียว
“ดิฉันได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ไปปรับระบบการทำงานของผู้ตรวจราชการใหม่ ไม่ใช่เฉพาะสำนักนายกฯ แต่รวมถึงกระทรวงอื่นๆ ด้วย คือไม่อยากให้ผู้ตรวจฯทำงานซังกะตาย เพราะต้องยอมรับว่าคนเหล่านี้มีความสามารถ ไม่งั้นคงไม่ขึ้นมาถึง ซี 9 ซี 10 ทำอย่างไรถึงจะดึงผู้ตรวจฯ ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาให้เกิดประโยชน์ เช่น มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในสถาบันพัฒนาข้าราชการ หรือทำวิจัยหรือเขียนตำรับตำราทางวิชาการต่างๆ”คุณหญิงทิพาวดีกล่าว
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวนโยบายในการบริหารงานสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) (The Office of Knowledge Management and Development: OKMD) ว่า แนวคิดในการจัดตั้ง หน่วยงานที่อยู่ภายในสบร.ทั้ง 7 แห่งคือ 1.สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) 2.ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (สมพช.) 3. อุทยานการเรียนรู้ (สอร.) 4. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) 5.ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (สคบ.) 6.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) 7. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) นั้น เป็นแนวคิดที่ดีและโดยส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากการที่จะผลักดันนโยบายพิเศษให้เกิดขึ้นจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานพิเศษเข้ามาดูแล
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีปัญหาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทำให้งานไม่เดินอย่างที่ควรจะเป็นอยู่บ้างพอสมควร โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการภายในของแต่ละองค์กร เนื่องจากตำแหน่งประธานบอร์ดและผู้อำนวยการศูนย์เป็นคนๆ เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น อุทยานการเรียนที่ทั้งประธานบอร์ดและผู้อำนวยการคือ ดร.สิริกร มณีรินทร์ เป็นต้น ยกเว้นศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นคนละคน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณซึ่งที่ผ่านมากำหนดวงเงินเอาไว้ค่อนข้างสูง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงตัดงบประมาณลงไป ประมาณ 900 ล้านบาท รวมทั้งปัญหาช่องว่างระหว่างบอร์ดชุดใหญ่กับบอร์ดของแต่ละองค์กรอีกด้วย
สำหรับกรณีนางงามมาศ เกษมเศรษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาตินั้น ยอมรับว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เจอตัวเลย ขณะที่ผู้บริหารหน่วยงานอื่นๆ ได้ทยอยมาพบเพื่อรับทราบนโยบายหมดทุกองค์กรแล้ว
“ตอนที่เรียกบอร์ดมาคุย บอร์ดก็ยอมรับเองว่าสภาพการทำงานที่ผ่านมามีสะดุดและล่าช้าไปบ้าง อันเนื่องมาจากขาดตัวผู้อำนวยการศูนย์ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงในส่วนนี้ กรณีคุณงามมาศถามว่าจะทำอย่างไร คงยังตอบไม่ได้ในขณะนี้”
คุณหญิงทิพาวดีกล่าวต่อว่า สำหรับบอร์ดชุดใหญ่นั้น หลังจากที่นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานบอร์ด สบร.ลาออกก็ส่งผลทำให้บอร์ดคนอื่นๆ ลาออกตามด้วย แต่ก็ได้ขอเอาไว้ว่าให้ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแต่งตั้งบอร์ดเสร็จเรียบร้อย โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าคงจะแล้วเสร็จและจะได้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเห็นชอบต่อไป รวมทั้งตัวประธานบอร์ดที่จะต้องมีการสรรหาใหม่ด้วย
“เท่าที่พิจารณา บอร์ดบางท่านก็ทำงานได้ดี ดังนั้น ก็คงจะเสนอให้ทำงานต่อไป อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเพิ่มสัดส่วนคนจากภายนอกที่เห็นว่าเหมาะสมเข้ามาด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของบอร์ด หรือหมายความว่าจะมีบอร์ดชุดเก่าประมาณครึ่งหนึ่งที่ต้องพ้นจากหน้าที่ ตอนนี้ก็ได้นัดบอร์ดทั้งหมดมาคุยในวันที่ 22 พ.ย.”คุณหญิงทิพาวดีกล่าว
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า สำหรับการปฏิรูประบบราชการนั้น หลังจากในช่วงปี 2544-2545 ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างไปแล้ว แต่ในรายละเอียดต้องยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว ดังนั้น จึงต้องสานต่องานเก่าให้แล้วเสร็จ ขณะเดียวกันก้าวต่อไปก็จะเร่งปฏิรูปตัวข้าราชการโดยมุ่งเน้นไปที่ความมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในการปฏิบัติจะนำ 2 นโยบายสำคัญมาใช้คือการสร้างดัชนีชี้วัดคุณธรรมโดยนำหลัก 4 ป.ของนายกรัฐมนตรีมาใช้คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เตรียมที่จะนำสมุดพกความดีมาใช้บันทึกความดีของข้าราชการ โดยจะให้มีการประเมินปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกจะเริ่มในเดือนเมษายน 2550 และครั้งต่อไปในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
นอกจากนั้นจะมีการปรับปรุงระบบผู้ตรวจราชการจากเดิมที่เป็นกรุของข้าราชการให้กลับมามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำให้ระบบการตรวจราชการของกระทรวงต่างและสำนักนายกรัฐมนตรีประสาน เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลซึ่งกันและกัน รวมทั้งใช้เป็นองคาพยพยสำคัญในการผลักดันการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณซึ่งที่ผ่านมามักมาเร่งใช้กันในช่วงปลายปี ทำให้การแก้ไขและผลักดันนโยบายต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผน
ที่สำคัญคือผู้ตรวจราชการจะต้องลงภาคสนามเพื่อไปตรวจการบริหารราชการด้วย ไม่ใช่เพียงแค่งานเอกสารเพียงอย่างเดียว
“ดิฉันได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ไปปรับระบบการทำงานของผู้ตรวจราชการใหม่ ไม่ใช่เฉพาะสำนักนายกฯ แต่รวมถึงกระทรวงอื่นๆ ด้วย คือไม่อยากให้ผู้ตรวจฯทำงานซังกะตาย เพราะต้องยอมรับว่าคนเหล่านี้มีความสามารถ ไม่งั้นคงไม่ขึ้นมาถึง ซี 9 ซี 10 ทำอย่างไรถึงจะดึงผู้ตรวจฯ ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาให้เกิดประโยชน์ เช่น มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในสถาบันพัฒนาข้าราชการ หรือทำวิจัยหรือเขียนตำรับตำราทางวิชาการต่างๆ”คุณหญิงทิพาวดีกล่าว