นักสิทธิมนุษยชน จี้ รัฐบาลและ คมช.สางคดีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ ยุครัฐบาลแม้ว ระบุมีหลักฐานชัด “ทักษิณ-วันนอร์-เสริมศักดิ์” สั่งการโดยผ่านตามขั้นตอนตามระบบราชการ เรียกร้องตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติกับ“ทักษิณ” พร้อมให้ รัฐบาลรีบให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อให้ดำเนินคดี “ทักษิณ” จะได้ไม่ลอยนวลไปตามประเทศต่างๆ เหมือนปัจจุบัน
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง “ฆ่าตัดตอน ปมปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน” วานนี้ (19 พ.ย.) โดยนายสมชาย หอมลออ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในสงครามยาเสพติดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีคนถูกฆ่า 2,500 ศพ นั้น มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดจากคำสั่งทางนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ทำคำสั่งการอย่างเป็นระบบ มีการส่งสัญญาณ การสั่งการ ที่เรียกได้ว่าเป็นใบอนุญาตสั่งฆ่า จาก พ.ต.ท.ทักษิณ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทยในยุคนั้น รวมทั้ง นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงมหาดไทยในยุคนั้นที่ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดที่สำคัญการส่งสัญญาณจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าพวกยาเสพติด ถ้าใครยังไม่หยุด มีสองทางเลือกเท่านั้นคือไม่ไปวัด ก็คือตายก็ไปอยู่ในคุกคือถูกจับ
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เคยพูดในที่สาธารณะว่า พวกที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้าไม่เลิกก็จะถูกจัดการทุกรูปแบบหมดทั้งตัวหมดทั้งชีวิต
“นายกรัฐมนตรีทักษิณ รัฐมนตรีมหาดไทยและปลัดมหาดไทยในช่วงเวลานั้น ได้มีคำสั่ง มีการสั่งสัญญาณในการสั่งฆ่าในทางนโยบายอย่างชัดเจน เราอาจเรียก นโยบายสงครามยาเสพติดเป็นนโยบายการฆ่าตัดตอนได้เลย”
นายสมชายกล่าวว่ารัฐบาลชั่วคราวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะต้องสะสางเรื่องการละเมิดสิทธิมุษยชน ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ในทุกกรณี เพราะการฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ และผู้นำชุมชนที่ต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยกรธรรมชาติจำนวน 20 คน ถูกฆ่า เป็นจุดเริ่มต้น ของการเกิดรัฐตำรวจ ทำลายหลักนิติธรรม เปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจนอกกฎหมาย นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างการและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรง
ด้วยเหตุนี้เทางกรรมการสิทธิมนุษย์ชน สภาทนายความฯ จึงได้เสนอให้ พล.อ.สุรยุทธ์ และ คมช.ต้องสืบสวนคดีห่าตัดตอนในทุกคดี และต้องลงโทษเจ้าหน้ารัฐทั้งอาญาและวินัยอย่างรุนแรง ที่สำคัญต้องสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาผู้ให้นโยบาย ผู้สั่งการ กำกับนโยบายเกี่ยวกับสงครามยาเสพติด ตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ลงมา ในข้อหา การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คือมีการฆ่าตัดตอนการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ต่อเหยื่อ ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีอำนาจในการป้องกันและห้ามปรามไม่มีการฆ่าตัดตอน แต่ไม่ได้ทำเลยปล่อยให้มีการฆ่าประชาชน 2,500 คนเกิดขึ้นในประเทศ
นายสมชาย ยังเสนอให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ดำเนินการ ในเรื่องนี้ ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรง เพราะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อพันธกรณีศาลอาญาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ศาลยุติธรรมของไทยต้องยอมรับการตีความความผิดอาญา ในเรื่องการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นความผิดที่ศาลยุติธรรมของไทยมีอำนาจในการดำเนินคดีได้ เพราะความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นความผิดตาม กฎหมายธรรมชาติและประเพณี ศาลยุติธรรมของไทยต้องยอมรับการตีความเช่นนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราไม่อาจตั้งข้อหา พ.ต.ท.ทักษิณกับพวกในเรื่องนี้ได้เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ให้การสัตยาบันในเรื่องศาลคดีอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมให้สัตยาบัน
“รัฐบาลนี้ควรให้สัตยาบันในเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลนี้และคมช. จึงสามารถประกาศเจตนารมย์ให้การเอาผิดคุณทักษิณทีเกี่ยวกับการฆ่าตัดตอนได้ ถ้ารัฐบาลให้การสัตยาบัน พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถลอยนวล หรือไปเสนอหน้าในประเทศต่างๆได้อย่างที่ทำทุกวันนี้ โดยเฉพาะประเทศในยุโรปที่ได้ให้การสัตยาบันไว้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เดินทางไปไม่ได้เดินทางไป ก็อาจถูกจับขึ้นศาลคดีอาญาระหว่างประเทศทันที”
นายสมชายเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างถึงราก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นิติรัฐล้มเหลว กระบวนการยุติธรรมก็ล้มเหลว ต้องลดอำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระจายอำนาจออกไป ต้องให้ศาลยุติธรรม เข้ามาตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในขั้นต้นให้มากขึ้น ต้องเข้ามาตรวจสอบ การสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศาลยุติธรรมต้องเข้าไปมีบทบาทในระดับอำเภอ สำนักงานอัยการต้องเข้าในมีบทบาทในการสอบสวนมากขึ้น ไม่ควรทำหน้าที่ เป็นเพียงแมสเซ็นเจอร์ ซึ่งไม่มีศักดิ์ศรีอะไรเลย
“ผมเห็นว่ารัฐบาลและคมช.ต้องทำเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคทักษิณ ไม่เช่นนั้นการยึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายน เป็นเพียงการยึดอำนาจจอมปลอม”
ชี้บัญชีดำยาเสพติดทำกันสุดมั่ว
นายวสันต์ พาณิช กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ช่วงรัฐบาลทักษิณ เราเอง ในฐานะองค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนทำงานกันหนัก เนื่องจากว่าขณะนั้นเองเหมือนกับการรัฐประหารเงียบ เพราะมีการงดใช้รัฐธรรมนูญแทบทุกเรื่อง สิทธิเสรีภาพของสื่อซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ถูกแทรกแซงอย่างหนัก สิทธิเสรีภาพในร่างกายก็ถูกกระทำเช่นกันคือไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัดตอนเนื่องจาก สงครามยาเสพติดก็ตาม หรือกรณีตากใบ กรือเซะ หรือ กรณีที่อื่นๆอีกก็ตามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
นายวสันต์ กล่าวว่า การทำสงครามกับยาเสพเริ่มเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2546 สิ้นสุด วันที่ 30 เม.ย. 2546 ใช้เวลา 3 เดือน พ.ต.ท.ทักษิณให้มีการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2546 และให้นโยบายไปเอ็กซเรย์ ทุกพื้นที่ ดังนั้นตั้งแต่วันนั้น จึงมีการจัดทำบัญชีผู้มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับยาเสพติดขึ้นมาโดยใช้เวลาเพียงครึ่งเดือนเท่านั้น บัญชีที่เกิดขึ้น โดยการไปจัดทำประชาคมหมู่บ้าน กลุ่มประมาณ 20-30 คน มีตำรวจหรืออำเภอเป็นแกนนำ คนๆนั้นเหมือนถูกลงมติมาขึ้นบัญชี ถ้าคนๆ มีมติจากเสียงส่วนใหญ่ว่าเขาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดดังนั้นจำนวนผู้มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจึงมีจำนวนมากมาย แต่บัญชีเหล่าก็มีรายชื่อที่ผิดพลาดซึ่งเกิดจากระยะเวลาอันสั้น มีกรณีต่างๆดังนี้
1. คนที่เกิดความขัดแย้งกันมาก่อน จากการเลือกตั้งท้องถิ่น ชื่อบุคคลเหล่านั้นจึงถูกบัญชีดำ 2. ผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมาก่อน เช่นที่ภาคอีสาน มีคนหนึ่งที่เคยมีคดีค้ายาเสพติดศาลตัดสินยกฟ้องไปแล้ว พอมาช่วง สงครามยาเสพติดชื่อของแกก็ถูกเอากลับเข้ามาอีก จนกระทั้งเมื่อวันก่อน ที่แกจะเสียชีวิตก็ไม่มีหลักฐานอะไรดำเนินการกับแกได้ แม้จะมีการเข้าไปตรวจสอบ หลายครั้งหลายหน ในที่สุดแล้วก็มีเจ้าหน้าที่ไปตามตัวแกไปที่ทำการ ที่จะไปรายงานตัว พอรายงานตัวลงจากโรงพักได้ออกมาไม่ถึงกิโลถูกยิงเสียชีวิต โดยการจอยิง
3. กรณีเครือญาติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เช่น รปภ.ในมหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง มีญาติที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด คือบุตรสาวถูกจับในข้อหาค้ายาเสพติด บุตรชายถูกจับข้อหาเสพยาเสพติด ผลสุดท้ายแก่เองมีชื่อในบัญชีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พอช่วงสงครามยาเสพติดแกก็เสียชีวิต มีคนร้ายเดินเข้ามาถามว่า ชื่อทองใช่ไม่ พอตอบว่าใช่ยิงจนเสียชีวิต
4. กลุ่มชาติพันธ์ มีหลายกรณีโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายม่ง อยู่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่างติดกับภาคอีสาน มีผู้ใหญ่บ้านที่แกพึงซื้อรถยนต์ใหม่พาผู้ต้องหาจะไปมอบตัวที่อัยการในข้อหาอาวุธปืนคือซื้อปืนมายังไม่ได้มีการโอนทะเบียนอย่างถูกต้อง พอกลับจากการรายงานตัวที่อัยการถูกยิงเสียชีวิตหมดเลย รถก็เอาไป ด้วยเป็นต้น
5. การขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ จังหวัดภาคเหนือสุดเลยของประเทศ มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งถูกจับข้อหาค้ายา พบยาที่แกเพียง 1 เม็ด แต่ชาวบ้านและกำนันรู้ว่าถูกยัดแน่ ก็ประท้วงให้เจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ แต่พอช่วงสงครามยาเสพติด กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านถูกตามล้าง ยึดทรัพย์
6. ความอิจฉา ริษยา ภาคเหนือตอนล่าง แกมีปั้มขนาดเล็กมีธุรกิจอยู่ หลายอย่าง แต่ไม่น่าจะได้กำไรอะไรมาก แต่แกสร้างบ้านยังกับคฤหาสน์ โดยแกกู้เงินมาสร้างบ้านหนี้สินประมาณ 30 ล้านบาท ชาวบ้านไม่รู้ ช่วงสงครามยาเสพติดภรรยาของเจ้าของบ้านถูกยิงที่หลังบ้าน แต่พอไปโรงพยายาล มือปืนตามมายิงในโรงพยาบาลต่อหน้าคนไข้รายอื่นๆ และออกมายิงตัวสามีที่หน้าโรงพยาบาล เสียชีวิตทั้งคู่เลย
จี้นำ“ทักษิณ”ผู้เกี่ยวข้องมาลงโทษ
นายวสันต์กล่าวว่า กาฆ่าตัดตอน เป็นนโยบายของรัฐบาลทักษิณอย่างชัดเจ นเพราะได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ต้องทำตามเป้าหมายให้ได้ ในแต่ละเดือนมีเป้าหมายเท่าไหร่ มิฉะนั้นจะถือว่าจังหวัดนั้นหย่อนไม่มีประสิทธิภาพ มีการประเมินผลด้วย 15 วัน ที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทยยุคนั้น ได้ทำหนังสือแจ้งกับคณะรัฐมนตรีให้ทราบว่าได้ปฎิบัติการอย่างไร คือ 1-15 ก.พ. และยอดแต่ละจังหวัดทำเป้าได้ตามยอดนั้นหรือไม่
นอกจากนี้จากการสอบสวนการฆ่าตัดตอน มีการสั่งการของข้าราชการ อย่างเป็นระบบ มีจดหมายทางราชการที่เอามาเป็นตัวอย่างคือของอำเภอบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เขียนว่า “จึงแจ้งมาเพื่อทราบและให้ไปรายงานตัวตามกำหนด โดยผู้ใดฝ่าฝืนศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอำเภอบ้านแพ้ว จะไม่รับรองความปลอดภัยในทุกกรณี” นี้กลายเป็นการข่มขู่ประชาชนว่าถ้าไม่ไปรายงานตัว คุณเดือดร้อนแน่ไม่รับรองความปลอดภัย
“ยังไม่พอจดหมายเวียนไปถึงผู้ว่าการราชการทุกจังหวัดโดยกำหนดแนวทาง ในการลดยอดเป้าหมายหรือลดยอดรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด(บัญชีดำ) ได้อย่างไร เขียนไว้อย่างนี้ครับ กรณีการปราบปรามผู้ค้า / ผู้ผลิต จะลดยอดใน 3 กรณี ได้แก่ ถูกจับกุม วิสามัญ หรือเสียชีวิต (สิ้นอายุขัยด้วยเหตุต่างๆ)ิ สำหรับผู้ค้าและผู้ผลิต จดหมายลงนามโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ซึ่งจะให้เห็นมีการสั่งการอย่างเป็นระบบจนทำให้เกิดการฆ่าตัดตอนประชาชนจำนวนมาก”
นายวสันต์ เรียกร้องให้รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการเรื่องการฆ่าตัดตอตอย่างจริงจัง เอาคนผิดมาลงโทษ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาที่ไทยได้ลงนามในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย คือศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินการเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าหมู่ประชาชนจำนวนมาก การฆ่าตัดตอนก็เสมือเป็นการฆ่าหมู่ประชาชน แต่รัฐบาลทักษิณไม่ยอมให้การสัตยาบัน เพื่อดำเนินการเอาผิดกับคนที่ออกนโยบายนี้
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง “ฆ่าตัดตอน ปมปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน” วานนี้ (19 พ.ย.) โดยนายสมชาย หอมลออ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในสงครามยาเสพติดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีคนถูกฆ่า 2,500 ศพ นั้น มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดจากคำสั่งทางนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ทำคำสั่งการอย่างเป็นระบบ มีการส่งสัญญาณ การสั่งการ ที่เรียกได้ว่าเป็นใบอนุญาตสั่งฆ่า จาก พ.ต.ท.ทักษิณ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทยในยุคนั้น รวมทั้ง นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงมหาดไทยในยุคนั้นที่ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดที่สำคัญการส่งสัญญาณจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าพวกยาเสพติด ถ้าใครยังไม่หยุด มีสองทางเลือกเท่านั้นคือไม่ไปวัด ก็คือตายก็ไปอยู่ในคุกคือถูกจับ
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เคยพูดในที่สาธารณะว่า พวกที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้าไม่เลิกก็จะถูกจัดการทุกรูปแบบหมดทั้งตัวหมดทั้งชีวิต
“นายกรัฐมนตรีทักษิณ รัฐมนตรีมหาดไทยและปลัดมหาดไทยในช่วงเวลานั้น ได้มีคำสั่ง มีการสั่งสัญญาณในการสั่งฆ่าในทางนโยบายอย่างชัดเจน เราอาจเรียก นโยบายสงครามยาเสพติดเป็นนโยบายการฆ่าตัดตอนได้เลย”
นายสมชายกล่าวว่ารัฐบาลชั่วคราวของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะต้องสะสางเรื่องการละเมิดสิทธิมุษยชน ในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ในทุกกรณี เพราะการฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ และผู้นำชุมชนที่ต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยกรธรรมชาติจำนวน 20 คน ถูกฆ่า เป็นจุดเริ่มต้น ของการเกิดรัฐตำรวจ ทำลายหลักนิติธรรม เปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจนอกกฎหมาย นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างการและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรง
ด้วยเหตุนี้เทางกรรมการสิทธิมนุษย์ชน สภาทนายความฯ จึงได้เสนอให้ พล.อ.สุรยุทธ์ และ คมช.ต้องสืบสวนคดีห่าตัดตอนในทุกคดี และต้องลงโทษเจ้าหน้ารัฐทั้งอาญาและวินัยอย่างรุนแรง ที่สำคัญต้องสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาผู้ให้นโยบาย ผู้สั่งการ กำกับนโยบายเกี่ยวกับสงครามยาเสพติด ตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ลงมา ในข้อหา การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คือมีการฆ่าตัดตอนการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ต่อเหยื่อ ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีอำนาจในการป้องกันและห้ามปรามไม่มีการฆ่าตัดตอน แต่ไม่ได้ทำเลยปล่อยให้มีการฆ่าประชาชน 2,500 คนเกิดขึ้นในประเทศ
นายสมชาย ยังเสนอให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ดำเนินการ ในเรื่องนี้ ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรง เพราะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อพันธกรณีศาลอาญาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ศาลยุติธรรมของไทยต้องยอมรับการตีความความผิดอาญา ในเรื่องการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นความผิดที่ศาลยุติธรรมของไทยมีอำนาจในการดำเนินคดีได้ เพราะความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นความผิดตาม กฎหมายธรรมชาติและประเพณี ศาลยุติธรรมของไทยต้องยอมรับการตีความเช่นนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราไม่อาจตั้งข้อหา พ.ต.ท.ทักษิณกับพวกในเรื่องนี้ได้เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ให้การสัตยาบันในเรื่องศาลคดีอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมให้สัตยาบัน
“รัฐบาลนี้ควรให้สัตยาบันในเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลนี้และคมช. จึงสามารถประกาศเจตนารมย์ให้การเอาผิดคุณทักษิณทีเกี่ยวกับการฆ่าตัดตอนได้ ถ้ารัฐบาลให้การสัตยาบัน พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถลอยนวล หรือไปเสนอหน้าในประเทศต่างๆได้อย่างที่ทำทุกวันนี้ โดยเฉพาะประเทศในยุโรปที่ได้ให้การสัตยาบันไว้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เดินทางไปไม่ได้เดินทางไป ก็อาจถูกจับขึ้นศาลคดีอาญาระหว่างประเทศทันที”
นายสมชายเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างถึงราก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นิติรัฐล้มเหลว กระบวนการยุติธรรมก็ล้มเหลว ต้องลดอำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระจายอำนาจออกไป ต้องให้ศาลยุติธรรม เข้ามาตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในขั้นต้นให้มากขึ้น ต้องเข้ามาตรวจสอบ การสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศาลยุติธรรมต้องเข้าไปมีบทบาทในระดับอำเภอ สำนักงานอัยการต้องเข้าในมีบทบาทในการสอบสวนมากขึ้น ไม่ควรทำหน้าที่ เป็นเพียงแมสเซ็นเจอร์ ซึ่งไม่มีศักดิ์ศรีอะไรเลย
“ผมเห็นว่ารัฐบาลและคมช.ต้องทำเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคทักษิณ ไม่เช่นนั้นการยึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายน เป็นเพียงการยึดอำนาจจอมปลอม”
ชี้บัญชีดำยาเสพติดทำกันสุดมั่ว
นายวสันต์ พาณิช กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ช่วงรัฐบาลทักษิณ เราเอง ในฐานะองค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนทำงานกันหนัก เนื่องจากว่าขณะนั้นเองเหมือนกับการรัฐประหารเงียบ เพราะมีการงดใช้รัฐธรรมนูญแทบทุกเรื่อง สิทธิเสรีภาพของสื่อซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ถูกแทรกแซงอย่างหนัก สิทธิเสรีภาพในร่างกายก็ถูกกระทำเช่นกันคือไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัดตอนเนื่องจาก สงครามยาเสพติดก็ตาม หรือกรณีตากใบ กรือเซะ หรือ กรณีที่อื่นๆอีกก็ตามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
นายวสันต์ กล่าวว่า การทำสงครามกับยาเสพเริ่มเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2546 สิ้นสุด วันที่ 30 เม.ย. 2546 ใช้เวลา 3 เดือน พ.ต.ท.ทักษิณให้มีการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2546 และให้นโยบายไปเอ็กซเรย์ ทุกพื้นที่ ดังนั้นตั้งแต่วันนั้น จึงมีการจัดทำบัญชีผู้มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับยาเสพติดขึ้นมาโดยใช้เวลาเพียงครึ่งเดือนเท่านั้น บัญชีที่เกิดขึ้น โดยการไปจัดทำประชาคมหมู่บ้าน กลุ่มประมาณ 20-30 คน มีตำรวจหรืออำเภอเป็นแกนนำ คนๆนั้นเหมือนถูกลงมติมาขึ้นบัญชี ถ้าคนๆ มีมติจากเสียงส่วนใหญ่ว่าเขาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดดังนั้นจำนวนผู้มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจึงมีจำนวนมากมาย แต่บัญชีเหล่าก็มีรายชื่อที่ผิดพลาดซึ่งเกิดจากระยะเวลาอันสั้น มีกรณีต่างๆดังนี้
1. คนที่เกิดความขัดแย้งกันมาก่อน จากการเลือกตั้งท้องถิ่น ชื่อบุคคลเหล่านั้นจึงถูกบัญชีดำ 2. ผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมาก่อน เช่นที่ภาคอีสาน มีคนหนึ่งที่เคยมีคดีค้ายาเสพติดศาลตัดสินยกฟ้องไปแล้ว พอมาช่วง สงครามยาเสพติดชื่อของแกก็ถูกเอากลับเข้ามาอีก จนกระทั้งเมื่อวันก่อน ที่แกจะเสียชีวิตก็ไม่มีหลักฐานอะไรดำเนินการกับแกได้ แม้จะมีการเข้าไปตรวจสอบ หลายครั้งหลายหน ในที่สุดแล้วก็มีเจ้าหน้าที่ไปตามตัวแกไปที่ทำการ ที่จะไปรายงานตัว พอรายงานตัวลงจากโรงพักได้ออกมาไม่ถึงกิโลถูกยิงเสียชีวิต โดยการจอยิง
3. กรณีเครือญาติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เช่น รปภ.ในมหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง มีญาติที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด คือบุตรสาวถูกจับในข้อหาค้ายาเสพติด บุตรชายถูกจับข้อหาเสพยาเสพติด ผลสุดท้ายแก่เองมีชื่อในบัญชีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พอช่วงสงครามยาเสพติดแกก็เสียชีวิต มีคนร้ายเดินเข้ามาถามว่า ชื่อทองใช่ไม่ พอตอบว่าใช่ยิงจนเสียชีวิต
4. กลุ่มชาติพันธ์ มีหลายกรณีโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายม่ง อยู่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่างติดกับภาคอีสาน มีผู้ใหญ่บ้านที่แกพึงซื้อรถยนต์ใหม่พาผู้ต้องหาจะไปมอบตัวที่อัยการในข้อหาอาวุธปืนคือซื้อปืนมายังไม่ได้มีการโอนทะเบียนอย่างถูกต้อง พอกลับจากการรายงานตัวที่อัยการถูกยิงเสียชีวิตหมดเลย รถก็เอาไป ด้วยเป็นต้น
5. การขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ จังหวัดภาคเหนือสุดเลยของประเทศ มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งถูกจับข้อหาค้ายา พบยาที่แกเพียง 1 เม็ด แต่ชาวบ้านและกำนันรู้ว่าถูกยัดแน่ ก็ประท้วงให้เจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ แต่พอช่วงสงครามยาเสพติด กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านถูกตามล้าง ยึดทรัพย์
6. ความอิจฉา ริษยา ภาคเหนือตอนล่าง แกมีปั้มขนาดเล็กมีธุรกิจอยู่ หลายอย่าง แต่ไม่น่าจะได้กำไรอะไรมาก แต่แกสร้างบ้านยังกับคฤหาสน์ โดยแกกู้เงินมาสร้างบ้านหนี้สินประมาณ 30 ล้านบาท ชาวบ้านไม่รู้ ช่วงสงครามยาเสพติดภรรยาของเจ้าของบ้านถูกยิงที่หลังบ้าน แต่พอไปโรงพยายาล มือปืนตามมายิงในโรงพยาบาลต่อหน้าคนไข้รายอื่นๆ และออกมายิงตัวสามีที่หน้าโรงพยาบาล เสียชีวิตทั้งคู่เลย
จี้นำ“ทักษิณ”ผู้เกี่ยวข้องมาลงโทษ
นายวสันต์กล่าวว่า กาฆ่าตัดตอน เป็นนโยบายของรัฐบาลทักษิณอย่างชัดเจ นเพราะได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ต้องทำตามเป้าหมายให้ได้ ในแต่ละเดือนมีเป้าหมายเท่าไหร่ มิฉะนั้นจะถือว่าจังหวัดนั้นหย่อนไม่มีประสิทธิภาพ มีการประเมินผลด้วย 15 วัน ที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทยยุคนั้น ได้ทำหนังสือแจ้งกับคณะรัฐมนตรีให้ทราบว่าได้ปฎิบัติการอย่างไร คือ 1-15 ก.พ. และยอดแต่ละจังหวัดทำเป้าได้ตามยอดนั้นหรือไม่
นอกจากนี้จากการสอบสวนการฆ่าตัดตอน มีการสั่งการของข้าราชการ อย่างเป็นระบบ มีจดหมายทางราชการที่เอามาเป็นตัวอย่างคือของอำเภอบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เขียนว่า “จึงแจ้งมาเพื่อทราบและให้ไปรายงานตัวตามกำหนด โดยผู้ใดฝ่าฝืนศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอำเภอบ้านแพ้ว จะไม่รับรองความปลอดภัยในทุกกรณี” นี้กลายเป็นการข่มขู่ประชาชนว่าถ้าไม่ไปรายงานตัว คุณเดือดร้อนแน่ไม่รับรองความปลอดภัย
“ยังไม่พอจดหมายเวียนไปถึงผู้ว่าการราชการทุกจังหวัดโดยกำหนดแนวทาง ในการลดยอดเป้าหมายหรือลดยอดรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด(บัญชีดำ) ได้อย่างไร เขียนไว้อย่างนี้ครับ กรณีการปราบปรามผู้ค้า / ผู้ผลิต จะลดยอดใน 3 กรณี ได้แก่ ถูกจับกุม วิสามัญ หรือเสียชีวิต (สิ้นอายุขัยด้วยเหตุต่างๆ)ิ สำหรับผู้ค้าและผู้ผลิต จดหมายลงนามโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ซึ่งจะให้เห็นมีการสั่งการอย่างเป็นระบบจนทำให้เกิดการฆ่าตัดตอนประชาชนจำนวนมาก”
นายวสันต์ เรียกร้องให้รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการเรื่องการฆ่าตัดตอตอย่างจริงจัง เอาคนผิดมาลงโทษ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาที่ไทยได้ลงนามในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย คือศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินการเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าหมู่ประชาชนจำนวนมาก การฆ่าตัดตอนก็เสมือเป็นการฆ่าหมู่ประชาชน แต่รัฐบาลทักษิณไม่ยอมให้การสัตยาบัน เพื่อดำเนินการเอาผิดกับคนที่ออกนโยบายนี้