“โฆสิต” ยกเครื่องใหม่ผู้ว่าซีอีโอ เปลี่ยนทั้งชื่อและการทำงาน ระบุผู้ว่าฯต้องมีบทบาทที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใน 2 มิติ โดยให้มีหน้าที่ประสานงานกับส่วนภูมิภาคเพื่อให้บูรณาการเป็นทีมกับส่วนราชการทุกแห่งในภูมิภาค และทำงานสังคมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส สั่งถอนบทบาทด้านเศรษฐกิจให้เป็นไปตามกลไกตลาด สนับสนุนเอกชนดำเนินการเอง เผยแผนปรับกระทรวง ทบวง กรม ส่งคืนเจ้ากระทรวง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นพ้องกันว่าจะต้องปรับบทบาท การทำงานของผู้ราชการจังหวัดแบบบูรณาการ โดยจะไม่ใช่คำว่า “ผู้ว่าซีอีโอ” แล้ว ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่คาดว่าจะสามารถเปิดเผยได้เร็วๆ นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องกระทันหัน อย่างไรก็ตามจะคงชื่อ “ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัด” ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอไว้ ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ขึ้นมาใช้ก่อน
ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัด จะต้องมีบทบาทที่สอดคล้องกับนโบายรัฐบาลใน 2 มิติ คือ 1.สถานะที่จะต้องประสานงานกับส่วนภูมิภาค โดยบูรณาการเป็นทีมกับส่วนราชการทุกแห่งในภูมิภาค เพื่อจัดให้มีการเชื่อมโยงประสานงานภายในจังหวัด และ 2.ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจ 3 เรื่อง ได้แก่ การปรับปรุงบริการให้กับประชาชน การให้การสงเคระห์กับผู้ที่ควรสงเคราะห์ โดยเฉพาะผู้ยากจน และดูแลทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่อยู่ในความดูแล ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะรับไปทำรายละเอียดบทบาทที่ปรับเปลี่ยนไป
นายโฆสิต กล่าวว่า ต่อไปบทบาทในการจัดสรรงบประมาณและประเมินผลงานจะไม่ใช่จุดเน้นน้ำหนัก แต้จะเน้นที่การประสานงานภูมิภาค และภาระที่ดูแลชุมชนองค์กรท้องถิ่น รวมทั้งยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด(คัสเตอร์) 19 ข้อ ก็จะยังคงเป็นภาระของจังหวัดนั้น ๆ แต่จะจัดสรรให้ชัดเจนใน 2 มิติ ซึ่ง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาภารกิจ ซึ่งยุทธศาสตร์จะเป็นไปตามที่เห็นชอบกับกระทรวงต่าง ๆในระดับภูมิภาค เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน ฯลฯ
“ผมไม่อยากเห็นว่ามีหลายแผน ไม่ใช่กระทรวงหนึ่งมีแผนหนึ่ง ภูมิภาคหรือจังหวัดจะต้องมีแผนเดียว ทุกกระทรวงก็จะต้องมีแผนที่ตรงกับจังหวัด ผมอยากเห็นอย่างนั้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ประสานงาน” นายโฆสิต กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมยังเห็นว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะดำเนินการของจัดตั้งองค์กรมหาชนต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือ องค์กรมหาชนจะต้องมีความจำเป็นและมีหลักคิดที่แน่นอนว่าเป็นองค์กรที่มีประโยชน์ที่จะทำให้การบริการของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยราชการ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะรีบนำไปดำเนินการและจัดทำให้เรียบร้อย
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบใหม่ จะต้องเน้นน้ำหนักดูแลผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในเชิงรุกในด้านเศรษฐกิจ ก็จะต้องให้ภาคเอกชน เข้ามารับผิดชอบในกลไกตลาด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องถอยบทบาทตัวเองออกมาเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนมากกว่า ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงไปทำเอง ยกเว้นระบบตลาดไม่สามารถเข้าไปทำหน้าที่ได้
ส่วนนโยบายเดิมของรัฐบาลที่แล้ว ที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัดมีหน้าที่ผลักดันสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ อย่างนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดระหว่างรัฐกับรัฐ ( G to G) หน้าที่นั้นก็จะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐในจังหวัด มากกว่าที่จะเข้ามามีบทบาทในการนำ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ส่วนประเด็นอื่น ๆ ในรัฐบาลเดิม ที่มีการร่างกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งหมด 92 มาตรา ก็จะเสนอกลับไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีในประเด็นที่ควรแก้ไขเท่านั้น ส่วนการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ที่รัฐบาลเดิมทำไว้ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ก็จะต้องส่งกลับไปขอความยืนยันจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามถึงการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย ที่ผ่านมามีการย้ายล้างบางจน นายสุขุมรัฏฐ์ สาริบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ น้อยใจ จนยื่นใบลาออก เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ทาง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้ส่งผลการประเมินให้กระทรวงมหาดไทยไปแล้ว โดยการประเมินผลการแต่งตั้งโยกย้ายของกระทรวงมหาดไทย คงจะใช้ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ ไม่ใช่ผลการประเมินจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพียงอย่างเดียว
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้รับผิดชอบในการสรรหาตัวแทนจากองค์การมหาชนต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นสมัชชาแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า จะเชิญผู้อำนวยการองค์การมหาชนทั้งหมด 27 แห่งมาประชุม เพื่อคัดเลือกกันเองให้ได้ตัวแทน 1 คน ไปเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ในวันที่ 13 พฤษจิกายนนี้ และจะส่งรายชื่อไปให้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในวันที่ 15 พฤษจิกายน ก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) ภายในวันที่ 17 พฤษจิกายนนี้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นพ้องกันว่าจะต้องปรับบทบาท การทำงานของผู้ราชการจังหวัดแบบบูรณาการ โดยจะไม่ใช่คำว่า “ผู้ว่าซีอีโอ” แล้ว ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่คาดว่าจะสามารถเปิดเผยได้เร็วๆ นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องกระทันหัน อย่างไรก็ตามจะคงชื่อ “ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัด” ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอไว้ ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ขึ้นมาใช้ก่อน
ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัด จะต้องมีบทบาทที่สอดคล้องกับนโบายรัฐบาลใน 2 มิติ คือ 1.สถานะที่จะต้องประสานงานกับส่วนภูมิภาค โดยบูรณาการเป็นทีมกับส่วนราชการทุกแห่งในภูมิภาค เพื่อจัดให้มีการเชื่อมโยงประสานงานภายในจังหวัด และ 2.ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจ 3 เรื่อง ได้แก่ การปรับปรุงบริการให้กับประชาชน การให้การสงเคระห์กับผู้ที่ควรสงเคราะห์ โดยเฉพาะผู้ยากจน และดูแลทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่อยู่ในความดูแล ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะรับไปทำรายละเอียดบทบาทที่ปรับเปลี่ยนไป
นายโฆสิต กล่าวว่า ต่อไปบทบาทในการจัดสรรงบประมาณและประเมินผลงานจะไม่ใช่จุดเน้นน้ำหนัก แต้จะเน้นที่การประสานงานภูมิภาค และภาระที่ดูแลชุมชนองค์กรท้องถิ่น รวมทั้งยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด(คัสเตอร์) 19 ข้อ ก็จะยังคงเป็นภาระของจังหวัดนั้น ๆ แต่จะจัดสรรให้ชัดเจนใน 2 มิติ ซึ่ง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาภารกิจ ซึ่งยุทธศาสตร์จะเป็นไปตามที่เห็นชอบกับกระทรวงต่าง ๆในระดับภูมิภาค เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน ฯลฯ
“ผมไม่อยากเห็นว่ามีหลายแผน ไม่ใช่กระทรวงหนึ่งมีแผนหนึ่ง ภูมิภาคหรือจังหวัดจะต้องมีแผนเดียว ทุกกระทรวงก็จะต้องมีแผนที่ตรงกับจังหวัด ผมอยากเห็นอย่างนั้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ประสานงาน” นายโฆสิต กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมยังเห็นว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะดำเนินการของจัดตั้งองค์กรมหาชนต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือ องค์กรมหาชนจะต้องมีความจำเป็นและมีหลักคิดที่แน่นอนว่าเป็นองค์กรที่มีประโยชน์ที่จะทำให้การบริการของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจและหน่วยราชการ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จะรีบนำไปดำเนินการและจัดทำให้เรียบร้อย
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบใหม่ จะต้องเน้นน้ำหนักดูแลผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในเชิงรุกในด้านเศรษฐกิจ ก็จะต้องให้ภาคเอกชน เข้ามารับผิดชอบในกลไกตลาด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องถอยบทบาทตัวเองออกมาเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนมากกว่า ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงไปทำเอง ยกเว้นระบบตลาดไม่สามารถเข้าไปทำหน้าที่ได้
ส่วนนโยบายเดิมของรัฐบาลที่แล้ว ที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัดมีหน้าที่ผลักดันสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ อย่างนโยบาย ผู้ว่าราชการจังหวัดระหว่างรัฐกับรัฐ ( G to G) หน้าที่นั้นก็จะต้องประสานกับหน่วยงานรัฐในจังหวัด มากกว่าที่จะเข้ามามีบทบาทในการนำ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ส่วนประเด็นอื่น ๆ ในรัฐบาลเดิม ที่มีการร่างกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งหมด 92 มาตรา ก็จะเสนอกลับไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีในประเด็นที่ควรแก้ไขเท่านั้น ส่วนการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ที่รัฐบาลเดิมทำไว้ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ก็จะต้องส่งกลับไปขอความยืนยันจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามถึงการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย ที่ผ่านมามีการย้ายล้างบางจน นายสุขุมรัฏฐ์ สาริบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ น้อยใจ จนยื่นใบลาออก เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ทาง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้ส่งผลการประเมินให้กระทรวงมหาดไทยไปแล้ว โดยการประเมินผลการแต่งตั้งโยกย้ายของกระทรวงมหาดไทย คงจะใช้ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ ไม่ใช่ผลการประเมินจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพียงอย่างเดียว
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้รับผิดชอบในการสรรหาตัวแทนจากองค์การมหาชนต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นสมัชชาแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า จะเชิญผู้อำนวยการองค์การมหาชนทั้งหมด 27 แห่งมาประชุม เพื่อคัดเลือกกันเองให้ได้ตัวแทน 1 คน ไปเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ในวันที่ 13 พฤษจิกายนนี้ และจะส่งรายชื่อไปให้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในวันที่ 15 พฤษจิกายน ก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) ภายในวันที่ 17 พฤษจิกายนนี้