การเกิดปัญหาชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้ที่เรื้อรังมากว่า 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ที่มีการปล้นปืน แล้วนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า “สมควรตาย” หรือการกล่าวหาว่ากลุ่มก่อการร้ายเป็นเพียงแค่ “โจรกระจอก” เท่านั้น
ต้องยอมรับว่าขบวนการก่อการร้าย เป็นกลุ่มคนที่มีการสั่งสมประสบการณ์ แม้กระทั่งพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่มดังกล่าวมีประสิทธิภาพไม่ใช่โจรธรรมดา มีองค์กรนำ มีกองกำลัง มีความสามารถในการบริหารจัดการให้ระเบิดเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายๆ จุด
ความเสียหายต่างๆ เกิดจากการสะสมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนผู้ที่ดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้ การยกเลิก ศอ.บต. การใช้ตำรวจเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาสมัยทักษิณ
การแก้ไขปัญหาแบบรัฐตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มฆ่า การสร้างพยานหลักฐานเท็จ ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และเป็นการเร่งสร้างเงื่อนไขสงครามในรูปแบบอื่นๆ
ต่อมา ภายใต้การนำของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สถานการณ์ปัญหาภาคใต้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
คำขอโทษของ พล.อ.สุรยุทธ์ ต่อผู้นำทางศาสนา และผู้นำชุมชนระดับต่างๆ ในภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่ว่า
“ผมขอโทษแทนรัฐบาลชุดที่แล้ว และขอโทษแทนรัฐบาลนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว ผมมาขอโทษแทน ผมอยากยื่นมือออกไปแล้วบอกว่าผมเป็นคนผิด ผมขอกล่าวคำขอโทษด้วยใจจริง”
ทันทีที่คำขอโทษจบลง มีเสียงปรบมือชื่นชมตามมาอย่างมากมาย แม้แต่รัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเซีย นายไซอิด ฮามิด อัลบาร์ ยังแสดงความชื่นชม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ที่กล่าวขอโทษชาวมุสลิมในภาคใต้ สำหรับนโยบายที่แข็งกร้าวของรัฐบาลชุดก่อน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 85 คนจากโศกนาฏกรรมที่ตากใบ และแสดงความเห็นว่าความอ่อนน้อมของพล.อ.สุรยุทธ์ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพมาสู่ภาคใต้ได้
แต่หลังจากนั้นเพียงแค่ไม่กี่วัน เหตุการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบรายวัน
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 มีการชุมนุมของชาวบ้านกว่า 300 คน ที่บาเจาะ ปิดล้อมฐาน ตชด. 3201 และ 3202 การชุมนุมมีรูปแบบใกล้เคียงกับกรณีตันหยงลิมอ ที่มีเด็กและผู้หญิงเป็นกองหน้า ปิดถนนไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปในหมู่บ้าน
เหตุการณ์ตึงเครียด นำมาซึ่งความหนักใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่ตัดสินใจถอนฐาน ตชด. 3201 และ 3202 ออกจากพื้นที่ ทำให้เขตบาเจาะอยู่ในสภาพ สุญญากาศ
เกิดอะไรขึ้น คำขอโทษ นำมาสู่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจชาวบ้านไม่ได้หรือไร
สิ่งที่น่าสังเกต คือ การชุมนุมของชาวบ้านครั้งนี้มีรูปแบบการจัดตั้งอย่างดี ใช้เด็กและผู้หญิงเป็นกองหน้า ขณะที่ให้ผู้ชายในหมู่บ้านเป็นฝ่ายสนับสนุน
แกนนำที่จะสามารถเข้าไปประสานพูดคุยกับชาวบ้านได้ ไม่อยู่ในพื้นที่พร้อมกันจนผิดปกติ
เหตุการณ์จะดำเนินไปในทางที่เลวร้ายกว่าเก่าหรือไม่
ยิ่งผมได้อ่าน คำสัมภาษณ์ของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เรื่อง ใครสร้างเงื่อนไขไฟใต้ระอุ ที่ว่า
“..... ท่านนายกฯ ทักษิณนั่งหัวโต๊ะ ผมนั่งทางขวามือของท่าน พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ เสนาธิการทหารบก นั่งติดกับผม เรียงไปก็ พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ผู้บัญชาการทหารเรือ นายกฯ มาถึงก็นั่งและบอกว่าสถานการณ์ภาคใต้ไม่มีโจรแบ่งแยกดินแดน มีแต่โจรกระจอก โจรห้าร้อย อยากให้ยุบหน่วยงานทหารเฉพาะกิจที่อยู่ในพื้นที่และใช้ตำรวจเข้าแก้แทน”
ทำให้การประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 มีมติให้ ถอนกำลังทหาร ออกจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบหมายให้ตำรวจเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบปัญหาภาคใต้
เห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดที่แล้ว มองปัญหาต่างๆ ง่ายเกินไป และคิดว่าปัญหาจะสามารถจัดการได้ถ้าใช้รัฐตำรวจ
ผมเข้าใจมากขึ้นว่า มิใช่เพียงแค่คำขอโทษ หรือการดำเนินการถอนฟ้องจำเลย 85 คนในคดีตากใบ รวมถึงการชดเชยค่าเสียหายแก่ญาติผู้เสียชีวิตจะเพียงพอ
อาจเป็นเพราะ สถานการณ์ในภาคใต้ถูกเพาะบ่มมามากกว่าที่รัฐบาลชุดใหม่นี้จะสามารถแก้ไขได้แบบพลิกฝ่ามือ
ยิ่งเมื่อได้เห็นของฝากจาก หมอแว นพ.แวมะฮาดี แวดาโอะ สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เคยตกเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีเจไอ สมัยรัฐบาลทักษิณ ไปยังรัฐบาล 6 ข้อ ได้แก่
1. ไม่มีใครรู้จริงเรื่องความไม่สงบ ตำรวจไม่รู้ชัด ทหารไม่รู้แจ้ง ฝ่ายปกครองไม่รู้จริง นักวิชาการไม่รู้จบ จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ชาวบ้านบอกความจริง
2. พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนอยู่กับความกลัว ทั้งคนแปลกหน้า คนก่อการ ตำรวจ ไม่รู้ว่าใครเป็นโจรในคราบตำรวจ หรือตำรวจในคราบโจร
3. สิ่งสำคัญในการต่อต้านก่อการร้าย คือข้าราชการต้องซื่อสัตย์ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมาย
4. ในสงครามกองโจรต้องแยกแยะให้ชัดเจน เรื่องการอุ้ม เพราะถือว่าถ้าคุณฆ่าผู้บริสุทธิ์ 1 คน คุณต้องถอย 1 ก้าว
5. พื้นที่ 3 จังหวัด เหมือนแปดเปื้อนรอยบาป ข้าราชการใจไม่ถึง มือไม่ถึง เข้าไม่ถึง หาโอกาสหาความดีความชอบ บางครั้งสร้างรอยแผลให้กับคนบางตระกูล
6. ประชาชนเป็นปัจจัยชี้ขาดในสงคราม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักเพื่อนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด
ยังไม่สายครับ ถ้าทุกฝ่ายพร้อมใจกันมาสมานฉันท์ในการดับไฟใต้ด้วยกัน ด้วยการเปิดหู เปิดตา เปิดใจ และน้อมรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
ต้องยอมรับว่าขบวนการก่อการร้าย เป็นกลุ่มคนที่มีการสั่งสมประสบการณ์ แม้กระทั่งพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่มดังกล่าวมีประสิทธิภาพไม่ใช่โจรธรรมดา มีองค์กรนำ มีกองกำลัง มีความสามารถในการบริหารจัดการให้ระเบิดเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายๆ จุด
ความเสียหายต่างๆ เกิดจากการสะสมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนผู้ที่ดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้ การยกเลิก ศอ.บต. การใช้ตำรวจเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาสมัยทักษิณ
การแก้ไขปัญหาแบบรัฐตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มฆ่า การสร้างพยานหลักฐานเท็จ ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และเป็นการเร่งสร้างเงื่อนไขสงครามในรูปแบบอื่นๆ
ต่อมา ภายใต้การนำของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สถานการณ์ปัญหาภาคใต้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
คำขอโทษของ พล.อ.สุรยุทธ์ ต่อผู้นำทางศาสนา และผู้นำชุมชนระดับต่างๆ ในภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่ว่า
“ผมขอโทษแทนรัฐบาลชุดที่แล้ว และขอโทษแทนรัฐบาลนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว ผมมาขอโทษแทน ผมอยากยื่นมือออกไปแล้วบอกว่าผมเป็นคนผิด ผมขอกล่าวคำขอโทษด้วยใจจริง”
ทันทีที่คำขอโทษจบลง มีเสียงปรบมือชื่นชมตามมาอย่างมากมาย แม้แต่รัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเซีย นายไซอิด ฮามิด อัลบาร์ ยังแสดงความชื่นชม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ที่กล่าวขอโทษชาวมุสลิมในภาคใต้ สำหรับนโยบายที่แข็งกร้าวของรัฐบาลชุดก่อน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 85 คนจากโศกนาฏกรรมที่ตากใบ และแสดงความเห็นว่าความอ่อนน้อมของพล.อ.สุรยุทธ์ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพมาสู่ภาคใต้ได้
แต่หลังจากนั้นเพียงแค่ไม่กี่วัน เหตุการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบรายวัน
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 มีการชุมนุมของชาวบ้านกว่า 300 คน ที่บาเจาะ ปิดล้อมฐาน ตชด. 3201 และ 3202 การชุมนุมมีรูปแบบใกล้เคียงกับกรณีตันหยงลิมอ ที่มีเด็กและผู้หญิงเป็นกองหน้า ปิดถนนไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปในหมู่บ้าน
เหตุการณ์ตึงเครียด นำมาซึ่งความหนักใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่ตัดสินใจถอนฐาน ตชด. 3201 และ 3202 ออกจากพื้นที่ ทำให้เขตบาเจาะอยู่ในสภาพ สุญญากาศ
เกิดอะไรขึ้น คำขอโทษ นำมาสู่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจชาวบ้านไม่ได้หรือไร
สิ่งที่น่าสังเกต คือ การชุมนุมของชาวบ้านครั้งนี้มีรูปแบบการจัดตั้งอย่างดี ใช้เด็กและผู้หญิงเป็นกองหน้า ขณะที่ให้ผู้ชายในหมู่บ้านเป็นฝ่ายสนับสนุน
แกนนำที่จะสามารถเข้าไปประสานพูดคุยกับชาวบ้านได้ ไม่อยู่ในพื้นที่พร้อมกันจนผิดปกติ
เหตุการณ์จะดำเนินไปในทางที่เลวร้ายกว่าเก่าหรือไม่
ยิ่งผมได้อ่าน คำสัมภาษณ์ของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เรื่อง ใครสร้างเงื่อนไขไฟใต้ระอุ ที่ว่า
“..... ท่านนายกฯ ทักษิณนั่งหัวโต๊ะ ผมนั่งทางขวามือของท่าน พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ เสนาธิการทหารบก นั่งติดกับผม เรียงไปก็ พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ผู้บัญชาการทหารเรือ นายกฯ มาถึงก็นั่งและบอกว่าสถานการณ์ภาคใต้ไม่มีโจรแบ่งแยกดินแดน มีแต่โจรกระจอก โจรห้าร้อย อยากให้ยุบหน่วยงานทหารเฉพาะกิจที่อยู่ในพื้นที่และใช้ตำรวจเข้าแก้แทน”
ทำให้การประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 มีมติให้ ถอนกำลังทหาร ออกจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบหมายให้ตำรวจเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบปัญหาภาคใต้
เห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดที่แล้ว มองปัญหาต่างๆ ง่ายเกินไป และคิดว่าปัญหาจะสามารถจัดการได้ถ้าใช้รัฐตำรวจ
ผมเข้าใจมากขึ้นว่า มิใช่เพียงแค่คำขอโทษ หรือการดำเนินการถอนฟ้องจำเลย 85 คนในคดีตากใบ รวมถึงการชดเชยค่าเสียหายแก่ญาติผู้เสียชีวิตจะเพียงพอ
อาจเป็นเพราะ สถานการณ์ในภาคใต้ถูกเพาะบ่มมามากกว่าที่รัฐบาลชุดใหม่นี้จะสามารถแก้ไขได้แบบพลิกฝ่ามือ
ยิ่งเมื่อได้เห็นของฝากจาก หมอแว นพ.แวมะฮาดี แวดาโอะ สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เคยตกเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีเจไอ สมัยรัฐบาลทักษิณ ไปยังรัฐบาล 6 ข้อ ได้แก่
1. ไม่มีใครรู้จริงเรื่องความไม่สงบ ตำรวจไม่รู้ชัด ทหารไม่รู้แจ้ง ฝ่ายปกครองไม่รู้จริง นักวิชาการไม่รู้จบ จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ชาวบ้านบอกความจริง
2. พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนอยู่กับความกลัว ทั้งคนแปลกหน้า คนก่อการ ตำรวจ ไม่รู้ว่าใครเป็นโจรในคราบตำรวจ หรือตำรวจในคราบโจร
3. สิ่งสำคัญในการต่อต้านก่อการร้าย คือข้าราชการต้องซื่อสัตย์ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎหมาย
4. ในสงครามกองโจรต้องแยกแยะให้ชัดเจน เรื่องการอุ้ม เพราะถือว่าถ้าคุณฆ่าผู้บริสุทธิ์ 1 คน คุณต้องถอย 1 ก้าว
5. พื้นที่ 3 จังหวัด เหมือนแปดเปื้อนรอยบาป ข้าราชการใจไม่ถึง มือไม่ถึง เข้าไม่ถึง หาโอกาสหาความดีความชอบ บางครั้งสร้างรอยแผลให้กับคนบางตระกูล
6. ประชาชนเป็นปัจจัยชี้ขาดในสงคราม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักเพื่อนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด
ยังไม่สายครับ ถ้าทุกฝ่ายพร้อมใจกันมาสมานฉันท์ในการดับไฟใต้ด้วยกัน ด้วยการเปิดหู เปิดตา เปิดใจ และน้อมรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”