ผู้จัดการรายวัน - ดีเอสไอ ชี้มูล ปรส.เร่ขายสินเชื่อ 56 สถาบันการเงิน เอื้อประโยชน์ให้เอกชน ทำผิดอาญา รัฐเสียหายกว่า 8.5 แสนล้าน คาด 2 สัปดาห์แจ้งข้อหานิติบุคคล และกรรมการ ปรส.ชุดแรก อย่างน้อย 5 ราย ขณะที่“ไกรสร”สั่งเรียกสอบกรรมการ “ปรส.” ชุดแรก ขยายผลมัดกรรมการ “ปรส.” ชุด 2 ที่เกี่ยวข้องกับงานประมูล
วานนี้(15 พ.ย.)ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายไกรสร บารมีอวยชัย รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนางอัญชลี เต็งประทีป หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมประชุมเพื่อสรุปสำนวนคดีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่ง ดีเอสไอ รับโอนคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเป็นคดีพิเศษตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.2549 เพื่อสอบสวนว่ามีการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจากการนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท หรือไม่ และการดำเนินการของ ปรส. ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไขระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ แต่ขั้นตอนดำเนินการของ ปรส.กลับไม่แยกหนี้ดี หนี้เสีย (สินทรัพย์คุณภาพดี และสินทรัพย์คุณภาพด้อย)เพื่อแยกหนี้ดีไปให้กับธนาคารรัตนสิน จำกัด มหาชน นำไปบริหาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
นอกจากนี้ ในคดี ปรส.ยังมีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ อีก 5 คดี ประกอบด้วย คดีที่ 1.กรณีบริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท คดีที่ 2. กรณีบริษัทโกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3-4 กรณีบริษัทเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1-3 ยอดคงค้างทางบัญชี64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท และคดีที่ 5 กรณีบริษัทวีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 12,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท
**พบทำผิดชัด 10 ประเด็น
หลังประชุม นายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงว่า พนักงานสอบสวนได้ข้อยุติในคดีที่ 1.กรณีบริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท ซึ่งมีการสอบปากคำพยานบุคคล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวม 106 ปาก โดยแยกประเด็นการสอบสวนออกเป็นประเด็น ข้อกฎหมายและประเด็นข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานถึงวัตถุประสงค์ในการปฏิรูปสถาบันการเงิน และ กรณีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
นายวิชช์ กล่าวต่อว่า จากการสอบสวนพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้ 1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส.โดยมิชอบ 2. คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส 3. ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย 4. การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส. 5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 6. คณะกรรมการ ปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน 7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย 9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ 10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
**2 สัปดาห์เรียก 5 กรรมการฯแจ้งข้อหา
นายวิชช์ กล่าวอีกว่า คณะพนักงานสอบสวนมีมติว่า การขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งในกลุ่มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น โดยเกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา หลังจากนี้พนักงานสอบสวนจะเรียกกรรมการ ปรส.ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องโดยตรงในการขายและนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่กระทำผิดอาญา จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ราย มารับทราบข้อกล่าวหา ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานและเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ซึ่งในคดีภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุก 3 เดือน -7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท
“คดีนี้พนักงานสอบสวนเตรียมที่จะออกหมายเรียกผู้ต้องหาแต่ นายไกรสร ซึ่งเชี่ยวชาญงานในกรมบังคับคดีได้ทักท้วงให้สอบสวนเพิ่มอีก 1 ประเด็นเพื่อไม่ให้คดีมีช่องว่าง ให้จำเลยใช้ต่อสู้ในชั้นศาล โดยบุคคลที่จะถูกออกหมายเรียกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ทำหน้าที่กำกับนโยบาย ปรส.ชุดสอง หากคดีนี้มีการยื่นฟ้อง ก็มีโอกาสที่ประเทศจะได้เงินกลับคืนมา สำหรับคดีนี้เกี่ยวพันกับบริษัทใหญ่หลายแห่งทั้งใน และต่างประเทศ ถ้ามีการยื่นฟ้อง เอกชนต้องฟ้องกลับแน่นอน ซึ่งก็ถือเป็นสิทธิของจำเลยในการต่อสู้ในชั้นศาล”นายวิชช์ กล่าว
ด้านนายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คดี ปรส.เป็นการสอบสวนร่วมระหว่างดีเอสไอ อัยการและผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการคลัง โดยการสอบสวนได้ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงความเสียหายกว่า 800,000 ล้านบาท ขณะนี้พนักงานสอบสวนมีมติร่วมกัน ว่ามีการกระทำผิดทางอาญา แต่ขอเวลาอีก 2 สัปดาห์จะพร้อมในการออกหมายเรียกผู้กระทำผิดมารับข้อกล่าวหา และจะนำตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดทันที
ขณะที่ นางอัญชลี กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่านมาเคยตั้งนายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นกรรมการตรวจสอบ และได้ตั้งประเด็นในการตรวจสอบตรงกับการสอบสวนของดีเอสไอ ซึ่งการสอบสวนก็พบพยานหลักฐาน ว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากดีเอสไอ สั่งฟ้องคดีกรณีบริษัทเลห์แมนบราเดอร์ฯได้ ก็จะเป็นบรรทัดฐานให้มีการฟ้องกรณีบริษัทอื่นๆต่อไป
**สั่งสอบเพิ่มมัดปรส.1 - ปรส.2
รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า นายไกรสร รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนคดีการทุจริตขายทรัพย์สินขององค์การปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.)สอบสวนเพิ่มในประเด็นการบริหารงานของกรรมการปรส.ชุดแรก ซึ่งตั้งขึ้นในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่ามีการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลขายสินทรัพย์คล้ายคลึงหรือแตกต่างไปจากกรรมการปรส.ชุดที่ 2 ซึ่งตั้งขึ้นสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนก่อนสั่งฟ้องคดีว่า กรรมการปรส.ผู้ที่มีหน้าที่กำกับการประมูลขายสินทรัพย์ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน จนทำให้รัฐเป็นฝ่ายเสียหาย จากการประมูลขายสินทรัพย์ กรณีบริษัทเลแมนบาร์เดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ซึ่งชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 41
**หลักฐานยังโยงไม่ถึงรัฐมนตรี
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า การสอบสวนคดี ปรส.ยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงให้เห็นถึงพฤติกรรมการกระทำความผิดของรัฐมนตรีที่กำกับนโยบาย ปรส. ซึ่งคดีประมูลขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีเพียงหลักฐานบ่งชี้ ถึงการประมูลที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย โดยผู้เสนอราคา 60 เปอร์เซ็นต์ ของยอดคงค้างทางบัญชี กลับแพ้การประมูลให้กับผู้เสนอราคาเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ การกำหนดหลักเกณฑ์ที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชน และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอยู่ในระดับกรรมการปรส.กับบริษัทเอกชนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประชุมสรุปสำนวนคดี ปรส. มีรายงานว่า นายรังสรรค์ ต่อสุวรรณ ได้เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ในฐานะผู้เสียหายจากการประมูลขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ไม่แยกหนี้ดีออกจากหนี้เสีย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะกรรมการปรส.ชุด ที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 28 ต.ค. 40- 23 ธ.ค. 40 ประกอบด้วย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธานกรรมการ นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ นายจรุง หนูขวัญ นายสุธี เอกะหิตานนท์ นางจันทรา อาชวนันทกุล และนายบุญญรักษ์ นิงสานนท์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนคณะกรรมการปรส. ชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 23 ธ.ค.40 - 1 ก.พ. 43 ประกอบด้วย นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางธัญญา ศิริเวทิน นางจันทรา อาชวนันทกุล และนางเกษรี ณรงค์เดช และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
วานนี้(15 พ.ย.)ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายไกรสร บารมีอวยชัย รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนางอัญชลี เต็งประทีป หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมประชุมเพื่อสรุปสำนวนคดีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่ง ดีเอสไอ รับโอนคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเป็นคดีพิเศษตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.2549 เพื่อสอบสวนว่ามีการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจากการนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท หรือไม่ และการดำเนินการของ ปรส. ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไขระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ แต่ขั้นตอนดำเนินการของ ปรส.กลับไม่แยกหนี้ดี หนี้เสีย (สินทรัพย์คุณภาพดี และสินทรัพย์คุณภาพด้อย)เพื่อแยกหนี้ดีไปให้กับธนาคารรัตนสิน จำกัด มหาชน นำไปบริหาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
นอกจากนี้ ในคดี ปรส.ยังมีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ อีก 5 คดี ประกอบด้วย คดีที่ 1.กรณีบริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท คดีที่ 2. กรณีบริษัทโกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3-4 กรณีบริษัทเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1-3 ยอดคงค้างทางบัญชี64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท และคดีที่ 5 กรณีบริษัทวีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 12,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท
**พบทำผิดชัด 10 ประเด็น
หลังประชุม นายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงว่า พนักงานสอบสวนได้ข้อยุติในคดีที่ 1.กรณีบริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากปรส.แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท ซึ่งมีการสอบปากคำพยานบุคคล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวม 106 ปาก โดยแยกประเด็นการสอบสวนออกเป็นประเด็น ข้อกฎหมายและประเด็นข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานถึงวัตถุประสงค์ในการปฏิรูปสถาบันการเงิน และ กรณีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
นายวิชช์ กล่าวต่อว่า จากการสอบสวนพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้ 1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส.โดยมิชอบ 2. คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส 3. ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย 4. การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อ พ.ร.ก.ปรส. 5. ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 6. คณะกรรมการ ปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน 7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 8. มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย 9. สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ 10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
**2 สัปดาห์เรียก 5 กรรมการฯแจ้งข้อหา
นายวิชช์ กล่าวอีกว่า คณะพนักงานสอบสวนมีมติว่า การขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งในกลุ่มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น โดยเกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา หลังจากนี้พนักงานสอบสวนจะเรียกกรรมการ ปรส.ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องโดยตรงในการขายและนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่กระทำผิดอาญา จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ราย มารับทราบข้อกล่าวหา ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานและเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันกระทำโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ซึ่งในคดีภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุก 3 เดือน -7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท
“คดีนี้พนักงานสอบสวนเตรียมที่จะออกหมายเรียกผู้ต้องหาแต่ นายไกรสร ซึ่งเชี่ยวชาญงานในกรมบังคับคดีได้ทักท้วงให้สอบสวนเพิ่มอีก 1 ประเด็นเพื่อไม่ให้คดีมีช่องว่าง ให้จำเลยใช้ต่อสู้ในชั้นศาล โดยบุคคลที่จะถูกออกหมายเรียกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ทำหน้าที่กำกับนโยบาย ปรส.ชุดสอง หากคดีนี้มีการยื่นฟ้อง ก็มีโอกาสที่ประเทศจะได้เงินกลับคืนมา สำหรับคดีนี้เกี่ยวพันกับบริษัทใหญ่หลายแห่งทั้งใน และต่างประเทศ ถ้ามีการยื่นฟ้อง เอกชนต้องฟ้องกลับแน่นอน ซึ่งก็ถือเป็นสิทธิของจำเลยในการต่อสู้ในชั้นศาล”นายวิชช์ กล่าว
ด้านนายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คดี ปรส.เป็นการสอบสวนร่วมระหว่างดีเอสไอ อัยการและผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการคลัง โดยการสอบสวนได้ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงความเสียหายกว่า 800,000 ล้านบาท ขณะนี้พนักงานสอบสวนมีมติร่วมกัน ว่ามีการกระทำผิดทางอาญา แต่ขอเวลาอีก 2 สัปดาห์จะพร้อมในการออกหมายเรียกผู้กระทำผิดมารับข้อกล่าวหา และจะนำตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดทันที
ขณะที่ นางอัญชลี กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ผ่านมาเคยตั้งนายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นกรรมการตรวจสอบ และได้ตั้งประเด็นในการตรวจสอบตรงกับการสอบสวนของดีเอสไอ ซึ่งการสอบสวนก็พบพยานหลักฐาน ว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากดีเอสไอ สั่งฟ้องคดีกรณีบริษัทเลห์แมนบราเดอร์ฯได้ ก็จะเป็นบรรทัดฐานให้มีการฟ้องกรณีบริษัทอื่นๆต่อไป
**สั่งสอบเพิ่มมัดปรส.1 - ปรส.2
รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า นายไกรสร รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนคดีการทุจริตขายทรัพย์สินขององค์การปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.)สอบสวนเพิ่มในประเด็นการบริหารงานของกรรมการปรส.ชุดแรก ซึ่งตั้งขึ้นในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่ามีการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลขายสินทรัพย์คล้ายคลึงหรือแตกต่างไปจากกรรมการปรส.ชุดที่ 2 ซึ่งตั้งขึ้นสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนก่อนสั่งฟ้องคดีว่า กรรมการปรส.ผู้ที่มีหน้าที่กำกับการประมูลขายสินทรัพย์ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน จนทำให้รัฐเป็นฝ่ายเสียหาย จากการประมูลขายสินทรัพย์ กรณีบริษัทเลแมนบาร์เดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์ ซึ่งชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 41
**หลักฐานยังโยงไม่ถึงรัฐมนตรี
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า การสอบสวนคดี ปรส.ยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงให้เห็นถึงพฤติกรรมการกระทำความผิดของรัฐมนตรีที่กำกับนโยบาย ปรส. ซึ่งคดีประมูลขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีเพียงหลักฐานบ่งชี้ ถึงการประมูลที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย โดยผู้เสนอราคา 60 เปอร์เซ็นต์ ของยอดคงค้างทางบัญชี กลับแพ้การประมูลให้กับผู้เสนอราคาเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ การกำหนดหลักเกณฑ์ที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชน และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอยู่ในระดับกรรมการปรส.กับบริษัทเอกชนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประชุมสรุปสำนวนคดี ปรส. มีรายงานว่า นายรังสรรค์ ต่อสุวรรณ ได้เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ในฐานะผู้เสียหายจากการประมูลขายสินทรัพย์ของ ปรส. ที่ไม่แยกหนี้ดีออกจากหนี้เสีย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะกรรมการปรส.ชุด ที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 28 ต.ค. 40- 23 ธ.ค. 40 ประกอบด้วย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธานกรรมการ นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ นายจรุง หนูขวัญ นายสุธี เอกะหิตานนท์ นางจันทรา อาชวนันทกุล และนายบุญญรักษ์ นิงสานนท์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนคณะกรรมการปรส. ชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 23 ธ.ค.40 - 1 ก.พ. 43 ประกอบด้วย นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางธัญญา ศิริเวทิน นางจันทรา อาชวนันทกุล และนางเกษรี ณรงค์เดช และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เป็นกรรมการและเลขานุการ