คดีภาษีชินคอร์พลิก“ศิโรฒน์”กลับลำเลิกรับใช้ระบอบทักษิณดิ้นหนีคุก ออกหมายเรียกเก็บภาษีชินคอร์ปจาก"โอ๊ค-เอม" 2 ทายาททักษิณต้องจ่าย 5.8 พันล้าน สตง.ดักคออธิบดีกรมสรรพากร หนีความผิดไม่พ้น ด้านเลขาฯ คปต.ยื่นหลักฐานมัดทักษิณผิดอาญาคดีคุณหญิงอ้อซื้อที่รัชดาฯ “แก้วสรร”ชี้พิรุธแอร์พอร์ตลิงค์ ค่าธรรมเนียมกู้สูงผิดปกติถึง 1,600 ล้าน ประธานคตส.เตือนอนุกก.ห้ามเปิดเผยชื่อพยานหวั่นซ้ำรอย “ชิปปิ้งหมู”
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังงานเสวนา "ความรู้คู่เด็กไทย...ร่วมใจกับกรมสรรพากร" วานนี้ (7 พ.ย.) ว่า ตนไม่เคยพูดว่านายพานทองแท้ และพิณทองทา ชินวัตร ลูกชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีจากการซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป โดยขณะนี้ได้ออกหนังสือเรียกทั้งสองคนมาชี้แจงถึงสาเหตุที่ไม่เสียภาษีกลางปี ซึ่งครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา
ส่วนกรณีการตอบหนังสือหารือของครอบครัวชินวัตรเมื่อปลายปี2548 นั้น เป็นเพียงการสอบตามสมมติฐานที่ถามมา ซึ่งขณะนี้ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วกรมสรรพากรจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่เห็นว่าหากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ต้องการข้อมูลจากกรมสรรพากร ก็สามารถส่งหนังสือมาขอได้แต่ยืนยันว่ากรมฯ ไม่จำเป็นต้องชี้แจงไปก่อน เพราะ สตง.ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2549 ที่ผ่ามา นายศิโรตม์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของกรมสรรพากร ออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษี ถึงนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา เนื่องจากกรมสรรพากรตรวจสอบพบว่า การที่บริษัท แอมเพิล ริช จำกัด ได้ขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บุคคล ทั้งสองเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2549 จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดเฉลี่ยอยู่ที่หุ้นละ 47-49 บาท ถือว่าส่วนต่างราคาหุ้นดังกล่าวเป็นรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากร
นายศิโรตม์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2549 กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกรณีดังกล่าวมาโดยตลอด และพบว่าข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้มานั้นแตกต่างจากข้อหารือที่กรมสรรพากรเคยตอบไป โดยทั้ง 2 คน จะต้องประสานงานกับกรมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการออกหนังสือเชิญ โดยขณะนี้กรมสรรพากรได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังแล้ว
"ตอนที่แถลงข่าวผมก็ไม่ได้ยืนยันว่าไม่ต้องเสียภาษี แต่เป็นการพูดไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขอให้ไปถอดเทปดู พูดอย่างนี้คงไม่แฟร์เท่าไร อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกระหว่างการปฏิบัติกับการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะมันแปลว่าจะอยู่ในคุกหรืออยู่นอกคุก ดังนั้น ใครที่สติดีก็ต้องเลือกอยู่นอกคุก" นายศิโรตม์กล่าวและว่า การที่กรมสรรพากร มีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2549 นั้น เป็นการชี้แจงตามการตอบหนังสือหารือที่เป็นการสอบถามมาด้วยการตั้งสมมติฐานว่าหากมีเงื่อนไขอย่างนี้เกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร โดยขอยืนยันว่าไม่เคยกล่าวว่าไม่ต้องเรียกเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นดังกล่าว แต่จากข่าวที่ผ่านมาเป็นการกล่าวอ้างกันไปเอง
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า หากสามารถพิสูจน์ได้ว่านายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทามีการถ่ายโอนเงินจริง ก็จะพิจารณาเก็บภาษีตามมาตราที่ระบุว่าเป็นการซื้อหุ้นในราคาถูกกว่าราคาในตลาดหลักทรัพย์ แต่หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการถ่ายโอนเงินจริง ก็จะเข้าข่ายมาตราที่ระบุว่าเป็นการได้หุ้นฟรี ซึ่งในกรณีนี้จะต้องชำระภาษีและค่าปรับมากกว่ากรณีแรก
เฉพาะกรณีดังกล่าวนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้น 15,800 ล้านบาท หากต้องจ่ายภาษีจะคิดเป็นเม็ดเงิน 5,846 ล้านบาท
**สตง.แฉหลักฐานมัด “ศิโรตม์”
แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุว่า จากการสอบสวนและพิจารณาเอกสารรวมถึงการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ความผูกพันของนายศิโรตม์ในฐานะที่เป็นอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของกรม ทำให้นายศิโรตม์ ไม่สามารถหนีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไปได้ แม้จะอ้างว่าในเอกสารตอบข้อหารือของนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ เลขานุการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไม่มีการลงลายมือชื่อของนายศิโรตม์ ก็ตาม
“แต่การกระทำของนายศิโรตม์ และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ร่วมกันแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่ากรณีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปให้กองทุนเทมาเส็ก ในวันที่ 2 ก.พ.2549 ถือเป็นหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าผู้บริหารระดับสูงทั้งสองรายปฏิบัติหน้าที่ในทางสนับสนุนการซื้อขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี นับเป็นหลักฐานที่ออกสู่สายตาของคนทั้งประเทศถือว่าแน่นหนาพอที่จะเอาความผิด” แหล่งข่าว กล่าว
นอกจากนี้ ในหนังสือตอบข้อหารือของนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในข้อ 1 วงเล็บ 1 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า หากการขายหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนหุ้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎรกร ซึ่งหากผลการสอบสวนสรุปออกมาแล้วพบว่าไม่เป็นจริงตามนั้นก็ต้องมีการเรียกเก็บภาษีที่เกิดจากการซื้อขายและดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ความหมายที่นายศิโรตม์ อ้างว่าตนไม่เคยพูด อาจเป็นเพราะผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น เป็นผู้ลงรายชื่อในท้ายหนังสือตอบข้อหารือ คือนางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
** “วีระ” ยื่นหลักฐานมัด “แม้ว-อ้อ”
นาย วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) เข้ายื่นหนังสือต่อนาย อุดม เฟื่องฟุ้ง ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ดำเนินคดีอาญากับทั้งสองบุคคล เพราะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า การมีส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่รัฐในสัญญาที่เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากการซื้อที่ดินดังกล่าวจากกองทุนฟื้นฟูซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจ
เลขาธิการ คปต. ยังมอบเอกสารสำเนาประกาศของปปช.เรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามความมาตรา 100 และสำเนาบันทึกเรื่องกองทุนฟื้นฟูฯ ได้วินิจฉัยว่ากองทุนดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 84/2543 ที่วินิจฉัยว่ากองทุนดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเอกสารรวบรวมคำพูดของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวในที่ประชุมพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2547 เวลา 14.30 น. ตอนหนึ่งว่า เรื่องการซื้อที่ดินทั้งที่ซื้อด้วยการประมูลแพงกว่าคนอื่น ฝ่ายค้านยังนำมาตีได้ โดยที่ดินข้างเคียงซื้อในราคาตารางวาละ 5 หมื่นบาท แต่ตนต้องซื้อในราคาถึง 58,000 บาท
“ทั้งหมดเป็นหลักฐานชัดเจนยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 100 ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญาต่อไป” นายวีระ กล่าว
นาย วีระ เปิดเผยอีกครั้งหลังเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ว่า ประธานอนุกรรมการฯได้บรรจุข้อมูลที่นำมายื่นเอาไว้ในสำนวนและให้ตนเป็นพยานร่วมกับนาย คมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนาง กัลยาณี รุจทลกาล ประธานชมรมลูกหนี้
นายวีระ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้หารือถึง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 66 ที่ระบุว่า ให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหาย โดยที่ประชุมประเมินว่า ทีมทนายของคุณหญิงพจมาน เตรียมใช้ช่องทางนี้ในการต่อสู้ เพราะเมื่อการสอบสวนสิ้นสุด แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ไม่สามารถเอาผิดถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
** พิรุธแอร์พอร์ตลิงค์ค่าธรรมเนียมกู้สูง 1.6 พันล้าน
ทางด้าน นาย แก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะรับผิดชอบตรวจสอบโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ส่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับให้เงินกู้ของบริษัททีเกี่ยวข้องกับโครงการแอร์พอตลิงค์ให้กับ คตส.ซึ่งเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ คตส.ส่วนใหญ่เป็นเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลความลับของลูกค้า และสัญญาเงินกู้ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยไม่ได้ปิดบัง แต่ที่ผ่านมาไม่มีฐานเกี่ยวกับข้อกฎหมายในเรื่องข้อมูลของลูกค้า ซึ่งทางคตส.จะศึกษาดูหากไม่เข้าใจจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาให้ข้อมูล
เมื่อถามว่าการหน่วยงานของรัฐจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้แทนบริษัทเอกชน ถือว่ารัฐค้ำประกันบริษัทเอกชนหรือไม่ นายแก้วสรร กล่าวว่า ปัญหาซ่อนอยู่หลายเรื่อง แต่ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินติดใจตั้งแต่แรกคือค่าธรรมเนียมเงินกู้สูงผิดปกติ คตส.จึงต้องการคำอธิบายจากธนาคารก่อน อยู่ดีๆ จะไปกล่าวหาใครไม่ได้ ส่วนในอดีตมีขั้นตอนการจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างไร นายแก้วสรร กล่าวว่า การจ่ายค่าธรรมเนียม เป็นการจ่ายค่าบริหารเงินกู้ หมายถึงการวางเงินค่าดำเนินการของวิศวกร สถาปนิก แต่ปรากฎว่าการจ่ายค่าธรรมเนียมโครงการนี้โดดขึ้นมา จึงต้องถามว่าค่าธรรมเนียมโดดขึ้นมาได้อย่างไร และมีเหตุผลอย่างไร ซึ่งตามปกติค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 2.5%ของวงเงินกู้ แต่โดดขึ้นมาเป็น 6% เท่ากับ 1.6 พันล้าน บวมมามากอย่างนี้ต้องตอบคำถามให้ได้ ถ้าตอบได้ก็จบเกม
** หวั่นอนุฯเผยชื่อพยานซ้ำรอย “ชิปปิ้งหมู”
ในการประชุม คตส.เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา นาย นาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ได้แจ้งกับ คณะกรรมการ คตส.ทั้งหมดโดยขอร้องให้ทุกคน แจ้งกับทางอนุกรรมการตรวจสอบทั้ง 12 ชุด เรื่องการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน กรณีที่มีการพาดพิงถึงบุคคลที่สาม และการระบุชื่อบุคคลที่จะเชิญมาให้ข้อมูลและชี้แจง ซึ่งขณะนี้ คตส.ประสบปัญหา เพราะพยานหลายปากหลังมีชื่อปรากฏเป็นข่าว ต่างปฏิเสธที่จะมาให้ข้อมูล โดยเกรงว่าจะถูกคุกคามต่อครอบครัวภายหลังจากกลุ่มอำนาจเก่าทางการเมือง รวมถึงนักการเมืองที่ถูก คตส.ตรวจสอบ
นายนาม กล่าวว่า เบื้องต้นมีการปฏิเสธแล้วกว่า 10 ราย โดยเฉพาะอนุกรรมการตรวจสอบการทุจริตกล้ายาง 90 ล้านต้น ที่มีนาย บรรเจิด สิงคเนติ คตส. เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ได้กล่าวว่า ตักเตือน คณะอนุกรรมการ คตส.บางคนที่ออกมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเชิญบุคคลมาให้ข้อมูล เพราะเกรงว่า บุคคลที่มาเป็นพยานจะได้รับผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน เหมือนกรณีคดี นายก รเทพ วิริยะ หรือที่เรียกกันว่า "ชิปปิ้งหมู" ที่ออกมาเป็นพยาน และเปิดเผยข้อมูลการหลบเลี่ยงภาษรนำเข้าการส่งอุปกรณ์ดาวเทียมของเอกชนแห่งหนึ่ง
**ล่าแก๊งทุจริตกระทรวงเกษตรฯ
แหล่งข่าวระดับสูงใน คตส. ระบุว่า ในการประชุมอนุกรรมการตรวจสอบทุจริตกล้ายางพาราในวันที่ 7 พ.ย.ได้นำร่างทีโออาร์ของการโครงการประมูลต้นกล้ายางจำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งบริษัทเครือเจริญโภคพันธุ์เมล็ดพันธุ์ ได้รับสัมปทานจากกรมวิชาการเกษตร มาตรวจสอบตั้งแต่การเริ่มต้นของฝ่ายนโยบาย หรือฝ่ายการเมือง จนเกิดเป็นนโยบายดังกล่าวว่ามีบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มนั้นประกอบด้วยใครบ้างทั้งนักการเมือง และข้าราชการ ซึ่งที่ประชุมให้อนุกรรมการทุกคนไปศึกษาการทำทีโออาร์อย่างละเอียด และนำมาหารืออีกครั้งในวันที่ 14 พ.ย.นี้ต่อไป
“จากการตรวจทีโออาร์เบื้องต้นพบว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดโครงการต้นกล้ายางนั้น พบว่ามีการเชื่อมโยงกันหมด ซึ่งเป็นกลุ่มคนเดียวกัน ที่เข้าประมูลงานในโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ทั้งเรื่องของต้นกล้ายาง การสร้างโรงอัดยางแท่ง โครงการยางเอื้ออาทร โครงการเซ็นทรัลแล็ป ซึ่ง คตส.ก็ตรวจสอบอยู่ โดยเฉพาะโครงการพืชสวนโลกที่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเป็นการกำหนดนโยบายอย่างเร่งรีบของฝ่ายการเมืองที่มีการบังคับให้เขียนทีโออา ซึ่งหน่วงงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯในการกำหนดโครงการทั้งหมดไม่มีความพร้อม ซึ่งตัวละครทั้งหมดพบว่าเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน ตั้งแต่การริเริ่มโครงการจนถึงการทำทีโออาร์”แหล่งข่าวกล่าว
**โต้ คตส. ยันไม่ได้แตะถ่วง
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ นายสัก กอแสงเรือง โฆษกและ กรรมการ คตส.ออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือสอบถามและข้อมูลจากสำนักงานอัยการสูงสุด รวม 12 เรื่องแต่ยังไม่ได้รับคำตอบว่า ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้รับหนังสือดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ไม่ใช่วันที่ 31 ต.ค. ตามที่ โฆษก คตส.ออก มาให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด ยืนยันว่า หลังได้รับหนังสือได้ประสานไปยังสำนักงานอัยการฝ่ายคดีต่าง ประเทศเพื่อขอข้อมูลเรื่องซีทีเอ็กซ์ ที่ทางการสหรัฐอเมริกาตอบกลับมา เพื่อส่ง มอบให้กับ คตส.แล้ว ซึ่งคาดจะสามารถส่งข้อมูลได้ในวันที่ 9 พ.ย. นี้
ด้าน นายอภิชาติ ถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและคดี ปปง. เปิดเผยว่า ปปง.ไม่เคยได้รับการประสานข้อมูลจาก คตส.แต่ได้รับประสานขอข้อมูลจากคณะมนตรีฯ โดยหนังสือดังกล่าว ส่งถึง ปปง.เย็นวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมาซึ่งในวันดังกล่าว ปปง.ไม่สามารถส่งข้อมูลให้ทัน จึงส่งข้อมูลทางโทรสารไปให้คณะมนตรีฯ ในช่วงเช้าวันนี้ ( 7 พ.ย.) เป็นข้อมูลรายละเอียดคดีทุจริตลำไย ซึ่ง ปปง.ได้ยึดอายัดทรัพย์ และส่งฟ้องคดีให้ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดกรณีการปล่อยเงินกู้ของธนาคารกรุงไทย ส่วนในเรื่องอื่น ๆ เช่น กรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ยังไม่เคยมีหน่วยงานใดส่งข้อมูลให้กับ ปปง.จึงยังไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูล ปปง.ที่ผ่านมา ปปง.ได้ขอเอกสารกรณีดังกล่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุดในประเด็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สั่งปรับ บริษัท จีอี อินวิชั่น เนื่องจากมีการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ไทย แต่หนังสือจากสหรัฐกลับระบุว่าไม่มีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ไทยแต่อย่างใด
นายอภิชาติ กล่าวอีกว่า กรณีซีทีเอ็กซ์ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งประเด็นสอบสวนไว้อีก 2 เรื่อง คือ การซื้อเพิ่มเครื่องซีทีเอ็กซ์จาก 20 เครื่อง เป็น 30-40 เครื่อง ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างอย่างไรและประเด็นที่ไม่ยอมสั่งซื้อตรงจากบริษัทผู้ผลิต แต่กลับซื้อผ่านตัวแทนขายและยังซื้อได้ในราคาเท่ากัน ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นยังไม่มีหน่วยงานใดประสานข้อมูลมายัง ปปง. ทั้งนี้ ในการตรวจธุรกรรมการเงิน กฎหมายฟอกเงินระบุชัดว่าแม้จะเป็นการดำเนินการในทางลับ แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ทันที โดยจะต้องนำหลักฐานการกระทำความผิดตามมูลฐานฟอกเงินส่งให้คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ตรวจสอบและอนุมัติให้ตรวจสอบธุรกรรมการเงินเสียก่อน
ทั้งนี้ คตส.มีอำนาจหน้าที่เท่ากับ ปปง.สามารถเรียกประชุมและตรวจสอบหลักฐานในฐานะคณะกรรมการธุรกรรมการเงินได้เอง หากมีหลักฐานแน่ชัดก็สามารถสั่งการให้ ปปง.ตรวจสอบธุรกรรมได้ทันที ซึ่ง ปปง.เองก็ยินดีให้ความร่วมมือ กับทุกหน่วยงานภายใต้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงแต่ที่ผ่านมา ปปง.ยังไม่เคยได้รับการติดต่อจาก คตส.
**ป.ป.ช.เด้งรับคมช.เร่งปราบโกง
นายศราวุธ เมนะเสวต เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้หยิบยกเรื่องที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 39 เรื่อง ขึ้นมาพิจารณา โดยให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 38 เรื่อง และพิจารณาชี้มูล 1 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องระดับเจ้าหน้าที่ธุรการของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ขโมยใบเสร็จ ทศท.และเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้โทรศัพท์ซึ่งเป็นค่าสายเกินจำนวน 61 ราย เป็นเงิน 3.2 แสนบาท ไปใช้ส่วนตัว
กรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ดันเรื่องการปราบปรามทุจริตขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ นายศราวุธ กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้หารือโดยจะปรับกระบวนการทำงานใหม่ อาจจะต้องเพิ่มวันประชุม จากเดิมที่ประชุมทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี ให้ประชุมทุกวัน เช้า-บ่าย เพื่อให้การพิจารณาเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะสามารถพิจารณาเรื่องที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวนเกือบ 3,000 เรื่องได้เสร็จสิ้น โดยเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ระดับธรรมดา ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือนักการเมืองจะต้องเสนอแยกกันต่างหาก
เมื่อถามถึงเหตุการณ์การขู่วางระเบิดสำนักงาน ป.ป.ช.เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ไม่มีอะไรรุนแรง ซึ่งได้ยินแต่คนพูด แต่ไม่มีอะไรจริงจัง
ด้านนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวยอมรับว่า ในช่วงเช้ามีการโทรศัพท์เข้ามาข่มขู่ว่าวางระเบิดจริง แต่ส่วนตัวคิดว่าเป็นพวกโรคจิต เมื่อถามว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีอดีตประธานกรรมการบริหาร อดีตกรรมการผู้จัดการ อดีตกรรมการบริหาร และพนักงานระดับสูง ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรณีให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ นายภักดี ปฏิเสธว่า คงไม่เกี่ยวกัน ส่วนที่ผู้ก่อกวนโทรศัพท์มาหน้าห้องตนนั้น เข้าใจว่า น่าจะเป็นการสุ่มโทรธรรมดา ไม่ได้เจาะจงต่อเบอร์มาที่ห้องตน
** จี้สอบค่าโง่ ทศท. 8 หมื่นล้าน
นาย เชียรช่วง กัลยาณมิตร กรรมการบริหาร บริษัทสเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนพร้อมมอบข้อมูลหลักฐานต่อโดยมีนาย แก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. กรณีองค์การโทรศัพท์ หรือบริษัททศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาสัมปทานโทรศัพท์ กับบริษัทแอ๊ดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส หรือ เอไอเอส ในลักษณะเอื้อฃประโยชน์ให้ภาคเอกชนเป็นเหตุให้รัฐสูญเสียรายได้ไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท โดยขอให้นำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเข้าเป็น 1 ในโครงการตรวจสอบของ คตส. ด้วย
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังงานเสวนา "ความรู้คู่เด็กไทย...ร่วมใจกับกรมสรรพากร" วานนี้ (7 พ.ย.) ว่า ตนไม่เคยพูดว่านายพานทองแท้ และพิณทองทา ชินวัตร ลูกชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีจากการซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป โดยขณะนี้ได้ออกหนังสือเรียกทั้งสองคนมาชี้แจงถึงสาเหตุที่ไม่เสียภาษีกลางปี ซึ่งครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา
ส่วนกรณีการตอบหนังสือหารือของครอบครัวชินวัตรเมื่อปลายปี2548 นั้น เป็นเพียงการสอบตามสมมติฐานที่ถามมา ซึ่งขณะนี้ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วกรมสรรพากรจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่เห็นว่าหากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ต้องการข้อมูลจากกรมสรรพากร ก็สามารถส่งหนังสือมาขอได้แต่ยืนยันว่ากรมฯ ไม่จำเป็นต้องชี้แจงไปก่อน เพราะ สตง.ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2549 ที่ผ่ามา นายศิโรตม์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของกรมสรรพากร ออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษี ถึงนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา เนื่องจากกรมสรรพากรตรวจสอบพบว่า การที่บริษัท แอมเพิล ริช จำกัด ได้ขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บุคคล ทั้งสองเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2549 จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดเฉลี่ยอยู่ที่หุ้นละ 47-49 บาท ถือว่าส่วนต่างราคาหุ้นดังกล่าวเป็นรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากร
นายศิโรตม์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2549 กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกรณีดังกล่าวมาโดยตลอด และพบว่าข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้มานั้นแตกต่างจากข้อหารือที่กรมสรรพากรเคยตอบไป โดยทั้ง 2 คน จะต้องประสานงานกับกรมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการออกหนังสือเชิญ โดยขณะนี้กรมสรรพากรได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังแล้ว
"ตอนที่แถลงข่าวผมก็ไม่ได้ยืนยันว่าไม่ต้องเสียภาษี แต่เป็นการพูดไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขอให้ไปถอดเทปดู พูดอย่างนี้คงไม่แฟร์เท่าไร อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกระหว่างการปฏิบัติกับการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะมันแปลว่าจะอยู่ในคุกหรืออยู่นอกคุก ดังนั้น ใครที่สติดีก็ต้องเลือกอยู่นอกคุก" นายศิโรตม์กล่าวและว่า การที่กรมสรรพากร มีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2549 นั้น เป็นการชี้แจงตามการตอบหนังสือหารือที่เป็นการสอบถามมาด้วยการตั้งสมมติฐานว่าหากมีเงื่อนไขอย่างนี้เกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร โดยขอยืนยันว่าไม่เคยกล่าวว่าไม่ต้องเรียกเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นดังกล่าว แต่จากข่าวที่ผ่านมาเป็นการกล่าวอ้างกันไปเอง
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า หากสามารถพิสูจน์ได้ว่านายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทามีการถ่ายโอนเงินจริง ก็จะพิจารณาเก็บภาษีตามมาตราที่ระบุว่าเป็นการซื้อหุ้นในราคาถูกกว่าราคาในตลาดหลักทรัพย์ แต่หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการถ่ายโอนเงินจริง ก็จะเข้าข่ายมาตราที่ระบุว่าเป็นการได้หุ้นฟรี ซึ่งในกรณีนี้จะต้องชำระภาษีและค่าปรับมากกว่ากรณีแรก
เฉพาะกรณีดังกล่าวนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้น 15,800 ล้านบาท หากต้องจ่ายภาษีจะคิดเป็นเม็ดเงิน 5,846 ล้านบาท
**สตง.แฉหลักฐานมัด “ศิโรตม์”
แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุว่า จากการสอบสวนและพิจารณาเอกสารรวมถึงการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ความผูกพันของนายศิโรตม์ในฐานะที่เป็นอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของกรม ทำให้นายศิโรตม์ ไม่สามารถหนีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไปได้ แม้จะอ้างว่าในเอกสารตอบข้อหารือของนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ เลขานุการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไม่มีการลงลายมือชื่อของนายศิโรตม์ ก็ตาม
“แต่การกระทำของนายศิโรตม์ และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ร่วมกันแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่ากรณีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปให้กองทุนเทมาเส็ก ในวันที่ 2 ก.พ.2549 ถือเป็นหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าผู้บริหารระดับสูงทั้งสองรายปฏิบัติหน้าที่ในทางสนับสนุนการซื้อขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี นับเป็นหลักฐานที่ออกสู่สายตาของคนทั้งประเทศถือว่าแน่นหนาพอที่จะเอาความผิด” แหล่งข่าว กล่าว
นอกจากนี้ ในหนังสือตอบข้อหารือของนางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในข้อ 1 วงเล็บ 1 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า หากการขายหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนหุ้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎรกร ซึ่งหากผลการสอบสวนสรุปออกมาแล้วพบว่าไม่เป็นจริงตามนั้นก็ต้องมีการเรียกเก็บภาษีที่เกิดจากการซื้อขายและดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ความหมายที่นายศิโรตม์ อ้างว่าตนไม่เคยพูด อาจเป็นเพราะผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น เป็นผู้ลงรายชื่อในท้ายหนังสือตอบข้อหารือ คือนางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
** “วีระ” ยื่นหลักฐานมัด “แม้ว-อ้อ”
นาย วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) เข้ายื่นหนังสือต่อนาย อุดม เฟื่องฟุ้ง ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ดำเนินคดีอาญากับทั้งสองบุคคล เพราะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า การมีส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่รัฐในสัญญาที่เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากการซื้อที่ดินดังกล่าวจากกองทุนฟื้นฟูซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจ
เลขาธิการ คปต. ยังมอบเอกสารสำเนาประกาศของปปช.เรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามความมาตรา 100 และสำเนาบันทึกเรื่องกองทุนฟื้นฟูฯ ได้วินิจฉัยว่ากองทุนดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 84/2543 ที่วินิจฉัยว่ากองทุนดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเอกสารรวบรวมคำพูดของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวในที่ประชุมพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2547 เวลา 14.30 น. ตอนหนึ่งว่า เรื่องการซื้อที่ดินทั้งที่ซื้อด้วยการประมูลแพงกว่าคนอื่น ฝ่ายค้านยังนำมาตีได้ โดยที่ดินข้างเคียงซื้อในราคาตารางวาละ 5 หมื่นบาท แต่ตนต้องซื้อในราคาถึง 58,000 บาท
“ทั้งหมดเป็นหลักฐานชัดเจนยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 100 ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญาต่อไป” นายวีระ กล่าว
นาย วีระ เปิดเผยอีกครั้งหลังเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ว่า ประธานอนุกรรมการฯได้บรรจุข้อมูลที่นำมายื่นเอาไว้ในสำนวนและให้ตนเป็นพยานร่วมกับนาย คมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนาง กัลยาณี รุจทลกาล ประธานชมรมลูกหนี้
นายวีระ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้หารือถึง พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 66 ที่ระบุว่า ให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหาย โดยที่ประชุมประเมินว่า ทีมทนายของคุณหญิงพจมาน เตรียมใช้ช่องทางนี้ในการต่อสู้ เพราะเมื่อการสอบสวนสิ้นสุด แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ไม่สามารถเอาผิดถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
** พิรุธแอร์พอร์ตลิงค์ค่าธรรมเนียมกู้สูง 1.6 พันล้าน
ทางด้าน นาย แก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะรับผิดชอบตรวจสอบโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ส่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับให้เงินกู้ของบริษัททีเกี่ยวข้องกับโครงการแอร์พอตลิงค์ให้กับ คตส.ซึ่งเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ คตส.ส่วนใหญ่เป็นเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลความลับของลูกค้า และสัญญาเงินกู้ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยไม่ได้ปิดบัง แต่ที่ผ่านมาไม่มีฐานเกี่ยวกับข้อกฎหมายในเรื่องข้อมูลของลูกค้า ซึ่งทางคตส.จะศึกษาดูหากไม่เข้าใจจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาให้ข้อมูล
เมื่อถามว่าการหน่วยงานของรัฐจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้แทนบริษัทเอกชน ถือว่ารัฐค้ำประกันบริษัทเอกชนหรือไม่ นายแก้วสรร กล่าวว่า ปัญหาซ่อนอยู่หลายเรื่อง แต่ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินติดใจตั้งแต่แรกคือค่าธรรมเนียมเงินกู้สูงผิดปกติ คตส.จึงต้องการคำอธิบายจากธนาคารก่อน อยู่ดีๆ จะไปกล่าวหาใครไม่ได้ ส่วนในอดีตมีขั้นตอนการจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างไร นายแก้วสรร กล่าวว่า การจ่ายค่าธรรมเนียม เป็นการจ่ายค่าบริหารเงินกู้ หมายถึงการวางเงินค่าดำเนินการของวิศวกร สถาปนิก แต่ปรากฎว่าการจ่ายค่าธรรมเนียมโครงการนี้โดดขึ้นมา จึงต้องถามว่าค่าธรรมเนียมโดดขึ้นมาได้อย่างไร และมีเหตุผลอย่างไร ซึ่งตามปกติค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 2.5%ของวงเงินกู้ แต่โดดขึ้นมาเป็น 6% เท่ากับ 1.6 พันล้าน บวมมามากอย่างนี้ต้องตอบคำถามให้ได้ ถ้าตอบได้ก็จบเกม
** หวั่นอนุฯเผยชื่อพยานซ้ำรอย “ชิปปิ้งหมู”
ในการประชุม คตส.เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา นาย นาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ได้แจ้งกับ คณะกรรมการ คตส.ทั้งหมดโดยขอร้องให้ทุกคน แจ้งกับทางอนุกรรมการตรวจสอบทั้ง 12 ชุด เรื่องการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน กรณีที่มีการพาดพิงถึงบุคคลที่สาม และการระบุชื่อบุคคลที่จะเชิญมาให้ข้อมูลและชี้แจง ซึ่งขณะนี้ คตส.ประสบปัญหา เพราะพยานหลายปากหลังมีชื่อปรากฏเป็นข่าว ต่างปฏิเสธที่จะมาให้ข้อมูล โดยเกรงว่าจะถูกคุกคามต่อครอบครัวภายหลังจากกลุ่มอำนาจเก่าทางการเมือง รวมถึงนักการเมืองที่ถูก คตส.ตรวจสอบ
นายนาม กล่าวว่า เบื้องต้นมีการปฏิเสธแล้วกว่า 10 ราย โดยเฉพาะอนุกรรมการตรวจสอบการทุจริตกล้ายาง 90 ล้านต้น ที่มีนาย บรรเจิด สิงคเนติ คตส. เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ได้กล่าวว่า ตักเตือน คณะอนุกรรมการ คตส.บางคนที่ออกมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเชิญบุคคลมาให้ข้อมูล เพราะเกรงว่า บุคคลที่มาเป็นพยานจะได้รับผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน เหมือนกรณีคดี นายก รเทพ วิริยะ หรือที่เรียกกันว่า "ชิปปิ้งหมู" ที่ออกมาเป็นพยาน และเปิดเผยข้อมูลการหลบเลี่ยงภาษรนำเข้าการส่งอุปกรณ์ดาวเทียมของเอกชนแห่งหนึ่ง
**ล่าแก๊งทุจริตกระทรวงเกษตรฯ
แหล่งข่าวระดับสูงใน คตส. ระบุว่า ในการประชุมอนุกรรมการตรวจสอบทุจริตกล้ายางพาราในวันที่ 7 พ.ย.ได้นำร่างทีโออาร์ของการโครงการประมูลต้นกล้ายางจำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งบริษัทเครือเจริญโภคพันธุ์เมล็ดพันธุ์ ได้รับสัมปทานจากกรมวิชาการเกษตร มาตรวจสอบตั้งแต่การเริ่มต้นของฝ่ายนโยบาย หรือฝ่ายการเมือง จนเกิดเป็นนโยบายดังกล่าวว่ามีบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มนั้นประกอบด้วยใครบ้างทั้งนักการเมือง และข้าราชการ ซึ่งที่ประชุมให้อนุกรรมการทุกคนไปศึกษาการทำทีโออาร์อย่างละเอียด และนำมาหารืออีกครั้งในวันที่ 14 พ.ย.นี้ต่อไป
“จากการตรวจทีโออาร์เบื้องต้นพบว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดโครงการต้นกล้ายางนั้น พบว่ามีการเชื่อมโยงกันหมด ซึ่งเป็นกลุ่มคนเดียวกัน ที่เข้าประมูลงานในโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ทั้งเรื่องของต้นกล้ายาง การสร้างโรงอัดยางแท่ง โครงการยางเอื้ออาทร โครงการเซ็นทรัลแล็ป ซึ่ง คตส.ก็ตรวจสอบอยู่ โดยเฉพาะโครงการพืชสวนโลกที่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเป็นการกำหนดนโยบายอย่างเร่งรีบของฝ่ายการเมืองที่มีการบังคับให้เขียนทีโออา ซึ่งหน่วงงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯในการกำหนดโครงการทั้งหมดไม่มีความพร้อม ซึ่งตัวละครทั้งหมดพบว่าเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน ตั้งแต่การริเริ่มโครงการจนถึงการทำทีโออาร์”แหล่งข่าวกล่าว
**โต้ คตส. ยันไม่ได้แตะถ่วง
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ นายสัก กอแสงเรือง โฆษกและ กรรมการ คตส.ออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือสอบถามและข้อมูลจากสำนักงานอัยการสูงสุด รวม 12 เรื่องแต่ยังไม่ได้รับคำตอบว่า ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้รับหนังสือดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ไม่ใช่วันที่ 31 ต.ค. ตามที่ โฆษก คตส.ออก มาให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด ยืนยันว่า หลังได้รับหนังสือได้ประสานไปยังสำนักงานอัยการฝ่ายคดีต่าง ประเทศเพื่อขอข้อมูลเรื่องซีทีเอ็กซ์ ที่ทางการสหรัฐอเมริกาตอบกลับมา เพื่อส่ง มอบให้กับ คตส.แล้ว ซึ่งคาดจะสามารถส่งข้อมูลได้ในวันที่ 9 พ.ย. นี้
ด้าน นายอภิชาติ ถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและคดี ปปง. เปิดเผยว่า ปปง.ไม่เคยได้รับการประสานข้อมูลจาก คตส.แต่ได้รับประสานขอข้อมูลจากคณะมนตรีฯ โดยหนังสือดังกล่าว ส่งถึง ปปง.เย็นวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมาซึ่งในวันดังกล่าว ปปง.ไม่สามารถส่งข้อมูลให้ทัน จึงส่งข้อมูลทางโทรสารไปให้คณะมนตรีฯ ในช่วงเช้าวันนี้ ( 7 พ.ย.) เป็นข้อมูลรายละเอียดคดีทุจริตลำไย ซึ่ง ปปง.ได้ยึดอายัดทรัพย์ และส่งฟ้องคดีให้ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดกรณีการปล่อยเงินกู้ของธนาคารกรุงไทย ส่วนในเรื่องอื่น ๆ เช่น กรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ยังไม่เคยมีหน่วยงานใดส่งข้อมูลให้กับ ปปง.จึงยังไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูล ปปง.ที่ผ่านมา ปปง.ได้ขอเอกสารกรณีดังกล่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุดในประเด็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สั่งปรับ บริษัท จีอี อินวิชั่น เนื่องจากมีการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ไทย แต่หนังสือจากสหรัฐกลับระบุว่าไม่มีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ไทยแต่อย่างใด
นายอภิชาติ กล่าวอีกว่า กรณีซีทีเอ็กซ์ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งประเด็นสอบสวนไว้อีก 2 เรื่อง คือ การซื้อเพิ่มเครื่องซีทีเอ็กซ์จาก 20 เครื่อง เป็น 30-40 เครื่อง ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างอย่างไรและประเด็นที่ไม่ยอมสั่งซื้อตรงจากบริษัทผู้ผลิต แต่กลับซื้อผ่านตัวแทนขายและยังซื้อได้ในราคาเท่ากัน ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นยังไม่มีหน่วยงานใดประสานข้อมูลมายัง ปปง. ทั้งนี้ ในการตรวจธุรกรรมการเงิน กฎหมายฟอกเงินระบุชัดว่าแม้จะเป็นการดำเนินการในทางลับ แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ทันที โดยจะต้องนำหลักฐานการกระทำความผิดตามมูลฐานฟอกเงินส่งให้คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ตรวจสอบและอนุมัติให้ตรวจสอบธุรกรรมการเงินเสียก่อน
ทั้งนี้ คตส.มีอำนาจหน้าที่เท่ากับ ปปง.สามารถเรียกประชุมและตรวจสอบหลักฐานในฐานะคณะกรรมการธุรกรรมการเงินได้เอง หากมีหลักฐานแน่ชัดก็สามารถสั่งการให้ ปปง.ตรวจสอบธุรกรรมได้ทันที ซึ่ง ปปง.เองก็ยินดีให้ความร่วมมือ กับทุกหน่วยงานภายใต้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงแต่ที่ผ่านมา ปปง.ยังไม่เคยได้รับการติดต่อจาก คตส.
**ป.ป.ช.เด้งรับคมช.เร่งปราบโกง
นายศราวุธ เมนะเสวต เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้หยิบยกเรื่องที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 39 เรื่อง ขึ้นมาพิจารณา โดยให้ข้อกล่าวหาตกไปจำนวน 38 เรื่อง และพิจารณาชี้มูล 1 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องระดับเจ้าหน้าที่ธุรการของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ขโมยใบเสร็จ ทศท.และเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้โทรศัพท์ซึ่งเป็นค่าสายเกินจำนวน 61 ราย เป็นเงิน 3.2 แสนบาท ไปใช้ส่วนตัว
กรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ดันเรื่องการปราบปรามทุจริตขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ นายศราวุธ กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้หารือโดยจะปรับกระบวนการทำงานใหม่ อาจจะต้องเพิ่มวันประชุม จากเดิมที่ประชุมทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี ให้ประชุมทุกวัน เช้า-บ่าย เพื่อให้การพิจารณาเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะสามารถพิจารณาเรื่องที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวนเกือบ 3,000 เรื่องได้เสร็จสิ้น โดยเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ระดับธรรมดา ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือนักการเมืองจะต้องเสนอแยกกันต่างหาก
เมื่อถามถึงเหตุการณ์การขู่วางระเบิดสำนักงาน ป.ป.ช.เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ไม่มีอะไรรุนแรง ซึ่งได้ยินแต่คนพูด แต่ไม่มีอะไรจริงจัง
ด้านนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวยอมรับว่า ในช่วงเช้ามีการโทรศัพท์เข้ามาข่มขู่ว่าวางระเบิดจริง แต่ส่วนตัวคิดว่าเป็นพวกโรคจิต เมื่อถามว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีอดีตประธานกรรมการบริหาร อดีตกรรมการผู้จัดการ อดีตกรรมการบริหาร และพนักงานระดับสูง ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรณีให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ นายภักดี ปฏิเสธว่า คงไม่เกี่ยวกัน ส่วนที่ผู้ก่อกวนโทรศัพท์มาหน้าห้องตนนั้น เข้าใจว่า น่าจะเป็นการสุ่มโทรธรรมดา ไม่ได้เจาะจงต่อเบอร์มาที่ห้องตน
** จี้สอบค่าโง่ ทศท. 8 หมื่นล้าน
นาย เชียรช่วง กัลยาณมิตร กรรมการบริหาร บริษัทสเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนพร้อมมอบข้อมูลหลักฐานต่อโดยมีนาย แก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. กรณีองค์การโทรศัพท์ หรือบริษัททศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาสัมปทานโทรศัพท์ กับบริษัทแอ๊ดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส หรือ เอไอเอส ในลักษณะเอื้อฃประโยชน์ให้ภาคเอกชนเป็นเหตุให้รัฐสูญเสียรายได้ไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท โดยขอให้นำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเข้าเป็น 1 ในโครงการตรวจสอบของ คตส. ด้วย