การ “หาทางกลับ” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนี้คงจะได้แต่ดู “แผนที่ประเทศไทย” อยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งคลื่นใต้น้ำและแรงกระเพื่อมที่ดิน อย่างเช่น คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไปอ้อน “ป๋าเปรม” นั้น ก็เป็นวิธีที่ผิด แทนที่คนจะสงสาร “ทักษิณ” กลับไปสงสาร “ป๋า” ว่าอะไรๆ ก็ไปอยู่ที่นั่น จะไม่ให้พบก็เป็นการใจไม้ไส้ระกำไปหน่อย ไหนๆ “ลูกอู๊ด” พล.อ.อู๊ด เบื้องบน ก็เป็นคนจัดแจงทั้งคน...ถ้าหากว่า หลังจากการพบ “ป๋า” แล้วก็มีการคลี่คลาย มีสัญญาณตอบรับมาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง, แต่นี่กลับเป็นว่า เดินเข้าไปหาป๋า เพื่อผูกเงื่อนของตัวเองอีกปมหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ก็จะต้องรักษาระดับบารมีและสถานภาพของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ ทำให้การกลับยากยิ่งขึ้น เพราะหากกลับมาได้ง่าย ผู้ที่จะเสียหายคือ “ป๋า” ต้องดูผลในที่สุดว่า-ไม่มีใครจะเอา “ป๋า” ไปแลกกับสิ่งที่หมดค่าอย่าง “ทักษิณ”, การเดินเกมอย่างนี้ ไม่ฉลาดทั้งคนคิด และคนทำ!
ที่พูดถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย 19 ล้านคน ซึ่งเป็นการยกจำนวนมาข่มขู่นั้น ก็ยิ่งจะทำให้ฐานะของ “ทักษิณ” กลายเป็น “บุคคลต้องห้าม” (เข้าประเทศ) มากยิ่งขึ้น, และจะเป็นผลให้เห็นว่าเป็น หรือมีความพยายามจะเป็น “คลื่นใต้น้ำ” สำหรับสมาชิกพรรคไทยรักไทยนั้น มีหน่วยการข่าวทางทหารได้จำแนกความเป็นสมาชิกออกมาว่า เป็นคนของไทยรักไทยอย่างแท้จริง ในรูปของผู้เป็นหัวคะแนน เป็นฐานเสียง เป็นกลุ่มที่จัดตั้งได้อยู่เพียง 5 ล้านคนเหลือนอกนั้นประกอบด้วย 1. สมาชิกกองทุนเงินล้านของหมู่บ้าน ที่ต้องเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย 2. ลูกค้าเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3. สมาชิกเงินกองทุนฟื้นฟูอาชีพ 4. สมาชิกโครงการผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP 5. นิสิต-นักศึกษากองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษา 6. สมาชิกกองหนุนเพื่อความมั่นคงฯ 7. การให้ทหารเกณฑ์สมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ขณะประจำการและมีสถานภาพติดตัวอยู่ แม้จะปลดประจำการไปแล้ว 8. กลุ่มรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างและอื่นๆ 9. กลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานในหมู่บ้าน (อสม.) 10. ข้าราชการของส่วน ที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เพื่อสนองอำนาจ โดยทั้ง 10 กลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณ 14 ล้านคน ที่เป็นสมาชิกพรรคแบบกึ่งถูกบังคับ จับให้สมัคร หากจะนับตัว-วัดใจกันจริงๆ แล้ว มีสมาชิกแบบเกาะติดพรรคน้อยกว่า ประชาธิปัตย์ ที่มี 11 ล้านคน
• เบี่ยงเสียหนึ่งม้า-ก็เสียไปทั้งขบวนรถ
ขอกล่าวถึง พล.อ.อู๊ด เบื้องบน ไว้ ด้วยคำของ ทหารม้า ที่ว่า “มีดีต้องโชว์...” นั้น ควรจะต้อง โชว์อย่างรู้จังหวะและโอกาส, และเพลงมาร์ชทหารม้า “...รุกเถิดเรารุก บุกเถิดเราบุก บุกไปข้างหน้า...ทหารม้าเรียงหน้าประจันบาน...” นั้น คือการบุกร่วมกัน ประจันบานด้วยกัน หากชักม้า เบี่ยงม้าไปเสียม้าหนึ่ง กระบวนรถ กระบวนรุกจะเสียหายไปทั้งหมด และต้องไม่ลืม เมื่อวันอาบน้ำม้า ณ ศูนย์การทหารม้า บ้านอ้อย สระบุรี วันแรกที่ “ร้อยตรีอู๊ด” ได้รับความเมตตาจาก “ป๋า” ด้วยคำถามว่า-ชื่ออู๊ดนี่ เป็นชื่อจริงหรือ ทำไมเหมือนชื่อเล่น...
• เวลาไหนที่ “สุรยุทธ์” กับ “บุญรอด” แยกกัน?
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น ถือว่าเป็นผู้อยู่เคียงข้างและรู้ใจ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีมากกว่าใครๆ จากการเป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 1 จปร.รุ่น 12 มาด้วยกัน อยู่หน่วยเดียวกันมาคือ “ป่าหวาย” ลพบุรี และก้าวไปทางไหน ก็จะไปด้วยกัน เช่น เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จากผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 มาเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ก่อนจะขึ้นเป็นผู้บัญชาการต่อจาก พล.อ.ขจร รามัญวงศ์ ก็คือ พล.อ.บุญรอด มาเป็นเสนาธิการ นสศ.ให้ พล.อ.สมศักดิ์ แสงจันทร์เลิศ เพื่อนร่วมรุ่นขึ้นเป็น ผบ.พล.รพศ. 1 ที่ค่ายเอราวัณ
เพราะความใกล้ชิดอยู่ติดกันมาโดยตลอด เมื่อพล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ก็มี พล.อ.บุญรอด เป็นเสนาธิการทหารบก, ครั้น “ทักษิณ” เห็นว่าขัดหูขัดตา ให้ข้ามฟากไปเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็ดึง พล.อ.บุญรอด ไปเป็น เสนาธิการทหาร คือถ้าหากจะไปที่ไหนก็ต้องไปเป็นคู่ แม้กระทั่งตอนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ไปบวชที่หนองคาย, พล.อ.บุญรอด ไม่ได้บวชด้วย เรียกว่า แยกทางกันตรงนั้น ไม่ได้บวชด้วยกัน แต่ก็แวะเวียนไปเยี่ยมและดูแล “พระเพื่อน” อยู่โดยตลอด และอีกคนที่ไปเยี่ยม “พระนาย” อยู่หลายครั้งคือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นมุสลิม ก็ทำตัวหรือวางตัวไม่ให้ผิดข้อห้ามทางศาสนา ความใกล้ชิดของ พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พล.อ.บุญรอด นั้น มีทหารพลร่มลูกน้องเปรียบว่า ถ้าหากกระโดดร่มโดยใช้ร่มผืนเดียวกันได้ ก็คงทำแล้ว, แต่นี่จนใจ-ต้องแยกกันใช้ร่มคนละร่ม...และที่พล.อ.บุญรอด ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ความพยายามกลับไทยของ “ทักษิณ” นั้น แม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จะไม่ได้พูดเอง ก็เหมือนมีคนพูดแทน
• หน้าเหลี่ยม-อยากจะขึ้นฟ้า...
ที่เห็นกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น เตรียมทหารรุ่น 10 ที่ไม่ใคร่จะสนิทสนมอย่างต่อเนื่องกับเพื่อนที่ไปเป็นทหารบก หรือทหารเรือ แต่กลับแน่นแฟ้นอยู่ทางด้านทหารอากาศนั้น แหล่งข้อมูลทางด้านกองทัพอากาศบอกว่า เป็นเพราะญาติสนิทที่อยู่ในวัยเดียวกัน คือ “ประวิตร ชินวัตร” ซึ่งเป็น เตรียมทหารรุ่น 9 เข้าเป็น นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 16 (พ.ศ. 2511) จึงมีการดึง “ทักษิณ” มาเฮอยู่ทางทหารอากาศตั้งแต่ยังไม่จบโรงเรียนเตรียมทหารด้วยซ้ำไป และ “ทักษิณ” ก็อยากจะเป็นทหารอากาศด้วย แต่มีญาติๆ รวมทั้งพ่อแม่ทัดทานไว้ว่า คนในตระกูลชินวัตร เป็นทหารบกแล้ว 2 คน คือ พล.อ.อุทัย ชินวัตร และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร และทหารอากาศก็มีเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว ขอให้ไปเป็นตำรวจบ้านสักคน ถ้าหากว่าไม่มีการขอร้องกันไว้อย่างนี้ ก็คงเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 (พ.ศ. 2512) ไปแล้ว
ปฏิวัติ 19 กันยายน ที่ผ่านมานี้, นอกจากจะมีแรงคลื่นสึนามิกับ นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 ซึ่งเป็นเตรียมทหารรุ่นเดียวกับ “ทักษิณ” แล้ว ที่โดนหัวคลื่นระลอกแรกเข้าเต็มๆ เห็นจะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 16 ที่เป็นรุ่นพี่ คือ “ผู้การเหนียว” พล.อ.ท.ดนัย นันทะศิริ รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ที่ถูกคลื่นซัดไปลงตรงเก้าอี้เจ้ากรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันมาก เพราะตำแหน่งรองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศนั้น อีกก้าวเดียวก็เป็นผู้บัญชาการ และหากว่า ทุกอย่างเป็นไปตามทิศทาง จากพล.อ.อ.ผู้บัญชาการ ก็เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศได้ทันที อย่างเช่น พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ก็มาจากตำแหน่งผู้บัญชาการยุทธทางอากาศ
• เพื่อนรัก “ทักษิณ”-ที่รักจริงๆ
เป็นผู้อยู่ในความเงียบ ไม่อยู่ในเป้าหมายหรือสายตาของใครๆ ทั้งๆ ที่ว่ากันไปแล้ว ผู้นี้คือ ผู้ที่น่าจะเรียกว่า เป็นผู้อยู่ชิดกับ “ทักษิณ” ที่สุด คือ พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ เตรียมทหารรุ่น 10 นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 เลขประจำตัว 1033 ผู้มีตำแหน่ง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาอาวุธกองทัพอากาศ และได้เป็น รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที หรือองค์การโทรศัพท์ฯ ในอดีต รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยที่คิดว่าจะยืนหยัดอยู่ได้ เพราะมี นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงฯ มาแสดงอาการปกป้องอย่างเต็มที่ว่า ภาพลักษณ์ของบริษัท ทีโอทีฯ จะดูงดงามขึ้น เมื่อ พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ มาเป็นผู้ดูแลเมื่อ นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ คนเก่าเกษียณอายุ แต่ก็นั่งอยู่ได้พักเดียว
พล.อ.ท.สมชาย เติบโตมาจากเหล่าสื่อสารทหารอากาศโดยตลอด ทั้งตัวเองและครอบครัวใกล้ชิดกับครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรีรอบแรก, พล.อ.ท.สมชาย สูญเสียภรรยาไป และในงานสวดอภิธรรมศพ มี คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไปงานทุกคืน โดยเฉพาะวันแรกๆ นั้น “คุณหญิงอ้อ” หลั่งน้ำตาร้องไห้ด้วยความอาลัย เพราะสนิทสนมกับผู้ตายมาก
ขณะนั้น พล.อ.ท.สมชาย ยังเป็น นาวาอากาศเอก (พิเศษ) ตำแหน่ง เสนาธิการกรมสื่อสารทหารอากาศ (เสธ.ส.ทอ.) พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ปรารภ (เพียงปรารภ ไม่ได้ขออะไร) ว่า “สมชาย ติดอยู่นานแล้ว นี่เมียก็มาตายอีก เป็นคนดี น่าเห็นใจ” ในเวลาต่อมา-ก็ได้ตำแหน่งในอัตรา พล.อ.ต.เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารอากาศ ซึ่งในขณะนั้นคือ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี หลังจากที่ติด พล.อ.ต.แล้ว จึงวกกลับไปทางกรมสื่อสารทหารอากาศอีกครั้ง
กล่าวกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ลืมสิ่งที่เพื่อนผู้นี้ทำไว้ คือ ช่วงที่ พล.อ.ท.สมชาย เป็นผู้อำนวยการกองในกรมสื่อสารทหารอากาศ ได้เป็นผู้จัดทำแผนสนับสนุนการสื่อสารของนายทหารอากาศตั้งแต่ น.ย.(พิเศษ) ขึ้นไป ด้วยการ จัดหาเครื่องแพ็คลิ้งก์ แจกจ่าย โดยจะต้องจัดซื้อจาก บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์, การเสนอแผนจัดหาแพ็คลิ้งก์ในครั้งนั้น ทางผู้บังคับบัญชาหรือทาง “ข้างบน” ทำตาเขียวใส่ เกือบจะเอาตัวไม่รอด ต้องเดือดร้อนอยู่พักใหญ่ เพราะถูกมองว่าเป็นโครงการจัดหาเพื่อช่วยเพื่อนคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นเอเยนต์อยู่
ครั้นเข้ายุค “ทักษิณ” จึงมีทางสะดวก ก้าวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว และได้เป็นบอร์ดของ บริษัท ทีโอที จำกัด ด้วย, โดยที่เป็นคนดี คนซื่อ ไม่หวือหวาอะไร จึงไม่เป็นจุดสนใจของใครๆ ทั้งๆที่เพื่อนในกองทัพอากาศทั้งหลาย “ทักษิณ” รักเพื่อนคนนี้เป็นที่สุด...รักกว่าใครๆ ที่ดอนเมือง รักมากกว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ด้วย...
• คนดีๆ ที่พลอยเปียกฝนด้วย
ทหารที่ไปเป็น กรรมการ หรือเป็น บอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในยุค “ทักษิณ” นั้น จะว่ากันไปแล้ว ก็เป็นคนมีความสามารถ และทางเจ้ากรมทหารที่ดูแลแต่ละบอร์ด ก็ได้รับการส่งตัวคนเข้ามาตรงตามสายงาน อย่างเช่น พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ เป็นตัวอย่างว่า เมื่ออยู่ในสายสื่อสารทหารอากาศ ก็ต้องไปเป็นบอร์ดโทรศัพท์, แต่อย่าง พล.ท.ม.ล.กิติมาศ สุขสวัสดิ์ ประธานบอร์ดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก) นั้น ดูเหมือนว่าคนส่งคือ “ทักษิณ” จะส่งไปถูกที่คือ กระทรวงคมนาคม เพราะว่า “หม่อม” เป็น ทหารเหล่าขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) แต่คนรับคือทางคมนาคมจับลงไม่ถูกที่ โดยจัดแจงให้นั่งเก้าอี้เป็นประธานบอร์ดรถเมล์เมืองกรุงฯ โดยไม่ดูภูมิหลังว่า พล.ท.ม.ล.กิติมาศ นั้น ขส.ทบ.ก็จริง แต่เป็น “นักบิน” ควรจะไปนั่งทาง การบินไทย หรือ บริษัท ท่าอากาศยานฯ หรือก็รู้อยู่ว่าเป็น “นักบิน” แต่ถ้าหากไปบอร์ดอื่น ก็จะได้เป็นแค่กรรมการหรือบอร์ด แหวกขึ้นเป็นประธานบอร์ดไม่ได้ ก็ให้เป็นประธานบอร์ดทางรถเมล์ ซึ่งตอนนี้ “ลาออก” พ้นจากบอร์ด ขสมก นั้นแล้ว, พล.ท.ม.ล.กิติมาศ เป็นเตรียมทหารรุ่น 5 จปร.รุ่น 16 เป็นรุ่นพี่ของ “ทักษิณ” หลายรุ่น เป็น “นักบิน ทบ.” มานานมาก เคยเป็นผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุง (ร้อย ซบร.) ที่ลพบุรี อันเป็นหน่วยรบซ่อมบำรุงอากาศยานของกองทัพบก สังกัดกรมการขนส่งทหารบก และเป็นผู้ที่ผู้หลักผู้ใหญ่รู้จักมาก นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ครั้ง พล.อ.ชาติชาย ชุญหะวัณ เรื่อยมา รู้จัก “หม่อมกิติมาศ” ทุกคน เพราะเป็นผู้อำนวยการการบินทหารบก กรมการขนส่งทหารบก (กบบ.ขส.ทบ.) มาตั้งแต่เป็น พ.อ.(พิเศษ) รับผิดชอบการสนับสนุนทั้งเครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ สำหรับการเดินทางของผู้ใหญ่ และที่สำคัญคือเป็นนักบินเองสำหรับวีไอพี
• 2550-เพื่อนแม้วเข้าแถว คมช.
เรื่องราวที่มาผสมผสานร้อยเรียงอันเกี่ยวกับสถานการณ์และ “ทักษิณ” นี้ มีสิ่งที่ควรจะบอกกันไว้ตั้งแต่ ต้นพฤศจิกายน 2549 ว่า ในตุลาคม 2550 จะมี เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 ของหน้าเหลี่ยม ได้เป็น “ผู้บัญชาการเหล่าทัพ” แน่นอน, เพราะในเหตุการณ์ที่ผ่านมาของการ ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เข้าไปกระทบกระเทือนต่อแผนเป้าหมาย การวางตัวใน “กองทัพเรือ” เลยแม้แต่น้อย ซึ่งเป้าหมายนั้นก็ยังดำรงคงอยู่ ไม่ว่าจะมี “ทักษิณ” หรือไม่ก็ตาม ที่วางหมาก วางคนกันไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นทุกประการ และในอีก 11 เดือนข้างหน้านั้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติยังอยู่...ก็จะต้องมี “เพื่อนทักษิณ” มานั่งด้วย.
ที่พูดถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย 19 ล้านคน ซึ่งเป็นการยกจำนวนมาข่มขู่นั้น ก็ยิ่งจะทำให้ฐานะของ “ทักษิณ” กลายเป็น “บุคคลต้องห้าม” (เข้าประเทศ) มากยิ่งขึ้น, และจะเป็นผลให้เห็นว่าเป็น หรือมีความพยายามจะเป็น “คลื่นใต้น้ำ” สำหรับสมาชิกพรรคไทยรักไทยนั้น มีหน่วยการข่าวทางทหารได้จำแนกความเป็นสมาชิกออกมาว่า เป็นคนของไทยรักไทยอย่างแท้จริง ในรูปของผู้เป็นหัวคะแนน เป็นฐานเสียง เป็นกลุ่มที่จัดตั้งได้อยู่เพียง 5 ล้านคนเหลือนอกนั้นประกอบด้วย 1. สมาชิกกองทุนเงินล้านของหมู่บ้าน ที่ต้องเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย 2. ลูกค้าเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3. สมาชิกเงินกองทุนฟื้นฟูอาชีพ 4. สมาชิกโครงการผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP 5. นิสิต-นักศึกษากองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษา 6. สมาชิกกองหนุนเพื่อความมั่นคงฯ 7. การให้ทหารเกณฑ์สมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ขณะประจำการและมีสถานภาพติดตัวอยู่ แม้จะปลดประจำการไปแล้ว 8. กลุ่มรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างและอื่นๆ 9. กลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานในหมู่บ้าน (อสม.) 10. ข้าราชการของส่วน ที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย เพื่อสนองอำนาจ โดยทั้ง 10 กลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณ 14 ล้านคน ที่เป็นสมาชิกพรรคแบบกึ่งถูกบังคับ จับให้สมัคร หากจะนับตัว-วัดใจกันจริงๆ แล้ว มีสมาชิกแบบเกาะติดพรรคน้อยกว่า ประชาธิปัตย์ ที่มี 11 ล้านคน
• เบี่ยงเสียหนึ่งม้า-ก็เสียไปทั้งขบวนรถ
ขอกล่าวถึง พล.อ.อู๊ด เบื้องบน ไว้ ด้วยคำของ ทหารม้า ที่ว่า “มีดีต้องโชว์...” นั้น ควรจะต้อง โชว์อย่างรู้จังหวะและโอกาส, และเพลงมาร์ชทหารม้า “...รุกเถิดเรารุก บุกเถิดเราบุก บุกไปข้างหน้า...ทหารม้าเรียงหน้าประจันบาน...” นั้น คือการบุกร่วมกัน ประจันบานด้วยกัน หากชักม้า เบี่ยงม้าไปเสียม้าหนึ่ง กระบวนรถ กระบวนรุกจะเสียหายไปทั้งหมด และต้องไม่ลืม เมื่อวันอาบน้ำม้า ณ ศูนย์การทหารม้า บ้านอ้อย สระบุรี วันแรกที่ “ร้อยตรีอู๊ด” ได้รับความเมตตาจาก “ป๋า” ด้วยคำถามว่า-ชื่ออู๊ดนี่ เป็นชื่อจริงหรือ ทำไมเหมือนชื่อเล่น...
• เวลาไหนที่ “สุรยุทธ์” กับ “บุญรอด” แยกกัน?
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น ถือว่าเป็นผู้อยู่เคียงข้างและรู้ใจ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีมากกว่าใครๆ จากการเป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 1 จปร.รุ่น 12 มาด้วยกัน อยู่หน่วยเดียวกันมาคือ “ป่าหวาย” ลพบุรี และก้าวไปทางไหน ก็จะไปด้วยกัน เช่น เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จากผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 มาเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ก่อนจะขึ้นเป็นผู้บัญชาการต่อจาก พล.อ.ขจร รามัญวงศ์ ก็คือ พล.อ.บุญรอด มาเป็นเสนาธิการ นสศ.ให้ พล.อ.สมศักดิ์ แสงจันทร์เลิศ เพื่อนร่วมรุ่นขึ้นเป็น ผบ.พล.รพศ. 1 ที่ค่ายเอราวัณ
เพราะความใกล้ชิดอยู่ติดกันมาโดยตลอด เมื่อพล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ก็มี พล.อ.บุญรอด เป็นเสนาธิการทหารบก, ครั้น “ทักษิณ” เห็นว่าขัดหูขัดตา ให้ข้ามฟากไปเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็ดึง พล.อ.บุญรอด ไปเป็น เสนาธิการทหาร คือถ้าหากจะไปที่ไหนก็ต้องไปเป็นคู่ แม้กระทั่งตอนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ไปบวชที่หนองคาย, พล.อ.บุญรอด ไม่ได้บวชด้วย เรียกว่า แยกทางกันตรงนั้น ไม่ได้บวชด้วยกัน แต่ก็แวะเวียนไปเยี่ยมและดูแล “พระเพื่อน” อยู่โดยตลอด และอีกคนที่ไปเยี่ยม “พระนาย” อยู่หลายครั้งคือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นมุสลิม ก็ทำตัวหรือวางตัวไม่ให้ผิดข้อห้ามทางศาสนา ความใกล้ชิดของ พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พล.อ.บุญรอด นั้น มีทหารพลร่มลูกน้องเปรียบว่า ถ้าหากกระโดดร่มโดยใช้ร่มผืนเดียวกันได้ ก็คงทำแล้ว, แต่นี่จนใจ-ต้องแยกกันใช้ร่มคนละร่ม...และที่พล.อ.บุญรอด ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ความพยายามกลับไทยของ “ทักษิณ” นั้น แม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จะไม่ได้พูดเอง ก็เหมือนมีคนพูดแทน
• หน้าเหลี่ยม-อยากจะขึ้นฟ้า...
ที่เห็นกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น เตรียมทหารรุ่น 10 ที่ไม่ใคร่จะสนิทสนมอย่างต่อเนื่องกับเพื่อนที่ไปเป็นทหารบก หรือทหารเรือ แต่กลับแน่นแฟ้นอยู่ทางด้านทหารอากาศนั้น แหล่งข้อมูลทางด้านกองทัพอากาศบอกว่า เป็นเพราะญาติสนิทที่อยู่ในวัยเดียวกัน คือ “ประวิตร ชินวัตร” ซึ่งเป็น เตรียมทหารรุ่น 9 เข้าเป็น นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 16 (พ.ศ. 2511) จึงมีการดึง “ทักษิณ” มาเฮอยู่ทางทหารอากาศตั้งแต่ยังไม่จบโรงเรียนเตรียมทหารด้วยซ้ำไป และ “ทักษิณ” ก็อยากจะเป็นทหารอากาศด้วย แต่มีญาติๆ รวมทั้งพ่อแม่ทัดทานไว้ว่า คนในตระกูลชินวัตร เป็นทหารบกแล้ว 2 คน คือ พล.อ.อุทัย ชินวัตร และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร และทหารอากาศก็มีเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว ขอให้ไปเป็นตำรวจบ้านสักคน ถ้าหากว่าไม่มีการขอร้องกันไว้อย่างนี้ ก็คงเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 (พ.ศ. 2512) ไปแล้ว
ปฏิวัติ 19 กันยายน ที่ผ่านมานี้, นอกจากจะมีแรงคลื่นสึนามิกับ นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 ซึ่งเป็นเตรียมทหารรุ่นเดียวกับ “ทักษิณ” แล้ว ที่โดนหัวคลื่นระลอกแรกเข้าเต็มๆ เห็นจะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 16 ที่เป็นรุ่นพี่ คือ “ผู้การเหนียว” พล.อ.ท.ดนัย นันทะศิริ รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ที่ถูกคลื่นซัดไปลงตรงเก้าอี้เจ้ากรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันมาก เพราะตำแหน่งรองผู้บัญชาการ กองบัญชาการยุทธทางอากาศนั้น อีกก้าวเดียวก็เป็นผู้บัญชาการ และหากว่า ทุกอย่างเป็นไปตามทิศทาง จากพล.อ.อ.ผู้บัญชาการ ก็เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศได้ทันที อย่างเช่น พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ก็มาจากตำแหน่งผู้บัญชาการยุทธทางอากาศ
• เพื่อนรัก “ทักษิณ”-ที่รักจริงๆ
เป็นผู้อยู่ในความเงียบ ไม่อยู่ในเป้าหมายหรือสายตาของใครๆ ทั้งๆ ที่ว่ากันไปแล้ว ผู้นี้คือ ผู้ที่น่าจะเรียกว่า เป็นผู้อยู่ชิดกับ “ทักษิณ” ที่สุด คือ พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ เตรียมทหารรุ่น 10 นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 17 เลขประจำตัว 1033 ผู้มีตำแหน่ง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาอาวุธกองทัพอากาศ และได้เป็น รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที หรือองค์การโทรศัพท์ฯ ในอดีต รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยที่คิดว่าจะยืนหยัดอยู่ได้ เพราะมี นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงฯ มาแสดงอาการปกป้องอย่างเต็มที่ว่า ภาพลักษณ์ของบริษัท ทีโอทีฯ จะดูงดงามขึ้น เมื่อ พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ มาเป็นผู้ดูแลเมื่อ นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ คนเก่าเกษียณอายุ แต่ก็นั่งอยู่ได้พักเดียว
พล.อ.ท.สมชาย เติบโตมาจากเหล่าสื่อสารทหารอากาศโดยตลอด ทั้งตัวเองและครอบครัวใกล้ชิดกับครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรีรอบแรก, พล.อ.ท.สมชาย สูญเสียภรรยาไป และในงานสวดอภิธรรมศพ มี คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไปงานทุกคืน โดยเฉพาะวันแรกๆ นั้น “คุณหญิงอ้อ” หลั่งน้ำตาร้องไห้ด้วยความอาลัย เพราะสนิทสนมกับผู้ตายมาก
ขณะนั้น พล.อ.ท.สมชาย ยังเป็น นาวาอากาศเอก (พิเศษ) ตำแหน่ง เสนาธิการกรมสื่อสารทหารอากาศ (เสธ.ส.ทอ.) พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ปรารภ (เพียงปรารภ ไม่ได้ขออะไร) ว่า “สมชาย ติดอยู่นานแล้ว นี่เมียก็มาตายอีก เป็นคนดี น่าเห็นใจ” ในเวลาต่อมา-ก็ได้ตำแหน่งในอัตรา พล.อ.ต.เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารอากาศ ซึ่งในขณะนั้นคือ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี หลังจากที่ติด พล.อ.ต.แล้ว จึงวกกลับไปทางกรมสื่อสารทหารอากาศอีกครั้ง
กล่าวกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ลืมสิ่งที่เพื่อนผู้นี้ทำไว้ คือ ช่วงที่ พล.อ.ท.สมชาย เป็นผู้อำนวยการกองในกรมสื่อสารทหารอากาศ ได้เป็นผู้จัดทำแผนสนับสนุนการสื่อสารของนายทหารอากาศตั้งแต่ น.ย.(พิเศษ) ขึ้นไป ด้วยการ จัดหาเครื่องแพ็คลิ้งก์ แจกจ่าย โดยจะต้องจัดซื้อจาก บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์, การเสนอแผนจัดหาแพ็คลิ้งก์ในครั้งนั้น ทางผู้บังคับบัญชาหรือทาง “ข้างบน” ทำตาเขียวใส่ เกือบจะเอาตัวไม่รอด ต้องเดือดร้อนอยู่พักใหญ่ เพราะถูกมองว่าเป็นโครงการจัดหาเพื่อช่วยเพื่อนคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นเอเยนต์อยู่
ครั้นเข้ายุค “ทักษิณ” จึงมีทางสะดวก ก้าวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว และได้เป็นบอร์ดของ บริษัท ทีโอที จำกัด ด้วย, โดยที่เป็นคนดี คนซื่อ ไม่หวือหวาอะไร จึงไม่เป็นจุดสนใจของใครๆ ทั้งๆที่เพื่อนในกองทัพอากาศทั้งหลาย “ทักษิณ” รักเพื่อนคนนี้เป็นที่สุด...รักกว่าใครๆ ที่ดอนเมือง รักมากกว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ด้วย...
• คนดีๆ ที่พลอยเปียกฝนด้วย
ทหารที่ไปเป็น กรรมการ หรือเป็น บอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในยุค “ทักษิณ” นั้น จะว่ากันไปแล้ว ก็เป็นคนมีความสามารถ และทางเจ้ากรมทหารที่ดูแลแต่ละบอร์ด ก็ได้รับการส่งตัวคนเข้ามาตรงตามสายงาน อย่างเช่น พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันต์ เป็นตัวอย่างว่า เมื่ออยู่ในสายสื่อสารทหารอากาศ ก็ต้องไปเป็นบอร์ดโทรศัพท์, แต่อย่าง พล.ท.ม.ล.กิติมาศ สุขสวัสดิ์ ประธานบอร์ดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก) นั้น ดูเหมือนว่าคนส่งคือ “ทักษิณ” จะส่งไปถูกที่คือ กระทรวงคมนาคม เพราะว่า “หม่อม” เป็น ทหารเหล่าขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) แต่คนรับคือทางคมนาคมจับลงไม่ถูกที่ โดยจัดแจงให้นั่งเก้าอี้เป็นประธานบอร์ดรถเมล์เมืองกรุงฯ โดยไม่ดูภูมิหลังว่า พล.ท.ม.ล.กิติมาศ นั้น ขส.ทบ.ก็จริง แต่เป็น “นักบิน” ควรจะไปนั่งทาง การบินไทย หรือ บริษัท ท่าอากาศยานฯ หรือก็รู้อยู่ว่าเป็น “นักบิน” แต่ถ้าหากไปบอร์ดอื่น ก็จะได้เป็นแค่กรรมการหรือบอร์ด แหวกขึ้นเป็นประธานบอร์ดไม่ได้ ก็ให้เป็นประธานบอร์ดทางรถเมล์ ซึ่งตอนนี้ “ลาออก” พ้นจากบอร์ด ขสมก นั้นแล้ว, พล.ท.ม.ล.กิติมาศ เป็นเตรียมทหารรุ่น 5 จปร.รุ่น 16 เป็นรุ่นพี่ของ “ทักษิณ” หลายรุ่น เป็น “นักบิน ทบ.” มานานมาก เคยเป็นผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุง (ร้อย ซบร.) ที่ลพบุรี อันเป็นหน่วยรบซ่อมบำรุงอากาศยานของกองทัพบก สังกัดกรมการขนส่งทหารบก และเป็นผู้ที่ผู้หลักผู้ใหญ่รู้จักมาก นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ครั้ง พล.อ.ชาติชาย ชุญหะวัณ เรื่อยมา รู้จัก “หม่อมกิติมาศ” ทุกคน เพราะเป็นผู้อำนวยการการบินทหารบก กรมการขนส่งทหารบก (กบบ.ขส.ทบ.) มาตั้งแต่เป็น พ.อ.(พิเศษ) รับผิดชอบการสนับสนุนทั้งเครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ สำหรับการเดินทางของผู้ใหญ่ และที่สำคัญคือเป็นนักบินเองสำหรับวีไอพี
• 2550-เพื่อนแม้วเข้าแถว คมช.
เรื่องราวที่มาผสมผสานร้อยเรียงอันเกี่ยวกับสถานการณ์และ “ทักษิณ” นี้ มีสิ่งที่ควรจะบอกกันไว้ตั้งแต่ ต้นพฤศจิกายน 2549 ว่า ในตุลาคม 2550 จะมี เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 ของหน้าเหลี่ยม ได้เป็น “ผู้บัญชาการเหล่าทัพ” แน่นอน, เพราะในเหตุการณ์ที่ผ่านมาของการ ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เข้าไปกระทบกระเทือนต่อแผนเป้าหมาย การวางตัวใน “กองทัพเรือ” เลยแม้แต่น้อย ซึ่งเป้าหมายนั้นก็ยังดำรงคงอยู่ ไม่ว่าจะมี “ทักษิณ” หรือไม่ก็ตาม ที่วางหมาก วางคนกันไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นทุกประการ และในอีก 11 เดือนข้างหน้านั้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติยังอยู่...ก็จะต้องมี “เพื่อนทักษิณ” มานั่งด้วย.