การที่คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง. ได้ทำการตรวจสอบผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่งหรือที่เรียกกันว่า บอร์ดในรัฐวิสาหกิจ
คุณหญิงได้ทำหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวไปยัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง
หนังสือดังกล่าวเป็นรายงานเรื่องการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นกรรมการมากกว่า 3 แห่ง
ข้อสังเกตของคุณหญิงจารุวรรณ คือการที่ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจนั้นเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ พร้อมกันมากกว่า 3 แห่ง เป็นการกระทำที่ขัดต่อต่อมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2523
สตง. เห็นด้วยกับหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ระบุในเรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดประโยชน์ตอบแทนคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและหากพิจารณารวมถึงการเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการอื่นอีกหลายคณะแล้ว อาจทำให้ไม่มีเวลาในการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอาจทำให้การบริหารราชการในส่วนที่รับผิดชอบไม่มีประสิทธิภาพ
เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจหรือน่าเศร้าใจกันแน่ ที่ประเทศไทยมีประชากรกว่า 60 ล้านคน แต่คนดีหรือคนเก่งกลับมีอยู่เพียงแค่หยิบมือ ได้แต่คนหน้าเดิมๆ คนแบบเดิม ที่เข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
คนเก่งที่สุด ไปนั่งเป็นกรรมการบอร์ดมากที่สุด จำนวน 19 ชุด ได้แก่ นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เบี้ยประชุมแต่ละแห่งครั้งละตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 50,000 บาท ถ้าหากมีการประชุมเพียงแค่แห่งละ 1 ครั้งต่อเดือน จะได้เฉพาะเบี้ยประชุมประมาณ 390,500 บาทต่อเดือน ยังไม่รวมผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นกรรมการ และโบนัสก้อนใหญ่ประจำปี
รองลงมาได้แก่ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรงการคลัง เป็นกรรมการชุดต่างๆ 18 ชุด
ตามมาด้วยนายสามารถ ยลภัตย์ อดีตรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ 16 ชุด
ที่ไม่น้อยหน้ากว่าใคร ก็คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจและกรรมการชุดต่างๆ จำนวน 8 ชุด ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
2. คณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน
3. คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
4. คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
5. คณะกรรมการตรวจสอบ ก.ล.ต.
6. คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บสท.)
7. คณะกรรมการตรวจสอบ บสท.
8. คณะกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บสก.)
ได้เบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,890,000 บาท
เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อยสำหรับชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ
มีคำถามกลับจากสังคมตามมาว่าการกระทำดังกล่าวเป็นที่เรื่องที่ปกติหรือไม่ เพราะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ออกมาโต้ข่าวว่า การเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจของตนเองไม่ใช่ 8 ชุด แต่เป็น 6 ชุด เพราะคณะกรรมการตรวจสอบทั้งของ ก.ล.ต.และ บ.ส.ท. ถือว่าเป็นงานชุดเดียวกัน
ช่างเป็นการเถียงข้างๆ คูๆ เหมือนกับเคยได้ยินจนคุ้นหูมาตลอดเวลา 5 ปี แต่ข้อเถียงแบบนี้ ได้ยินมาจากปากของทักษิณ หรือเราคงจะต้องได้ยินจากปากของหม่อมอุ๋ยกันอีก
หม่อมอุ๋ย อ้างว่า สตง.พยายามทำให้ดูเหมือนว่าตนเองนั่งเป็นกรรมการหลายชุด และการที่ตนเองเป็นกรรมการในองค์กรต่างๆ 6 แห่ง เป็นไปตามกฎหมายและดำรงตำแหน่งในช่วงที่เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ปัจจุบันเมื่อมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกแล้ว
หม่อมอุ๋ย ยังอ้างว่าได้เคยสอบถามเรื่องดังกล่าวนี้ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกิน 3 แห่ง และทางกฤษฎีกาได้ตอบกลับมาว่า การเป็นกรรมการโดยตำแหน่งกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการจะลาออกไม่ได้ เพราะกฎหมายบังคับไว้เป็นกรรมการ แม้ว่าจะเกิน 3 แห่งก็ตาม
ดังนั้น การกระทำของตนจึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้ออ้างของกฤษฎีกา จะมีจริงหรือไม่ แต่กฤษฎีกาก็ไม่ใช่ว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป เพราะเป็นเพียงความเห็นที่ควรรับฟัง ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล
เรื่องนี้มีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
มาตรา 7 ผู้ใดจะดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกินสามแห่งมิได้
มาตรา 13 ในกรณีที่ผู้ใดดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกินกว่าที่กำหนดในมาตรา 7 ให้ผู้นั้นลาออกจากตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหนึ่งรัฐวิสาหกิจใดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามิได้ลาออกให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งครั้งหลังสุดตามลำดับในวันที่ครบกำหนดหนึ่งเดือน
อยากถามว่า แล้วส่วนที่หม่อมอุ๋ยเข้าไปเป็นกรรมการเกินกว่าสามแห่ง ส่วนที่เกินสามแห่งถือว่าพ้นจากตำแหน่ง แล้วตกลงว่าจะพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการในชุดไหนจากทั้งหมด 8 ชุด
ส่วนตำแหน่งที่เกินแต่ก็ยังดันทุรังปฏิบัติหน้าที่ ถามว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่มิชอบใช่หรือไม่
แล้วยังรับเงินค่าตอบแทนไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์อื่นใด จากรัฐวิสาหกิจที่ตนเข้าไปทำหน้าที่เกิน ถือเป็นการรับผลประโยชน์ที่มิชอบใช่หรือไม่
หม่อมอุ๋ยจะต้องรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งใช่หรือไม่
หม่อมอุ๋ยได้รับรายงานแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสอบสวนหม่อมอุ๋ยอย่างไร
ใครคือผู้วินิจฉัยตัดสินเรื่องนี้ ถ้าไม่ใช่ศาลสถิตยุติธรรม
นอกจาก สตง. ของคุณหญิงจารุวรรณแล้ว ป.ป.ช. ของคุณปานเทพ และ คตส. ของคุณนาม จะเข้ามาจัดการกับปัญหานี้หรือไม่ หรือจะนั่งทำตาปริบๆ เป็นทองไม่รู้ร้อน เอาหูไปนาเอาตาไปไร่
หรือจะอ้างว่าที่ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะไม่มีใครร้องเรียนมา
สิ่งที่ประชาชนต้องการทราบไม่ใช่เพียงแต่ว่า ท่านทำผิดกฎหมายหรือไม่ แต่เขาอยากรู้ว่าเมื่อท่านได้รับเงินตอบแทนนี้ไป ท่านทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองบ้าง
ความรับผิดชอบชั่วดี จิตสำนึกของท่านอยู่ที่ไหน
ถามหาคุณธรรม ถามหาจริยธรรม ของผู้บริหารเหล่านี้อยู่ที่ไหน
คุณธรรม จริยธรรม ของท่านคงบอดสนิท.
คุณหญิงได้ทำหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวไปยัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง
หนังสือดังกล่าวเป็นรายงานเรื่องการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นกรรมการมากกว่า 3 แห่ง
ข้อสังเกตของคุณหญิงจารุวรรณ คือการที่ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจนั้นเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ พร้อมกันมากกว่า 3 แห่ง เป็นการกระทำที่ขัดต่อต่อมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2523
สตง. เห็นด้วยกับหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ระบุในเรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดประโยชน์ตอบแทนคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและหากพิจารณารวมถึงการเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการในคณะกรรมการอื่นอีกหลายคณะแล้ว อาจทำให้ไม่มีเวลาในการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอาจทำให้การบริหารราชการในส่วนที่รับผิดชอบไม่มีประสิทธิภาพ
เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจหรือน่าเศร้าใจกันแน่ ที่ประเทศไทยมีประชากรกว่า 60 ล้านคน แต่คนดีหรือคนเก่งกลับมีอยู่เพียงแค่หยิบมือ ได้แต่คนหน้าเดิมๆ คนแบบเดิม ที่เข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
คนเก่งที่สุด ไปนั่งเป็นกรรมการบอร์ดมากที่สุด จำนวน 19 ชุด ได้แก่ นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เบี้ยประชุมแต่ละแห่งครั้งละตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 50,000 บาท ถ้าหากมีการประชุมเพียงแค่แห่งละ 1 ครั้งต่อเดือน จะได้เฉพาะเบี้ยประชุมประมาณ 390,500 บาทต่อเดือน ยังไม่รวมผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นกรรมการ และโบนัสก้อนใหญ่ประจำปี
รองลงมาได้แก่ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรงการคลัง เป็นกรรมการชุดต่างๆ 18 ชุด
ตามมาด้วยนายสามารถ ยลภัตย์ อดีตรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ 16 ชุด
ที่ไม่น้อยหน้ากว่าใคร ก็คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจและกรรมการชุดต่างๆ จำนวน 8 ชุด ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
2. คณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน
3. คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
4. คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
5. คณะกรรมการตรวจสอบ ก.ล.ต.
6. คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บสท.)
7. คณะกรรมการตรวจสอบ บสท.
8. คณะกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บสก.)
ได้เบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,890,000 บาท
เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อยสำหรับชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ
มีคำถามกลับจากสังคมตามมาว่าการกระทำดังกล่าวเป็นที่เรื่องที่ปกติหรือไม่ เพราะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ออกมาโต้ข่าวว่า การเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจของตนเองไม่ใช่ 8 ชุด แต่เป็น 6 ชุด เพราะคณะกรรมการตรวจสอบทั้งของ ก.ล.ต.และ บ.ส.ท. ถือว่าเป็นงานชุดเดียวกัน
ช่างเป็นการเถียงข้างๆ คูๆ เหมือนกับเคยได้ยินจนคุ้นหูมาตลอดเวลา 5 ปี แต่ข้อเถียงแบบนี้ ได้ยินมาจากปากของทักษิณ หรือเราคงจะต้องได้ยินจากปากของหม่อมอุ๋ยกันอีก
หม่อมอุ๋ย อ้างว่า สตง.พยายามทำให้ดูเหมือนว่าตนเองนั่งเป็นกรรมการหลายชุด และการที่ตนเองเป็นกรรมการในองค์กรต่างๆ 6 แห่ง เป็นไปตามกฎหมายและดำรงตำแหน่งในช่วงที่เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ปัจจุบันเมื่อมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกแล้ว
หม่อมอุ๋ย ยังอ้างว่าได้เคยสอบถามเรื่องดังกล่าวนี้ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกิน 3 แห่ง และทางกฤษฎีกาได้ตอบกลับมาว่า การเป็นกรรมการโดยตำแหน่งกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการจะลาออกไม่ได้ เพราะกฎหมายบังคับไว้เป็นกรรมการ แม้ว่าจะเกิน 3 แห่งก็ตาม
ดังนั้น การกระทำของตนจึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้ออ้างของกฤษฎีกา จะมีจริงหรือไม่ แต่กฤษฎีกาก็ไม่ใช่ว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป เพราะเป็นเพียงความเห็นที่ควรรับฟัง ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล
เรื่องนี้มีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
มาตรา 7 ผู้ใดจะดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกินสามแห่งมิได้
มาตรา 13 ในกรณีที่ผู้ใดดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกินกว่าที่กำหนดในมาตรา 7 ให้ผู้นั้นลาออกจากตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหนึ่งรัฐวิสาหกิจใดภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามิได้ลาออกให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งครั้งหลังสุดตามลำดับในวันที่ครบกำหนดหนึ่งเดือน
อยากถามว่า แล้วส่วนที่หม่อมอุ๋ยเข้าไปเป็นกรรมการเกินกว่าสามแห่ง ส่วนที่เกินสามแห่งถือว่าพ้นจากตำแหน่ง แล้วตกลงว่าจะพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการในชุดไหนจากทั้งหมด 8 ชุด
ส่วนตำแหน่งที่เกินแต่ก็ยังดันทุรังปฏิบัติหน้าที่ ถามว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่มิชอบใช่หรือไม่
แล้วยังรับเงินค่าตอบแทนไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประชุมหรือผลประโยชน์อื่นใด จากรัฐวิสาหกิจที่ตนเข้าไปทำหน้าที่เกิน ถือเป็นการรับผลประโยชน์ที่มิชอบใช่หรือไม่
หม่อมอุ๋ยจะต้องรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งใช่หรือไม่
หม่อมอุ๋ยได้รับรายงานแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสอบสวนหม่อมอุ๋ยอย่างไร
ใครคือผู้วินิจฉัยตัดสินเรื่องนี้ ถ้าไม่ใช่ศาลสถิตยุติธรรม
นอกจาก สตง. ของคุณหญิงจารุวรรณแล้ว ป.ป.ช. ของคุณปานเทพ และ คตส. ของคุณนาม จะเข้ามาจัดการกับปัญหานี้หรือไม่ หรือจะนั่งทำตาปริบๆ เป็นทองไม่รู้ร้อน เอาหูไปนาเอาตาไปไร่
หรือจะอ้างว่าที่ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะไม่มีใครร้องเรียนมา
สิ่งที่ประชาชนต้องการทราบไม่ใช่เพียงแต่ว่า ท่านทำผิดกฎหมายหรือไม่ แต่เขาอยากรู้ว่าเมื่อท่านได้รับเงินตอบแทนนี้ไป ท่านทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองบ้าง
ความรับผิดชอบชั่วดี จิตสำนึกของท่านอยู่ที่ไหน
ถามหาคุณธรรม ถามหาจริยธรรม ของผู้บริหารเหล่านี้อยู่ที่ไหน
คุณธรรม จริยธรรม ของท่านคงบอดสนิท.