ตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยนั้น พรรคการเมืองเป็นสถาบันหลัก วิวัฒนาการของประชาธิปไตยตะวันตกทำให้พรรคการเมืองมีฐานการสนับสนุนที่กว้างขวาง และสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ระบบผู้นำพรรคมีลักษณะกระจายตัวมากกว่าการกระจุกตัว ในหลายประเทศผู้นำพรรคมีอำนาจพอๆ กับผู้นำรัฐบาล ที่สำคัญคือ ผู้นำรัฐบาลไม่ใช่ผู้ควบคุมพรรค
สำหรับประเทศไทยนั้น พรรคเกิดจากผู้นำและล่มสลายไปพร้อมกับผู้นำ ระบบผู้นำมีลักษณะรวมศูนย์สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมน้อย ที่สำคัญก็คือ ส.ส.ของพรรคไม่มีบทบาทมาก และถูกจำกัดบทบาททางการเมือง
การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคเกิดจากความคิดของนักวิชาการที่ต้องการให้พรรคการเมืองเติบโตเร็ว และเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาพรรคการเมือง ประสบการณ์การเมืองไทยชี้ให้เห็นว่า พรรคการเมืองก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนั้น พรรคยังเป็นแหล่งหาเงินที่สำคัญอีกด้วย
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ควรคิดแค่การไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค หากควรพิจารณาอย่างจริงๆ จังๆ ว่าควรให้มี ส.ส. 2 ประเภทหรือไม่ คือ ส.ส.ประเภทสังกัดพรรคการเมืองกับ ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยให้มีจำนวนเท่าๆ กัน หากมี ส.ส.สองประเภทนี้แล้ว คนดีๆ ก็คงจะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกมาก
การมี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคจะมีผลทำให้อำนาจพรรคการเมือง และตัวผู้นำไม่สามารถครอบงำสภาผู้แทนราษฎรได้ทั้งหมด อาจมีผู้เกรงว่า ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคจะถูกซื้อตัว ซึ่งก็สามารถมีมาตรการป้องกันได้ การมี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคนี้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ของไทยเราได้
การที่จะให้ ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรค มีคุณประโยชน์ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งไม่ให้มีการใช้เงินมาก นอกจากนั้น ส.ส.ประเภทนี้ก็จะแข่งกันเอง ที่สำคัญก็คือแล้วพรรคการเมืองยังจะแอบสนับสนุน ส.ส.ประเภทนี้เหมือนกับที่แอบสนับสนุนวุฒิสมาชิกได้หรือไม่ ดังนั้น เพื่อป้องกันเรื่องนี้ จึงควรหาวิธีการเลือกตั้งอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมก็ได้ หรือจะให้มีการคัดสรรผู้สมัคร โดยองค์กรที่เป็นกลางก็ได้
นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า หากไม่มี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรค เราจะให้มี ส.ส.ประเภทที่มาจากกลุ่มอาชีพหรือไม่ เพราะกลุ่มอาชีพและวิชาชีพก็มีการเลือกตัวแทนกลุ่มอยู่แล้ว หากมีจะให้มีสัดส่วนเท่าใด ควรเป็นครึ่งต่อครึ่งหรือไม่ เวลานี้เรามีองค์กรเอกชนอาสาสมัครมากขึ้น แต่ละองค์กรก็มีบทบาทสำคัญ หากเข้าไปอยู่ในสภาโดยตรงก็ไม่ต้องอาศัยตัวกลางคอยล็อบบี้กฎหมายต่างๆ
การตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติเมื่อเร็วๆ นี้ ก็อาศัยแนวทางเช่นเดียวกัน คือตั้งคนจากกลุ่มต่างๆ ให้เข้ามาร่วมกันทำหน้าที่นิติบัญญัติ
ข้อเสนอเหล่านี้ควรมีการพูดคุยถกเถียงกันต่อ อย่างน้อยก็ยังเป็นเรื่องที่หลีกหนีจากการมีระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ เราจะนำประสบการณ์ และภูมิปัญญาของเรามาใช้ได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในสังคมที่วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยเป็นแบบไร้รากจากประชาชน ประชาชนเองต้องเผชิญกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายแจกจ่ายเงินและสวัสดิการให้ แต่ก็มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงควบคู่ไปด้วย การมีนโยบายประชานิยมนี้ต่างไปจากนโยบายรัฐสวัสดิการ เพราะรัฐสวัสดิการไม่ได้มีการเอาคืนด้วยการโกง และเป็นรัฐสวัสดิการได้ก็ด้วยมีการเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง
ในด้านสิทธิเสรีภาพ สังคมไทยได้ยอมรับสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่แล้ว ปัญหาหลักอยู่ที่การควบคุมตรวจสอบเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารเป็นสำคัญ เราพบว่าองค์กรอิสระไม่อาจทำงานได้อย่างเที่ยงตรง เพราะมีการแทรกแซงได้จากฝ่ายบริหาร หากจะยังมีองค์กรอิสระไว้ต่อไป เรื่องการสรรหาและการแต่งตั้งก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุด และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ระบอบประชาธิปไตยต้องการเวลา การเรียนรู้ของประชาชนมีความสำคัญ โดยเฉพาะการรู้ข้อมูลข่าวสาร และการหวงแหนสิทธิในการเลือกตั้ง ว่ามีค่า ไม่สมควรขายสิทธิ การให้การศึกษาจะช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และการเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แม้จะต้องใช้เวลานานหน่อยก็ตาม
สำหรับประเทศไทยนั้น พรรคเกิดจากผู้นำและล่มสลายไปพร้อมกับผู้นำ ระบบผู้นำมีลักษณะรวมศูนย์สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมน้อย ที่สำคัญก็คือ ส.ส.ของพรรคไม่มีบทบาทมาก และถูกจำกัดบทบาททางการเมือง
การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคเกิดจากความคิดของนักวิชาการที่ต้องการให้พรรคการเมืองเติบโตเร็ว และเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาพรรคการเมือง ประสบการณ์การเมืองไทยชี้ให้เห็นว่า พรรคการเมืองก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนั้น พรรคยังเป็นแหล่งหาเงินที่สำคัญอีกด้วย
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ควรคิดแค่การไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค หากควรพิจารณาอย่างจริงๆ จังๆ ว่าควรให้มี ส.ส. 2 ประเภทหรือไม่ คือ ส.ส.ประเภทสังกัดพรรคการเมืองกับ ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยให้มีจำนวนเท่าๆ กัน หากมี ส.ส.สองประเภทนี้แล้ว คนดีๆ ก็คงจะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกมาก
การมี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคจะมีผลทำให้อำนาจพรรคการเมือง และตัวผู้นำไม่สามารถครอบงำสภาผู้แทนราษฎรได้ทั้งหมด อาจมีผู้เกรงว่า ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคจะถูกซื้อตัว ซึ่งก็สามารถมีมาตรการป้องกันได้ การมี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรคนี้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ของไทยเราได้
การที่จะให้ ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรค มีคุณประโยชน์ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งไม่ให้มีการใช้เงินมาก นอกจากนั้น ส.ส.ประเภทนี้ก็จะแข่งกันเอง ที่สำคัญก็คือแล้วพรรคการเมืองยังจะแอบสนับสนุน ส.ส.ประเภทนี้เหมือนกับที่แอบสนับสนุนวุฒิสมาชิกได้หรือไม่ ดังนั้น เพื่อป้องกันเรื่องนี้ จึงควรหาวิธีการเลือกตั้งอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมก็ได้ หรือจะให้มีการคัดสรรผู้สมัคร โดยองค์กรที่เป็นกลางก็ได้
นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า หากไม่มี ส.ส.ประเภทไม่สังกัดพรรค เราจะให้มี ส.ส.ประเภทที่มาจากกลุ่มอาชีพหรือไม่ เพราะกลุ่มอาชีพและวิชาชีพก็มีการเลือกตัวแทนกลุ่มอยู่แล้ว หากมีจะให้มีสัดส่วนเท่าใด ควรเป็นครึ่งต่อครึ่งหรือไม่ เวลานี้เรามีองค์กรเอกชนอาสาสมัครมากขึ้น แต่ละองค์กรก็มีบทบาทสำคัญ หากเข้าไปอยู่ในสภาโดยตรงก็ไม่ต้องอาศัยตัวกลางคอยล็อบบี้กฎหมายต่างๆ
การตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติเมื่อเร็วๆ นี้ ก็อาศัยแนวทางเช่นเดียวกัน คือตั้งคนจากกลุ่มต่างๆ ให้เข้ามาร่วมกันทำหน้าที่นิติบัญญัติ
ข้อเสนอเหล่านี้ควรมีการพูดคุยถกเถียงกันต่อ อย่างน้อยก็ยังเป็นเรื่องที่หลีกหนีจากการมีระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ เราจะนำประสบการณ์ และภูมิปัญญาของเรามาใช้ได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในสังคมที่วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยเป็นแบบไร้รากจากประชาชน ประชาชนเองต้องเผชิญกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายแจกจ่ายเงินและสวัสดิการให้ แต่ก็มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงควบคู่ไปด้วย การมีนโยบายประชานิยมนี้ต่างไปจากนโยบายรัฐสวัสดิการ เพราะรัฐสวัสดิการไม่ได้มีการเอาคืนด้วยการโกง และเป็นรัฐสวัสดิการได้ก็ด้วยมีการเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง
ในด้านสิทธิเสรีภาพ สังคมไทยได้ยอมรับสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่แล้ว ปัญหาหลักอยู่ที่การควบคุมตรวจสอบเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารเป็นสำคัญ เราพบว่าองค์กรอิสระไม่อาจทำงานได้อย่างเที่ยงตรง เพราะมีการแทรกแซงได้จากฝ่ายบริหาร หากจะยังมีองค์กรอิสระไว้ต่อไป เรื่องการสรรหาและการแต่งตั้งก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุด และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ระบอบประชาธิปไตยต้องการเวลา การเรียนรู้ของประชาชนมีความสำคัญ โดยเฉพาะการรู้ข้อมูลข่าวสาร และการหวงแหนสิทธิในการเลือกตั้ง ว่ามีค่า ไม่สมควรขายสิทธิ การให้การศึกษาจะช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และการเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แม้จะต้องใช้เวลานานหน่อยก็ตาม