ยิ่งสาวยิ่งเจ๊ง ผลงานยุคแม้วทำกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรบักโกรก ขาดทุนยับค้างหนี้ 1.7 หมื่นล้านบาท รวมกว่า 22 โครงการ "หม่อมอุ๋ย" หวั่นขาดทุนต่อเนื่อง เตรียมชง ครม.ตั้งงบชดเชยใหม่ แฉลำไยอบแห้งปี 47 กว่า 9 หมื่นตัน มูลค่าลดวูบจาก 2,000 กว่าล้านเหลือแค่ 800 ล้าน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า รัฐบาลเป็นห่วงการดำเนินงานของกองทุนรวมช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อย่างมาก โดยปัจจุบัน คชก. มีภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ยังค้างชำระหนี้รวม 22 โครงการ วงเงิน 94,013.17 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการที่ดำเนินงานระหว่างปี 42-43-46/47 จำนวน 11 โครงการ และ ปี 47-49 จำนวน 11 โครงการ เบื้องต้นพบว่า คชก.ประสบปัญหาขาดทุนและไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ 17,416.53 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องขอจัดสรรงบประมาณชดเชยต่อไป
ทั้งนี้ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการคชก. แสดงความเป็นห่วงเรื่องนี้มาก เพราะสถานะกองทุนฯ มีภาระผูกพันสูง เงินงบประมาณประจำที่ได้รับมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการได้ จึงกำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำเรื่องเร่งด่วนเสนอให้ ที่ประชุม ครม.พิจารณา แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ในปีนี้จำเป็นต้องใช้งบประมาณดำเนินการ วงเงินการชดเชยเรื่องต่างๆ และหนี้ ธ.ก.ส. ต้องชดใช้คืนเป็นรายปี เป็นต้น
"เดิมโครงการที่ดำเนินการระหว่างปี 42/43-46/47 มีภาระหนี้ค้าง 23,893.5 ล้านบาท ครม.จึงมีมติเมื่อ 19 ก.ค. 48 อนุมัติงบประมาณชำระหนี้ระยะเวลา 5 ปี (49-53) วงเงิน 17,465.8 ล้านบาทแล้ว แต่ยังค้างชำระอีก 6,427.7 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่ามีเงินจากการขายสินค้าตามโครงการที่รับจำนำอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ มาจ่ายหนี้ ธ.ก.ส.ได้ 1,362.995 ล้านบาท จึงขาดทุน 5,064.705 ล้านบาท ขณะที่ช่วงปี 47-49 ค้างชำระหนี้ 87,585.47 ล้านบาท แต่คาดว่าจะได้เงินจากการจำหน่ายสินค้าได้ 75,233.645 ล้านบาท ทำให้ขาดทุน 12,351.825 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้ง 2 ปีทำให้กองทุนรวมฯ ต้องขอเงินชดเชยแก่ ธ.ก.ส. 17,416.53 ล้านบาท" แหล่งข่าวให้ข้อมูล
สำหรับข้อมูลของลูกหนี้กองทุนรวมฯ ในเดือน ต.ค.จำนวน 84 โครงการ วงเงิน 7,999.254 ล้านบาท พบว่ามีโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาแล้วยังค้างส่งคืนเงินและปิดบัญชีโครงการ 33 โครงการ วงเงิน 1,624.451 ล้านบาท แบ่งเป็น ค้างชำระหนี้น้อยกว่า 1 ปี 6 โครงการ, ค้างชำระ 1-3 ปี 7 โครงการ และ ค้างเกิน 3 ปี 20 โครงการ นอกจากนี้กองทุนอยู่ระหว่างดำเนินคดีลูกหนี้ 22 โครงการ วงเงิน 347.659 ล้านบาท และ อยู่ระหว่างการดำเนิน 29 โครงการ วงเงิน 6,027.144 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ได้รายงานว่าปัจจุบันมีโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการติดตามชำระหนี้คืนกองทุนรวมฯ ได้ เช่น ลูกหนี้หายสาบสูญ, ล้มละลาย หรือ กรณีที่ฟ้องร้องดำเนินคดี มีการขอเจรจาประนอมหนี้ของลูกหนี้ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้การเร่งรัดหนี้ในกลุ่มดังกล่าวสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น คณะอนุกรรมการเร่งรัดติดตามการชำระหนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญ หรือ การไกล่เกลี่ย แล้วเสนอให้คณะกรรมการคชก.ได้พิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุม คชก.รับทราบรายงานในฤดูการผลิตสินค้าเกษตร ปี 49/50 โดยผลผลิตเกษตรส่วนใหญ่มีปริมาณเพิ่มสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้าเกษตรบางกลุ่ม พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการรองรับ คือ กลุ่มสินค้าที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ที่มีปัญหาราคาลดลง กลุ่มสินค้าที่ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดกาแฟ ซึ่งแม้ราคาจะอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ห่วงกรณีที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินไป และ กลุ่มที่ต้องติดตามสถานการณ์ปกติ เช่น พืชผัก หอม กระเทียม ผลไม้ ซึ่งมีราคาสูง แต่จะปรับตัวหลังภาวะน้ำคลี่คลายลง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า งบประมาณในกองทุน คชก.ยังคงสร้างปัญหามาตลอดในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะในช่วงที่นายพินิจ จารุสมบัติ และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกฯที่กำกับคชก. ก็รับทราบมาโดยตลอดว่า กองทุนใน คชก.มีปัญหามีการเงินในการรับจำนำสินค้าเกษตรของเกษตรกร ทั้งเรื่องของลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กาแฟ และกุ้ง เป็นต้น
ขณะที่ล่าสุด ฝ่ายเลขา คชก.ยังเสนอเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเสนอขออนุมัติค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ดอกเบี้ยเงินกู้)และขอลดภาระหนี้สินโครงการรับซื้อลำไยสดเพื่อการแปรรูปและการตลาดลำไยอบแห้ง ปี 47 ที่เป็นลำไยอบแห้งที่รับจำนำไว้มีค่าใช้จ่ายดำเนินการและภาระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.49 จำนวน 5,134 ล้านบาท แต่ทางคชก.ไม่อนุมัติ เนื่องจากพบว่า มูลค่าลำไยของปี 47 ลดลงเหลือเพียง 800 ล้านบาทเศษ จากลำไยอบแห้งในโครงการ 94,000 ตัน มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ที่รับมอบไปแล้ว 44,000 ตัน แต่ยังไม่มีการจำหน่าย และอีก 50,000 ตัน ที่ยังไม่ได้รับมอบซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินคดีกับผู้เข้าร่วมโครงการ(ทุจริต ลำไยปี47) ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ต้องมีภาระในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ปีละ 300 ล้านบาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 6.50 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม คชก.ได้ขอให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งระบายสินค้าในสต๊อกทั้งหมดเพื่อใช้หนี้ และหากระบายไม่ทันก็ขอให้เสนอกระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ชำระเงินคืนสถาบันการเงิน เนื่องจาก คชก.ยังขาดเงินในการดำเนินการ
อนึ่ง ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ได้ใช้กองทุน คชก. เพื่อหวังผลทางการเมืองหลายโครงการ เช่น กรณีการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ชาวสวนลำไยที่จังหวัดเชียงราย เพื่อสกัดการชุมนุมประท้วงในโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางลงพื้นที่เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 49 ซึ่งก่อนหน้าไม่นาน มีเหตุการณ์ชาวสวนลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย รวมตัวประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มเพดานรับจำนำลำไยจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 1,200 ตันเท่านั้น
การใช้งบ คชก. เป็น "งบดับเพลิง" สกัดม็อบข้าว, ม็อบมันฯ, ม็อบกุ้ง, ม็อบยางพารา เป็นวิธีการที่รัฐบาลนิยมใช้มากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ผลได้คะแนนเสียงทางการเมืองแล้ว ผลประโยชน์จากโครงการรับจำนำผลิตผลต่างๆ ยังถูกหว่านโปรยไปตามเส้นสายหัวคะแนนเพื่อยึดกุมฐานเสียงโดยเฉพาะในยุครัฐบาลประชานิยม
นอกเหนือจากการใช้เงิน คชก. เพื่อเข้าอุ้มราคาผลผลิตด้านการเกษตรที่ตกต่ำ เช่น มันสำปะหลัง กาแฟ ข้าว กุ้งกุลาดำ ลำไย ฯลฯ ซึ่งเป็นไปโดยขาดการบริหารจัดการที่ดีซ้ำยังมีกระแสข่าวการทุจริตอยู่บ่อยครั้ง ดังกรณีโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 47 ที่พัวพันถึงนักการเมืองเครือญาติตระกูล ชินวัตร แล้ว คชก. ยังให้แก่หน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กู้ยืมเพื่อสร้างโครงการโดยมีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกร เช่น โรงยางอัดก้อน มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท กว่า 146 แห่ง แต่โรงอัดยางเหล่านี้กลับถูกทิ้งร้างอยู่ทั่วประเทศเพราะสถาบันเกษตรกรไม่ยอมรับมอบเพราะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนและไม่อยากรับสภาพหนี้ เป็นต้น
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า รัฐบาลเป็นห่วงการดำเนินงานของกองทุนรวมช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อย่างมาก โดยปัจจุบัน คชก. มีภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ยังค้างชำระหนี้รวม 22 โครงการ วงเงิน 94,013.17 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการที่ดำเนินงานระหว่างปี 42-43-46/47 จำนวน 11 โครงการ และ ปี 47-49 จำนวน 11 โครงการ เบื้องต้นพบว่า คชก.ประสบปัญหาขาดทุนและไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ 17,416.53 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องขอจัดสรรงบประมาณชดเชยต่อไป
ทั้งนี้ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการคชก. แสดงความเป็นห่วงเรื่องนี้มาก เพราะสถานะกองทุนฯ มีภาระผูกพันสูง เงินงบประมาณประจำที่ได้รับมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการได้ จึงกำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำเรื่องเร่งด่วนเสนอให้ ที่ประชุม ครม.พิจารณา แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ในปีนี้จำเป็นต้องใช้งบประมาณดำเนินการ วงเงินการชดเชยเรื่องต่างๆ และหนี้ ธ.ก.ส. ต้องชดใช้คืนเป็นรายปี เป็นต้น
"เดิมโครงการที่ดำเนินการระหว่างปี 42/43-46/47 มีภาระหนี้ค้าง 23,893.5 ล้านบาท ครม.จึงมีมติเมื่อ 19 ก.ค. 48 อนุมัติงบประมาณชำระหนี้ระยะเวลา 5 ปี (49-53) วงเงิน 17,465.8 ล้านบาทแล้ว แต่ยังค้างชำระอีก 6,427.7 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่ามีเงินจากการขายสินค้าตามโครงการที่รับจำนำอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ มาจ่ายหนี้ ธ.ก.ส.ได้ 1,362.995 ล้านบาท จึงขาดทุน 5,064.705 ล้านบาท ขณะที่ช่วงปี 47-49 ค้างชำระหนี้ 87,585.47 ล้านบาท แต่คาดว่าจะได้เงินจากการจำหน่ายสินค้าได้ 75,233.645 ล้านบาท ทำให้ขาดทุน 12,351.825 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้ง 2 ปีทำให้กองทุนรวมฯ ต้องขอเงินชดเชยแก่ ธ.ก.ส. 17,416.53 ล้านบาท" แหล่งข่าวให้ข้อมูล
สำหรับข้อมูลของลูกหนี้กองทุนรวมฯ ในเดือน ต.ค.จำนวน 84 โครงการ วงเงิน 7,999.254 ล้านบาท พบว่ามีโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาแล้วยังค้างส่งคืนเงินและปิดบัญชีโครงการ 33 โครงการ วงเงิน 1,624.451 ล้านบาท แบ่งเป็น ค้างชำระหนี้น้อยกว่า 1 ปี 6 โครงการ, ค้างชำระ 1-3 ปี 7 โครงการ และ ค้างเกิน 3 ปี 20 โครงการ นอกจากนี้กองทุนอยู่ระหว่างดำเนินคดีลูกหนี้ 22 โครงการ วงเงิน 347.659 ล้านบาท และ อยู่ระหว่างการดำเนิน 29 โครงการ วงเงิน 6,027.144 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ได้รายงานว่าปัจจุบันมีโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการติดตามชำระหนี้คืนกองทุนรวมฯ ได้ เช่น ลูกหนี้หายสาบสูญ, ล้มละลาย หรือ กรณีที่ฟ้องร้องดำเนินคดี มีการขอเจรจาประนอมหนี้ของลูกหนี้ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้การเร่งรัดหนี้ในกลุ่มดังกล่าวสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น คณะอนุกรรมการเร่งรัดติดตามการชำระหนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญ หรือ การไกล่เกลี่ย แล้วเสนอให้คณะกรรมการคชก.ได้พิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุม คชก.รับทราบรายงานในฤดูการผลิตสินค้าเกษตร ปี 49/50 โดยผลผลิตเกษตรส่วนใหญ่มีปริมาณเพิ่มสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้าเกษตรบางกลุ่ม พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการรองรับ คือ กลุ่มสินค้าที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ที่มีปัญหาราคาลดลง กลุ่มสินค้าที่ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดกาแฟ ซึ่งแม้ราคาจะอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ห่วงกรณีที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินไป และ กลุ่มที่ต้องติดตามสถานการณ์ปกติ เช่น พืชผัก หอม กระเทียม ผลไม้ ซึ่งมีราคาสูง แต่จะปรับตัวหลังภาวะน้ำคลี่คลายลง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า งบประมาณในกองทุน คชก.ยังคงสร้างปัญหามาตลอดในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะในช่วงที่นายพินิจ จารุสมบัติ และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกฯที่กำกับคชก. ก็รับทราบมาโดยตลอดว่า กองทุนใน คชก.มีปัญหามีการเงินในการรับจำนำสินค้าเกษตรของเกษตรกร ทั้งเรื่องของลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กาแฟ และกุ้ง เป็นต้น
ขณะที่ล่าสุด ฝ่ายเลขา คชก.ยังเสนอเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเสนอขออนุมัติค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ดอกเบี้ยเงินกู้)และขอลดภาระหนี้สินโครงการรับซื้อลำไยสดเพื่อการแปรรูปและการตลาดลำไยอบแห้ง ปี 47 ที่เป็นลำไยอบแห้งที่รับจำนำไว้มีค่าใช้จ่ายดำเนินการและภาระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.49 จำนวน 5,134 ล้านบาท แต่ทางคชก.ไม่อนุมัติ เนื่องจากพบว่า มูลค่าลำไยของปี 47 ลดลงเหลือเพียง 800 ล้านบาทเศษ จากลำไยอบแห้งในโครงการ 94,000 ตัน มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ที่รับมอบไปแล้ว 44,000 ตัน แต่ยังไม่มีการจำหน่าย และอีก 50,000 ตัน ที่ยังไม่ได้รับมอบซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินคดีกับผู้เข้าร่วมโครงการ(ทุจริต ลำไยปี47) ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ต้องมีภาระในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ปีละ 300 ล้านบาท ตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 6.50 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม คชก.ได้ขอให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งระบายสินค้าในสต๊อกทั้งหมดเพื่อใช้หนี้ และหากระบายไม่ทันก็ขอให้เสนอกระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ชำระเงินคืนสถาบันการเงิน เนื่องจาก คชก.ยังขาดเงินในการดำเนินการ
อนึ่ง ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ได้ใช้กองทุน คชก. เพื่อหวังผลทางการเมืองหลายโครงการ เช่น กรณีการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ชาวสวนลำไยที่จังหวัดเชียงราย เพื่อสกัดการชุมนุมประท้วงในโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางลงพื้นที่เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 49 ซึ่งก่อนหน้าไม่นาน มีเหตุการณ์ชาวสวนลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย รวมตัวประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มเพดานรับจำนำลำไยจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 1,200 ตันเท่านั้น
การใช้งบ คชก. เป็น "งบดับเพลิง" สกัดม็อบข้าว, ม็อบมันฯ, ม็อบกุ้ง, ม็อบยางพารา เป็นวิธีการที่รัฐบาลนิยมใช้มากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ผลได้คะแนนเสียงทางการเมืองแล้ว ผลประโยชน์จากโครงการรับจำนำผลิตผลต่างๆ ยังถูกหว่านโปรยไปตามเส้นสายหัวคะแนนเพื่อยึดกุมฐานเสียงโดยเฉพาะในยุครัฐบาลประชานิยม
นอกเหนือจากการใช้เงิน คชก. เพื่อเข้าอุ้มราคาผลผลิตด้านการเกษตรที่ตกต่ำ เช่น มันสำปะหลัง กาแฟ ข้าว กุ้งกุลาดำ ลำไย ฯลฯ ซึ่งเป็นไปโดยขาดการบริหารจัดการที่ดีซ้ำยังมีกระแสข่าวการทุจริตอยู่บ่อยครั้ง ดังกรณีโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 47 ที่พัวพันถึงนักการเมืองเครือญาติตระกูล ชินวัตร แล้ว คชก. ยังให้แก่หน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กู้ยืมเพื่อสร้างโครงการโดยมีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกร เช่น โรงยางอัดก้อน มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท กว่า 146 แห่ง แต่โรงอัดยางเหล่านี้กลับถูกทิ้งร้างอยู่ทั่วประเทศเพราะสถาบันเกษตรกรไม่ยอมรับมอบเพราะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนและไม่อยากรับสภาพหนี้ เป็นต้น