“โกวิท” เสียงอ่อยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เปรียบตำรวจ เหมือนผู้หญิง ต้องเสริมสวยบ้าง คาดสัปดาห์หน้านายกฯร่วมหารือรื้อโครงสร้าง ตำรวจ “สังศิต” ยันต้องรื้อโครงสร้าง “ประสงค์” หนุนหวังให้เลิกรับใช้การเมือง มารับใช้ประชาชน ด้าน “ประพันธ์” ร่วมตบปาก “อชิรวิทย์” พร้อมยุปลดออก
วานนี้(16 พ.ย.)ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าเราต้องรับฟังไม่ว่าผู้ใดจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรทั้งต่อการทำงานและโครงสร้าง ก็ยอมรับฟังอยู่แล้ว เพราะตำรวจกินเงินเดือนซึ่งเป็นภาษีของประชาชน เมื่อรัฐบาล และบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลง ก็พร้อมจะรับฟัง
อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.โกวิท ยังได้ขอให้รับฟังเหตุผลของตำรวจด้วย เพราะทุกอย่างถ้าเราพูดด้วยเหตุผล เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมก็คงไม่มีปัญหาอะไร
“การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนผู้หญิงแต่งตัวอย่างไรตอนเช้า ก็สวย พอตอนบ่ายไม่สวยแล้ว อาจจะต้องมีการเสริมสวยบ้าง ทุกคนก็อยาก ให้เป็นตำรวจของประชาชน รูปร่างหน้าตาที่เขาต้องการเป็นอย่างไรเราก็ต้องรับฟัง ก็ยินดีิผบ.ตร. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลได้พูดคุยถึงเรื่องการปรับโครงสร้างอย่างไรบ้าง พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า ไม่มี แต่ในสัปดาห์หน้า พล.อ.สุรยุทธ์ จะเดินทางมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคาดว่าจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยด้วย
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และนักวิชาการที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจเถื่อนที่เชื่อมโยงไปถึงตำรวจ และเป็น 1 ในคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ กล่าวว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับงานของตำรวจนานกว่า 10 ปี เห็นว่าจำเป็นต้องกระจายอำนาจออกไป ส่วนจะกระจายอำนาจอย่างไรต้องหารือในรายละเอียดกันอีกครั้ง
นายสังศิต กล่าวว่าตามหลักการแล้วการทำงานของตำรวจต้องเน้นประสิทธิภาพ และประชาชนต้องได้รับประโยชน์ดีกว่าเดิม เช่นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนในเรื่องคดีความต้องได้รับความยุติธรรม ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจเองต้องมีความพึงพอใจดีกว่าเดิม เช่น ได้รับผลตอบแทน สวัสดิการที่ดีกว่า
นายสังศิต กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ปรับโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบร่วมกับ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อปรับปรุงทั้งตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งต้องมีการปฏิรูปตอบสนองสังคมให้มากที่สุด
โดยคณะกรรมการดังกล่าว มี พล.ต.อ.วศิษฐ์ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธาน มีคณะบดีคณะรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ และบุคคลที่เป็นกลางในสังคมมาร่วม โดยมีหลักการคือให้ประชาชนพึงพอใจการทำงานของตำรวจ และองค์กรต้องเล็กลง ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ต้องมีการหารือกันหลายฝ่ายและเปิดกว้างให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. กล่าวสนับสนุนการปรับโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกล่าวว่าตามหลักการแล้วตำรวจอยู่ในกระบวนการยุติธรรม มีอำนาจในการจับกุม สอบสวน เป็นต้นทางก่อนถึงศาล ถ้าต้นทางไม่ดีก็เกิดปัญหาจึงต้องแก้ไข
น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ตำรวจตกอยู่ภายใต้อำนาจการเมือง มาตั้งแต่ยุค พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จนมาถึงยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ใช้อำนาจการเมืองบงการตำรวจเปิดเป็นรัฐตำรวจขึ้นมา ทั้งที่ตามหลักการแล้วตำรวจต้องเป็นของประชาชน แก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ใช่รับใช้นักการเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาตำรวจดีก็มีมาก แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีอำนาจหรือบทบาท ไม่เหมือนตำรวจที่ประจบประแจงนักการเมืองที่ได้ดิบได้ดี
น.ต.ประสงค์ กล่าวว่าการปรับโครงสร้างตำรวจต้องทำควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบราชการ และการปฏิรูปการเมือง โดยเสนอให้ปรับโครงสร้าง โดยให้ตำรวจใกล้ชิดกับประชาชน ดังนั้น ควรมีเป้าหมายหลักคือประชาชน
น.ต.ประสงค์ ยังได้กล่าวตอบโต้ พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช รอง ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ออกมาคัดค้านการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าไม่ควรออกมาพูดเรื่องนี้ไปก่อน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และการปรับโครงสร้างตำรวจอย่าคิดว่าทำไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าเมื่อปรับโครงสร้างให้ตำรวจ ไปขึ้นกับท้องถิ่นแล้วแผ่นดินจะลุกเป็นไฟนั้นอยากถามว่าไฟที่ไหม้นั้นไหม้ใคร แล้วลามไปถึงใคร เพราะการกระจายอำนาจยิ่งมากยิ่งดี
นาย ประพันธ์ คูณมี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า พล.ต.อ. อชิรวิทย์ พูดได้อย่างไรว่าแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ เพราะขณะนี้ไม่ต้องปรับเปลี่ยน บ้านเมืองก็ลุกเป็นไฟเพราะตำรวจอยู่แล้ว ทั้งภาคใต้ ทั้งเหตุการณ์ฆ่าตัดตอนยาเสพติด เหตุการณ์อุ้มฆ่าต่างๆนาๆ
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า การจะปรับโครงสร้าง สตช. ต้องเปลี่ยน ผบ.ตร. เพราะการปฏิรูปองค์กรใดๆ ผู้นำองค์กรนั้นต้องยอมรับการเปลี่ยนเสียก่อน ดังนั้นกรณีนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเรียก ผบ.ตร. รอง ผบ.ตร. ผบช.น. ผู้บัญชาการตำรวจภาคต่างๆ มาชี้แจง เพื่อให้ไปทำความเข้าใจ และมอบปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล
วานนี้(16 พ.ย.)ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าเราต้องรับฟังไม่ว่าผู้ใดจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรทั้งต่อการทำงานและโครงสร้าง ก็ยอมรับฟังอยู่แล้ว เพราะตำรวจกินเงินเดือนซึ่งเป็นภาษีของประชาชน เมื่อรัฐบาล และบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลง ก็พร้อมจะรับฟัง
อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.โกวิท ยังได้ขอให้รับฟังเหตุผลของตำรวจด้วย เพราะทุกอย่างถ้าเราพูดด้วยเหตุผล เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมก็คงไม่มีปัญหาอะไร
“การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนผู้หญิงแต่งตัวอย่างไรตอนเช้า ก็สวย พอตอนบ่ายไม่สวยแล้ว อาจจะต้องมีการเสริมสวยบ้าง ทุกคนก็อยาก ให้เป็นตำรวจของประชาชน รูปร่างหน้าตาที่เขาต้องการเป็นอย่างไรเราก็ต้องรับฟัง ก็ยินดีิผบ.ตร. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลได้พูดคุยถึงเรื่องการปรับโครงสร้างอย่างไรบ้าง พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า ไม่มี แต่ในสัปดาห์หน้า พล.อ.สุรยุทธ์ จะเดินทางมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคาดว่าจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยด้วย
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และนักวิชาการที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจเถื่อนที่เชื่อมโยงไปถึงตำรวจ และเป็น 1 ในคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ กล่าวว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับงานของตำรวจนานกว่า 10 ปี เห็นว่าจำเป็นต้องกระจายอำนาจออกไป ส่วนจะกระจายอำนาจอย่างไรต้องหารือในรายละเอียดกันอีกครั้ง
นายสังศิต กล่าวว่าตามหลักการแล้วการทำงานของตำรวจต้องเน้นประสิทธิภาพ และประชาชนต้องได้รับประโยชน์ดีกว่าเดิม เช่นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนในเรื่องคดีความต้องได้รับความยุติธรรม ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจเองต้องมีความพึงพอใจดีกว่าเดิม เช่น ได้รับผลตอบแทน สวัสดิการที่ดีกว่า
นายสังศิต กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ปรับโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบร่วมกับ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อปรับปรุงทั้งตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งต้องมีการปฏิรูปตอบสนองสังคมให้มากที่สุด
โดยคณะกรรมการดังกล่าว มี พล.ต.อ.วศิษฐ์ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธาน มีคณะบดีคณะรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ และบุคคลที่เป็นกลางในสังคมมาร่วม โดยมีหลักการคือให้ประชาชนพึงพอใจการทำงานของตำรวจ และองค์กรต้องเล็กลง ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ต้องมีการหารือกันหลายฝ่ายและเปิดกว้างให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. กล่าวสนับสนุนการปรับโครงสร้างกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกล่าวว่าตามหลักการแล้วตำรวจอยู่ในกระบวนการยุติธรรม มีอำนาจในการจับกุม สอบสวน เป็นต้นทางก่อนถึงศาล ถ้าต้นทางไม่ดีก็เกิดปัญหาจึงต้องแก้ไข
น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ตำรวจตกอยู่ภายใต้อำนาจการเมือง มาตั้งแต่ยุค พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จนมาถึงยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ใช้อำนาจการเมืองบงการตำรวจเปิดเป็นรัฐตำรวจขึ้นมา ทั้งที่ตามหลักการแล้วตำรวจต้องเป็นของประชาชน แก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ใช่รับใช้นักการเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาตำรวจดีก็มีมาก แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีอำนาจหรือบทบาท ไม่เหมือนตำรวจที่ประจบประแจงนักการเมืองที่ได้ดิบได้ดี
น.ต.ประสงค์ กล่าวว่าการปรับโครงสร้างตำรวจต้องทำควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบราชการ และการปฏิรูปการเมือง โดยเสนอให้ปรับโครงสร้าง โดยให้ตำรวจใกล้ชิดกับประชาชน ดังนั้น ควรมีเป้าหมายหลักคือประชาชน
น.ต.ประสงค์ ยังได้กล่าวตอบโต้ พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช รอง ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ออกมาคัดค้านการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าไม่ควรออกมาพูดเรื่องนี้ไปก่อน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และการปรับโครงสร้างตำรวจอย่าคิดว่าทำไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าเมื่อปรับโครงสร้างให้ตำรวจ ไปขึ้นกับท้องถิ่นแล้วแผ่นดินจะลุกเป็นไฟนั้นอยากถามว่าไฟที่ไหม้นั้นไหม้ใคร แล้วลามไปถึงใคร เพราะการกระจายอำนาจยิ่งมากยิ่งดี
นาย ประพันธ์ คูณมี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า พล.ต.อ. อชิรวิทย์ พูดได้อย่างไรว่าแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ เพราะขณะนี้ไม่ต้องปรับเปลี่ยน บ้านเมืองก็ลุกเป็นไฟเพราะตำรวจอยู่แล้ว ทั้งภาคใต้ ทั้งเหตุการณ์ฆ่าตัดตอนยาเสพติด เหตุการณ์อุ้มฆ่าต่างๆนาๆ
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า การจะปรับโครงสร้าง สตช. ต้องเปลี่ยน ผบ.ตร. เพราะการปฏิรูปองค์กรใดๆ ผู้นำองค์กรนั้นต้องยอมรับการเปลี่ยนเสียก่อน ดังนั้นกรณีนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเรียก ผบ.ตร. รอง ผบ.ตร. ผบช.น. ผู้บัญชาการตำรวจภาคต่างๆ มาชี้แจง เพื่อให้ไปทำความเข้าใจ และมอบปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล