ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - อพท.เตรียมผุดโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้า เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงดอยสุเทพ "ราชพฤกษ์-เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี-อุทยานช้าง" หลังว่าจ้างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ และบริษัทที่ปรึกษาเอกชนให้ศึกษาออกแบบพร้อมทำ EIA เบื้องต้นกำหนดตั้ง 5 สถานีขึ้น-ลง ใช้เส้นทางวิ่งเป็นวง ระบุหากโครงการฉลุยจะใช้เวลาก่อสร้าง 15 เดือน ขณะที่แผนงานต่อเนื่อง จะเชื่อมเส้นทางถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ด้าน"ภาคีคนฮักเจียงใหม่" ยืนยันไม่เห็นด้วย หวั่นผืนป่าอุดมสมบูรณ์ถูกทำลาย ย้ำพร้อมติดตามตรวจสอบโครงการอย่างใกล้ชิดทั้งแง่กฎหมายและความเหมาะสม
ที่ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเทสโก้ จำกัด ร่วมกันจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น ต่อโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าไฟฟ้าลอยฟ้า เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) โดยมีการเชิญตัวแทนองค์กรภาคประชาชน และธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ 20 คน
สรุปผลการศึกษาให้สผ.ตัดสินใจ
นายธีรพล คังคะเกตุ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริหารสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึ่งสถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากบริษัทเทสโก้ จำกัด ที่รับผิดชอบการออกแบบ ให้ดำเนินการศึกษาควบคู่กันไป เฉพาะการประเมินผลทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
ทั้งนี้ตามกำหนดเดิมการจัดทำรายงานจะต้องเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 49 แต่คาดว่าจะต้องมีการขยายระยะเวลาการศึกษาออกไปอีกเล็กน้อย ก่อนที่จะจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ของโครงการนี้ ที่จะมีการให้รายละเอียดข้อแนะนำทั้งหมด ว่าควรหรือไม่ควรทำสิ่งใดในโครงการ เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ในการพิจารณาและตัดสินใจขั้นสุดท้าย ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับโครงการนี้
ขณะที่นายสมนึก สุรัตต์กุล วิศวกรอาวุโส บริษัทเทสโก้ จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจาก อพท.ในการออกแบบกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้ โดยในการออกแบบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การออกแบบวางเส้นทาง สถานีขึ้น-ลง กระเช้าลอยฟ้า ที่บริษัทฯ เป็นผู้กำหนดตามความต้องการของ อพท. และการออกแบบระบบกระเช้าลอยฟ้าที่จะนำมาใช้งาน ซึ่งเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัท Gaugelhofer and Ganyecz aerial ropeway planning GmbH จากประเทศออสเตรีย และบริษัททูฟ (ไทยแลนด์) จำกัด
เบื้องต้นในส่วนของการออกแบบเส้นทางและสถานีขึ้น-ลงกระเช้าลอยฟ้า มีการกำหนดเส้นทางเป็นวงรอบ 5 เหลี่ยมด้านไม่เท่า เชื่อมโยงพื้นที่งานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อุทยานช้าง จุดผ่านชมสัตว์ และหมู่บ้านแม่เหียะใน ระยะทางรวม 6.53 กิโลเมตร และมีสถานีขึ้น-ลง 5 แห่ง ได้แก่ สถานีที่ 1 ราชพฤกษ์ สถานีที่ 2 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สถานีที่ 3 อุทยานช้าง สถานีที่ 4 จุดผ่านชมสัตว์ และสถานีที่ 5 จุดชมวิวหมู่บ้านแม่เหียะ โดยสถานีที่ 1 ห่างจากสถานีที่ 2 ระยะทาง 763 เมตร สถานีที่ 2 ห่างจากสถานีที่ 3 ระยะทาง 721 เมตร สถานีที่ 3 ห่างจากสถานีที่ 4 ระยะทาง 2,052 เมตร และสถานีที่ 4 ห่างจากสถานีที่ 5 ระยะทาง 1,114 เมตร
ภาคีคนฮักเจียงใหม่ขวางเต็มที่
ด้านศาสตราจารย์เฉลิมพล แซมเพชร ผู้ประสานงานภาคีคนฮักเจียงใหม่ เปิดเผยหลังการร่วมประชุมในครั้งนี้พร้อมตัวแทนองค์กรภาคประชาชนว่า ในเบื้องต้นทราบว่าเส้นทางกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้ จะมีสถานีขึ้น-ลง 5 สถานี เชื่อมโยงพื้นที่งานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และอุทยานช้าง โดยที่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะขยายเส้นทางเชื่อมต่อ ไปถึงบริเวณลานจอดรถวัดพระธาตุดอยสุเทพ ผ่านหอดูดาวสิรินธรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สรุปแล้วตัวแทนองค์กรภาคประชาชนและธุรกิจท่องเที่ยวที่เข้าร่วมประชุม ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการดำเนินโครงการนี้เพราะเชื่อว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี และที่ผ่านมาก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มหกรรมพืชสวนโลกฯ และอุทยานช้างในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วเพราะเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์
"เราไม่เห็นด้วย ที่จะมีการสร้างกระเช้าลอยฟ้าบริเวณดอยสุเทพ โดยอ้างว่าเป็นการพัฒนาเมือง และสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยวให้จังหวัดเชียงใหม่ เพราะการพัฒนาไม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอไป และเชียงใหม่ก็เป็นเมืองที่มีขุมทรัพย์ที่เป็นเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวมากมายอยู่แล้ว ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ขอเพียงแต่ให้มีการดูแลฟื้นฟูพัฒนาให้ดีเท่านั้น ก็จะสามารถใช้เป็นจุดขายที่ดีได้"ศาสตราจารย์เฉลิมพล กล่าว
นอกจากนี้ผู้ประสานงานภาคีคนฮักเจียงใหม่ เพิ่มเติมว่า จากการเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ เชื่อว่าข้อเสนอแนะและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้จัดการประชุมได้รับ น่าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความต้องการ และความเป็นห่วงเป็นใยต่อสภาพพื้นที่ป่าดอยสุเทพของคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีว่าไม่อยากให้มีการดำเนินโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม หากมีการเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป ภาคประชาชนก็คงจะไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากเคลื่อนไหวต่อสู้ในแง่ของความเหมาะสมและข้อกฎหมาย รวมทั้งติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด และจะมีการรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการ ให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องและข้อมูลที่รอบด้านเกี่ยวกับโครงการนี้เพื่อจะได้เกิดความตระหนักต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีโครงการ
อนึ่ง สำหรับโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าไฟฟ้าลอยฟ้า เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการของ อพท. ที่มีการระบุวัตถุประสงค์ว่า เป็นเพราะต้องการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ โดยสร้างสิ่งดึงดูดใจทางด้านการท่องเที่ยว และเป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการท่องเที่ยว ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในประเทศไทยมาก่อน รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในพื้นที่เชิงดอยสุเทพเข้าด้วยกัน
เบื้องต้นกำหนดว่าระบบกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้จะเป็นแบบ Mono Cable Detahable Ropeway บรรทุกได้สูงสุด 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน การเคลื่อนที่จะมีลักษณะวิ่งทางเดียวเป็นวงกลมย้อนกลับไปที่เดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายกระเช้า มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 5-34 เมตร ความเร็วในการเดินทางประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที โดยสถานีขับเคลื่อนหลักจะอยู่ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ในขั้นต้นจะมีการจัดซื้อกระเช้าลอยฟ้าประมาณ 60 คัน แต่โรงเก็บกระเช้าลอยฟ้าจะเตรียมการไว้ให้สามารถรองรับได้ถึง 100 คัน ทั้งนี้หากโครงการได้รับอนุมัติ จะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 15 เดือน
ที่ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเทสโก้ จำกัด ร่วมกันจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น ต่อโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าไฟฟ้าลอยฟ้า เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) โดยมีการเชิญตัวแทนองค์กรภาคประชาชน และธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประมาณ 20 คน
สรุปผลการศึกษาให้สผ.ตัดสินใจ
นายธีรพล คังคะเกตุ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริหารสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึ่งสถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากบริษัทเทสโก้ จำกัด ที่รับผิดชอบการออกแบบ ให้ดำเนินการศึกษาควบคู่กันไป เฉพาะการประเมินผลทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
ทั้งนี้ตามกำหนดเดิมการจัดทำรายงานจะต้องเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 49 แต่คาดว่าจะต้องมีการขยายระยะเวลาการศึกษาออกไปอีกเล็กน้อย ก่อนที่จะจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ของโครงการนี้ ที่จะมีการให้รายละเอียดข้อแนะนำทั้งหมด ว่าควรหรือไม่ควรทำสิ่งใดในโครงการ เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ในการพิจารณาและตัดสินใจขั้นสุดท้าย ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับโครงการนี้
ขณะที่นายสมนึก สุรัตต์กุล วิศวกรอาวุโส บริษัทเทสโก้ จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทฯ ได้รับมอบหมายจาก อพท.ในการออกแบบกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้ โดยในการออกแบบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การออกแบบวางเส้นทาง สถานีขึ้น-ลง กระเช้าลอยฟ้า ที่บริษัทฯ เป็นผู้กำหนดตามความต้องการของ อพท. และการออกแบบระบบกระเช้าลอยฟ้าที่จะนำมาใช้งาน ซึ่งเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัท Gaugelhofer and Ganyecz aerial ropeway planning GmbH จากประเทศออสเตรีย และบริษัททูฟ (ไทยแลนด์) จำกัด
เบื้องต้นในส่วนของการออกแบบเส้นทางและสถานีขึ้น-ลงกระเช้าลอยฟ้า มีการกำหนดเส้นทางเป็นวงรอบ 5 เหลี่ยมด้านไม่เท่า เชื่อมโยงพื้นที่งานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อุทยานช้าง จุดผ่านชมสัตว์ และหมู่บ้านแม่เหียะใน ระยะทางรวม 6.53 กิโลเมตร และมีสถานีขึ้น-ลง 5 แห่ง ได้แก่ สถานีที่ 1 ราชพฤกษ์ สถานีที่ 2 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สถานีที่ 3 อุทยานช้าง สถานีที่ 4 จุดผ่านชมสัตว์ และสถานีที่ 5 จุดชมวิวหมู่บ้านแม่เหียะ โดยสถานีที่ 1 ห่างจากสถานีที่ 2 ระยะทาง 763 เมตร สถานีที่ 2 ห่างจากสถานีที่ 3 ระยะทาง 721 เมตร สถานีที่ 3 ห่างจากสถานีที่ 4 ระยะทาง 2,052 เมตร และสถานีที่ 4 ห่างจากสถานีที่ 5 ระยะทาง 1,114 เมตร
ภาคีคนฮักเจียงใหม่ขวางเต็มที่
ด้านศาสตราจารย์เฉลิมพล แซมเพชร ผู้ประสานงานภาคีคนฮักเจียงใหม่ เปิดเผยหลังการร่วมประชุมในครั้งนี้พร้อมตัวแทนองค์กรภาคประชาชนว่า ในเบื้องต้นทราบว่าเส้นทางกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้ จะมีสถานีขึ้น-ลง 5 สถานี เชื่อมโยงพื้นที่งานมหกรรมพืชสวนโลกฯ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และอุทยานช้าง โดยที่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะขยายเส้นทางเชื่อมต่อ ไปถึงบริเวณลานจอดรถวัดพระธาตุดอยสุเทพ ผ่านหอดูดาวสิรินธรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สรุปแล้วตัวแทนองค์กรภาคประชาชนและธุรกิจท่องเที่ยวที่เข้าร่วมประชุม ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการดำเนินโครงการนี้เพราะเชื่อว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี และที่ผ่านมาก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มหกรรมพืชสวนโลกฯ และอุทยานช้างในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วเพราะเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์
"เราไม่เห็นด้วย ที่จะมีการสร้างกระเช้าลอยฟ้าบริเวณดอยสุเทพ โดยอ้างว่าเป็นการพัฒนาเมือง และสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยวให้จังหวัดเชียงใหม่ เพราะการพัฒนาไม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นเสมอไป และเชียงใหม่ก็เป็นเมืองที่มีขุมทรัพย์ที่เป็นเสน่ห์ทางการท่องเที่ยวมากมายอยู่แล้ว ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ขอเพียงแต่ให้มีการดูแลฟื้นฟูพัฒนาให้ดีเท่านั้น ก็จะสามารถใช้เป็นจุดขายที่ดีได้"ศาสตราจารย์เฉลิมพล กล่าว
นอกจากนี้ผู้ประสานงานภาคีคนฮักเจียงใหม่ เพิ่มเติมว่า จากการเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ เชื่อว่าข้อเสนอแนะและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้จัดการประชุมได้รับ น่าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความต้องการ และความเป็นห่วงเป็นใยต่อสภาพพื้นที่ป่าดอยสุเทพของคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีว่าไม่อยากให้มีการดำเนินโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม หากมีการเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป ภาคประชาชนก็คงจะไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากเคลื่อนไหวต่อสู้ในแง่ของความเหมาะสมและข้อกฎหมาย รวมทั้งติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด และจะมีการรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการ ให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องและข้อมูลที่รอบด้านเกี่ยวกับโครงการนี้เพื่อจะได้เกิดความตระหนักต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีโครงการ
อนึ่ง สำหรับโครงการออกแบบรายละเอียดกระเช้าไฟฟ้าลอยฟ้า เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บริเวณเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการของ อพท. ที่มีการระบุวัตถุประสงค์ว่า เป็นเพราะต้องการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ โดยสร้างสิ่งดึงดูดใจทางด้านการท่องเที่ยว และเป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการท่องเที่ยว ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในประเทศไทยมาก่อน รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในพื้นที่เชิงดอยสุเทพเข้าด้วยกัน
เบื้องต้นกำหนดว่าระบบกระเช้าลอยฟ้าตามโครงการนี้จะเป็นแบบ Mono Cable Detahable Ropeway บรรทุกได้สูงสุด 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน การเคลื่อนที่จะมีลักษณะวิ่งทางเดียวเป็นวงกลมย้อนกลับไปที่เดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายกระเช้า มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 5-34 เมตร ความเร็วในการเดินทางประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที โดยสถานีขับเคลื่อนหลักจะอยู่ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ในขั้นต้นจะมีการจัดซื้อกระเช้าลอยฟ้าประมาณ 60 คัน แต่โรงเก็บกระเช้าลอยฟ้าจะเตรียมการไว้ให้สามารถรองรับได้ถึง 100 คัน ทั้งนี้หากโครงการได้รับอนุมัติ จะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 15 เดือน