พิพากษายกฟ้อง"ผู้จัดกวน"การ์ตูนล้อเลียนพล.ต.อ.สันต์ "บิ๊กขี้หลี"แทะโลมนักข่าวสาว ศาลชี้คำเบิกความผู้เสียหายมีน้ำหนัก ประกอบกับสื่อมีหน้าที่ติ ชม ด้วยความเป็นธรรม สะท้อนข้อเท็จจริงให้สังคม
วานนี้(15 พ.ย.)ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดีที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 เป็นโจทก์ และพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร.โจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจร่วมกันหมิ่นประมาทพล.ต.อ.สันต์ ผบ.ตร.(ในขณะนั้น)โดยได้ร่วมกันเขียน และพาดหัวข่าว ข้อความ และภาพลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 6 ม.ย.46 ในหน้าที่ 10 ของหนังสือผู้จัดกวน รวมทั้งการเสนอภาพการ์ตูนในเชิงล้อเลียน โดยมีข้อความว่า"สันต์จับแล้ว บิ๊กสีกากีลวนลามนักข่าว" และลงข้อความว่า"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่สิลูกผู้ชายตัวจริง สันต์แกร่งสุดกร้าวจับกับมือตัวเอง","บิ๊กตำรวจ"ลวนลามนักข่าว
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า สื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารข้อเท็จจริงต่อสังคม แม้จะมีอิสระในการทำหน้าที่ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคม หาได้มีเอกสิทธิเป็นพิเศษไปกว่าคนอื่นๆ ที่มิใช่หนังสือพิมพ์แต่ประการใด แต่ถ้าการเสนอข้อมูลในหนังสือพิมพ์เป็นทางเดียวที่จะเปิดเผยเหตุที่ถูกติชมได้ ข้อความนั้นก็ได้รับการยกเว้น ติชมด้วยความเป็นธรรม หรือป้องกันประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมาย ในช่วงการเสนอภาพหรือข้อความ ยังมีการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับนายตำรวจยศ พลตำรวจเอก ซึ่งมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม กับผู้สื่อข่าวหญิง และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้มีหนังสือถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อให้มีหนังสือเตือนนักข่าวหญิงในสังกัดถึงพฤติการณ์ณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจของข้าราชการระดับสูง ซึ่งเกิดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต และจ.อุบลราชธานี
นอกจากนี้ คำเบิกความของน.ส.เกวลิน กังวานธนวัฒน์ ผู้ประกาศข่าวช่อง 9 ที่เบิกความต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้ความว่า ขณะที่น.ส.เกวลิน นั่งรออาหารอยู่ในร้านอาหารของโรงแรมที่ จ.ภูเก็ต พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผบช.นรต. อดีตโฆษกสตช.ในขณะนั้น มาหาและบอกว่าโจทก์เชิญไปพบเพื่อสอบถาม น.ส.เกวลิน เดินตาม พล.ต.ท.พงศพัศ ไปที่ห้องซึ่งจัดไว้เป็นส่วนตัว มีโจทก์ร่วมและนายตำรวจนั่งอยู่หลายคน โดยโจทก์ร่วมถามชื่อน.ส.เกวลิน และถามว่ามาจากช่องไหน ทำไมไม่เคยเห็นหน้า จบการศึกษาที่ไหน ส่วนสูงเท่าไร ทำไมตัดผมสั้น กลับอย่างไร ไม่สนใจจะขึ้นเครื่องบินตำรวจหรือ ซึ่งน.ส.เกวลิน รู้สึกอึดอัด จึงขอตัวกลับไปทำงาน
หลังจากนั้น 30 นาที น.ส.เกวลินได้ชวนเพื่อนไปรับอาหารที่สั่งไว้เพราะไม่กล้าไปคนเดียว โดยขณะที่ชำระค่าอาหาร พล.ต.ท.พงศพัศ มาขอเบอร์โทรศัพท์ ของน.ส.เกวลิน และเมื่อเดินผ่านห้องของโจทก์ร่วมนั่งอยู่ โจทก์ร่วมเรียกออกมาว่า อ้าวจะไปไหน แต่ น.ส.เกวลิน ตอบในลักษณะตัดบทรีบกลับไป จึงเห็นว่า น.ส.เกวลินไม่ได้มีส่วนได้เสียในคดี เป็นเพียงพยานคนกลาง ทั้งช่วงเกิดเหตุโจทก์ร่วมเป็นถึง ผบ.ตร.หากไม่เป็นความจริง น.ส.เกวลิน คงไม่เบิกความปรักปรำ อีกทั้งข้อเท็จจริงที่เบิกความก็มีผลกระทบกับ น.ส.เกวลินด้วย คำเบิกความของ น.ส.เกวลิน จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
สำหรับการเสนอภาพและข้อความตามหนังสือพิมพ์ โดยมีภาพโจทก์ร่วมยืนอยู่ด้านหน้า มีแถบสีดำคาดที่นัยน์ตา และถูกใส่กุญแจมือ โดยมีข้อความว่า"สันต์ จับแล้วบิ๊กสีกากี ลวนลามนักข่าว" และมีข้อความประกอบใจความว่า โจทก์ร่วมได้จับนายตำรวจยศ พล.ต.อ.ที่ลวนลวมผู้สื่อข่าวหญิงที่เดินทางไปร่วมทำข่าวการประชุมครม. ซึ่งเกิดขึ้นที่จ.ภูเก็ต และจ.อุบลฯ โดยพูดจาเกลี้ยกล่อมผู้สื่อข่าวหญิงว่า มีเงินเดือนเท่าไหร่ มีบ้านอยุ่อาศัยและรถขับหรือไม่ ซึ่งเมื่ออ่านข้อความภาพประกอบ แม้จะเข้าใจว่า นายตำรวจดังกล่าวคือโจทก์ร่วม แต่ข้อความและภาพเป็นการเสนอในช่วงที่มีข่าวเกี่ยวกับนายตำรวจยศ พล.ต.อ. ซึ่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังที่วินิจฉัยข้างต้น และ อยู่ในส่วนของผู้จัดกวน ที่เสนอในแนวทางล้อเลียนบุคคลสำคัญ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อให้ความสนใจ จึงอยู่ในวิสัยที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ และติชมได้ ประกอบกับเมื่ออ่านข้อความและภาพประกอบแล้ว มิได้มีลักษณะยืนยันได้ว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ลวนลามผู้สื่อข่าวหญิง เสนอบ้านและรถให้แต่อย่างใด กรณีจึงมิได้เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประโจทก์ร่วม
สำหรับการเสนอ ชื่อ-นามสกุล โจทก์ร่วมในผู้จัดกวน ที่มีการใช้แถบสีคาดทับ แต่ก็ยังสามารถเห็นและอ่านได้ และท้ายชื่อยังมีเครื่องหมายดอกจัน กำกับว่า "หัวงู" ศาลเห็นว่า การใส่ความอันจะเป็นการหมิ่นประมาทจะต้องกระทำโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นพฤติการณ์ลักษณะปรักปรำ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป มิใช่ความเข้าใจของผู้ใส่ความหรือผู้อ่านข้อความนั้น และมิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาท และข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทจะต้องมิใช่คลุมเครือเลื่อนลอย อีกทั้งข้อความที่ปรากฏ มิได้มีถ้อยคำ หรือข้อความประกอบอันจะเป็นการยืนยันให้เห็นว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ณ์ในเรื่องใด แม้จะเป็นถ้อยคำเสียดสีโจทก์ร่วมอันเป็นการไม่สมควร แต่ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์เสื่อมเสีย ขาดความน่าเชื่อถือ หรือน่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ดังนั้นยังเป็นการเลื่อนลอยและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ยังฟังไม่พอว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย พิพากษายกฟ้อง
วานนี้(15 พ.ย.)ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดีที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 เป็นโจทก์ และพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร.โจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจร่วมกันหมิ่นประมาทพล.ต.อ.สันต์ ผบ.ตร.(ในขณะนั้น)โดยได้ร่วมกันเขียน และพาดหัวข่าว ข้อความ และภาพลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 6 ม.ย.46 ในหน้าที่ 10 ของหนังสือผู้จัดกวน รวมทั้งการเสนอภาพการ์ตูนในเชิงล้อเลียน โดยมีข้อความว่า"สันต์จับแล้ว บิ๊กสีกากีลวนลามนักข่าว" และลงข้อความว่า"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่สิลูกผู้ชายตัวจริง สันต์แกร่งสุดกร้าวจับกับมือตัวเอง","บิ๊กตำรวจ"ลวนลามนักข่าว
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า สื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารข้อเท็จจริงต่อสังคม แม้จะมีอิสระในการทำหน้าที่ แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคม หาได้มีเอกสิทธิเป็นพิเศษไปกว่าคนอื่นๆ ที่มิใช่หนังสือพิมพ์แต่ประการใด แต่ถ้าการเสนอข้อมูลในหนังสือพิมพ์เป็นทางเดียวที่จะเปิดเผยเหตุที่ถูกติชมได้ ข้อความนั้นก็ได้รับการยกเว้น ติชมด้วยความเป็นธรรม หรือป้องกันประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมาย ในช่วงการเสนอภาพหรือข้อความ ยังมีการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับนายตำรวจยศ พลตำรวจเอก ซึ่งมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม กับผู้สื่อข่าวหญิง และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้มีหนังสือถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อให้มีหนังสือเตือนนักข่าวหญิงในสังกัดถึงพฤติการณ์ณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจของข้าราชการระดับสูง ซึ่งเกิดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต และจ.อุบลราชธานี
นอกจากนี้ คำเบิกความของน.ส.เกวลิน กังวานธนวัฒน์ ผู้ประกาศข่าวช่อง 9 ที่เบิกความต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้ความว่า ขณะที่น.ส.เกวลิน นั่งรออาหารอยู่ในร้านอาหารของโรงแรมที่ จ.ภูเก็ต พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผบช.นรต. อดีตโฆษกสตช.ในขณะนั้น มาหาและบอกว่าโจทก์เชิญไปพบเพื่อสอบถาม น.ส.เกวลิน เดินตาม พล.ต.ท.พงศพัศ ไปที่ห้องซึ่งจัดไว้เป็นส่วนตัว มีโจทก์ร่วมและนายตำรวจนั่งอยู่หลายคน โดยโจทก์ร่วมถามชื่อน.ส.เกวลิน และถามว่ามาจากช่องไหน ทำไมไม่เคยเห็นหน้า จบการศึกษาที่ไหน ส่วนสูงเท่าไร ทำไมตัดผมสั้น กลับอย่างไร ไม่สนใจจะขึ้นเครื่องบินตำรวจหรือ ซึ่งน.ส.เกวลิน รู้สึกอึดอัด จึงขอตัวกลับไปทำงาน
หลังจากนั้น 30 นาที น.ส.เกวลินได้ชวนเพื่อนไปรับอาหารที่สั่งไว้เพราะไม่กล้าไปคนเดียว โดยขณะที่ชำระค่าอาหาร พล.ต.ท.พงศพัศ มาขอเบอร์โทรศัพท์ ของน.ส.เกวลิน และเมื่อเดินผ่านห้องของโจทก์ร่วมนั่งอยู่ โจทก์ร่วมเรียกออกมาว่า อ้าวจะไปไหน แต่ น.ส.เกวลิน ตอบในลักษณะตัดบทรีบกลับไป จึงเห็นว่า น.ส.เกวลินไม่ได้มีส่วนได้เสียในคดี เป็นเพียงพยานคนกลาง ทั้งช่วงเกิดเหตุโจทก์ร่วมเป็นถึง ผบ.ตร.หากไม่เป็นความจริง น.ส.เกวลิน คงไม่เบิกความปรักปรำ อีกทั้งข้อเท็จจริงที่เบิกความก็มีผลกระทบกับ น.ส.เกวลินด้วย คำเบิกความของ น.ส.เกวลิน จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
สำหรับการเสนอภาพและข้อความตามหนังสือพิมพ์ โดยมีภาพโจทก์ร่วมยืนอยู่ด้านหน้า มีแถบสีดำคาดที่นัยน์ตา และถูกใส่กุญแจมือ โดยมีข้อความว่า"สันต์ จับแล้วบิ๊กสีกากี ลวนลามนักข่าว" และมีข้อความประกอบใจความว่า โจทก์ร่วมได้จับนายตำรวจยศ พล.ต.อ.ที่ลวนลวมผู้สื่อข่าวหญิงที่เดินทางไปร่วมทำข่าวการประชุมครม. ซึ่งเกิดขึ้นที่จ.ภูเก็ต และจ.อุบลฯ โดยพูดจาเกลี้ยกล่อมผู้สื่อข่าวหญิงว่า มีเงินเดือนเท่าไหร่ มีบ้านอยุ่อาศัยและรถขับหรือไม่ ซึ่งเมื่ออ่านข้อความภาพประกอบ แม้จะเข้าใจว่า นายตำรวจดังกล่าวคือโจทก์ร่วม แต่ข้อความและภาพเป็นการเสนอในช่วงที่มีข่าวเกี่ยวกับนายตำรวจยศ พล.ต.อ. ซึ่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังที่วินิจฉัยข้างต้น และ อยู่ในส่วนของผู้จัดกวน ที่เสนอในแนวทางล้อเลียนบุคคลสำคัญ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อให้ความสนใจ จึงอยู่ในวิสัยที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ และติชมได้ ประกอบกับเมื่ออ่านข้อความและภาพประกอบแล้ว มิได้มีลักษณะยืนยันได้ว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ลวนลามผู้สื่อข่าวหญิง เสนอบ้านและรถให้แต่อย่างใด กรณีจึงมิได้เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประโจทก์ร่วม
สำหรับการเสนอ ชื่อ-นามสกุล โจทก์ร่วมในผู้จัดกวน ที่มีการใช้แถบสีคาดทับ แต่ก็ยังสามารถเห็นและอ่านได้ และท้ายชื่อยังมีเครื่องหมายดอกจัน กำกับว่า "หัวงู" ศาลเห็นว่า การใส่ความอันจะเป็นการหมิ่นประมาทจะต้องกระทำโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นพฤติการณ์ลักษณะปรักปรำ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป มิใช่ความเข้าใจของผู้ใส่ความหรือผู้อ่านข้อความนั้น และมิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาท และข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทจะต้องมิใช่คลุมเครือเลื่อนลอย อีกทั้งข้อความที่ปรากฏ มิได้มีถ้อยคำ หรือข้อความประกอบอันจะเป็นการยืนยันให้เห็นว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ณ์ในเรื่องใด แม้จะเป็นถ้อยคำเสียดสีโจทก์ร่วมอันเป็นการไม่สมควร แต่ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์เสื่อมเสีย ขาดความน่าเชื่อถือ หรือน่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ดังนั้นยังเป็นการเลื่อนลอยและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ยังฟังไม่พอว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย พิพากษายกฟ้อง