ก๊วนสมศักดิ์ ยังไม่ตัดสินใจว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่หรือไม่ ทั้งที่มีอดีตส.ส.อยู่ในมือประมาณ 100 คน อ้างขอรอดูรัฐธรรมนูญใหม่ก่อน แต่ถ้า"แม้ว"กลับมาก็จะไม่ตั้งพรรคสู้ หยันหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ไม่มีใครสู้"แม้ว"ได้สักคน "สุรนันทน์"บอกแค่ได้รับเชิญมาสังสรรค์ ไม่คิดร่วมหัวจมท้ายด้วย
เมื่อเย็นวานนี้ (20พ.ย.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มวังน้ำยม ได้นัดสมาชิกกลุ่ม และอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย รับประทานอาหารค่ำ ที่บ้านพักย่านสนามบินน้ำ (ซอยนนทบุรี 42)โดยมีผู้มาร่วมงานเลี้ยงประมาณ 50 คน อาทิ นายสุชาติ ตันเจริญ นายสรออรถ กลิ่นประทุม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายวราเทพ รัตนากร นายฉลอง เรี่ยวแรง กลุ่มวังน้ำเย็น บางส่วน สมาชิกกลุ่มวาดะห์ และอดีตส.ส.กทม.อีกจำนวนหนึ่ง
นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่า เป็นการนัดพบกันตามปกติ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการรัฐประหาร ก็มีการพบปะกันเดือนละครั้งอยู่แล้ว แต่ในช่วงนี้เราอาจจะพบกันเดือนละ2 ครั้ง เพื่อพูดคุยเรื่องประชาชนในต่างจังหวัด และวิเคราะห์ทิศทางทางการเมือง เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บอกว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ 1 ปี ก็คิดว่า เวลาผ่านไป 2 เดือนแล้ว เหลือเวลาอีก 9 เดือนเศษ ดังนั้น นักการเมืองต้องเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง จะรอจนร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ แล้วค่อยมาพูดคุยคงไม่ทัน
"ผมยังบอกไม่ได้ว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่หรือไม่ เวลานี้ 50:50 ยังไม่เห็นรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ยังบอกไม่ได้ ต้องขอดูก่อน จะตัดสินใจตอนที่มีรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ที่ผ่านมาเคยเชิญนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แต่ยังไม่ได้ตอบตกลง ที่ผ่านมาทาบทามไป 5 คน แต่ไม่อยากเปิดเผย เดี๋ยวคนอื่นจะเสีย แต่คนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ต้องมีอายุไม่มากเกินไป สื่อสารทางการเมืองรู้เรื่อง และเข้าใจการเมือง"นายสมศักดิ์ กล่าว และว่าเราก็พยายามจับมือกับกลุ่มต่างๆ ขณะนี้เรามี ส.ส.อยู่ในมือแน่ๆประมาณ 100 คน ที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยแล้ว ประมาณ 60 คน ส่วนที่ยังไม่ลาออกเป็นเพราะชี้แจงกับชาวบ้านไม่เก่ง จึงยังหาคำอธิบายไม่ได้
อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ยืนยันว่า กลุ่มวังน้ำยมไม่ได้เป็นสายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธปิไตย แต่อยู่สายกลาง เพื่อความสมานฉันท์ คือ ไม่รวยเกินไป ไม่ลำบากยากจนเกินไป เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเวลานี้กลุ่มวังน้ำยม ได้จัดทีมทำงานแต่คงต้องรอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกก่อน เชื่อว่ารัฐบาล และคมช.จะยกเลิกในปีนี้ เพราะเท่าที่ฟังข้อมูลจากผู้ใหญ่หลายด้าน คงจะไม่นานเกินรอ
ส่วนแนวโน้มที่ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช.จะมาร่วมทำงานการเมืองด้วยนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เคยพบกับ พล.อ.วินัย แม้จะต้องการพบ แต่พล.อ.วินัย คงไม่ให้พบ และว่าการเป็นนักการเมืองต้องพบทุกคนได้อยู่แล้ว และต้องทำให้ทุกคนมีความสุขตามกฎหมาย
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มีข่าวการเคลื่อนไหวเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างต่อเนื่องนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เฉพาะประชาชนที่ตื่นเต้นระดับบนๆเอง ก็ตื่นเต้นเหมือนกัน
"ถ้าวันข้างหน้าหากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเล่นการเมืองได้ ถือว่าเป็นเรืองใหญ่ สิ่งที่เราตระเตรียมไว้อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะวันนี้เราเตรียมตัวอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีพ.ต.ท.ทักษิณ บนสนามการเมือง หากท่านกลับมาจริงๆ อะไรก็ทานท่านไม่ได้หรอก ต้องยกให้ท่าน"นายสมศักดิ์ ระบุ
ส่วนในเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินของรัฐมนตรีรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายสมศักดิ์ เชื่อว่า ไม่สามารถปลดโซ่ตรวนในขณะนี้ได้ และคงจะอีกนาน ส่วนเรื่องการพิจารณาคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น หากมีการตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยจริง จะส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ด้วยเช่นกัน ตนเองก็ต้องเลิก เพราะไม่ได้มีนอมินีทางการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ เคลียร์ตัวเองและพ้นมลทิน เรื่องตั้งพรรคใหม่คงต้องยกเลิก แล้วจะกลับร่วมงานกันอีกครั้งใช่หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ใครคิดอย่างไรไม่รู้ แต่ตนไม่คิดสู้ เมื่อถึงเวลานั้นในกลุ่มจะเคลื่อนไหวอย่างไรค่อยว่ากัน
"แต่ถ้าพ.ต.ท.ทักษัณ กลับมาได้ บุคคลที่เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งนายอภิสิทธิ์ (เวชชาวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)นายเสนาะ (เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช)พล.ต.สนั่น (ขจรประสาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน)และนายบรรหาร (ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย)ก็สู้ไม่ได้ทั้งนั้น ผมยิ่งขี้เหร่กว่าทั้งสี่คน แล้วจะเอาอะไรไปสู้ ถอยกลับไปสุโขทัยดีกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามถึงสเปกคนที่คิดว่าน่าจะชูเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ต้องเข้ากับคนภาคกลางได้ มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ ฟังสังคมและสื่อ ไม่อายุมากเกินไป สื่อสารกับคนเมืองอย่างมีความรู้ได้ เข้าใจหัวอกผู้แทน และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยึดแนวทางของรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นหลัก แนวทางที่ประชาชนต่างจังหวัดมีสิทธิมีเสียงก็จะมากขึ้น ส่วนในกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ระบุว่ามีทหาร ขมขู่อดีต ส.ส.ไทยรักไทยนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในกลุ่มวังน้ำยม เท่าที่คุยกันนั้นไม่มี สำหรับตนแล้วเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก บางคนอาจมองว่าเป็นการข่มขู่ แต่ถ้ามองอย่างเป็นกลางก็อาจจะมองได้ว่า ทหารอาจอยากสนทนาด้วย
อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ได้กล่าวชื่นชมรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่กำหนดค่าชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยสูงขึ้น แต่ต้องการให้จ่ายเงินโดยเร็ว อย่าให้ต้องรอถึง 6 เดือน ต้องการให้รีบ เพราะเกรงว่าอาจจะมีม็อบเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และม็อบผู้ใช้แรงงานเข้ามาชุมนุม คิดว่าปลายสัปดาห์หน้าอาจจะมีม็อบเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า ที่มาร่วมงานเลี้ยงในวันนี้ เพราะนายสมศักดิ์ โทรศัพท์ไปชวน และตนเองก็อยากจะมาเพื่อรับรู้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่อดีตส.ส.ของพรรคไทยรักไทยเคยดูแลอยู่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ประมวลและนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะมาร่วมพรรคกับนายสมศักดิ์ แต่มาเหมือนกับคนที่รู้จัก มาคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน
นายสุรนันทน์ ยังมองการเมืองปัจจุบันด้วยว่า ขณะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่รัฐบาลจะต้องยึดหลักประชาธิปไตยและวางรากฐานให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมาถือว่าเป็นบทเรียน ซึ่งจะต้องทำกระบวนการทางการเมืองให้โปร่งใสเพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาระยะยาวต่อไป
เมื่อเย็นวานนี้ (20พ.ย.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มวังน้ำยม ได้นัดสมาชิกกลุ่ม และอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย รับประทานอาหารค่ำ ที่บ้านพักย่านสนามบินน้ำ (ซอยนนทบุรี 42)โดยมีผู้มาร่วมงานเลี้ยงประมาณ 50 คน อาทิ นายสุชาติ ตันเจริญ นายสรออรถ กลิ่นประทุม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายวราเทพ รัตนากร นายฉลอง เรี่ยวแรง กลุ่มวังน้ำเย็น บางส่วน สมาชิกกลุ่มวาดะห์ และอดีตส.ส.กทม.อีกจำนวนหนึ่ง
นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่า เป็นการนัดพบกันตามปกติ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการรัฐประหาร ก็มีการพบปะกันเดือนละครั้งอยู่แล้ว แต่ในช่วงนี้เราอาจจะพบกันเดือนละ2 ครั้ง เพื่อพูดคุยเรื่องประชาชนในต่างจังหวัด และวิเคราะห์ทิศทางทางการเมือง เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บอกว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ 1 ปี ก็คิดว่า เวลาผ่านไป 2 เดือนแล้ว เหลือเวลาอีก 9 เดือนเศษ ดังนั้น นักการเมืองต้องเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง จะรอจนร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ แล้วค่อยมาพูดคุยคงไม่ทัน
"ผมยังบอกไม่ได้ว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่หรือไม่ เวลานี้ 50:50 ยังไม่เห็นรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ยังบอกไม่ได้ ต้องขอดูก่อน จะตัดสินใจตอนที่มีรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ที่ผ่านมาเคยเชิญนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แต่ยังไม่ได้ตอบตกลง ที่ผ่านมาทาบทามไป 5 คน แต่ไม่อยากเปิดเผย เดี๋ยวคนอื่นจะเสีย แต่คนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ต้องมีอายุไม่มากเกินไป สื่อสารทางการเมืองรู้เรื่อง และเข้าใจการเมือง"นายสมศักดิ์ กล่าว และว่าเราก็พยายามจับมือกับกลุ่มต่างๆ ขณะนี้เรามี ส.ส.อยู่ในมือแน่ๆประมาณ 100 คน ที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยแล้ว ประมาณ 60 คน ส่วนที่ยังไม่ลาออกเป็นเพราะชี้แจงกับชาวบ้านไม่เก่ง จึงยังหาคำอธิบายไม่ได้
อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ยืนยันว่า กลุ่มวังน้ำยมไม่ได้เป็นสายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธปิไตย แต่อยู่สายกลาง เพื่อความสมานฉันท์ คือ ไม่รวยเกินไป ไม่ลำบากยากจนเกินไป เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเวลานี้กลุ่มวังน้ำยม ได้จัดทีมทำงานแต่คงต้องรอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกก่อน เชื่อว่ารัฐบาล และคมช.จะยกเลิกในปีนี้ เพราะเท่าที่ฟังข้อมูลจากผู้ใหญ่หลายด้าน คงจะไม่นานเกินรอ
ส่วนแนวโน้มที่ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช.จะมาร่วมทำงานการเมืองด้วยนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เคยพบกับ พล.อ.วินัย แม้จะต้องการพบ แต่พล.อ.วินัย คงไม่ให้พบ และว่าการเป็นนักการเมืองต้องพบทุกคนได้อยู่แล้ว และต้องทำให้ทุกคนมีความสุขตามกฎหมาย
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มีข่าวการเคลื่อนไหวเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างต่อเนื่องนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เฉพาะประชาชนที่ตื่นเต้นระดับบนๆเอง ก็ตื่นเต้นเหมือนกัน
"ถ้าวันข้างหน้าหากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเล่นการเมืองได้ ถือว่าเป็นเรืองใหญ่ สิ่งที่เราตระเตรียมไว้อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ เพราะวันนี้เราเตรียมตัวอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีพ.ต.ท.ทักษิณ บนสนามการเมือง หากท่านกลับมาจริงๆ อะไรก็ทานท่านไม่ได้หรอก ต้องยกให้ท่าน"นายสมศักดิ์ ระบุ
ส่วนในเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินของรัฐมนตรีรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายสมศักดิ์ เชื่อว่า ไม่สามารถปลดโซ่ตรวนในขณะนี้ได้ และคงจะอีกนาน ส่วนเรื่องการพิจารณาคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น หากมีการตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยจริง จะส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ด้วยเช่นกัน ตนเองก็ต้องเลิก เพราะไม่ได้มีนอมินีทางการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณ เคลียร์ตัวเองและพ้นมลทิน เรื่องตั้งพรรคใหม่คงต้องยกเลิก แล้วจะกลับร่วมงานกันอีกครั้งใช่หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ใครคิดอย่างไรไม่รู้ แต่ตนไม่คิดสู้ เมื่อถึงเวลานั้นในกลุ่มจะเคลื่อนไหวอย่างไรค่อยว่ากัน
"แต่ถ้าพ.ต.ท.ทักษัณ กลับมาได้ บุคคลที่เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งนายอภิสิทธิ์ (เวชชาวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)นายเสนาะ (เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช)พล.ต.สนั่น (ขจรประสาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน)และนายบรรหาร (ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย)ก็สู้ไม่ได้ทั้งนั้น ผมยิ่งขี้เหร่กว่าทั้งสี่คน แล้วจะเอาอะไรไปสู้ ถอยกลับไปสุโขทัยดีกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามถึงสเปกคนที่คิดว่าน่าจะชูเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ต้องเข้ากับคนภาคกลางได้ มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ ฟังสังคมและสื่อ ไม่อายุมากเกินไป สื่อสารกับคนเมืองอย่างมีความรู้ได้ เข้าใจหัวอกผู้แทน และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยึดแนวทางของรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นหลัก แนวทางที่ประชาชนต่างจังหวัดมีสิทธิมีเสียงก็จะมากขึ้น ส่วนในกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ระบุว่ามีทหาร ขมขู่อดีต ส.ส.ไทยรักไทยนั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในกลุ่มวังน้ำยม เท่าที่คุยกันนั้นไม่มี สำหรับตนแล้วเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก บางคนอาจมองว่าเป็นการข่มขู่ แต่ถ้ามองอย่างเป็นกลางก็อาจจะมองได้ว่า ทหารอาจอยากสนทนาด้วย
อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ได้กล่าวชื่นชมรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่กำหนดค่าชดเชยให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยสูงขึ้น แต่ต้องการให้จ่ายเงินโดยเร็ว อย่าให้ต้องรอถึง 6 เดือน ต้องการให้รีบ เพราะเกรงว่าอาจจะมีม็อบเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และม็อบผู้ใช้แรงงานเข้ามาชุมนุม คิดว่าปลายสัปดาห์หน้าอาจจะมีม็อบเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า ที่มาร่วมงานเลี้ยงในวันนี้ เพราะนายสมศักดิ์ โทรศัพท์ไปชวน และตนเองก็อยากจะมาเพื่อรับรู้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่อดีตส.ส.ของพรรคไทยรักไทยเคยดูแลอยู่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ประมวลและนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะมาร่วมพรรคกับนายสมศักดิ์ แต่มาเหมือนกับคนที่รู้จัก มาคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน
นายสุรนันทน์ ยังมองการเมืองปัจจุบันด้วยว่า ขณะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่รัฐบาลจะต้องยึดหลักประชาธิปไตยและวางรากฐานให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมาถือว่าเป็นบทเรียน ซึ่งจะต้องทำกระบวนการทางการเมืองให้โปร่งใสเพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาระยะยาวต่อไป