เลิกเรียก"ผู้ว่าฯ ซีอีโอ"กลับมาใช้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตามเดิม"โฆสิต"ฝากปลัด มท.ใช้ 5 ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขกับประชาชน ปัดลดงบประมาณ แต่ยังคงไว้ 10,000 ล้าน ส่วนงบจังหวัดละ 50 ล้าน ใช้เป็นงบแก้ปัญหาภัยพิบัติตามเดิม"พงศ์โพยม"เผย งบปี 50 ผู้ว่าฯ ยังได้ 10 ล้าน แถมรัฐบาลใจดีให้เบิกได้อีกอำเภอละ 1 ล้าน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรมในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)กล่าวถึงความคืบหน้าในการยกเลิกผู้ว่าฯ ซีอีโอ จากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าได้หารือกับนายพงศ์โพยม วาศะภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย แล้วโดยรัฐบาลชุดนี้จะไม่ใช้คำว่า"ซีอีโอ"กับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้กลับไปใช้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามเดิม และได้ขอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยดูแลยุทธศาสตร์ความอยู่ดีมีสุข ซึ่งประกอบด้วยแนวทางกว้างๆ 5 แนวทางคือ 1. แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2. การสงเคราะห์ครอบครัวในส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ หรือมีความจำเป็นบางประการที่ควรแก่การสงเคราะห์ 3.การปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐ 4.ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ 5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงมหาดไทยนำไปประสานกับหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ ในจังหวัดนั้นๆ รวมไปถึงการร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เพื่อที่จะหาหนทางที่จะทำงานด้วยกันให้อยู่ดีมีสุข รวมทั้งรักษาไว้ให้มีสภาพที่มีความสมานฉันท์ตามนโยบายของรัฐบาล
นายโฆสิต ยังกล่าวถึง มติ ครม.(14พ.ย.) ที่ลดงบประมาณรายจ่ายปี 50 ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดไปกว่า 40,000 ล้านบาท โดยเฉพาะงบกลาง จะมีผลกระทบกับการบริหารงานอย่างไรนั้น งบกลางที่ตั้งไว้เป็นแค่ส่วนแคบ ส่วนของเก่าก็จะมีการดำเนินการต่อ เพราะได้รับรายงานว่า งบกลางก็ยังคงมีอยู่จำนวน 10,000 ล้านบาท ที่จะดำเนินต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ตาม ได้หารือกับปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า บางส่วนจะนำมาใช้กับนโยบายความอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้หรือไม่ ทั้งนี้ หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็จะมีการดำเนินการต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว่าฯจะต้องเข้ามาเชื่อมโยงกับตลาดมากขึ้น
ส่วนเงินสำรองสาธารณภัยของผู้ว่าฯ จังหวัดละ 50 ล้านบาท จะยังคงมีอยู่ ผู้ว่าฯ ก็ยังจะต้องประสานงานกับหน่วยราชการในจังหวัดนั้นๆ และการทำงานร่วมกับเอกชนก็จะต้องทำงานในลักษณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนได้ แต่ก็ต้องใช้ยุทธศาสตร์ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนไว้
ด้านนายพงศ์โพยม กล่าวถึง การหารือร่วมกับรองนายกฯ ว่า งบกลาง 10,000 ล้านบาท ที่ให้กับผู้ว่าฯ นั้น ไม่ได้เป็นการตัดงบของผู้ว่าฯซีอีโอเดิม แต่ให้ไปขอในช่องทางของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และหากพบว่ามีโครงการอะไรสำคัญจริงๆ ก็ให้เสนอรัฐบาลเพื่อของบประมาณเป็นพิเศษได้ ส่วนงบประมาณ 50 ล้านบาท ที่ให้แต่ละจังหวัด ก็ยังคงเป็นเงินแก้ปัญหาภัยพิบัติในจังหวัดนั้นๆ รวมทั้งงบบริหารของผู้ว่าฯ จังหวัดละ 10 ล้านบาท จะยังมีอยู่เช่นกัน และในร่างงบประมาณปี 50 ก็ยังแถมให้ผู้ว่าฯ สามารถของบประมาณได้เพิ่มอำเภอละ 1 ล้านบาทด้วย
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรมในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)กล่าวถึงความคืบหน้าในการยกเลิกผู้ว่าฯ ซีอีโอ จากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าได้หารือกับนายพงศ์โพยม วาศะภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย แล้วโดยรัฐบาลชุดนี้จะไม่ใช้คำว่า"ซีอีโอ"กับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้กลับไปใช้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามเดิม และได้ขอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยดูแลยุทธศาสตร์ความอยู่ดีมีสุข ซึ่งประกอบด้วยแนวทางกว้างๆ 5 แนวทางคือ 1. แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2. การสงเคราะห์ครอบครัวในส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ หรือมีความจำเป็นบางประการที่ควรแก่การสงเคราะห์ 3.การปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐ 4.ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ 5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงมหาดไทยนำไปประสานกับหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ ในจังหวัดนั้นๆ รวมไปถึงการร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เพื่อที่จะหาหนทางที่จะทำงานด้วยกันให้อยู่ดีมีสุข รวมทั้งรักษาไว้ให้มีสภาพที่มีความสมานฉันท์ตามนโยบายของรัฐบาล
นายโฆสิต ยังกล่าวถึง มติ ครม.(14พ.ย.) ที่ลดงบประมาณรายจ่ายปี 50 ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดไปกว่า 40,000 ล้านบาท โดยเฉพาะงบกลาง จะมีผลกระทบกับการบริหารงานอย่างไรนั้น งบกลางที่ตั้งไว้เป็นแค่ส่วนแคบ ส่วนของเก่าก็จะมีการดำเนินการต่อ เพราะได้รับรายงานว่า งบกลางก็ยังคงมีอยู่จำนวน 10,000 ล้านบาท ที่จะดำเนินต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ตาม ได้หารือกับปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า บางส่วนจะนำมาใช้กับนโยบายความอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้หรือไม่ ทั้งนี้ หน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็จะมีการดำเนินการต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง โดยผู้ว่าฯจะต้องเข้ามาเชื่อมโยงกับตลาดมากขึ้น
ส่วนเงินสำรองสาธารณภัยของผู้ว่าฯ จังหวัดละ 50 ล้านบาท จะยังคงมีอยู่ ผู้ว่าฯ ก็ยังจะต้องประสานงานกับหน่วยราชการในจังหวัดนั้นๆ และการทำงานร่วมกับเอกชนก็จะต้องทำงานในลักษณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนได้ แต่ก็ต้องใช้ยุทธศาสตร์ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนไว้
ด้านนายพงศ์โพยม กล่าวถึง การหารือร่วมกับรองนายกฯ ว่า งบกลาง 10,000 ล้านบาท ที่ให้กับผู้ว่าฯ นั้น ไม่ได้เป็นการตัดงบของผู้ว่าฯซีอีโอเดิม แต่ให้ไปขอในช่องทางของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และหากพบว่ามีโครงการอะไรสำคัญจริงๆ ก็ให้เสนอรัฐบาลเพื่อของบประมาณเป็นพิเศษได้ ส่วนงบประมาณ 50 ล้านบาท ที่ให้แต่ละจังหวัด ก็ยังคงเป็นเงินแก้ปัญหาภัยพิบัติในจังหวัดนั้นๆ รวมทั้งงบบริหารของผู้ว่าฯ จังหวัดละ 10 ล้านบาท จะยังมีอยู่เช่นกัน และในร่างงบประมาณปี 50 ก็ยังแถมให้ผู้ว่าฯ สามารถของบประมาณได้เพิ่มอำเภอละ 1 ล้านบาทด้วย