กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคใหม่แห่งการสื่อสาร ส่งผลต่อการพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ๆต่อวงการสื่อสารอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวัตกรรมด้านสื่อใหม่หรือนิวมีเดีย (New Media) เกิดขึ้นอย่างหลากหลายและรวดเร็วมาก
เทรนด์ใหม่ของนิวมีเดียมีผลอย่างยิ่งต่อทิศทางธุรกิจโฆษณาในเมืองไทยและของโลก ที่จะทำให้การสื่อสารไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีตัวเลือกมากขึ้น
ทั้งนี้ในมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจึงมีความน่าสนใจถึงแนวทาง ความคิดเห็น และแนวโน้มต่างๆที่น่าจะเกิดขึ้นของสื่อใหม่ๆ ในสายตาของ นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราท มีเดีย เซอร์วิส จำกัด นายนพดล ตันศลารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) นายวันชัย พละพงค์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซึทาญ่า จำกัด (มหาชน) และนายปรเมศวร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ที่ร่วมกันเสวนาในงาน “สื่อใหม่ของคนใช้สื่อ” เมื่อเร็วๆนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราท มีเดีย เซอร์วิส จำกัด ให้ความเห็นแบบชัดเจนว่า ยอมรับว่าสื่อใหม่ๆมีโอกาสและแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างมาก และมีความน่าสนใจด้วย แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่า แม้จะมีสื่อใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นมาก แต่ก็คงไม่ใช่เข้ามาแย่งตลาดสื่อหลักเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้นแน่นอน สื่อหลักๆที่ยังคงอยู่ก็ยังเป็นตลาดที่ใหญ่เหมือนเดิมคือ สื่อทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วกินแชร์มากกว่า 50-70% ของมูลค่าตลาดโฆษณาโดยรวมที่มีมากกว่า 80,000-90,000 ล้านบาทต่อปีแล้วนั้นคงจะไม่สามารถเข้ามาแย่งตลาดสื่อหลักเหล่านี้ได้ในระยะเวลาอันสั้นแน่นอน แต่จะเป็นช่องทางใหม่ในการโฆษณาของสินค้าและบริการ
แนวทางที่สื่อหลักควรดำเนินการในความเห็นของนายวิชัยก็คือ สื่อหลักเดิมต้องมีการปรับตัวให้มากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆเพื่อเป็นการรักษาตลาดเอาไว้ขยายตลาดด้วย เช่น สื่อทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่ยังมีบทบาทมาก ทั้งนี้จากตัวเลขการวิจัยพบว่า สินค้าและบริการที่ใช้สื่อหลักพวกนี้มีมาก โดยในแต่ละวันจะมีหนังโฆษณาผ่านสื่อทีวีมากกว่า 3,249 เรื่อง โฆษณาผ่านสื่อวิทยุประมาณ 576 สปอตต่อวัน ผ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 81 ชิ้นต่อวัน ผ่านแมกกาซีนประมาณ 165 ชิ้นต่อรอบ
โดยสื่อทีวี ช่วงที่ผ่านมา เรตติ้งเริ่มตกลงไปบ้าง เนื่องจากคนหันไปหาสื่ออื่นมากขึ้น ทำให้ต้องมีสื่อใหม่เช่น เรียลิตี้โชว์ที่เกิดขึ้นมาบูมมากช่วง 2-3 ปีนี้ รวมไปถึงการซื้อสปอตโฆษณาจากเดิมก็มีวิธีการที่เปลี่ยนไปเช่น การทำไทน์อินที่มีมากขึ้น การเป็นสปอนเซอร์ชิป การทำไตเติ้ลเครดิต การทำสกู๊ป การทำโปรดักต์เพลซเม้นท์
ส่วนสื่อวิทยุนั้นเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ก็ยังติดปัญหาหลักคือ อายุสัมปทานค่อนข้างสั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำให้ในช่วงหลังนี้แนวโน้มจะเป็นการทำทางด้านครอสมีเดียมากขึ้นคือการไปร่วมมือกับสื่ออื่นๆเช่น อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ เพื่อทำตลาดเป็นแพคเกจ
ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อนิตยสารนั้น แนวโน้มการผลิตสื่อโฆษณารูปแบบใหม่มีมาก ที่ผ่านมาเริ่มเป็นที่นิยมเช่นการทำแรพอราวนด์หรือการหุ้มปก การทำเบลท์หรือเข็มขัดคาดหน้าปก การสร้างคอลัมน์ของแบรนด์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น
สำหรับสื่อใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นในแนวของสื่อเอาท์ออฟโฮมมีเดียหรือ โอเอชเอ็ม มีชื่อและรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น โฮโลสกรีน เมดูซา พาโนรามิก อิลลูชันเอฟเฟ็ค อะมีเซอร์ อี-ทิกเก็ต เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่เป็นอิเลคโทรนิคส์มากขึ้น หรือแม้แต่สื่อทั่วไปเช่น สื่อบนโต๊ะ สื่อในห้องน้ำ สื่อหน้ากระจก สื่อที่กั้นรถ เป็นต้น
นายวิชัยกล่าวว่า แม้ว่าจะมีสื่อโฆษณาที่พัฒนาใหม่ขึ้นมามากมายแค่ไหนก็ตาม สื่อแต่ละแบบก็ยังคงมีบทบาทและหน้าที่ที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณานั้นๆว่า กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ใด เพราะหัวใจสำคัญของการโฆษณาก็คือ การเข้าถึงลูกค้าให้มากที่สุดและมีประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนั้นปัจจัยสำคัญของการวางแผนซื้อสื่อโฆษณาต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลักคือ 1.ผู้บริโภค 2.สินค้าและบริการ 3.มีเดีย ว่าเป็นอย่างไร
นายนพดล ตันศลารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สื่อโฆษณานอกบ้านหรือเอาท์ออฟโฮมมีเดีย (Out of Home Media) เป็นสื่อที่มีความน่าสนใจและกล่าวได้ว่าเป็นสื่อโฆษณาที่ถูกที่สุด และมีประสิทธิภาพที่ดี อีกทั้งเป็นสื่อที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้เห็นมากกว่าด้วยในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้จากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคนั้น แบ่งเป็นการรับสื่อในบ้านประมาณ 30% และรับสื่อนอกบ้านมากถึง 70% ในแต่ละวัน ขณะที่พฤติกรรมการซื้อสื่อนั้นจะเป็นการซื้อสื่อในบ้านมากถึง 65% และสื่อนอกบ้าน 35% ซึ่งในจำนวนสื่อนอกบ้านนี้มีสัดส่วนของการซื้อสื่อ
นายวันชัย พละพงค์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซึทาญ่า จำกัด (มหาชน) ซึทาญ่าก็มีการทำสื่อใหม่ๆเช่นกันทั้งสื่อโฆษณาและสื่อการตลาด เช่น ถุงใส่ซีดี หรือแม้แต่ป้ายหน้าร้านก็เป็นการทำสื่อที่สร้างแบรนด์ได้เหมือนกัน เพราะเรามีมากกว่า 250 สาขานอกจากนั้นยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหนังแจก การร่วมมือกับเจ้าของสินค้าในการทำโปรโมชันหรือเปิดตัวสินค้าได้
นายปรเมศวร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด เจ้าของเว๊บไซต์ กระปุกดอทคอม ให้ความเห็นว่า สื่อใหม่ๆเช่นสื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมียอดผู้ใช้งานเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด ซึ่งในส่วนของ Kapook.com เว็บไซต์ยอดนิยมของผู้ใช้งานชาวไทย ที่มีผู้ชมมากกว่า 3.5 ล้านคน ต่อเดือนและมียอดสมาชิกลงทะเบียนกับเว็บไซต์กระปุกมากที่สุดในประเทศไทย ถึง 640,000 ราย เติบโตอย่างต่อเนื่องได้รับความไว้วางใจ จากบริษัทชั้นนำต่างในการโฆษณาและการจัดกิจกรรมทางการตลาดด้วยผู้เข้าชมมากกว่า 50 ล้านเครื่องต่อเดือน พร้อมบริการวางแผนการตลาดในสื่อออนไลน์ รวมทั้งความพร้อมในทุกๆด้าน จึงน่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดีถึงโอกาสของสื่อนี้
เทรนด์ใหม่ของนิวมีเดียมีผลอย่างยิ่งต่อทิศทางธุรกิจโฆษณาในเมืองไทยและของโลก ที่จะทำให้การสื่อสารไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีตัวเลือกมากขึ้น
ทั้งนี้ในมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจึงมีความน่าสนใจถึงแนวทาง ความคิดเห็น และแนวโน้มต่างๆที่น่าจะเกิดขึ้นของสื่อใหม่ๆ ในสายตาของ นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราท มีเดีย เซอร์วิส จำกัด นายนพดล ตันศลารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) นายวันชัย พละพงค์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซึทาญ่า จำกัด (มหาชน) และนายปรเมศวร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ที่ร่วมกันเสวนาในงาน “สื่อใหม่ของคนใช้สื่อ” เมื่อเร็วๆนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราท มีเดีย เซอร์วิส จำกัด ให้ความเห็นแบบชัดเจนว่า ยอมรับว่าสื่อใหม่ๆมีโอกาสและแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างมาก และมีความน่าสนใจด้วย แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่า แม้จะมีสื่อใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นมาก แต่ก็คงไม่ใช่เข้ามาแย่งตลาดสื่อหลักเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้นแน่นอน สื่อหลักๆที่ยังคงอยู่ก็ยังเป็นตลาดที่ใหญ่เหมือนเดิมคือ สื่อทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วกินแชร์มากกว่า 50-70% ของมูลค่าตลาดโฆษณาโดยรวมที่มีมากกว่า 80,000-90,000 ล้านบาทต่อปีแล้วนั้นคงจะไม่สามารถเข้ามาแย่งตลาดสื่อหลักเหล่านี้ได้ในระยะเวลาอันสั้นแน่นอน แต่จะเป็นช่องทางใหม่ในการโฆษณาของสินค้าและบริการ
แนวทางที่สื่อหลักควรดำเนินการในความเห็นของนายวิชัยก็คือ สื่อหลักเดิมต้องมีการปรับตัวให้มากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆเพื่อเป็นการรักษาตลาดเอาไว้ขยายตลาดด้วย เช่น สื่อทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่ยังมีบทบาทมาก ทั้งนี้จากตัวเลขการวิจัยพบว่า สินค้าและบริการที่ใช้สื่อหลักพวกนี้มีมาก โดยในแต่ละวันจะมีหนังโฆษณาผ่านสื่อทีวีมากกว่า 3,249 เรื่อง โฆษณาผ่านสื่อวิทยุประมาณ 576 สปอตต่อวัน ผ่านหนังสือพิมพ์ประมาณ 81 ชิ้นต่อวัน ผ่านแมกกาซีนประมาณ 165 ชิ้นต่อรอบ
โดยสื่อทีวี ช่วงที่ผ่านมา เรตติ้งเริ่มตกลงไปบ้าง เนื่องจากคนหันไปหาสื่ออื่นมากขึ้น ทำให้ต้องมีสื่อใหม่เช่น เรียลิตี้โชว์ที่เกิดขึ้นมาบูมมากช่วง 2-3 ปีนี้ รวมไปถึงการซื้อสปอตโฆษณาจากเดิมก็มีวิธีการที่เปลี่ยนไปเช่น การทำไทน์อินที่มีมากขึ้น การเป็นสปอนเซอร์ชิป การทำไตเติ้ลเครดิต การทำสกู๊ป การทำโปรดักต์เพลซเม้นท์
ส่วนสื่อวิทยุนั้นเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ก็ยังติดปัญหาหลักคือ อายุสัมปทานค่อนข้างสั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำให้ในช่วงหลังนี้แนวโน้มจะเป็นการทำทางด้านครอสมีเดียมากขึ้นคือการไปร่วมมือกับสื่ออื่นๆเช่น อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ เพื่อทำตลาดเป็นแพคเกจ
ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อนิตยสารนั้น แนวโน้มการผลิตสื่อโฆษณารูปแบบใหม่มีมาก ที่ผ่านมาเริ่มเป็นที่นิยมเช่นการทำแรพอราวนด์หรือการหุ้มปก การทำเบลท์หรือเข็มขัดคาดหน้าปก การสร้างคอลัมน์ของแบรนด์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น
สำหรับสื่อใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นในแนวของสื่อเอาท์ออฟโฮมมีเดียหรือ โอเอชเอ็ม มีชื่อและรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น โฮโลสกรีน เมดูซา พาโนรามิก อิลลูชันเอฟเฟ็ค อะมีเซอร์ อี-ทิกเก็ต เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่เป็นอิเลคโทรนิคส์มากขึ้น หรือแม้แต่สื่อทั่วไปเช่น สื่อบนโต๊ะ สื่อในห้องน้ำ สื่อหน้ากระจก สื่อที่กั้นรถ เป็นต้น
นายวิชัยกล่าวว่า แม้ว่าจะมีสื่อโฆษณาที่พัฒนาใหม่ขึ้นมามากมายแค่ไหนก็ตาม สื่อแต่ละแบบก็ยังคงมีบทบาทและหน้าที่ที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณานั้นๆว่า กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ใด เพราะหัวใจสำคัญของการโฆษณาก็คือ การเข้าถึงลูกค้าให้มากที่สุดและมีประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนั้นปัจจัยสำคัญของการวางแผนซื้อสื่อโฆษณาต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลักคือ 1.ผู้บริโภค 2.สินค้าและบริการ 3.มีเดีย ว่าเป็นอย่างไร
นายนพดล ตันศลารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สื่อโฆษณานอกบ้านหรือเอาท์ออฟโฮมมีเดีย (Out of Home Media) เป็นสื่อที่มีความน่าสนใจและกล่าวได้ว่าเป็นสื่อโฆษณาที่ถูกที่สุด และมีประสิทธิภาพที่ดี อีกทั้งเป็นสื่อที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้เห็นมากกว่าด้วยในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้จากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคนั้น แบ่งเป็นการรับสื่อในบ้านประมาณ 30% และรับสื่อนอกบ้านมากถึง 70% ในแต่ละวัน ขณะที่พฤติกรรมการซื้อสื่อนั้นจะเป็นการซื้อสื่อในบ้านมากถึง 65% และสื่อนอกบ้าน 35% ซึ่งในจำนวนสื่อนอกบ้านนี้มีสัดส่วนของการซื้อสื่อ
นายวันชัย พละพงค์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซึทาญ่า จำกัด (มหาชน) ซึทาญ่าก็มีการทำสื่อใหม่ๆเช่นกันทั้งสื่อโฆษณาและสื่อการตลาด เช่น ถุงใส่ซีดี หรือแม้แต่ป้ายหน้าร้านก็เป็นการทำสื่อที่สร้างแบรนด์ได้เหมือนกัน เพราะเรามีมากกว่า 250 สาขานอกจากนั้นยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหนังแจก การร่วมมือกับเจ้าของสินค้าในการทำโปรโมชันหรือเปิดตัวสินค้าได้
นายปรเมศวร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด เจ้าของเว๊บไซต์ กระปุกดอทคอม ให้ความเห็นว่า สื่อใหม่ๆเช่นสื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมียอดผู้ใช้งานเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด ซึ่งในส่วนของ Kapook.com เว็บไซต์ยอดนิยมของผู้ใช้งานชาวไทย ที่มีผู้ชมมากกว่า 3.5 ล้านคน ต่อเดือนและมียอดสมาชิกลงทะเบียนกับเว็บไซต์กระปุกมากที่สุดในประเทศไทย ถึง 640,000 ราย เติบโตอย่างต่อเนื่องได้รับความไว้วางใจ จากบริษัทชั้นนำต่างในการโฆษณาและการจัดกิจกรรมทางการตลาดด้วยผู้เข้าชมมากกว่า 50 ล้านเครื่องต่อเดือน พร้อมบริการวางแผนการตลาดในสื่อออนไลน์ รวมทั้งความพร้อมในทุกๆด้าน จึงน่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดีถึงโอกาสของสื่อนี้