ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - แม่ทัพภาค 3 ระดม ประธานหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ หารือประเด็นปัญหา-แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ 24 พ.ย. ขณะที่หลายจังหวัดปัดฝุ่นโครงการเก่า - สร้างโครงการใหม่รองรับยุทธศาสตร์การพัฒนานำเสนอ โดยขอแรง "ทหาร" ช่วยผลักดันอีกทาง เผยเหนือล่างหยิบปัญหาลุ่มน้ำยมเป็นประเด็น / เชียงใหม่ ชง 6 เรื่องทั้ง "ขยะเร่ร่อน-สารพัดโปรเจกต์ที่ค้าง" / เชียงราย ขอดันลอจิสติกส์รับมือจีน / ลำปางหวังแรงสีเขียวฟื้นกรอ.ทดแทนซีอีโอ ด้าน มทบ.32 เรียกจนท.รัฐ-อปท.ฐานเสียงการเมืองประชุมสยบคลื่นใต้น้ำ
พล.ท.จิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 49 กองทัพภาคที่ 3 ได้เชิญประธานหอการค้า17 จังหวัดภาคเหนือ เข้าพบปะเพื่อประชุมแลกเปลี่ยนปัญหาในภาคเศรษฐกิจและสภาพพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยจะเปิดโอกาสให้ประธานหอการค้าทุกจังหวัด เสนอประเด็นปัญหาต่างๆ รวมทั้งปัญหาการค้าชายแดนภาคเหนือที่ติดขัด และเห็นว่ากองทัพภาคที่ 3 สามารถช่วยเหลือได้ ส่วนประเด็นเศรษฐกิจจะนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ รองเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การนัดหมายดังกล่าวหอการค้าแต่ละจังหวัดจะนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของ 17 จังหวัดภาคเหนือ ล่าสุดหลายจังหวัดทยอยส่งหัวข้อหรือประเด็นการนำเสนอมาแล้ว อาทิ จังหวัดพิจิตร นำเสนอการสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแพร่เสนอเรื่องการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ลุ่มน้ำยมจังหวัดตาก การทำคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ไม้เฟอร์นิเจอร์สิ่งประดิษฐ์และเส้นทางท่องเที่ยวแม่สอด-เมียวดีส่วนอุตรดิตถ์นำเสนอการพัฒนาเปิดการค้าชายแดนภูดู่
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ทุกครั้งที่แม่ทัพภาคที่ 3 คนใหม่มา ก็จะเปิดรับฟังปัญหาตามปกติ แต่ครั้งนี้ถือว่าเชิญตัวประธานและรองประธานหอการค้าทั้งหมด เป็นฟอร์มใหญ่เป็นพิเศษ และเปิดโอกาสให้ประธานหอการค้าเข้าหารือ และเปิดกว้างให้แต่ละจังหวัด ถามไถ่-ซักถามปัญหาได้
ในส่วนตัวเชื่อว่า การเข้าถกปัญหาครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี และยินดีที่แม่ทัพเปิดโอกาสแจงทีละประเด็นของปัญหาใหญ่ในภาคเหนือ ซึ่งคาดว่า ปัญหาแก้ปัญหาลุ่มน้ำยม ถือเป็นภาพรวมที่ควรได้รับการแก้ไข ส่วนประเด็นการค้าก็อาจเป็นไปได้ที่พิษณุโลกอาจนำเสนอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า หอการค้าในแต่ละจังหวัดนำเสนอประเด็นใด
ขณะที่นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า สิ่งที่หอฯต้องการนำเสนอผ่านแม่ทัพภาคที่ 3 ก็คือ การพัฒนาตามยุทธศาสตร์รองรับการรุกเข้ามาของจีน ทั้งในแง่การค้า การลงทุนในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ที่ ประเทศในลุ่มน้ำโขง มีข้อตกลงกันชัดเจนในหลายประเด็น แต่ที่ผ่านมาไทยยังไม่เตรียมการรองรับใด ๆ
เช่น เรื่องลอจิสติกส์ ที่ปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนรอรับทั้งที่ชายแดนจีน-พม่าจีนลาว รับกับถนนจีน-พม่า-ไทย/จีน-ลาว-ไทย แต่ในส่วนของไทย โดยเฉพาะเชียงราย และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ ยังไม่มีกรอบที่ชัดเจน ทั้งที่ควรตั้งคลัสเตอร์กลุ่มสินค้าไว้ เพื่อหาทางส่งสินค้าย้อนกลับไปขายจีน หรือหาแม่งานในการรวบรวมเครือข่ายรถขนส่งสินค้ารองรับกระบวนการขนส่งที่จะเกิดขึ้นในย่านนี้ เป็นต้น
"ทั้งหมดมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่หมายรวมไปถึงความมั่นคงของประเทศ หรือภาคเหนือด้วย เชื่อว่าทางฝ่ายทหารน่าจะเข้าใจ มองเห็นยุทธศาสตร์นี้ร่วมกัน"
ส่วนหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้สรุปเรื่องเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมครั้งนี้ ภายใต้ 3 กรอบหลัก ๆ คือ เรื่องเฉพาะเชียงใหม่ / ภาคเหนือ / การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ 1.ขอให้ผลัดดันการจัดระบบการจัดการเรื่องน้ำของภาคเหนือทั้งระบบ แก้ปัญหาน้ำท่วม - น้ำแล้งซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล 2.ผลักดันให้เกิดรถไฟความเร็วปานกลาง เพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ภายในระยะเวลา 6-7 ชั่วโมง อาจจะใช้แทนรถไฟรางคู่/รถไฟความเร็วสูง ที่ใช้เงินลงทุนสูง
3.เสนอให้ทบทวนเรื่องศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ ที่ล่าสุดเพิ่งถูกสั่งชะลอออกไป 4.ประเด็นปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ที่เดิมเคยเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในรัฐบาลก่อนมาแล้ว เนื่องจากขยะเชียงใหม่ กลายเป็นขยะเร่ร่อนไปทั่วภาคเหนืออยู่ในขณะนี้ จำเป็นต้องจัดการอย่างเร่งด่วน
5.เร่งรัดเรื่องสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในเชียงใหม่ที่คั่งค้างอยู่ เช่น อุโมงค์ทางลอดที่สี่แยกข่วงสิงห์/สี่แยกศาลเด็ก/สี่แยกปอยหลวง ที่ล่าช้ามานาน และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ในระยะยาว และ 6.ขอให้ฝ่ายทหารส่งเสริมเรื่องการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยขอให้ทางทหารมองเรื่องการค้า พิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ แทนการมองเฉพาะมิติความมั่นคงเท่านั้น
ขณะที่หอฯลำปาง แจ้งว่า ได้สรุปเรื่องเตรียมเสนอไว้ 2 เรื่องหลัก ๆ คือ การฟื้นคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่รัฐบาลเลือกระบบ "ผู้ว่าฯซีอีโอ" ซึ่งที่ผ่านมาระบบ ซีอีโอมีข้อดีที่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ข้อเสียก็ คือ ถูก ส.ส.เข้ามาแทรกแซงดึงงบประมาณเข้าไปในพื้นที่ฐานเสียงของตนเอง หรือเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวก เมื่อถูกยกเลิกจำเป็นต้องสร้างกระบวนการทำงานใหม่ขึ้นมารองรับ โดยเห็นว่า กรอ.สามารถใช้ทดแทนได้ดีกว่า เพราะนักการเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ สามารถสนองตอบยุทธศาสตร์ของจังหวัด นอกจากนี้ยังจะเสนอผ่านกองทัพภาคที่ 3 ไปยังรัฐบาลให้จัดงบประมาณ/แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงานด้วย
มทบ.32 เรียกองค์กรรัฐ-อปท.ทั่วลำปางสยบคลื่นใต้น้ำ
นอกจากนี้ที่จังหวัดลำปาง รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง พล.ต.วีรวัฒน์ ตันสุหัช ผู้บัญชาการมลฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จ.ลำปาง ได้เป็นประธานในการประชุม 3 ฝ่าย โดยทางทหารได้เชิญตัวแทนของข้าราชการพลเรือน และ อปท.ลำปาง ทุกแห่งมาร่วมประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ป้องกันการเกิดคลื่นใต้น้ำ ตามที่มีกระแสข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
หน่วยงานราชการที่ถูกเชิญเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน เช่น สาธารณสุขจังหวัด ที่มีเครือข่ายสมาชิก อสม.ประจำหมู่บ้าน ประจำชุมชน พัฒนาชุมชนจังหวัด จะมีกลุ่มผู้ประกอบการทั้งระดับครัวเรือนและระดับจังหวัด เกษตรจังหวัด จะมีกลุ่มเกษตรกรในหลายๆสาขา อยู่ในเครือข่าย รวมถึงศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำหมู่บ้านด้วย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ที่มีกลุ่มประชาชนที่เข้ามาศึกษา ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านเป็นพิเศษ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด มีกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มประชาชนทั่วไป เป็นต้น
หน่วยงานราชการต่างๆ ดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในด้านชุมชนและมีสมาชิกค่อนข้างมาก ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นฐานเสียงของนักการเมือง เท่าๆกับ กลุ่ม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งถูกเรียกเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย
สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ทหารต้องการทราบว่า บทบาทระหว่างหน่วยงานต่างๆของราชการ กับ อปท.ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง และที่ผ่านมามีภารกิจอะไรบ้างที่ต้องเชื่อมโยงกันหรือต้องประสานงานกัน อะไรบ้างที่ทำไปแล้วมีปัญหา ต้องการให้ทางทหารเข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือ ต้องการนำเสนอปัญหาอุปสรรคในเรื่องใดบ้าง เพื่อทหารจะได้รับทราบข้อมูลและนำไปแก้ไขปัญหาให้ได้
ทั้งนี้ อปท.ได้มีการนำเสนอปัญหา 3 เรื่อง ใหญ่ คือ ปัญหาขยะที่มีผู้ลักลอบนำมาทิ้งในลำปาง ปัญหาวัยรุ่นกวนเมือง และปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งทางทหารได้รับเรื่องไว้ และชี้แจงว่าปัญหาทั้ง 3 เรื่องนี้ทางทหารจะส่งกำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น เช่น ตำรวจในการออกตั้งด่านสกัดการนำเข้าขยะ และส่งกำลังออกตรวจตราแก๊งกวนเมืองให้มากขึ้น รวมถึงเรื่องยาเสพติดที่มีข้อมูลเบื้องลึกอยู่ก็จะได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจออกทำงานให้มากขึ้น
ด้านพล.ต.วีรวัฒน์ ผบ.ทบ.32 ได้ย้ำว่า ให้ทางข้าราชการ และ อปท.ซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนเข้าไปดูแลช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อนด้วย และขอให้ช่วยในด้านประชาสัมพันธ์บทบาทการทำงานของทหาร ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภารกิจต่างๆของหน่วยงานด้วย เพราะที่ผ่านมา ถึงแม้ทหารจะเข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆกิจกรรม แต่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ จึงทำให้ประชาชนไม่ทราบ หากประชาชนได้รับทราบบทบาทของทหารจะช่วยให้การทำงาน และการขอความร่วมมือต่างๆเป็นไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น
พล.ท.จิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 49 กองทัพภาคที่ 3 ได้เชิญประธานหอการค้า17 จังหวัดภาคเหนือ เข้าพบปะเพื่อประชุมแลกเปลี่ยนปัญหาในภาคเศรษฐกิจและสภาพพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยจะเปิดโอกาสให้ประธานหอการค้าทุกจังหวัด เสนอประเด็นปัญหาต่างๆ รวมทั้งปัญหาการค้าชายแดนภาคเหนือที่ติดขัด และเห็นว่ากองทัพภาคที่ 3 สามารถช่วยเหลือได้ ส่วนประเด็นเศรษฐกิจจะนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ รองเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การนัดหมายดังกล่าวหอการค้าแต่ละจังหวัดจะนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของ 17 จังหวัดภาคเหนือ ล่าสุดหลายจังหวัดทยอยส่งหัวข้อหรือประเด็นการนำเสนอมาแล้ว อาทิ จังหวัดพิจิตร นำเสนอการสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแพร่เสนอเรื่องการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ลุ่มน้ำยมจังหวัดตาก การทำคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ไม้เฟอร์นิเจอร์สิ่งประดิษฐ์และเส้นทางท่องเที่ยวแม่สอด-เมียวดีส่วนอุตรดิตถ์นำเสนอการพัฒนาเปิดการค้าชายแดนภูดู่
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ทุกครั้งที่แม่ทัพภาคที่ 3 คนใหม่มา ก็จะเปิดรับฟังปัญหาตามปกติ แต่ครั้งนี้ถือว่าเชิญตัวประธานและรองประธานหอการค้าทั้งหมด เป็นฟอร์มใหญ่เป็นพิเศษ และเปิดโอกาสให้ประธานหอการค้าเข้าหารือ และเปิดกว้างให้แต่ละจังหวัด ถามไถ่-ซักถามปัญหาได้
ในส่วนตัวเชื่อว่า การเข้าถกปัญหาครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี และยินดีที่แม่ทัพเปิดโอกาสแจงทีละประเด็นของปัญหาใหญ่ในภาคเหนือ ซึ่งคาดว่า ปัญหาแก้ปัญหาลุ่มน้ำยม ถือเป็นภาพรวมที่ควรได้รับการแก้ไข ส่วนประเด็นการค้าก็อาจเป็นไปได้ที่พิษณุโลกอาจนำเสนอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า หอการค้าในแต่ละจังหวัดนำเสนอประเด็นใด
ขณะที่นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า สิ่งที่หอฯต้องการนำเสนอผ่านแม่ทัพภาคที่ 3 ก็คือ การพัฒนาตามยุทธศาสตร์รองรับการรุกเข้ามาของจีน ทั้งในแง่การค้า การลงทุนในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ที่ ประเทศในลุ่มน้ำโขง มีข้อตกลงกันชัดเจนในหลายประเด็น แต่ที่ผ่านมาไทยยังไม่เตรียมการรองรับใด ๆ
เช่น เรื่องลอจิสติกส์ ที่ปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนรอรับทั้งที่ชายแดนจีน-พม่าจีนลาว รับกับถนนจีน-พม่า-ไทย/จีน-ลาว-ไทย แต่ในส่วนของไทย โดยเฉพาะเชียงราย และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ ยังไม่มีกรอบที่ชัดเจน ทั้งที่ควรตั้งคลัสเตอร์กลุ่มสินค้าไว้ เพื่อหาทางส่งสินค้าย้อนกลับไปขายจีน หรือหาแม่งานในการรวบรวมเครือข่ายรถขนส่งสินค้ารองรับกระบวนการขนส่งที่จะเกิดขึ้นในย่านนี้ เป็นต้น
"ทั้งหมดมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่หมายรวมไปถึงความมั่นคงของประเทศ หรือภาคเหนือด้วย เชื่อว่าทางฝ่ายทหารน่าจะเข้าใจ มองเห็นยุทธศาสตร์นี้ร่วมกัน"
ส่วนหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้สรุปเรื่องเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมครั้งนี้ ภายใต้ 3 กรอบหลัก ๆ คือ เรื่องเฉพาะเชียงใหม่ / ภาคเหนือ / การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ 1.ขอให้ผลัดดันการจัดระบบการจัดการเรื่องน้ำของภาคเหนือทั้งระบบ แก้ปัญหาน้ำท่วม - น้ำแล้งซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล 2.ผลักดันให้เกิดรถไฟความเร็วปานกลาง เพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ภายในระยะเวลา 6-7 ชั่วโมง อาจจะใช้แทนรถไฟรางคู่/รถไฟความเร็วสูง ที่ใช้เงินลงทุนสูง
3.เสนอให้ทบทวนเรื่องศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ ที่ล่าสุดเพิ่งถูกสั่งชะลอออกไป 4.ประเด็นปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ที่เดิมเคยเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในรัฐบาลก่อนมาแล้ว เนื่องจากขยะเชียงใหม่ กลายเป็นขยะเร่ร่อนไปทั่วภาคเหนืออยู่ในขณะนี้ จำเป็นต้องจัดการอย่างเร่งด่วน
5.เร่งรัดเรื่องสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในเชียงใหม่ที่คั่งค้างอยู่ เช่น อุโมงค์ทางลอดที่สี่แยกข่วงสิงห์/สี่แยกศาลเด็ก/สี่แยกปอยหลวง ที่ล่าช้ามานาน และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ในระยะยาว และ 6.ขอให้ฝ่ายทหารส่งเสริมเรื่องการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยขอให้ทางทหารมองเรื่องการค้า พิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ แทนการมองเฉพาะมิติความมั่นคงเท่านั้น
ขณะที่หอฯลำปาง แจ้งว่า ได้สรุปเรื่องเตรียมเสนอไว้ 2 เรื่องหลัก ๆ คือ การฟื้นคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่รัฐบาลเลือกระบบ "ผู้ว่าฯซีอีโอ" ซึ่งที่ผ่านมาระบบ ซีอีโอมีข้อดีที่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ข้อเสียก็ คือ ถูก ส.ส.เข้ามาแทรกแซงดึงงบประมาณเข้าไปในพื้นที่ฐานเสียงของตนเอง หรือเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวก เมื่อถูกยกเลิกจำเป็นต้องสร้างกระบวนการทำงานใหม่ขึ้นมารองรับ โดยเห็นว่า กรอ.สามารถใช้ทดแทนได้ดีกว่า เพราะนักการเมืองไม่สามารถแทรกแซงได้ สามารถสนองตอบยุทธศาสตร์ของจังหวัด นอกจากนี้ยังจะเสนอผ่านกองทัพภาคที่ 3 ไปยังรัฐบาลให้จัดงบประมาณ/แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงานด้วย
มทบ.32 เรียกองค์กรรัฐ-อปท.ทั่วลำปางสยบคลื่นใต้น้ำ
นอกจากนี้ที่จังหวัดลำปาง รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง พล.ต.วีรวัฒน์ ตันสุหัช ผู้บัญชาการมลฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จ.ลำปาง ได้เป็นประธานในการประชุม 3 ฝ่าย โดยทางทหารได้เชิญตัวแทนของข้าราชการพลเรือน และ อปท.ลำปาง ทุกแห่งมาร่วมประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ป้องกันการเกิดคลื่นใต้น้ำ ตามที่มีกระแสข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
หน่วยงานราชการที่ถูกเชิญเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน เช่น สาธารณสุขจังหวัด ที่มีเครือข่ายสมาชิก อสม.ประจำหมู่บ้าน ประจำชุมชน พัฒนาชุมชนจังหวัด จะมีกลุ่มผู้ประกอบการทั้งระดับครัวเรือนและระดับจังหวัด เกษตรจังหวัด จะมีกลุ่มเกษตรกรในหลายๆสาขา อยู่ในเครือข่าย รวมถึงศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำหมู่บ้านด้วย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ที่มีกลุ่มประชาชนที่เข้ามาศึกษา ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านเป็นพิเศษ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด มีกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มประชาชนทั่วไป เป็นต้น
หน่วยงานราชการต่างๆ ดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในด้านชุมชนและมีสมาชิกค่อนข้างมาก ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นฐานเสียงของนักการเมือง เท่าๆกับ กลุ่ม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งถูกเรียกเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย
สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ทหารต้องการทราบว่า บทบาทระหว่างหน่วยงานต่างๆของราชการ กับ อปท.ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง และที่ผ่านมามีภารกิจอะไรบ้างที่ต้องเชื่อมโยงกันหรือต้องประสานงานกัน อะไรบ้างที่ทำไปแล้วมีปัญหา ต้องการให้ทางทหารเข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือ ต้องการนำเสนอปัญหาอุปสรรคในเรื่องใดบ้าง เพื่อทหารจะได้รับทราบข้อมูลและนำไปแก้ไขปัญหาให้ได้
ทั้งนี้ อปท.ได้มีการนำเสนอปัญหา 3 เรื่อง ใหญ่ คือ ปัญหาขยะที่มีผู้ลักลอบนำมาทิ้งในลำปาง ปัญหาวัยรุ่นกวนเมือง และปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งทางทหารได้รับเรื่องไว้ และชี้แจงว่าปัญหาทั้ง 3 เรื่องนี้ทางทหารจะส่งกำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น เช่น ตำรวจในการออกตั้งด่านสกัดการนำเข้าขยะ และส่งกำลังออกตรวจตราแก๊งกวนเมืองให้มากขึ้น รวมถึงเรื่องยาเสพติดที่มีข้อมูลเบื้องลึกอยู่ก็จะได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจออกทำงานให้มากขึ้น
ด้านพล.ต.วีรวัฒน์ ผบ.ทบ.32 ได้ย้ำว่า ให้ทางข้าราชการ และ อปท.ซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนเข้าไปดูแลช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อนด้วย และขอให้ช่วยในด้านประชาสัมพันธ์บทบาทการทำงานของทหาร ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภารกิจต่างๆของหน่วยงานด้วย เพราะที่ผ่านมา ถึงแม้ทหารจะเข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆกิจกรรม แต่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ จึงทำให้ประชาชนไม่ทราบ หากประชาชนได้รับทราบบทบาทของทหารจะช่วยให้การทำงาน และการขอความร่วมมือต่างๆเป็นไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น